Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ป่วย ขณะได้รับการ setting Limits ด้วยวิธีการผูกมัด…
การพยาบาลผู้ป่วย ขณะได้รับการ setting Limits ด้วยวิธีการผูกมัด
ด้านร่างกาย
2.ไม่ควรผูกรัดแน่นจนเกิดผลเสียต่อระบบไหลเวียนโลหิต ควรมีผ้านุ่มรองปุ่มกระดูกเพื่อหลีกเลี่ยงการกดรัด
3.จัดผู้ป่วยนอนในท่าที่สบายที่สุดและให้อวัยวะยังคงเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ปกติจะจัดในท่านอนหงาย ยกศีรษะสูง แต่ถ้าจำเป็นต้องผูกมัดในท่านอนคว่ำต้องดูแลเรื่องทรวงอกให้ขยายตัวได้ตามปกติ และควรจัดเปลี่ยนท่าทุก 2 ชั่วโมง
4.คลายเครื่องผูกยึดทุก 2 ชั่วโมง เพื่อตรวจผิวหนังและข้อ สังเกตว่ามีอาการบวม รอยช้ำ หรือแผลถลอกหรือไม่ พร้อมทั้งประเมินการไหลเวียนโลหิต หากไม่สามารถประเมินได้ให้ใช้เครื่องมือตรวจวัดระดับออกซิเจนติดที่ปลายนิ้วของผู้ป่วยตลอด
5.ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยทุก 1-2 ชั่วโมง เพื่อสังเกตอาการ
ผิดปกติ
6.ตรวจวัดสัญญาณชีพได้แก่ อุณหภูมิร่างกาย อักตราการหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตโดยปฏิบัติตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยแต่ละโรค
7.ดูแลให้ได้รับสารน้ำสารอาหารอย่างเพียงพอ ควรให้รับประทานอาหารให้ตรงตามเวลามากที่สุด ในรายที่ไม่มีข้อห้ามทางการแพทย์ควรสอบถามความต้องการการรับประทานน้ำของผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง
11.อธิบายให้ผู้ป่วยทราบถึงวิธีการขอความช่วยเหลือต่างๆจากเจ้าหน้าที่และให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยในการให้ความช่วยเหลือไม่ทอดทิ้งไม่ข่มขู่และช่วยปลอบใจให้ผู้ป่วยคลายกังวล
8.ดูแลสุขอนามัยของร่างกายและเสื้อผ้าผู้ป่วยให้สะอาดอยู่เสมอ
9.ดูแลความต้องการของผู้ป่วยเรื่องการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
10.ดูแลจัดเก็บอุปกรณ์การแพทย์ สิ่งของเครื่องใช้สิ่งแวดล้อมต่างๆเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและสะดวกสบายต่อผู้ป่วย
12.ประเมินความพร้อมของผู้ป่วยว่าจะสามารถยุติการผูกยึดได้หรือไม่เช่นความรู้สึกตัวการตอบสนองของระบบประสาทการร่วมมือในการรักษาการควบคุมตนเองได้การลดลงของพฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว
13.บันทึกข้อมูลต่างๆ จากการประเมินลงในแบบบันทึกการรักษาพยาบาล ได้แก่เวลาที่เริ่มผูกยึดผู้ป่วย สัญญาณชีพ พฤติกรรมของผู้ป่วย จำกัดการเคลื่อนไหวเฉพาะส่วนที่ต้องการผูกยึดอวัยวะส่วนอื่่นสามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
1.ทบทวนแผนการดูแลรักษาผู้ป่วยเพื่อแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
ด้านจิตใจ
1.พูดคุยรับฟัง ความรู้สึก ประคับประคองจิตใจ อธิบายเหตุผลของการผูกยึด เพื่อช่วยลดความรู้สึกด้านลบ
2.เมื่อผู้ป่วยสงบลงพูดคุยให้ผู้ป่วย ได้ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น ได้เห็นถึงพฤติกรรมของตนเอง และแนวทางการป้องกันเพื่อไม่ให้ถูกผูกยึดอีก
ด้านสังคม
2.จัดสิ่งแวดดล้อมต่างๆให้เกิดความปลอดภัยหรือความสุขสบายแก่ผู้ป่วย
3.อธิบาย Crisis Intervention ตามความจำเป็น เช่น การจำกัดพฤติกรรม
1.พูดคุยกับผู้ป่วยอย่างน้อย 1-2 ครั้ง ๆ เพื่อลดอาการเครียดของผู้ป่วย
4.การให้เหตุผลข้อมูลต่างๆ แก่ญาติ เกี่ยวกับการผูกยึดหรือการจำกัดพฤติกรรม
5.สื่อสารกับผู้ป่วยโดยใช้เทคนิคการสื่อสาร และอธิบายการช่วยเหลือทำข้อตกลงกับผู้ป่วยเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เหมาะสมที่จะคลายการผูกยึดและสื่อสารกับญาติและผู้ป่วย บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจถึงเหตุผลและแนวทางการรักษารับฟังอย่างตั้งใจและให้ญาติได้ ระบายความรู้สึก
ด้านจิตวิญญาณ
พยาบาลและทีมผู้รักษาปฏิบัติกับผู้ป่วยอย่างให้เกียรติ เคารพสิทธิผู้ป่วย และกระทำเพื่อเป็นไปในการบำบัดรักษา ไม่ใช่เป็นการลงโทษผู้ป่วย
2.ให้ผู้ป่วยตระหนักในคุณค่าชีวิตและศักดิ์ศรีของตนเอง การเสริมสร้างคุณค่าในตนเองพยาบาลและญาติจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าชีวิตของผู้ป่วยมีความหมาย และมีค่า และต้องไม่ลืมว่าผู้ป่วยเป็นบุคคลหนึ่งเหมือนเรา ต้องการความสุข การยอมรับนับถือ การใช้วาจาที่สุภาพนุ่มนวลต่อผู้ป่วยให้เขาได้รับรู้ ไม่ควรห่างเหินผู้ป่วยมาก