Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพ (personality disorder)…
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพ (personality disorder)
สาเหตุ
Biological factors - Genetic / familial factors
พบความผิดปกติได้สูงในญาติสายตรง
พบได้สูงในฝาแฝดเหมือน (Monozygotic twins)
Neurotransmitter dysregulation
serotonin มีระดับต่ำในผู้ที่มีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย
dopamine เพิ่มขึ้นในผู้ที่มีความผิดปกติของความคิด และ การรับรู้
Psychosocial / Environment stressors - การเลี้ยงดูของพ่อแม่
เข้มงวด / ลงโทษ
ปล่อยตามใจ
ทอดทิ้ง / ทารุณกรรม
ความสัมพันธ์พ่อ-แม่-ลูกไม่ดี
การถูกกดขี่ หรือทารุณกรรมทางด้านจิตใจ
อิทธิพลของคนใกล้ชิด
การขาดที่พึ่ง
ความยากจน
Psychoanalytic factors
ความไม่เหมาะสมของพัฒนาการในระยะต่างๆตามทฤษฎี Psychosexual development ของ Freud
โครงสร้างทางจิต
Cluster A มีพฤติกรรมแบบแปลกประหลาด (Eccentric)
A1
บุคลิกหวาดระแวง
(Paranoid personality disorder)
มักแยกตัวจากสังคม ไม่เป็นมิตร มีความกังวลว่าคนอื่น ๆ จะมีแรงจูงใจซ่อนเร้น หลอกใช้งาน มักมีปัญหาในการทำงานและการเข้ากับผู้อื่น
เกณฑ์การวินิจฉัย
หวาดระแวงว่าผู้อื่นจะทำร้ายหรือหลอกลวง
หมกมุ่นครุ่นคิดว่าเพื่อนหรือผู้ร่วมงานไม่ซื่อสัตย์
ไม่ไว้ใจผู้อื่น
แปลเจตนาผู้อื่นในทางร้าย
มีความเคืองแค้นฝังแน่นในใจ
มีความรู้สึกว่าผู้อื่นจะมาทำร้ายหรือทำลายชื่อเสียง
มีความระแวงว่าคู่ครองจะนอกใจ
A2
บุคลิกจิตเภท
(Schizoid personalitydisorder)
มักไม่ปรากฏตัว ชอบอยู่ในที่ห่างไกล แยกตัวเองจากคนอื่น ไม่ต้องการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับใครแม้จะเป็นสมาชิกในครอบครัว
เกณฑ์การวินิจฉัย
หลีกเลี่ยงการมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น
ชอบทำงานตามลำพังคนเดียว
ไม่ชอบการมีเพศสัมพันธ์
มีกิจกรรมที่ให้ความสุขน้อยมาก
ไม่มีเพื่อนสนิท
กดเก็บความรู้สึกไม่ค่อยแสดงออก
มีอารมณ์เย็นชา
A3
บุคลิกแยกตัว เพี้ยน
(Schizotypalpersonality disorder)
จะสัมผัสกับความจริงมากกว่า ไม่ค่อยสัมผัสกับภาพหลอนหรือความหลงผิด แต่มักมีความเชื่อและความกลัวที่แปลกๆ
เกณฑ์การวินิจฉัย
คิดว่าผู้อื่นพูดถึงหรือนินทาเรื่องของตน
มีความคิดแปลก ๆ เช่น ตาทิพย์หูทิพย์
มีการแปลสิ่งเร้าผิด (illusion)
มีการพูดที่แปลก ๆฟังไม่เข้าใจ
มีความหวาดระแวงสงสัย
ไม่ค่อยแสดงอารมณ์
มีพฤติกรรมแปลกๆ
ไม่มีเพื่อนสนิท
มีความกังวลอย่างมากเมื่ออยู่กับคนแปลกหน้า
Cluster B มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือเหมือนแสดงละคร (Dramatic - emotional)
B1
บุคลิกต่อต้านสังคม
(Antisocial personality disorder)
มักเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ชอบสั่งการคนอื่น ไม่สนใจเรื่องความปลอดภัย ชอบใช้กำลัง โกรธง่าย ไม่สำนึกต่อการทำผิด
เกณฑ์การวินิจฉัย
ไม่เคารพกฎระเบียบของสังคม
พฤติกรรมหลอกลวง
หุนหันพลันแล่น
มีอารมณ์หงุดหงิดและก้าวร้าว
ไม่ให้ความสนใจต่อตนเองและผู้อื่น
ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน
ไม่รู้สึกเสียใจต่อความผิดที่ได้กระทำลงไป
B2
อาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง
(Borderline Personality Disorder_BPD)
มักมีปัญหารุนแรงด้านความสัมพันธ์กับคนอื่น หวาดระแวง กลัวการถูกทอดทิ้งแบบหยั่งรากลึก อารมณ์ ไม่มั่นคง อารมณ์รุนแรง รู้สึกไม่มีตัวตน
เกณฑ์การวินิจฉัย
พยายามหลีกเลี่ยงการถูกทอดทิ้ง
มีมนุษยสัมพันธ์ไม่ดีอย่างมาก
มีความสับสนเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของตน
มีอาการขาดการควบคุมอารมณ์
มีความคิดหรือพฤติกรรมซึ่งแสดงว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่บ่อยๆ
อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
มีความรู้สึกเงียบเหงาอยู่เสมอ
มีอารมณ์หงุดหงิดโกรธง่ายอยู่เป็นประจำ
มีความคิดหวาดระแวงหรืออาการดีสโซซิเอชั่นเมื่อมีความเครียด
B3
บุคลิกเรียกร้องความสนใจ
(Histrionic personality disorder)
มีแนวโน้มที่จะทำงานได้ดีในชีวิต มักต้องการเป็นศูนย์กลางของความสนใจโดยแสดงออกทางอารมณ์รุนแรงแบบตัวละคร (drama)
