Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากไม่สามารถขยับร่างกาย…
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
พร่องกิจวัตรประจำวันเนื่องจากไม่สามารถขยับร่างกายได้
จากการเป็นอัมพาต
ข้อมูลสนับสนุน
OD : ขาทั้งสองข้างไม่สามารถขยับได้
ผู้ป่วยนั่งอยู่บนเตียงเป็นเวลานาน
SD : ผู้ป่วยบอกว่า ‘ไม่ได้ลุกออกจากเตียงเลย’
ผู้ป่วยบอกว่า ‘ขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะใส่โถ แล้วจะมีคนมาเอาไปทิ้ง’
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยสุขสบาย มีสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ร่างกายไม่มีกลิ่นหรือสิ่งสกปรก
กิจกรรมการพยาบาล
ช่วยเผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ทำความสะอาดร่างกายทั่วไป ความสะอาดสิ่งเเวดล้อมรอบเตียง
ดูแลผู้ป่วยในเรื่องขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ เพราะผู้ป่วยไม่สามารถลุกไปเข้าห้องน้ำได้เอง จึงต้องดูแลผู้ป่วยในเรื่องการขับถ่ายอุจจาระเเละปัสสาวะ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบาย
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจวัตรประจำวันบางอย่างด้วยตัวเอง เช่น การรับประทานอาหาร การแปรงฟัน ล้างหน้า แต่ต้องมีผู้ดูแลคอยดูแลและให้ความช่วยเหลือในบางครั้ง เป็นต้น
เสี่ยงต่อภาวะผิวหนังเสียหน้าที่เนื่องจากการกดทับเป็นเวลานาน เพราะไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้
ข้อมูลสนับสนุน
OD : : ผู้ป่วยเป็นอัมพาตช่วงล่าง ไม่สามารถขยับได้
SD : ผู้ป่วยบอกว่า ‘ไม่ได้ลุกออกจากเตียงเลย’
ผู้ป่วยบอกว่า ‘บริเวณหลังมีแผลมาก’
วัตถุประสงค์
เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ
เกณฑ์การประเมิน
ไม่มีรอยแดง หรือถลอกบริเวณปุ่มกระดูก หรือบริเวณที่รับน้ำหนัก
ไม่เกิดแผลกดทับ ผิวหนังเรียบ ตึง ไม่มีรอยถลอกหรือฉีกขาด
ผิวหนังชุ่มชื่น มีความยืดหยุ่นดี
Braden Scale score > 16
กิจกรรมการพยาบาล
ให้การพยาบาลโดยลดแรงกดบริเวณผิวหนัง
อธิบายให้ผู้ป่วยและญาติเข้าใจเรื่องแผลกดทับ สาเหตุและการป้องกัน
ประเมินอัตราเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับเพื่อวางแผนให้การช่วยเหลือต่อไป
ให้ผู้ป่วยนอนที่นุ่มเพื่อลดแรงกดและดูแลให้นอนในท่าที่ถูกต้องพร้อมพลิกตัวตะแคงผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง
การดูแลผิวหนัง
แนะนําญาตดูแลผิวหนังของผู้ป่วยให้แห้งและสะอาดอยู่เสมอ ถ้าอากาศร้อนควรเช็ดตัวและเปลี่ยนผ้าปูบ่อยๆ เพื่อลดแบคทีเรียที่อยู่บนผิวหนัง
แนะนําญาตหลังผู้ป่วยถ้ายอุจจาระ
ควรทําความสะอาดและเช็ดผิวหนังบริเวณนั้นให้แห้ง
สร้างเสริมความแข็งแรงของผิวหนัง
และเนื้อเยื่อทั่วไป
ประเมินและรักษาภาวะความเจ็บป่วยอื่นๆ ที่มีส่วนเสริมให้แผลกดทับ เช่น การมีไข้สูง หรือการติดเชื้อในร่างกาย เป็นต้น
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหาร วันละ 2,000 แคลอรี่
เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
หมดความภาคภูมิใจในตัวเองเนื่องจากต้องพึ่งพาผู้อื่น
ข้อมูลสนับสนุน
SD : ผู้ป่วยพูดว่า ‘เมื่อก่อนยังมีคนมาดูแล แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว’
OD : ขณะพูดมีสีหน้าเศร้า และพูดน้อย
วัตถุประสงค์
ส่งเสริมใหเผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่ามากขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยซึมเศร้าลดลง ไม่เงียบเฉย พูดคุยมากขึ้น
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินความรู้สึกของผู้ป่วยทั้งคำพูดและพฤติกรรม
บอกผู้ป่วยทุกครั้งเมื่อจะทำอะไรให้ผู้ป่วย
พูดกับผู้ป่วยด้วยความนุ่มนวล อ่อนโยน และรับฟังผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยต้องการพูด ไม่แสดงที่ท่าเร่งรีบ หรือรังเกียจ
ให้กำลังใจผู้ป่วยเมื่อผู้ป่วยทำอะไรผิดพลาด
บาดแผลมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย
ข้อมูลสนับสนุน
OD : ผู้ป่วยมีแผลบริเวณหลังมาก
ห้องพักของผู้ป่วยเป็นไม้และมีสภาพเก่า
ผู้ป่วยไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ
วัตถุประสงค์
ป้องกันไม่ให้บาดแผลเกิดการติดเชื้อ
เกณฑ์การประเมิน
บาดแผลแห้ง ไม่มี Discharge ซึม
อุณร่างกายของผู้ป่วย อยู่ระหว่าง 36.5 - 37.4 องศาเซลเซียส
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลและทำความสะอาดบาดแผลของผู้ป่วยอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
จัดสิ่งแวดล้อมบริเวณรอบเตียงผู้ป่วยให้มีความสะอาด โดยการถูพื้น และนำอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นออกห่างจากเตียงผู้ป่วย
เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ลดจำนวนฝุ่นในห้องผู้ป่วย
Complete Bed Bath ให้ผู้ป่วยเพื่อเป็นการทำความสะอาดร่างกายและลดโอกาสการติดเชื้อที่บาดแผล
ผู้ป่วยขาดแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ เนื่องจากขาดความรู้เรื่องโทษของบุหรี่และขาดแรงสนับสนุนทางครอบครัว
ข้อมูลสนับสนุน
SD : ผู้ป่วยบอกว่า ‘สูบบุหรี่มานานแล้ว และตอนนี้ก็ยังสูบอยู่’
OD : บริเวณรอบปากของผู้ป่วย มีสีดำคล้ำ
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดแรงจูงใจในการอยากเลิกสูบบุหรี่
ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่มากขึ้น
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยบอกว่า ‘อยากเลิกสูบบุหรี่’
ผู้ป่วยบอกถึงโทษของบุหรี่ได้
กิจกรรมการพยาบาล
พยาบาลสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ โดยแสดงความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ รับฟังผู้ป่วยอย่างตั้งใจ ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร
พูดคุยให้ผู้ป่วยได้สำรวจถึงผลดีผลเสียที่ตามมาจากฟฤติกรรมของผู้ป่วยเอง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง จูงใจผู้ป่วยโดยให้รับรู้ว่า พฤติกรรมในปัจจุบันส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพในอนาคต
ให้ข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสาเหตุของการติดบุหรี่ แนวทางการบำบัดรักษา วิธีการที่จะหยุดสูบบุหรี่ได้อย่างถูกต้อง