Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ประกันชีวิต :+1: (ประโยชน์ของการทำประกันชีวิต (ซื้อประกันชีวิตเพื่อลดหย่อน…
ประกันชีวิต
:+1:
ความรู้เกี่ยวกับประกัน (series 10 parts)
ประกันชีวิตสำคัญอย่างไร :check:
แนวคิดของประกันชีวิต
การเฉลี่ยความเสี่ยงจากคนหนึ่งไปยังกลุ่มคนด้วยการลดหรือบรรเทาความสูญเสียของคนที่ได้รับผลกระทบแบบเดียวกัน โดยมีบริษัทประกันชีวิตมาเป็นคนกลาง
วิธีการจัดการความเสี่ยง
ระดับความรุนแรงของความเสี่ยง
หากความรุนแรงน้อยครอบครัวยังดูแลกันเองด้วยเงินเก็บออมได้ แต่ถ้ารุนแรงมากก็ทำให้วิถีการใช้ชีวิตของครอบครัวเปลี่ยนแปลงไปแบบพลิกฝ่ามือ
โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง
หากมีความน่าจะเป็นเกิดสูงก็จะทำให้มีความเสี่ยงสูงแล้วเบี้ยประกันก็จะสูงตามไปด้วย
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประกันชีวิต
:check:
1 ประกันชีวิตก็เหมือนการฝากเงิน
ความคิดเห็น
การทำประกันก็เหมือนการฝากเงิน ทั้งการลงทุนและการทำประกันก็ทำให้เรามีเงินออมเหมือนกัน แต่ไม่เป็นจริงทั้งหมด เพราะมีวิธีการใช้แตกต่างกัน
ความจริง
การลงทุนนั้นทำให้เรามีอิสระในการใช้จ่ายเงินจะฝากหรือถอนตอนไหนก็ได้จึงทำให้คนเราไม่มีวินัยในการออมและส่งผลให้คนเราไปไม่ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
2 ความคุ้มค่า
ความคิดเห็น
“ทำประกันชีวิตแล้วไม่คุ้ม เอาเงินมาลงทุนได้ผลตอบแทนดีกว่า”
ความจริง
การลงทุน ⇒ เงินงอกเงย
หากเรานำเงินมาลงทุนการลงทุนทุกอย่างย่อมมีความเสี่ยงแต่ถ้าหากเราเปลี่นจากการลงทุนมาเป็นการออมหรือการทำประกันชีวิตซึ่งสิ่งเหล่าไม่ได้มีความเสี่ยงต่อการเงิน
3 ประกันชีวิตหลอกลวง
ความคิดเห็น
ประกันนั้นหลอกลวง เพราะประกันที่ถูกขายกับตัวแทนที่ให้ข้อมุลไม่ครบและถูกหลอกหลายช่องทางที่ถูกหลอก เช่น ถูกขายประกันทางโทรศัพท์ จึงทำให้คนมองไปในทิศทางเดียวกันว่า “ประกันชีวิตไม่ดี”
ความจริง
เราควรแยกข้อเท็จจริงของประกันชีวิตออกจากความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวแทนขายประกันเราไม่ควรใช้ทฤษฎีเหมารวมซึ่งจะไม่ยุติธรรมกับตัวแทนที่ดีสักเท่าไหร่
วิธีที่เราป้องกันตนเองได้ดีที่สุด คือ อ่านสัญญาในกรมธรรม์ประกันชีวิต หากตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆไม่ตรงกับเงื่อนไขที่ตัวแทนพูด เราสามารถ “บอกเลิกสัญญา” ได้ทันทีภายในเวลา 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์
แนะนำประเภทประกันชีวิต
:check:
ธรุกิจประกันภัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
การประกันชีวิต
การประกันวินาศภัย
ลักษณะและประโยชน์ของประกันทั้ง 4 แบบ
ประกันภัยแบบชั่วระยะ เหมาะกับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงหรือภาระหนี้สิน
1.ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เหมาะกับคนที่ต้องการสร้างมรดกให้กับคนในครอบครัว
ประกันชีวิตสะสมทรัพย์ เหมาะกับผู้ที่สร้างวินัยการออมหรือสร้างทุนการศีกษาให้ลูก
4.ประกันชีวิตแบบบำนาญ เหมาะกับผู้ที่ต้องการสร้างรายได้ให้ตนเองหลังเกษียณ
5 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิต
:check:
ค้นหาเป้าหมาย
เป้าหมายเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเอง
เป้าหมายเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่คนในครอบครัว
2.ปกป้องเป้าหมาย
หาวิธีการเพื่อที่จะปิดความเสี่ยงนั้นโดยเลือกรูปแบบประกันชีวิตที่เหมาะสมกับเป้าหมายการเงินของเรามากที่สุด
ความสามารถในการชำระประกันชีวิต
คนโสด
ไม่ควรจ่ายเบี้ยประกันภัยเกิน15-20%ของรายได้ต่อปี
คนมีครอบครัว
ไม่ควรจ่ายเบี้ยประกันเกิน10-15%ของรายได้ต่อปี
4.เลือกกรมธรรมม์ประกันชีวิต
ซื้อกับตัวแทนที่น่าเชื่อถือโดยต้อได้รับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตจากสำนักงานคณะกรรมการจำกัดและส่วเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า คปภ.
วิธีการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต
การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตในงวดต่อๆจะมีจดหมายแจ้งผู้ทำประกันทราบแล้วจ่าบเบี้ยในช่องทางสะดวก
คำศัพท์ที่ควรรู้ก่อนซื้อประกันชีวิต
:check:
สัญญาประกันชีวิต
กรมธรรม์ประกันชีวิตเกิดจากสัญญา 2 ฝ่ายคือ ตัวเราและบริษัทประกันภัยตกลงเงื่อนไขกัน โดยมีผู้รับเงินที่เป็นตัวเราหรือผู้อื่นเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ซึ่งการจ่ายเงินประกันชีวิตนั้นจะจ่ายในขณะที่มีชีวิตหรือเสียชีวิตไปแล้ว
มูลค่าเงินสด
หากส่งเบี้ยประกันเกิน 2 ปีขึ้นไปกรมธรรม์ประกันชีวิตนั้นจะมี “มูลค่า” ถ้าเราไม่ส่งเบี้ยต่อไปก็สามารถขอคืนเงินสดกลับไปได้ จะเรียกว่า “เวนคืนกรมธรรม์” ซึ่งจะได้รับเงินคืนน้อยกว่าที่เราจ่ายเบี้ย
กรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ
ถ้าเราไม่ส่งเบี้ยประกันต่อ แล้วเลือกวิธีนี้จะเป็นการ “ลดทุนประกัน แต่ระยะเวลาคุ้มครองเท่าเดิม”
4.กรมธรรม์ขยายเวลา
ถ้าเราไม่ส่งเบี้ยประกันต่อ แล้วเลือกวิธีนี้จะเป็นการ “ทุนประกันเท่าเดิม แต่ระยะเวลาคุ้มครองลดลง”
ความแตกต่างของการเก็บเงินด้วยประกันชีวิต กับการเก็บเงินรูปแบบอื่นๆ
:check:
จุดเด่น
ประกันชีวิต ปกป้องความมั่งคั่ง
การลงทุนหุ้น สร้างความมั่นคั่งในระยะยาว
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่่งที่เป็นจุดแข่งของประกันชีวิต คือ การบังคับการออมอัดโนมัติเป็นการสร้างวินัยการออม
ประกันชีวิตกับเป้าหมายชีวิต : :check:
วิธีการใช้ประกันชีวิตกับเป้าหมายชีวิตนี้อาจจะเริ่มต้นด้วยแผนการเงินด้วยการออมหรือการบริหารความเสี่ยงด้วยประกันชีวิต เพื่อให้ชีวิต “มีใช้ มีเผื่อ มีให้” โดยจะได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนแล้วสามารถเลือกรับเงินบำนาญได้แบบทั้งรายเดือนหรือรายปีได้อีกด้วย
วิธีเตรียมเงินจ่ายค่าประกันชีวิต
:check:
เราควรปรับทุนประกันให้เหมาะสมกับความสามารถในการจ่ายเบี้ยของเรา หากในอนาคตมีรายได้เพิ่มขึ้นเราก็ทำทุนประกันที่สูงขึ้น
วิธีเตรียมจ่ายเบี้ยประกัน
เตรียมเป็นเงินก้อน
ทยอยเก็บเงินรายเดือน
ประกันชีวิตกับภาษี
:check:
แบบที่ 1 ซื้อเบี้ยประกันสุขภาพให้พ่อแม่
ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาท
ประกันนี้คุ้มครองอะไรบ้าง
พ่อแม่ต้องมีภูมิลำเนาในไทย
ต้องเป็นลูกแท้ๆ
ภาษีพ่อแม่ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
ประกันนี้คุ้มครองอะไรบ้าง
การรักษาพยาบาล จากการเจ็บป่วย เสียชีวิต เสียอวัยวะ พิการ จากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ
ประกันอุบัติเหตุ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย หรือกระดูกหัก
แบบที่ 2 ซื้อเบี้ยประกันแบบทั่วไป
ลดหย่อนภาษี ได้ไม่เกิน 100,000 บาท
คุ้มครองตั้งแต่ 10 ปี ขึ้้นไป
มีผลตอบแทนต้องไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี ประกันชีวิตรายปี
บริษัทฯที่ออกกรมธรรม์ต้องเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
หากสามีจ่ายให้ภรรยาที่ไม่มีรายได้ หรือสลับกัน สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท โดยต้องแต่งงานเกิน 1 ปี
แบบที่ 3 เบี้ยประกันชีวิตชนิดบำนาญ
ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 200,000 บาท
คุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
ผู้ทำประกันจะได้เงินบำบาญตั้งแต่ 55 - 85 ปีหรือมากกว่า โดยจะต้องจ่ายเบี้ยประกันให้ครบ
บริษัทฯที่ออกกรมธรรม์ต้องเป็นบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
หักลดหย่อนภาษีได้ตามจริงไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้และต้องไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อรวมกับรายการดังต่อไปนี้ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
กบข.
เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
RMF
กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
รู้ทันกลลวงการประกันชีวิตและวิธีเอาผิดมิจฉาชีพ!
:check:
1.ถูกหลอกจากมิจฉาชีพในงานศพ
ราควรตั้งสติ แล้วขอรหัสตัวแทนมาตรวจสอบความถูกต้องกับเว็บไซต์ของ คปภ. ทางนี้เลยค่ะ
http://eservice.oic.or.th/eService/Search/Broker/PersonAllow.aspx
เพื่อตรวจสอบว่าเป็นตัวแทนจริงหรือหลอก ถ้าหลอกลวงก็แจ้งตำรวจเพื่อบันทึกประวัติไว้จะได้ไม่ทำกับคนอื่นอีก
ถ้าเป็นตัวแทนจริง ก็ดูเพิ่มเติมว่ารหัสตัวแทนนี้หมดอายุแล้วหรือยัง ถ้าหมดอายุไปแล้วจะไม่สามารถขายประกันได้
ขั้นตอนรับเงินประกันจะไม่มีการจ่ายเงินค่าดำเนินการเพื่อให้เรื่องเร็วขึ้น ถ้าผู้ตายได้ทำประกันไว้จริงๆ แล้วไม่มีตัวแทนติดต่อกลับไป ญาติผู้ตายสามารถไปติดต่อทำเรื่องรับเงินประกันได้ด้วยตัวเองที่บริษัทประกัน
2.ถูกหลอกจากตัวแทนประกันชีวิต
ทางแก้ไข
ผู้เสียหายสามารถนัดไกล่เกลี่ยกันเองก่อน เพื่อดูท่าทีของตัวแทนผู้ที่ทำผิดว่าทำไปโดยเจตนาหรือทำไปโดยไม่รู้ ถ้าคุยกันรู้เรื่อง ตกลงกันได้เรื่องก็ยุติเรื่องได้
แต่ถ้าร้ายแรงมากจนไกล่เกลี่ยไม่ได้ผล ผู้เสียหายสามารถแจ้งหมายเลขตัวแทนและหลักฐานการกระทำความผิดไปที่ คปภ.ได้โดยตรง เมื่อมีการสอบสวนแล้วถ้าผิดจริงก็จะถูกยึดใบอนุญาตตัวแทนต่อไป
