Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล พระป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีกล่าง (ผู้ป่วยรู้สึกสูญเส…
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
พระป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีกล่าง
ผู้ป่วยรู้สึกสูญเสียความภาคภูมิใจในตัวเองเนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเดิม
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้บอกว่าคลำไปที่แผลแล้วพรุนไปทั้งหลังแล้วรู้สึกหมดกำลังใจ
ผู้ป่วยบอกว่าเมื่อก่อนยังพอดูแลตัวเองได้แต่ตอนนี้ไม่ได้ทำแล้ว
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะดูแลรักษาตัวเอง
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยมีความกระตือรือร้นที่จะดูแลรักษาตัวเอง
ผู้ป่วยกลับมามีความภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
พูดคุยกับผู้ป่วย รับฟังความรู้สึกของผู้ป่วยด้วยความเต็มใจ
พูดให้กำลังใจผู้ป่วย ไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกหมดความภาคภูมิใจในตัวเอง
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ(Urinary tract)เนื่องจากคาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน
วัตถุประสงค์
ป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
เกณฑ์การประเมิน
บริเวณ Perineum สะอาดและไม่อับชื้น
น้ำปัสสาวะใส ไม่มีตะกอนขุ่น
อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 36.0 °C - 37.4 °C
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลความสะอาดบริเวณที่ใส่สายสวนปัสสาวะได้เอง
มีท่อเปิดสู่กระเพาะปัสสาวะทำให้มีโอกาสที่เชื้อโรคจะเข้าไปในทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลความสะอาดบริเวณ perineum สะอาดและไม่อับชื้น
สังเกตลักษณะ ปริมาณ และสีของน้ำปัสสาวะ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอย่างน้อยวันละ 2,000 ซีซี
บันทึกปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยได้รับและปริมาณปัสสาวะที่ออกทุก 8 ชั่วโมง
ประเมินอุณหภูมิร่างกายทุก 8 ชั่วโมง
ดูแล Foley catheter ให้อยู่ในระบบปิด (closed system) โดยการไม่ปลดข้อต่อระหว่างสายสวนปัสสาวะกับถุงรองรับน้ำปัสสาวะ
ดูแลถุงรองรับน้ำปัสสาวะ (urine bag) ให้อยู่ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะและจัดให้ urine bag อยู่สูงกว่าพื้นห้องเสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากน้ำปัสสาวะจาก urine bag ไหลย้อนเข้าไปในสายสวนปัสสาวะ
ดูแลให้น้ำปัสสาวะไหลลง urine bag ได้สะดวก ไม่คั่งค้าง โดยหมั่นรูดสายยางบ่อยๆและดูแลไม่ให้สายสวนปัสสาวะบิดงอหรือถูกกดทับ
เปลี่ยน Foley catheter และ urine bag ทุก 2-4 สัปดาห์ หากประเมินว่าผู้ป่วยเริ่มมีอาการของการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะควรเปลี่ยนสายสวนและถุงปัสสาวะใหม่ทันทีและอาจต้องส่งตรวจปัสสาวะตรวจเป็นระยะ
ใช้ aseptic technique ในการเทน้ำปัสสาวะทุกครั้ง และปิดท่อที่เทน้ำปัสสาวะออกตลอดเวลา
พร่องสุขวิทยาส่วนบุคคลเนื่องจากผู้ป่วยเป็นอัมพาตเคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างไม่ได้
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันที่เป็นการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลได้มากที่สุดโดยมีคนที่ดูแลช่วยเหลือ
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยสามารถทำความสะอาดร่างกายในบางส่วนได้เหมือนก่อนหน้านี้ เช่น ทำความสะอาดขาหลังอุจจาระ
เสื้อผ้าและสิ่งแวดล้อมสะอาด
ร่างกาย ปาก และฟันสะอาด
ข้อมูลสนับสนุน
อาบน้ำด้วยตัวเองไม่ได้
ทำความสะอาดแผลกดทับด้วยตัวเองไม่ได้
ใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเองไม่ได้
กิจกรรมการพยาบาล
จัดหาแปรงสีฟัน ยาสีฟัน และน้ำให้ผู้ป่วยได้ทำความสะอาดปากและฟันอย่างน้อยวันละ2ครั้ง
ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
ช่วยผู้ป่วยนั่งรถเข็นและพาไปอาบน้ำในห้องน้ำเช้า-เย็น
เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ผู้ป่วยทุกครั้งเมื่อมีการเปียกชื้น
ผู้ป่วยเป็นแผลกดทับเนื่องจากไม่มีการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างเป็นเวลานานหลายปี
เกณฑ์การประเมิน
แผลกดทับที่เป็นอยู่ค่อยๆดีขึ้นทุกวัน
แผลกดทับไม่มีการติดเชื้อ
ผิวหนังมีความชุ่มชื้นไม่แห้งกร้าน
ผิวหนังไม่มีรอยแดง ไม่มีแผลกดทับเพิ่ม
กิจกรรมการพยาบาล
พลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก2ชั่วโมง
ดูแลผิวหนังของผู้ป่วยให้สะอาดอยู่เสมอ
ดูแลผิวหนังของผู้ป่วยให้ชุ่มชื้นด้วยการทาโลชั่นหรือน้ำมันออย
ดูแลที่นอนของผู้ป่วยให้ตึงอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสการเกิดแผลกดทับ
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยหายจากการเป็นแผลกดทับ
ไม่เป็นแผลกดทับที่ตรงอื่นเพิ่ม
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยไม่สามารถขยับร่างกายส่วนล่างได้
ไม่มีคนคอยช่วยพลิกตะแคงตัว
ผู้ป่วยไม่ได้พลิกตะแคงทุก2ชั่วโมง
ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองด้อยค่าเนื่องจากต้องพึ่งพาผู้อื่น
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยบอกว่า ดูจากสภาพตัวเองแล้ว ญาติคงไม่มีต้อนรับ คงปล่อยตัวใครตัวมัน
ผู้ป่วยบอกว่า ถุงใส่อุจจาระที่เก็บใส่ถุงไว้แล้ว ก็ต้องให้คนอื่นช่วยมาเอาไปทิ้งให้
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อญาติ
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้เป็นภาระ
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยมีกำลังใจในการรักษามากขึ้น
ผู้ป่วยไม่รู้สึกว่าตัวเองไม่มีใครอยากดูแล
ผู้ป่วยรับการรักษาอย่างมีความหวัง
กิจกรรมการพยาบาล
ให้คำแนะนำกับญาติ และคนที่ดูแลผู้ป่วยว่าให้คอยให้กำลังใจผู้ป่วย อย่าให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระ
บอกผู้ป่วยอยู่เสมอเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วย
พูดคุยและให้กำลังใจผู้ป่วย