Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาด้านการรับประทานอาหาร (การพยาบาล (1…
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาด้านการรับประทานอาหาร
Anorexia nervosa
เกณฑ์การวินิจฉัย ตามเกณฑ์ DSM V
A. การจำกัดปริมาณพลังงานที่สัมพันธ์กับความต้องการ นำไปสู่น้ำหนักตัวที่ต่ำอย่างมีนัยสำคัญในบริบทของ อายุ เพศวิถี การพัฒนาการตามวัยและสุขภาพร่างกาย น้ำหนักต่ำอย่างมีนัยสำคัญถูกกำหนดให้เป็นน้ำหนักที่น้อยกว่าปกติเล็กน้อยหรือสำหรับเด็กและวัยรุ่นน้อยกว่าที่คาดไว้เล็กน้อย
B. ความกลัวที่เพิ่มขึ้นของการเพิ่มน้ำหนักหรือกลายเป็นไขมันหรือพฤติกรรมถาวรที่รบกวนการเพิ่มน้ำหนักแม้ว่าจะมีน้ำหนักต่ำอย่างมีนัยสำคัญ
C. การรบกวนในลักษณะที่น้ำหนักหรือรูปร่างของร่างกายเป็นประสบการณ์มีอิทธิพลต่อน้ำหนักตัวหรือรูปร่างที่ไม่เหมาะสมต่อการประเมินตนเองหรือการขาดการรับรู้ถึงความร้ายแรงของน้ำหนักตัวต่ำในปัจจุบัน
ชนิด
Binge eating/purging type
บุคคลผู้นั้นจะมีพฤติกรรมการรับประทานครั้งละมากๆ หรือขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating or purging behavior)
Restricting type
บุคคลผู้นั้นไม่มีการรับประทานครั้งละมากๆ หรือมีการขับอาหารออกจากร่างกาย
Bulimia nervosa
เกณฑ์การวินิจฉัย ตามเกณฑ์ DSM V
A ในช่วงที่มีการรับประทานอาหารมากขึ้น มีลักษณะ 2 อย่างดังนี้ การรับประทานในระยะเวลาที่ไม่ต่อเนื่อง (เช่น: ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง) จำนวนอาหารที่มีปริมาณมากกว่าสิ่งที่คนส่วนใหญ่จะกินในระยะเวลาเดียวกันภายใต้สถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ความรู้สึกขาดการควบคุมการกินในแต่ละช่วง
B. พฤติกรรมการชดเชยที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเช่นการอาเจียนด้วยตนเอง การใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะหรือยาในทางที่ผิด การอดอาหาร หรือออกกำลังกายมากเกินไป
C. การกินและพฤติกรรมการชดเชยที่ไม่เหมาะสมทั้งคู่ เกิดขึ้นโดยเฉลี่ยอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลาสามเดือน
D. การประเมินตนเองนั้นได้รับอิทธิพลจากรูปร่างและน้ำหนักอย่างไม่เหมาะสม
E. ความผิดปกติไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงที่มีอาการAnorexia Nervosa
ชนิด
Purging type
บุคคลผู้นั้นจะทำให้ตนเองอาเจียน ใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ยาสวนถ่าย
Nonpurging type
บุคคลผู้นั้นจะมีพฤติกรรมเพื่อชดเชยการกินมากที่ไม่เหมาะสม เช่น การอดอาหาร หรือออกกำลังกายอย่างหักโหม แต่ไม่มีการทำให้ตนเองอาเจียน
สาเหตุ (Etiology)
ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological factors)
-พันธุกรรม
-ขนาดของ ventricles ใหญ่กว่าปกติ
-ปริมาณของสารสื่อประสาทหลายชนิดในน้ำไขสันหลังผิดปกติ
ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial factors)
-พัฒนาการทางด้านจิตใจ
-มีบุคลิกลักษณะแบบย้ำคิด (obsessiveness)
-เป็นคนที่สมบูรณ์แบบ (perfectionism)
-สื่อมวลชนและแฟชั่น
การบำบัดรักษา
1.การรักษาด้วยยา (Psychopharmacology) ยารักษาอาการเศร้า ชนิด Tricyclics และ SSRIs ใช้ได้ดีทั้งผู้ป่วยที่มีหรือไม่มีอาการซึมเศร้า
2.การรักษาด้วยสิ่งแวดล้อม (Milieu therapy) สิ่งแวดล้อมต้องคำนึงถึงความปลอดภัย สนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด
3.จิตบำบัด (Psychotherapy) มุ่งให้ผู้ป่วยรู้ถึงความสัมพันธ์ทางจิตใจกับปัญหาการกินที่ผิดปกติ
ครอบครัวบำบัด (Family therapy) ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี มีการส่งเสริมให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และร่วมกันวางแผนการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมในครอบครัว
พฤติกรรมบำบัด (Behavior therapy) เป็นการปรับพฤติกรรมการกินอาหารของผู้ป่วยให้เป็นไปตามปกติ ให้ผู้ป่วยรับรู้ความก้าวหน้าของการเพิ่มของน้ำหนักตัว และสภาพความแข็งแรงของร่างกาย ตลอดจนการให้แรงเสริมทางบวกเมื่อผู้ป่วยกินอาหารได้อย่างเหมาะสม เพื่อเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง
การพยาบาล
1.สร้างสัมพันธภาพให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ
2.ประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย
3.ดูแลอาหารและการรับประทานของผู้ป่วย ควบคุมปริมาณแคลลอรี่ที่ผู้ป่วยได้รับ
4.สังเกตพฤติกรรมการกิน และการชดเชยการกินที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การออกกำลังกาย
5.ควบคุมดูแลการทำ และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการทำกิจกรรมที่เหมาะสม
6.ประสานงานกับนักโภชนากร ผู้ป่วยและครอบครัวในการวางแผนการจัดอาหาร ที่มีคุณค่าและดีต่อสุขภาพ
7.ส่งเสริมและให้กำลังใจผู้ป่วยในเข้าร่วมการบำบัดรักษาให้ได้มีน้ำหนักตัวที่ปกติ และป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
8.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้พูดแสดงความคิดความรู้สึกเกี่ยวกับรูปร่างและการมองภาพลักษณ์ของตนเอง เพื่อได้เห็นความเชื่อมโยงของความขัดแย้งในใจกับพฤติกรรมการกิน และช่วยให้ผู้ป่วยได้เข้าใจการมองภาพลักษณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากความจริง
9.ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเห็นคุณค่าในตนเองในทางบวก
10.เสริมสร้างให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจในการตัดสินใจ และแสวงหาการแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นๆทดแทนการควบคุมอาหาร หรือลดน้ำหนัก
11.ให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัวในการดูแลสุขภาพและการปรับตัวต่อการอยู่ร่วมกัน
การประเมินผล
ร่วมมือในเข้าร่วมรับการบำบัดตามแผนการรักษา
ไม่มีท่าทีหรือบอกว่าไม่มีความคิดฆ่าตัวตายแล้ว
รับประทานอาหารเหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
น้ำหนักตัวปกติ เหมาะสมตาม เพศ วัย และส่วนสูง
พูดแสดงความตระหนักรู้และเข้าใจถึงความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันระหว่างปัญหาทางจิตใจกับพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ
บอกว่ายอมรับในรูปร่างและน้ำหนักที่เป็นปกติ
ปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสมาชิกในครอบครัวได้
โรคแทรกซ้อน
อาจเกิดโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือช้าลง ไตทำงานผิดปกติ เม็ดโลหิตและเกร็ดเลือดลดน้อยลง กล้ามเนื้อกระเพาะและลำไส้อ่อนแอลง กระดูกหักได้ง่าย ผิวหนังจะแห้ง
นางสาวกัญญารัตน์ อุปพงษ์
นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 รุ่นที่24 ห้องฺB เลขที่ 5