คปภ. มีความสำคัญอย่างไร
เสริมสร้างเสถียรภาพระบบประกันภัย
พัฒนากฎหมายและระบบการคุ้มครองสิทธิประโยชน์แบบครบวงจร
เสริมสร้างความเชื่อมั่นและการเข้าถึงระบบประกันภัย
ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านประกันภัย
ประเภทต่างๆ ของประกันชีวิต ตามแต่ละจุดมุ่งหมายของแต่ละคน
ซื้อประกันสะสมทรัพย์ยังไงให้คุ้มค่าที่สุด :check:
หน้าที่หรือจุดประสงค์หลักของประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ก็คือ “การการันตีเงินเป้าหมายในอนาคต” คุ้มครองความเสี่ยงเรื่องความไม่แน่นอนของการที่จะไม่มีเงิน หรือมีเงินก้อนสำหรับเป้าหมายในอนาคตไม่เพียงพอ
ประกันสะสมทรัพย์ระยะยาว
เบี้ยประกันไม่สูงนัก
มีเงินคืนระหว่างปี (แล้งแต่แบบประกัน)
ต้องการเก็บเงินระยะยาว
ต้องการลดหย่อนภาษี
ประกันสะสมทรัพย์ระยะสั้น
กลังความเสี่ยงแต่ได้ผลตอบแทนสูง
จ่ายเบี้ยสั้นไม่ต้องรอนาน
มีเงินเก็บได้ผลตอบแทนเร็ว
ได้เงินคืนก้อนใหญ่
ไขกุญแจ เลือกประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายยังไงให้คุ้มสุดๆ :check:
ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย
เป็นแผนประกันสุขภาพที่มีการระบุวงเงินคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลต่อปี โดยที่เราสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลคืนตามจริง
ข้อดีของการทำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย
สามารถเคลมเงินคืนได้ตามรายการที่จ่ายไปจริง
รายได้ไม่หาย แม้อยู่ในช่วงพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
ไม่ต้องกังวลค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี
ค่าใช้จ่ายบางรายการสามารเบิกค่ารักษาได้สูงขึ้น
คลอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากกว่า
มีเพ็กเกจวงเงินคุ้มครองให้เลือกที่เหมาะสมกับตัวเรา
1. ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษา ต่างจากแบบแยกประเภทยังไง?
บบแยกประเภทค่าใช้จ่ายนั้น จะจ่ายค่ารักษาได้ไม่เกินวงเงินสูงสุดของค่าใช้จ่ายแต่ละรายการ แบบเหมาจ่ายนั้น จะมีบางรายการที่ยังเป็นแบบแยกประเภท และบางรายการที่เป็นแบบเหมาจ่าย
2. ถ้ามีสวัสดิการรักษาพยาบาล/มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว ควรจะต้องซื้อเพิ่มไหม? จะซื้อยังไง? แล้วถ้าไม่มีอะไรเลย ควรจะทำแบบเหมาจ่ายไหม?
1) วงเงินค่าใช้จ่ายส่วนที่ขาด 2) รายการที่จะเบิกได้เพิ่มขึ้นจากแบบแยกประเภทค่าใช้จ่าย 3) ศักยภาพ หรือกำลังทรัพย์ในการจ่ายเบี้ยประกัน
3. ถ้าจะซื้อ จะมีวิธีการเลือกซื้อยังไง ให้คุ้มค่า ตรงความต้องการมากที่สุด?