เกณฑ์การวินิจฉัย
รู้สึกอึดอัดเวลาที่ไม่ได้เป็นจุดสนใจ
ยั่วยวนทางเพศเกินควรหรือมีพฤติกรรมกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
อารมณ์ที่แสดงออกเปลี่ยนแปลงเร็วและไม่ลึกซึ้ง
มีการใช้รูปร่างหน้าตาเพื่อดึงดูดให้ผู้อื่นหันมาสนใจตนเองอยู่เสมอๆ
ลักษณะการพูดจะเน้นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกมากเกิน และไม่มีเนื้อหาสาระ
การแสดงออกเหมือนเล่นละคร และมีการแสดงออกของอารมณ์มากเกินไป
ถูกชักจูงง่าย
เห็นความสัมพันธ์ที่มีกับผู้อื่นเป็นแบบใกล้ชิดกว่าที่เป็นจริง
B4
บุคลิกหลงตัวเอง
(Narcissistic personality disorder)
ต้องการเป็นคนสำคัญที่มากเกินไป ไม่มีน้ำใจเห็นอกเห็นใจคนอื่น มุ่งเน้นแต่ความจำเป็นของตัวเอง และสิ่งที่ตนเองต้องการ
เกณฑ์การวินิจฉัย
มีความคิดว่าตนเองเป็นคนสำคัญเหนือคนอื่น
หมกมุ่นกับความสำเร็จ ความฉลาดหลักแหลม ความสวยงามของตนเอง
มีความเชื่อว่าตนเองควรจะอยู่ในกลุ่มคนที่มีสถานภาพทางสังคมสูง
ต้องการการยกย่องชมเชยจากผู้อื่นอย่างมาก
คิดว่าตัวเองเป็นผู้มีสิทธิพิเศษกว่าคนอื่น
เห็นแก่ตัวและเอาเปรียบ
ขาดความเข้าในและเห็นใจ
มีความคิดว่าผู้อื่นอิจฉาตนเอง
หยิ่งยโส รสนิยมสูง
Cluster C มีความหวาดกลัวหรือความวิตกกังวล อย่างสูง (Fearful – anxious)
C1
บุคลิกหลีกเลี่ยง
(Avoidant personality disorder)
ขี้อาย อ่อนไหว เจ็บปวดง่าย เห็นตัวเองไม่ดีเท่าคนอื่น มักหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรืองานที่ต้องติดต่อกับคนอื่น
เกณฑ์การวินิจฉัย
หลีกเลี่ยงการเข้าสังคมหรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ไม่ยอมร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น นอกจากคนในกลุ่มที่คุ้นเคย
มีข้อจำกัดในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์
หมกมุ่นกับความคิดที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์
รู้สึกว่าตนเองไม่มีความสามารถ
มองว่าตนเองเข้าสังคมไม่เป็น
มีความลังเลในเรื่องที่จะต้องเสี่ยง
C2
บุคลิกต้องพึ่งพา
(Dependent personality disorder)
มีเอกลักษณ์เฉพาะด้วยการต้องขึ้นอยู่กับคนอื่น ๆ ทั้งความต้องการทางกายภาพ หรือทางอารมณ์
เกณฑ์การวินิจฉัย
ต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ
ให้ผู้อื่นตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องสำคัญๆ
ไม่กล้าที่จะไม่เห็นด้วยกับผู้อื่น
หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องตัดสินใจ
ยอมรับผู้อื่นแทบทุกเรื่อง
รู้สึกไม่สบายใจอย่างมากถ้าต้องอยู่ตามลำพัง
รีบหาสัมพันธภาพใหม่เมื่อความสัมพันธ์ที่มีอยู่เดิมสิ้นสุดลง
ครุ่นคิดและกังวลว่าตนจะถูกทอดทิ้ง
C3
บุคลิกครอบงำ
(Obsessive-compulsive personality disorder)
เชื่อว่าความคิดของตนถูกต้อง เข้มงวดกับกฎระเบียบ และรายละเอียด
เกณฑ์การวินิจฉัย
เป็นคนเจ้าระเบียบละเอียดถี่ถ้วน
ถือตามกฏเกณฑ์อย่างเคร่งคัด
ทำงานจริงจังพักผ่อนไม่เป็นและทะเยอทะยาน
มีคุณธรรมสูง
มักจะเก็บของต่างๆไว้แม้เป็นของไม่มีค่า
ไม่ยอมมอบหน้าที่ของตนให้ผู้อื่นทำแทนเพราะไม่ไว้ใจ
เป็นคนตระหนี่ใจคอคับแคบ
ไม่ยึดหยุ่นผ่อนปรนและดื้อรั้น
การบำบัดรักษา
การรักษาด้วยยา (Psychopharmacology)
จิตบำบัด (Psychotherapy)
พฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy)
นิเวศบำบัด (Milieu therapy)
แนวทางการช่วยเหลือ
การให้เรียนรู้ จากแบบอย่างของพฤติกรรมที่กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
การแสดงความคิดเห็นต่อผู้อื่นด้วยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับได้ในสังคม
ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นทางสังคม
แนะนำเทคนิคการคลายเครียดต่างๆ
แสดงบทบาทสมมุติ เกี่ยวกับทักษะที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิต
ช่วยให้เขาได้รู้ถึงความเข้มแข็งที่เขามี และนำออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
ทดลองใช้เทคนิคการแก้ปัญหา ที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา
น.ส.ธิดาวรรณ สุนารักษ์ เลขที่ 22 ห้อง B