Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉินได้รับสารพิษ ((สัตว์กัดต่อย (งูพิษ…
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในภาวะฉุกเฉินได้รับสารพิษ
สัตว์กัดต่อย
งูพิษ
พิษต่อโลหิต(Hemotoxin)
แมวเซา, งูกะปะ, งูเขียวหางไหม้
ทำลายผนังด้านในของหลอดเลือด (vascular endothelium) ทำให้เม็ดเลือดแดงออกออกมาภายนอก ผู้ป่วยจึงมีเลือดออกตามที่ต่างๆ เช่น ผิวหนัง ไรฟัน ในสมอง กระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นต้น
พิษต่อกล้ามเนื้อ (Myotoxin)
งูทะเล
ทำลายกล้ามเนื้อ (rhadomyolysis) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดกล้ามเนื้อรุนแรง กล้ามเนื้อแข็ง ถ่ายปัสสาวะดำ (myoglobinuria) และมีโปตัสเซียมในเลือดสูง
พิษต่อระบบประสาท (Neurotoxin)
งูจงอาง, งูเห่า, งูสามเหลี่ยม, งูทับสมิงคลา
ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้ป่วยเกิดหนังตาตก พูดไม่ชัด หายใจไม่สะดวก
พิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ (ardiotoxin)
ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ และเกิดความดันเลือดต่ำได้
การพยาบาลผู้ที่ถูกงูพิษกัด
หยุดการเคลื่อนไหวของร่างกาย ปลอบโยน ให้กำลังใจ
ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือทันที ปิดแผลด้วยผ้าสะอาด ทำเฝือกชั่วคราว
จัดให้อวัยวะที่ถูกกัดอยู่ต่ำกว่าระดับหัวใจ
นำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ให้เร็วที่สุด
ผึ้ง ต่อ แตน
การพยาบาลผู้ที่ถูกผึ้ง ต่อ แตนต่อย
ในกรณีที่มีเหล็กในติดอยู่ในแผล ต้องเอาเหล็กในออกก่อน
ล้างบาดแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาด
ประคบด้วยน้ำเย็น
ถ้ามีอาการปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวดได้ ถ้ามีอาการมากขึ้นให้นำส่งโรงพยาบาล
แมงกะพรุนกล่อง (Box jellyfish)
ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อหน้าท้องและหลังเกร็ง เวียนหัว คลื่นไส้ ปวดหัว กระสับกระส่าย แน่นหน้าอก
การพยาบาลผู้ที่ถูกแมงกะพรุนกล่องกัด
ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการยิงพิษจากแมงกะพรุน
ล้างบริเวณที่ถูกพิษด้วยน้ำส้มสายชูบ้าน ความเข้มข้น 2-10 % นานอย่างน้อย 30 วินาที หากไม่มีให้ใช้น้ำทะเล
ใช้ถุงมือหนา หรือแหนบคีบหนวดที่ยังติดอยู่ ห้ามใช้มือหยิบ
ให้ใช้วัสดุขอบเรียบ เช่น เปลือกหอย บัตร สันมีด ขูดเอาเมือกออก
ในกรณีของ แมงกะพรุนกล่อง ให้ใช้น้ำแข็งประคบลดอาการปวด หลังจากที่ล้างด้วยน้ำส้มสายชูแล้ว หรือใช้ผักบุ้งทะเลตำพอกที่แผล
แมงป่อง ตะขาบ
ทำให้ปวด บวม และแดง บางรายถ้าแพ้อาจมีไข้ ปวดศีรษะ และปวดแผลมาก
การพยาบาลผู้ที่ถูกแมงป่อง ตะขาบต่อย
ล้าง และฟอกบริเวณแผลด้วยสบู่ ล้างด้วยน้ำสะอาด
ใช้แอมโมเนียหอมชุบปิดแผลไว้
ถ้าปวดให้กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล และประคบบริเวณแผลด้วยความเย็น
ถ้ามีอาการแพ้ คือ ไข้สูง ปวดแผลมาก ปวดศีรษะ ควรพาไปพบแพทย์
สารพิษ (Poisons)
ทางเข้าของสารพิษ
1.ทางปาก
ทางเดินหายใจ
ทางผิวหนัง
การพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก
กรณีที่มีสติ และสารพิษไม่เป็นกรด ด่าง รีบทำให้อาเจียน
กรณีที่หมดสติ และสารพิษเป็นกรด ด่าง ห้ามทำให้อาเจียน
สารพิษ (Poisons) หมายถึง สารใดๆ ที่สัมผัสหรือเข้าสู่ร่างกายแล้วสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อของร่างกาย
การพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางเดินหายใจ
เคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับสารพิษไปยังสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ ถ่ายเทสะดวกและห้ามคนมุง
คลายเสื้อผ้าให้หลวม เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ถ้าหยุดหายใจให้รีบช่วยเหลือ
รีบนำส่งโรงพยาบาล
การพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางผิวหนัง
ล้างด้วยน้ำสะอาดนาน ๆ อย่างน้อย 15 นาที
อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
บรรเทาอาการปวดและรักษาภาวะช็อค
ปิดแผล แล้วนำส่งโรงพยาบาล