1) สำรวจค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลที่คิดว่าจะใช้บริการ 2) สำรวจสวัสดิการค่ารักษา หรือประกันสุขภาพที่มีอยู่แล้ว 3) เลือกแพคเกจประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษาที่สอดคล้องกับวงเงินค่ารักษาส่วนที่ขาด 4) เปรียบเทียบขอบเขตความคุ้มครอง วงเงินความคุ้มครอง และเบี้ยประกันภัย ของบริษัทประกันแต่ละที่ 5) วางแผนให้สามารถจ่ายเบี้ยประกันภัยได้อย่างยั่งยืน
4. ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายค่ารักษาที่น่าสนใจ
มีรายการค่าใช้จ่ายที่ถูกรวมเข้ามาอยู่ในวงเงินเหมาจ่ายมากกว่า มีวงเงินเหมาจ่ายต่อปีสูงกว่า และให้ค่าห้องที่สูงกว่าที่อื่นในแพคเกจที่ใกล้เคียงกัน ที่สามารถเลือกที่จะ “มีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาในส่วนแรก”
เก็บเงินแบบชิลล์ๆ ก็มีเงินแสนง่ายๆ ด้วยประกันชีวิตสะสมทรัพย์
:check:
ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ หรือแบบออมทรัพย์ หลายคนคงคุ้นเคยกันดี โดยเฉพาะการซื้อไว้เพื่อออมเงินและลดหย่อนภาษี
วัตถุประสงค์ของประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
1. สร้างวินัยการออมระยะยาว
(เพราะต้องออมต่อเนื่องหลายปี และได้รับเงินก้อนใหญ่คืนเมื่อครบสัญญา จึงเปรียบเสมือนเครื่องมือบังคับให้เราออมเงิน ทำให้เรามั่นใจว่าเก็บเงินอยู่แน่ๆ)
สร้างเงินการันตีที่จะได้ในอนาคต สำหรับเป้าหมายการเงินที่ต้องการความแน่นอนของจำนวนเงิน เช่น ค่าเล่าเรียนลูกในอนาคต เพื่อทำให้เราแน่ใจได้ว่า ได้เก็บเงินตามเป้าหมายที่เราต้องการและถูกการันตีไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่วันที่ซื้อ (เมื่อปลอดความเสี่ยง มีความแน่นอนสูง ดังนั้น อัตราผลตอบแทนของการออมจึงไม่สูงมากนัก เป็นเรื่องธรรมดา)
ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ดีกว่าแบบแยกค่ารักษาจริงหรือไม่?
:check:
แบบแยกค่ารักษา
จุดเด่น
รกำหนดวงเงินค่ารักษาแต่ละครั้งสำหรับโรคใดโรคหนึ่ง แต่ไม่มีการกำหนดวงเงินสูงสุดต่อปี ทำให้หากปีนั้นป่วยหลายโรค (หรือโรคเดียวกัน แต่เป็นหลายครั้ง แต่ละครั้งห่างกันเกิน 90 วัน) ก็จะทำให้เบิกวงเงินที่เริ่มนับใหม่ได้เรื่อยๆ
ค่าเบี้ยประกันถูกกว่าแบบเหมาจ่าย ทำให้เหมาะกับคนที่มีงบทำประกันน้อย (เพราะค่าเบี้ยแบบเหมาจ่ายของคนที่อายุมากๆจะยิ่งสูงมาก)
จุดด้อย
วงเงินค่ารักษาแต่ละรายการไม่สูงมากนัก ทำให้ไม่ครอบคลุมค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
รายการคุ้มครองที่เบิกได้ น้อยกว่าแบบเหมาจ่าย
แบบเหมาจ่ายค่ารักษา
จุดเด่น
มีวงเงินเหมาจ่ายค่ารักษาต่อปีให้ ซึ่งเป็นวงเงินที่ค่อนข้างสูงถึงหลักล้าน ทำให้มีโอกาสครอบคลุมค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริงมากกว่า
มีรายการคุ้มครองหลายรายการ มากกว่าแบบแยกค่ารักษา
จุดด้อย
ค่าเบี้ยประกันต่อปีค่อนข้างสูง และถ้ายิ่งเป็นแผนที่วงเงินเหมาจ่ายสูงมากๆ ค่าเบี้ยก็จะยิ่งสูงขึ้นตาม
ประกันชีวิตแบบบำนาญ : แบบประกันที่ให้อะไรมากกว่าลดหย่อนภาษี และเงินเกษียณ
:check:
