Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาล กรณีผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าครั้งแรก…
การพยาบาล กรณีผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าครั้งแรก
ด้านร่างกายและตรวจเอกสาร
ตรวจดูแฟ้มประจำตัวผู้ป่วยดูผลการตรวจร่างกายการตรวจทางห้องปฏิบัติการและใบยินยอมการรักษามีหรือไม่หากมีผลเป็นอย่างไร
ให้ผู้ป่วยงดน้ำ-อาหาร-ยาอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงก่อนทำหรืองดมื้อเช้า
วัดสัญญาณชีพก่อนทำให้ยา Atropine กรณีทำการรักษาแบบ Modified Electro convulsive Therapy เพื่อลดการหลังของสารคัดหลัง
ให้ผู้ป่วยอาบน้ำสระผมให้สะอาดเช็ดให้แห้งดูแลไม่ให้ผู้ป่วยทาน้ำมันทาผมเพราะจะเป็นตัวกั้นกระแสไฟฟ้าได้
เก็บของมีค่าฟันปลอมและโลหะอื่น ๆ ออกจากตัวผู้ป่วยให้หมดและให้ผู้ป่วยใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ และดูแลไม่ให้ผู้ป่วยทาปากทาเล็บเพื่อให้สามารถสังเกตอาการขาดออกซิเจนได้
ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะก่อนทำ เป็นเวลา 10-15 นาทีเพื่อป้องกัน Rupture Bladder
ด้านจิตใจ
อธิบายเหตุผลที่ต้องทำ ECT โดยบอกว่า เป็นการรักษาอย่างหนึ่งที่จะช่วย ให้อาการไม่สบายใจต่างๆดีขึ้น
บอกถึงขั้นตอนในการทำอย่างคร่าวๆ โดยบอกว่าขณะทำผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวดจะหลับไปชั่ว ครู่แล้วฟื้นขึ้นมา (ในกรณีที่ทำ ECT แบบ Modified Electroconvulsive Therapy) ระหว่างทำจะมีแพทย์และพยาบาลคอยดูแลผู้ป่วยตลอดเวลา
ใช้คำว่า รักษาโดยใช้ไฟฟ้า แทนคำว่าช๊อตไฟฟ้าเพราะฟังดูน่ากลัว
บอกให้ผู้ป่วยทราบว่า อาการงุนงงละจำไม่ค่อยได้ จะเป็นชั่วคราว แล้วความจำจะค่อยๆกลับมาให้โอกาสผู้ป่วยซักถามข้อสงสัยและระบายความรู้สึกกลัว ความวิตกกังวล
ในระหว่างนี้ควรมีพยาบาลอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยกลัวและวิตกกังวลมากในกรณีที่ผู้ป่วยวิตกกังวลสูง หรือกลัวการรักษามากเกินไป พยาบาลควรบอกเหตุผล ตอบปัญหาที่ผู้ป่วยถามเน้นว่าเป็นความจำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยไม่ใช่เป็นการทำโทษและให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยลดความกลัว
ด้านอุปกรณ์การทำ ได้แก่
เตรียมสถานที่เตรียมเครื่องออกซิเจนในรายฉุกเฉิน
เครื่องดูดสารคัดหลั่ง
ฉากกั้นผู้ป่วย
สายไฟปลั้กเครื่อง ECT
Tray ใส่สายยางรัดศีรษะ Electrode ไม้กดลิ้น Jelly ลูกสูบยางแดงเครื่องโกนหนวด Tourmiquet
การเตรียมยาที่สำคัญยา Sedative Muscle relaxant ยาฉุกเฉินที่ใช้กระตุ้นหัวใจ
ด้านจิตวิญญาณ
ปฏิบัติการพยาบาลแก่ผู้ป่วยโดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา ยึดหลักจริยธรรม และ จรรยาบรรณของวิชาชีพ
ให้การดูแลผู้ป่วยทุกรายเป็นอย่างดี ตัดสินใจให้การดูแลผู้ป่วยแต่ละราย ตามความเหมาะสม
ปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้ป่วยทุกรายอย่างเท่าเทียมกันด้วยความเอื้ออาทร เป็นกันเอง ไม่ละเลยทอดทิ้ง เห็นอกเห็นใจ เอาใจใส่ใกล้ชิด
ปฏิบัติต่อผู้ป่วยทุกรายโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สุภาพอ่อนโยน ปราศจากการบังคับ ขู่เข็ญ ล่วงเกิน อธิบายหรือแจ้งให้ผู้ป่วยทราบทุกครั้งก่อนปฏิบัติการพยาบาล
ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติ การใช้อำนาจหน้าที่และข้อได้เปรียบเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
เคารพในความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาหรือพิธีกรรมของผู้ป่วย
เป็นตัวแทนผู้ป่วยและครอบครัวในการสื่อสารกับทีมสหวิชาชีพ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาพยาบาลภายใต้ข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจน
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยและครอบครัวซักถามและขอความช่วยเหลือ
ด้านสังคม
อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่า ถ้าได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้าแล้วก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้เช่นเดิม
ให้ข้อมูลการดูแลตนเองที่บ้านแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ให้สามารถปฏิบัติหรือดูแลตนเองหลังทำการรักษาด้วยไฟฟ้าเช่น ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ช่องทางการขอความช่วยเหลือ สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้าน ฯลฯ
แนะนำว่าให้ทำกิจกรรมได้ตามปกติ เช่น การออกกำลังกาย และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทางสังคม เพื่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อคนในชุมชน