Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวางแผนการพยาบาลของพระป่วยเป็นอัมพาตครึ่งตัว (ข้อวินิจฉัยที่1…
การวางแผนการพยาบาลของพระป่วยเป็นอัมพาตครึ่งตัว
ข้อวินิจฉัยที่1 มีภาวะแทรกซ้อนเนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้จากการเป็นอัมพาต
ข้อสนับสนุน
1.มีแผลกดทับบริเวณด้านหลัง
2.อยู่บนเตียงตลอดเวลา
3.ขยับและช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง
วัตถุประสงค์
แผลแห้งดีไม่มีdischargeไหลซึม
ไม่เกิดแผลกดทับเพิ่มที่บริเวณอื่น
เกณฑ์การประเมิน
แผลแห้งดีไม่มี discharge ไหลซึม
ขอบแผลไม่เปื่อยยุ่ย
ผิวหนังไม่มีรอยแดงไม่เกิดการฉีกขาดของผิวหนังหรือแผลถลอกเพิ่มบริเวณอื่น
ผิวชุ่มชื้นและมีความยืดหยุ่นดี
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินตำแหน่ง ขนาด พื้นแผล สารคัดหลั่ง ขอบของแผล และบริเวณรอบๆแผล
แนะนำญาติให้ช่วยเหลือผู้ป่วยในการพลิกตะแคงตัวอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง การเลื่อนผู้ป่วยขึ้นหัวเตียง การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยควรทำอย่างนุ่มนวลไม่ควรให้ผิวหนังถูเสียดสีกับที่นอนจะทำให้เกิดแผลถลอกได้ง่าย
ดูแลผ้าปูที่นอนให้สะอาดและเรียบตึงอยู่เสมออาจเสริมที่นอนฟองน้ำหรือที่นอนลมให้ผู้ป่วยเพื่อกระจายแรงกดทับไม่ให้กดผิวหนังบริเวณใจบริเวณหนึ่งมากเกินไป
ดูแลทำความสะอาดแผลทุกวันเพื่อสนับสนุนการหายดีของแผล
ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีผลต่อการหายของแผล
การประเมินการพยาบาล
ไม่เกิดแผลกดทับเพิ่มที่บริเวณอื่น
แผลแห้งดีไม่มี discharge ไหลซึม
ญาติมีการช่วยเหลือผู้ป่วยในการพลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง
ข้อวินิจฉันที่2 เสี่ยงต่อภาวะร่างกายพร่องออกซิเจนเนื่องจากพื้นที่ในปอดน้อย
ข้อมูลสนับสนุน
ดูดบุหรี่เป็นเวลา 20 ปี
มีอาการเหนื่อยหอบขณะพูด
ผล chest X ray พบพื้นที่ของปอดน้อย
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่มีอาการเหนื่อยหอบขณะพูด
ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
วัตถุประสงค์
ป้องกันการลดลงของพื้นที่ปอด และ ร่างกายได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ โดนเฉพาะลักษณะการหายใจ
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนศีรษะสูงเพื่อให้หายใจได้สะดวก
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเลิกดูดบุหรี่
คอยรับฟังและให้กำลังใจผู้ป่วยในการเลิกดูดบุหรี่
การประเมินการพยาบาล
พื้นที่ของเนื้อปอดเหลือเท่าเดิม
ผู้ป่วยมีการหายใจปกติ
ข้อวินิจฉัยที่3 พร่องสุขวิทยาส่วนบุคคลเนื่องจากเป็นอัมพาต
ข้อสนับสนุน
สามารถเคลื่อนไหวได้เฉพาะบนเตียงไม่สามารถลุก นั่ง ได้
ขาดคนคอยช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวันประจำวัน
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้มากที่สุดโดยมีคนช่วย
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยช่วยตัวเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น
เสื้อผ้าและสิ่งแวดล้อมสะอาด
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
สอนคนดูแลให้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ถูกวิธี
เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ผู้ป่วยทุกครั้งเมื่อมีการเปียกชื้น
ดูแลให้หม้อนอนเมื่อผู้ป่วยต้องการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะและทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์หลังการขับถ่ายทุกครั้ง
การประเมินการพยาบาล
มีคนคอยช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวันอยู่เสมอ
ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น
ข้อวินิจฉัยที่4 หมดความภูมิใจในตนเองเนื่องจากต้องพึ่งพาผู้อื่น
ข้อสนับสนุน
ผู้ป่วยพูดว่าบางทีก็ท้อ
ต้องพึ่งพาผู้อื่นในการทำกิจวัตรประจำวัน
ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เท่าแต่ก่อน
ขณะพูดมีน้ำเสียงและสีหน้าดูซึมเศร้า
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่ามากขึ้นและเป็นที่รักของครอบครัว
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยซึมเศร้าลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรู้สึก การแสดงออกของผู้ป่วยทั้งคำพูดและพฤติกรรม
บอกผู้ป่วยทุกครั้งเมื่อจะทำอะไรให้ผู้ป่วย
พูดกับผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวล อ่อนโยน และรับฟังผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยต้องการพูด ไม่แสดงทีท่าเร่งรีบ หรือรังเกียจ
ไม่ตำหนิผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยทำอะไรผิดพลาด
ให้กำลังใจผู้ป่วย พูดให้เห็นความสามารถของตนเอง
แนะนำญาติให้กำลังใจและให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจกรรมต่างๆ
การประเมินการพยาบาล
ผู้ป่วยมีอาการเศร้าเป็นบางครั้ง เมื่อพยาบาลและญาติให้กำลังใจผู้ป่วยมีสีหน้าดีขึ้น พูดคุยกับผู้อื่นมากขึ้น
ข้อวินิจฉัยที่5 เสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อของแผลกดทับ
ข้อสนับสนุน
มีแผลกดทับขนาดใหญ่บริเวณก้น
ไม่ได้รับการทำความสะอาดเพราะไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
สิ่งแวดล้อมรอบๆตัวไม่ค่อยสะอาดเท่าที่ควร
ไม่สามารถพลิกตะแคงตัวเองได้เนื่องจากอายุมากแล้ว
วัตถุประสงค์
ป้องกันการติดเชื้อของแผล
เกณฑ์การประเมิน
แผลแห้งแดงดีไม่มีการบวม
อุณหภูมิร่างกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อของแผลกดทับ
ทำความสะอาดแผลทุกวัน
ให้ญาติช่วยพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมงเพื่อไม่ให้เกิดแผลกดทับเพิ่ม
ดูแลสิ่งแวดล้อมรอบๆให้สะอาดให้อากาศถ่ายเทได้ดี
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารที่มีผลต่อการหายของแผลได้ดี
การประเมินการพยาบาล
บริเวณแผลสะอาด แห้งสีแดงดีไม่มีแผลกดทับที่บริเวณอื่นเพิ่ม สิ่งแวดล้อมรอบๆอากาศถ่ายเทดี