ประกันบำนาญคือ ประกันที่เน้นผลตอบแทนมากกว่าการคุ้มครองจ่ายเงินคือให้เป็น "เงินบำนาญ" ทุกๆปีหลังเกษียณ
ข้อจำกัด บำนาญ
ใช้ระยะเวลาออกนาน
เงินคุ้มครองชีวิตไม่สูง
จุดเด่น ของบำนาญ
การันตีมีเงินใช้หลังเกษียณ
มีผลตอบแทนแน่นอน
ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15% ของรายได้ หรือ สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
9 วิธีคิดในการเลือกซื้อประกันสุขภาพ :check:
ยอมรับก่อนว่าทุกคนมีโอกาสป่วยได้หมด ไม่ว่าตอนนี้จะแข็งแรงหรือไม่
ซื้อประกันสุขภาพไว้ ไม่ใช่การแช่งตัวเอง แต่เป็นการโอนความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาออกไปจากตัวเรา
ลองดูประวัติครอบครัว มีโรคร้ายแรง หรือโรคที่ส่งต่อทางพันธุกรรมอะไรมั้ย
ลองดูสวัสดิการที่มีในมือ ทั้งที่นายจ้างมีให้ ประกันสังคมหรืออย่างอื่นที่รัฐบาลให้ว่าเพียงพอมั้ย ถ้าเราเกิดโชคร้ายต้องเจ็บป่วย
คนที่เป็นฟรีแลนซ์หรือเจ้าของธุรกิจส่วนตัว ยิ่งต้องเช็คให้หนักว่าเรามีอะไรคุ้มครองอยู่บ้าง
ดูจากวิถีการดำเนินชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ ว่าเรามีโอกาสป่วยด้วยโรคอะไรบ้าง
ดูว่าสวัสดิการที่มี เราพึงพอใจ รู้สึกปลอดภัยกับการรักษาที่จะได้รับมั้ยถ้าเกิดป่วย
ถ้าอยากซื้อประกันสุขภาพเพิ่ม เรามีงบประมาณในการจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพเท่าไร
มองหาประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ ทั้งเรื่องโรคที่เราเสี่ยงและงบของเรา
ซื้อประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษียังไงให้ตรงสิทธิ์ และคุ้มค่าที่สุด :check:
ทำประกันสุขภาพค่ารักษาพยาบาลแบบไหนเท่าไหร่ดี จึงจะเหมาะกับตัวเรา? :check:
หลักในการทำประกันสุขภาพ
3. สำรวจว่าสวัสดิการ หรือประกันสุขภาพที่เรามี ขาด/เกิน ไปจากค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลนั้นอยู่เท่าไหร่ ให้ทำเพิ่มจนเต็มส่วนที่ขาด
ให้ดูสวัสดิการในส่วนที่ยังขาดอยู่ทำเพิ่มจนเต็ม
4. ทำประกันสุขภาพให้ครอบคลุมทั้ง ค่ารักษาพยาบาล กรณีอุบัติเหตุ และกรณีโรคร้ายแรง โดยให้ค่าเบี้ยประกันไม่เกิน 10% ของรายได้รวมทั้งปี
2. สำรวจอาชีพการงานของเรา และสวัสดิการรักษาพยาบาลที่เรามีอยู่
อาชีพที่เราทำมีผลต่อความเป็นจริง ในการทำประกันสุขภาพ
5. ทำประกันสุขภาพควบคู่กับประกันชีวิตตัวหลักที่เป็นแบบสัญญาคุ้มครองตลอดชีพ
ไม่ควรทำประกันสุขภาพคู่กับประกันสะสมทรัพย์ เพราะมีระยะเวลาสั้น-ปานกลาง
1.ตรวจสอบค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลที่ต้องการใช้บริการ
ระดับของค่ารักษาพยาบาลต้องสอดคล้องกับฐานะความเป็นอยู่
6. เปรียบเทียบแบบประกันสุขภาพของแต่ละบริษัท
ประกันที่ดีมีประโยชน์ยังไง
วงเงินค่ารักษาคลอบคุมไม่ต้องจ่ายเพิ่ม
คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลแม้ในกรณีฉุกเฉิน
คุ้มครองความเสี่ยงที่จะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองแบบเต็มจำนวน
ประกันชีวิตกับทางเลือกในการวางแผนภาษี :check:
3 tips ในการวางแผนภาษีด้วยประกันชีวิต
เลือกทุนประกันภัยที่คุ้มค่าให้ความคุ้มครองที่ถูกใจ
