Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางกายจากการสูบบุหรี่…
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางกายจากการสูบบุหรี่
เกณฑ์การประเมินผล
1.ผู้ป่วยมีใบหน้าสดชื่น ริมฝีปากอมชมพู
2.ผู้ป่วยนึกถึงการสูบบุหรี่ลดลง
3.อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ระหว่าง 120-160 ครั้งต่อนาที
4.อัตราการหายใจอยู่ระหว่าง 40-60 ครั้งต่อนาที
กิจกรรมทางการพยาบาล
1.ประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วยและสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติของผู้ป่วย
2.จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
3.เฝ้าระวังผู้ป่วย 24 ชั่วโมงและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงทุก15 นาที
4.สร้างสมัพนัธภาพเพื่อความไว้วางใจ
4.ดูแลให้ได้รับสารอาหารและน้ำเพียงพอ
5.ช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้ดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
6.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาตามแผนการรักษา
7.ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเรื่อง โรค การรักษา และการสังเกต อาการข้างเคียงของยา
8.จัดให้ผู้ป่วยเข้ากิจกรรมบพบักที่ง่ายๆไม่ซับซ้อนและ ระยะเวลาสั้น
9.ให้ข้อมูลความรู้เรื่องโรคและ แนวทางการรักษาแก่ญาติ
ข้อมูลสนับสนุน
1.ผู้ป่วยมีใบหน้าคล้ำ รอบปากคล้ำสีหน้าไม่สดชื่น
2.ผู้ป่วยบอกสูบบุหรี่มานาน เลิกไม่ได้
วัตถุประสงค์
1.เพื่อลดความต้องการออกซิเจนของอวัยวะต่าง ๆ
2.ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือดและเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือด
3.ผู้ป่วยสามารถเลิกสูบบุหรี่
ผู้ป่วยเกิดแผลกดทับเนื่องจากไม่สามารถเคลื่อนไหวได้จากการเป็นอัมพาต (CVA)
ข้อมูลสนับสนุน
1.แขนขาอ่อนแรงเคลื่อนไหวร่างกายเองไม่ได้ ผิวหนังบริเวณก้นกบ เรื่มมีรอยแดง
2.ผู้ป่วยไม่สามารถเคบื่อไหวร่างกายเองได้
วัตถุประสงค์
ไม่ให้เกิดแผลกดทับเพิ่ม ไม่เกิดข้อติด
เกณฑ์การประเมินผล
1.ผิวหนังไม่มีรอยแดง ไม่เกิดการฉีกขาดของผิวหนังหรือแผลถลอก
2.ผิวหนังชุ่มชื้นและมีความยืดหยุ่นดี
3.ข้อต่างๆไม่เกิดการติดยึดสามารถเคลื่อนไหวได้ตามขอบเขตการเคลื่อนไหวของแขนขา (ROM)
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินประเมินสภาพผิวหนัง โดยการสังเกตว่ามีรอยแดงหรือรอยกดทับอื่นหรือไม่ โดยเฉพาะผิวหนังบริเวณที่มีปุ่มรูปต่างๆ
2.แนะนำญาติให้ แนะนำญาติให้ช่วยเหลือผู้ป่วยในการพลิกตะแคงตัว อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง การเลื่อนตัวผู้ป่วยขึ้นหัวเตียง การพลิกตะแคงตัวผู้ป่วย ควรทำด้วยความนุ่มนวล ไม่ควรให้ผิวหนังถูเสียดสีกับที่นอน เพราะจะทำให้เกิดแผลถลอกได้ง่าย
3.สอนญาติให้นวดหลังและผิวหนังบริเวณที่มีปุ่มกระดูกเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ถ้าผิวหนังแห้งให้ทาน้ำมันหรือโลชั่น ช่วยให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นขึ้น
4.ดูแลผ้าปูที่นอนให้สะอาด แห้ง และเรียบตึงอยู่เสมอ อาจเสริมที่นอนฟองน้ำหรือที่นอนลม (Alpha-bed) ให้ผู้ป่วยเพื่อช่วยกระจายแรงกดทับไม่ให้กดผิวหนังบริเวณหนึ่งบริเวณใดมากเกินไป
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายเนื่องจากเป็นอัมพาตท่อนล่าง
ข้อมูลสนับสนุน
1.ผู้ป่วยเหนื่อยง่ายขณะเคลื่อนไหว
2.ผู้ป่วยอัมพาตท่อนล่าง
3.ผู้ป่วยไม่สามารถขยับร่างกายได้เอง
4.ผู้ป่วยไม่สามารถทรงตัวได้
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุ
เกณฑ์การประเมิน
1.เคลื่อนไหวได้เหมาะสมตามระดับความผิดปกติ
2.แสดงการปรับตัวต่อความบกพร่องในการเคลื่อนไหว
3.บอกวิธีการจัดการเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้
4.ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายหรือทำกิจกรรมต่างๆได้เพิ่มขึ้น
แนวทางการพยาบาล
1.ประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหว และสภาพอารามณ์ต่อความสามารถในการเคลื่อนไหว
2.อธิบายให้ทราบถึงความสัมพันธ์เกี่ยวกับปัญหาของการเคลื่อนไหวที่บกพร่อง
3.ส่งเสริมการเคลื่อนไหวบริเวณที่มีความบกพร่องโดยผู้ป่วยได้ปฏิบัติทุกวัน
4.ตรวจสอบความแข็งแรงของไม้กั้นเตียง ถ้ามีการเลื่อนหลุดต้องรีบแก้ไข
5.ดึงไม้กั้นเตียงขึ้นทั้งสองข้างทุกครั้งเมื่อผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง
6.ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวพยาบาลควรอยู่ใกล้ เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทันท่วงทีเมื่อผู้ป่วยต้องการ
7.กระตุ้นให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยและสอนญาติให้มีทักษะในการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างปลอดภัย
เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเนื่องจากคาสายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน
ข้อมูลสนับสนุน
1.ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลความสะอาดบริเวณที่ใส่สายสวนปัสสาวะเองได้
2.มีท่อเปิดสู่กระเพาะปัสสาวะทำให้มีโอกาสที่เชื้อโรคจะเข้าไปในทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
วัตถุประสงค์
ป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
เกณฑ์การประเมินผล
1.บริเวณ Perineum สะอาดและไม่อาบชื้น
2.น้ำปัสสาวะใส ไม่มีตะกอนขุ่น
3.อุณหภูมิร่างกายอยู่ระหว่าง 36.0 องศา ถึง 37.4 องศา
กิจกรรมการพยาบาล
1.ดูแลความสะอาดบริเวณ perineum อยู่เสมอโดยเฉพาะบริเวณรอบๆ สายสวนปัสสาวะ (Foley catheter)
2.สังเกตลักษณะ ปริมาณและสีของน้ำปัสสาวะ
3.ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอย่างน้อยวันละ 2000 ซีซี
4.บันทึกปริมาณน้ำที่ผู้ป่วยได้รับและปริมาณปัสสาวะที่ออกทุก 8 ชั่วโมง
5.ประเมินอุณหภูมิร่างกายทุก 4 ชั่วโมง
6.ดูแล Foley catherler ให้อยู่ในระบบปิด (closed system) โดยการไม่ปลดข้อต่อระหว่างสายสวนปัสสาวะกับถุงรองรับน้ำปัสสาวะ
7.ดุแลถุงรองรับน้ำปัสสาวะ (urine bag) ให้อยู่ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะและจัดให้ (urine bag) อยู่สูงกว่าระดับพื้นห้องเสมอเพื่อป้องกันการติดเชื้อ