Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปวดศีรษะ
(Headache) (ลักษณะอาการ (1.ปวดหัวไมเกรน (Migraine)โรคไมเกรน…
ปวดศีรษะ
(Headache)
คำนิยาม
ปวดหัว (Headaches) หรือปวดศีรษะ เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณศีรษะหรือคอส่วนบน ซึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อและโครงสร้างรอบกระโหลกศีรษะหรือสมองเกิดการอักเสบหรือระคายเคือง จนทำให้เกิดอาการปวดขึ้น โดยอาการปวดอาจมาจากเส้นประสาทบริเวณหนังศีรษะ ใบหน้า ปาก และคอ กล้ามเนื้อของคอหรือไหล่ และหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงสมอง
สาเหตุของการปวดศีรษะ
-
-
3. อาการปวดเส้นประสาทสมอง ปวดใบหน้าและปวดศีรษะจากสาเหตุอื่นๆ (painful cranial neuropathies, other facial pains and other headaches)
เป็นโรคปวดศีรษะที่เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมอง เช่น อาการปวดศีรษะจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (trigeminal neuralgia) อาการปวดเส้นประสาทสมองคู่ที่ 9 (glossopharyngeal neuralgia) อาการปวดเส้นประสาทท้ายทอย (occipital neuralgia) อาการปวดจากเส้นประสาทตาอักเสบ (optic neuritis) ปวดจากภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ (central post-stroke pain) อาการปวดแสบร้อนในปาก (burning mouth syndrome) เป็นต้น
ลักษณะอาการ
1.ปวดหัวไมเกรน (Migraine)โรคไมเกรน เกิดจากความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่ผิวสมองทำให้กระทบกับการไหลเวียนของเลือดในสมอง ส่งผลให้หลอดเลือดสมองเกิดการขยายตัวและเกิดการอักเสบและทำให้ปวดหัวในที่สุดค่ะ โดยการปวดหัวแบบไมเกรนนี้มักจะมีอาการปวดหัวข้างเดียว ลักษณะจะเป็นการปวดตุบๆ คล้ายเส้นเลือดเต้น
2.ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
โรคความดันโลหิตสูง มักเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน การดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ เป็นต้น โดยผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในบางรายอาจจะมีอาการปวดหัว ปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนหัว ซึ่งมักจะเป็นตอนตื่น ในบางรายอาจมีอาการปวดหัวคล้ายการปวดแบบไมเกรน
3.โรคข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว (TMJ)
เป็นอาการความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณใบหน้า ปวดหัว ขมับ กกหู และขากรรไกร นอกจากนี้ในบางรายอาจมีอาการอ้าปากไม่ขึ้นหรือขากรรไกรค้าง
4.ไซนัสอักเสบ (Sinus)
ไซนัสอักเสบคือโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดหน่วงๆ ตามจุดต่างๆ เช่น หน้าผาก หัวตา โหนกแก้ม หรือรอบกระบอกตา ผู้ป่วยมักจะมีน้ำมูกข้นสีเหลืองหรือเขียว ในบางรายอาจมีอาการแน่นจมูกหรือมีอาการหายใจมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย
5.โรคปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster)
เป็นอาการผิดปกติทางระบบประสาท โดยจะมีอาการปวดหัวเป็นชุดๆ นานครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง เป็นเวลาเดิมๆ ของทุกวัน อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์จะปวดบริเวณขมับ เบ้าตา น้ำตาไหล น้ำมูกไหล ส่วนใหญ่จะมีอาการในช่วงเช้าและช่วง 2-4 โมงเย็น
6.ปวดศีรษะจากเครียด (Tension)
อาการปวดหัวแบบ Tension จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีความเครียด โดยร่างกายจะหลั่งสารเคมีบางชนิดทำให้กล้ามเนื้อบริเวณขมับ ศีรษะ บ่า ไหล่มีการหดตัวและก่อให้เกดเป็นอาการปวดหัวขึ้นได้ โดยทั่วไปเมื่อมีอาการปวดหัวจากความเครียดแล้ว ควรหาเวลาพักผ่อน ทานยาแก้ปวดเป็นบางครั้งคราวก็ได้ แต่หากมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์
-
พยาธิของอาการปวดศีรษะ
เนื้อเยื่อศีรษะ ที่รับความรู้สึกเจ็บได้ ได้แก่ เยื่อหุ้มกระดูก หลอดเลือดแดงใหญ่ หลอดเลือดดำใหญ่ (Venous sinus) หลอดเลือดดำที่สมอง เยื่อดูรามาเตอร์ที่ทอดไปตามพื้นสมองด้านหน้าและด้านหลัง หลอดเลือดแดงที่อยู่บนเยื่อหุ้มสมองทั้งสาม และเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5, 9, 10 รวมทั้งเส้นประสาทสันหลังส่วนคอระดับ 2, 3 อวัยวะของหน้าและหนังศีรษะ ได้แก่ กล้ามเนื้อหน้า เยื่อบุตา ผิวหนัง หู รูจมูก โพรงอากาศ ฟัน ล้วนรับความรู้สึกเจ็บได้ เนื้อสมองไม่รับความเจ็บ การดึง ยึด การอักเสบ หรือกด ส่วนที่ไวต่อความเจ็บปวดนี้จะก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ
-
-
-
-
-