Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณี ผู้ป่วยเกิดความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกันในหอผู้ป่วย (2.ประเมินอารมณ์…
กรณี ผู้ป่วยเกิดความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกันในหอผู้ป่วย
1.สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
การสร้างความไว้วางใจ (Trust) ซึ่งเป็นความรู้สึก
เชื่อมั่นอย่างจริงใจ
พยาบาลจะต้องมีความสม่ำเสมอและจริงใจ เพราจะช่วยให้
ผู้รับบริการค่อย ๆ สร้างความเชื่อถือในตัวพยาบาล
2.ประเมินอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของผู้ป่วย
อารมณ์ มีอารมณ์หงุดหงิด โกรธ ผิดหวัง หรือ เสียหน้า มีการควบคุมอารมณ์ได้หรือไม่ มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็วหรือไม่
ความคิด มีความคิดต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร มีความคิดหมกมุ่นหรือวกวนอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือไม่ มีความคิดทำร้ายตนเอง และผู้อื่นหรือไม่
พฤติกรรม : มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ขาดการยับยั้ง ชอบทำลายข้าวของ มีการพูดแบบสุภาพแต่ไม่ทำตามที่พูด หรือพูดเสียงดัง ด่าทอหรือไม่
3.ประเมินสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
สังเกตพฤติกรรมการแสดงออกของผู้ป่วย
5.การวางแผนและให้การพยาบาลที่สอดคล้องกับสาเหตุ
หลักการการพยาบาล
ให้การยอมรับผู้ป่วย และตระหนักว่าพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกนั้นมีความหมายที่ผู้ป่วยใช้ในการสื่อสารถึงความคับข้องใจ ความทุกข์ใจ การไม่ได้รับความรัก การยอมรับ หรือเพื่อปกป้องตนเอง
ให้ความรัก ความเข้าใจ ความมั่นคง เชื่อถือและไว้ใจได้ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกเชื่อมั่นและไว้วางใจพยาบาล
มีความอดทน มั่นคง สุขุม ต่อการแสดงพฤติกรรมของผู้ป่วย หลีกเลี่ยงการตอบโต้ด้วยอารมณ์ คำพูด หรือพฤติกรรมที่รุนแรง
หลีกเลี่ยงการให้สิทธิพิเศษ การต่อรอง การโต้แย้ง และการวิพากษ์วิจารณ์ผู้ป่วยกับบุคคลอื่น
ฝึกทักษะการจัดการกับปัญหา และการควบคุมตนเองให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติตามกฎกติกา และการเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น และให้แรงเสริมทางบวก
อธิบายการจำกัดพฤติกรรม (limit setting) ให้ผู้ป่วยทราบตั้งแต่เริ่มแรก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม และไม่สามารถควบคุมได้ว่าผู้ป่วยอาจได้รับการพิจารณาให้ถูกจำกัดพฤติกรรม
4.ค้นหาและวิเคราะห์สาเหตุหรือแรงจูงใจที่ทำให้แสดงพฤติกรรม
เปิดโอกาสและรับฟังสิ่งที่ผู้ป่วยเล่าโดยให้การยอมรับและไม่ตัดสินผู้ป่วยเหตุผล