Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิการพยาบาลของพระสุนันท์ เพิ่มพงษ์ (เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาว…
ข้อวินิการพยาบาลของพระสุนันท์ เพิ่มพงษ์
เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เนื่องจากคาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลความสะอาดบริเวณที่ใส่สายสวนปัสสาวะได้เอง
วัตถุประสงค์
ป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
เกณฑ์การประเมินผล
น้ำปัสสาวะใส ไม่มีตะกอนขุ่น
อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 36.5 - 37.4 องศาเซลเซียส
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลความสะอาดบริเวณรอบๆรูเปิดการใส่สายสวนปัสสาวะ
สังเกตลักษณะ ปริมาณ และสีของน้ำปัสสาวะ
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอย่างน้อยวันละ 2,000 ซีซี
บันทึกปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยได้รับและปริมาณปัสสาวะที่ออกทุก 8 ชั่วโมง
ประเมินอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง
ดูแล Foley Catheter ให้อยู่ในระบบปิด โดยการไม่ปลดข้อต่อระหว่างสายสวนปัสสาวะกับถุงรองรับน้ำปัสสาวะ
ดุแลถุงรองรับน้ำปัสสาวะ (Urine bag) ให้อยู่ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะและจัดให้ Urine bag อยู่สูงกว่าระดับพื้นห้องเสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อเนื่องจากน้ำปัสสาวะจาก Urine bag ไหลย้อนเข้าไปในสายสวนปัสสาวะ
พร่องสุขวิทยาส่วนบุคคลเนื่องจากไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวร่างกายท่อนล่างได้
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยไม่สามารถขยับร่างกายท่อนล่างได้
เวลาเคลื่อนไหวจะลุกนั่งได้เฉพาะบนเตียงแต่ลงนั่งข้างเตียงและเดินไม่ได้
ผู้ป่วยมีร่างกายไม่สะอาด
ผู้ป่วยไม่มีผู้ดูแล
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขวิทยาที่ดีขึ้น
เพื่อให้ร่างกายผู้ป่วยสะอาดยิ่งขึ้น
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยมีสุขวิทยาที่ดีขึ้น
ผู้ป่วยมีร่างกายสะอาด
เสื้อผ้าและสิ่งแวดล้อมสะอาด
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆ
จัดหาแปรงสีฟัน ยาสีฟัน และน้ำให้ผู้ป่วยได้ทำความสะอาดปากและฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และดูแลให้
ช่วยทำ Complete Bed Bath ให้ผู้ป่วย
เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ผู้ป่วยทุกครั้งเมื่อมีการเปียกขื้น
จัดให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้สะดวก เช่น วางถาดบนโต๊ะคร่อมเตียง ตั้งแก้วน้ำไว้ใกล้มือให้ผู้ป่วยหยิบเองได้สพดวกส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเองได้โดยมีผู้ช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆ
ดูแลให้หม้อนอนเมื่อผู้ป่วยต้องการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะและทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์หลังการขับถ่ายทุกครั้ง
เกิดภาวะข้อยึดติดเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถขยับร่างกาย
ท่อนล่างได้
ข้อมูสนับสนุน
ผู้ป่วยเป็นอัมพาตครึ่งล่าง (Paraplegia)
ผู้ป่วยไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวร่างกายท่อนล่างได้
วัตถุประสงค์
ไม่ก่อให้เกิดภาวะข้อยึดติดเพิ่ม
เกณฑ์การประเมินผล
เคลื่อนไหวร่างกายและข้อต่างๆได้ดีขึ้น
ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆได้มากขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
พลิกตะแคงตัวทุก 2 ชั่วโมง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้มีการออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวข้อต่างๆด้วยการทำกายภาพบำบัด
เคลื่อนไหวข้อต่างๆภายในขอบเขตการเคลื่อนไหว
ประเมินการถูกกดของเส้นประสาท
ทำกิจกรรมกายภาพบำบัดตามแผนการรักษา
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่แผลกดทับเนื่องจากผู้ป่วยมีแผลกดทับขั้นรุนแรงและไม่สารถขยับเคลื่อนไหวร่างกายได้ด้วยตนเอง
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยเป็นอัมพาตครึ่งล่าง (Paraplegia)
ผู้ป่วยมีแผลกดทับขั้นรุนแรงที่สะโพก
ผู้ป่วยไม่สามารถขยับเคลื่อนไหวร่างกายท่อนล่างได้
วัตถุประสงค์
ไม่เกิดการติดเชื้อที่แผลกดทับ
เกณฑ์การประเมิน
แผลกดทับสะอาดแห้ง
สีของสารคัดหหลั่งไม่สัมผัสกับแผลนาน
ผิวหนังรอบๆแผลกดทับไม่บวมแดง
สัญญาณชีพปกติ ไม่มีไข้
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินลักษณะของแผลและสารคัดหลั่ง
ทำแผลโดยยึดหลัก Aseptic Technique และหมั่นเปลี่ยน
ผ้าก๊อซ ปิดแผลบ่อยๆเมื่อมัสารคัดหลั่งออกมาจากแผล เพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อผิวหนัง
สังเกตและบันทึกลักษณะสีจำนวน ของสารคัดหลั่งสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลความสะอาดบริเวณรอบๆตัวผู้ป่วย เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค
จัดสภาพแวดล้อมตัวผู้ป่วยให้สะอาด เข่น เตียง ที่นอน ผ้าปูเตียง ปลอกหมอน รวมทั้งดูแลของใช้ให้สะอาดแบะมีเท่าที่จำเป็น
ผู้ป่วยมีภาวะติดบุหรี่เนื่องจากวิตกกังวลกับโรคที่ตนเป็น
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยสูบบุหรี่วันละ1ซองมาเป็นเวลานาน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้
เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักถึงอันตรายของบุหรี่
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยสูบบุหรี่น้อยลงหรือผู้ป่วยสามารถเลิกบุหรี่ได้
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ความรู้ผู้ป่วยถึงอันตรายของบุหรี่
ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความร้ายแรงของพิษจากบุหรี่
ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเลิกบุหรี่
ส่งเสริมผู้ป่วยให้ปฏิบัติกิจกรรมในการเลิกบุหรี่อย่างถูกต้อง