เลือกระยะเวลาการชำระเบี้ยประกันภัยที่เหมาะสม
เป็นประกันชีวิตที่อยู่ในเงื่อนไขกรมสรรพากรกำหนดให้เท่านั่น
วางแผน 'ประกันชีวิตควบการลงทุน' ยังไงให้ตอบโจทย์การเงินตลอดชีวิต :check:
วางแผน 'ประกันชีวิตควบการลงทุน'
เลือกกำหนดค่าเบี้ยต่อปี และ/หรือ เลือกปรับเปลี่ยนสัดส่วนระหว่างความคุ้มครองชีวิตและการลงทุนได้ตามความเหมาะสมและความจำเป็นในแต่ละช่วงชีวิต (ตามเงื่อนไขของแต่ละบริษัท)
เลือกออกแบบ และวางแผนการลงทุนได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นกว่าประกันชีวิตแบบดั้งเดิม
เทคนิคการวางแผน ประกันชีวิตควบการลงทุนให้ตอบโจทย์ทุกช่วงอายุ
ช่วงวัยสร้างความมั่นคงให้ครอบครัว(36-45 ปี)
เน้นคุ้มครองชีวิตเพื่อป้องกันความเสี่ยง มีทุนให้ประกันครอบครัว หรือเน้นการลงทุนไว้เพื่ออนาคตของครอบครัว
ช่วงวัยวางแผนเกษียณอย่างมั่งคั่ง(40 ปีขึ้นไป)
ภาระทางการเงินน้อยเลือกการลงทุนเพื่อเน้นไว้จ่ายหลังเกษียณและเริ่มมองหาหลังประกันเพื่อความมั่นคง
วัยเริ่มต้นสะสมความมั่นคง(30-40 ปี)
เน้นสัดส่วนการลงทุนเป็นหลักสามารถจัดพอล์ตที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อผลตอบแทนสูง
ช่วงวัยส่งต่อความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน (50 ปีขึ้นไป)
เน้นวางแผนเพื่อเพิ่มพูนมรดกและส่งต่อให้ลูกหลานอย่างยั่งยืน
ประโยชน์ของการทำประกันชีวิต
หากวันนึงเราต้องเป็นโรคร้ายแรง
:check:
เรารู้อะไรเกี่ยวกับโรคร้ายแรงบ้าง?
สภาพจิตใจย่ำแย่ หดหู่ทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย
ต้องทำใจเพราะผลของการรักษามีทั้งรักษาได้และรักษาไม่ได้
ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงมากจนทำให้เกิดหนี้สินได้
5 อันดับแรกของโรคร้ายแรง คือ
โรคมะเร็ง
โรคหลอดเลือดสมองแตก
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง
โรคปอดระยะสุดท้าย
ไตวายเรื้อรัง
“วางแผนประกันโรคร้ายแรง เราจะได้ไม่พูดรู้งี้...ในวันที่สายเกินไป”
ตรวจเจอโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 1 ที่รักษาได้ จะรับเงินทันที 20% เพื่อใช้เป็นค่ารักษาตนเอง
หากเป็นโรคร้ายแรงกลุ่มที่ 2 ระยะรุนแรงได้รับเงิน 100%
จ่ายเบี้ยประกันแบบคงที่ตลอด 20 ปี
ไม่ใช่เบี้ยทิ้ง ถ้ามีชีวิตอยู่จนกระทั่งอายุ 85 ปีก็จะได้รับเงิน 100%
ประกันโรคร้ายที่น่าสนใจ
ประกันโรคร้ายได้คุ้ม
เบี้ยคงที่ตลอดสัญญา
เคลมแล้วไม่ต้องจ่ายเบี้ยอีกต่อไปแต่คุ้มครองต่อเนี่อง
คุ้มครองทั้งโรคร้าย การเสียชีวิตทั้งจากอุบัติเหตุและเจ็บป่วย
อยู่ครบสัญญารับเอาเงินประกันภัย100%
"ข้อผิดพลาดในการเตรียมแผนประกันสุขภาพ ที่คนส่วนใหญ่รู้เมื่อสายเกินไป"
:check:
ทำประกันสุขภาพช้าเกินไป ( เรียกง่ายๆว่า ทำประกันไม่ทัน นั่นเอง) ซึ่งการที่แบบนี้ถือว่าไม่ผิด แต่ก็อาจจะถือว่าประมาทมากเกินไป ถ้าทำประกันสุขภาพหากเกิดเหตุแบบไม่ตั้งตัวต้องเข้ารักษาพยาบาล ก็ลดความเดือดร้อนเรื่องค่ารักษาพยาบาลลงได้
ทำประกันสุขภาพวงเงินคุ้มครองน้อยเกินไป เมื่อต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล แล้วกลับต้องมาเสียเงินเพิ่มอีกมากมาย ก็ทำให้กระทบกับแผนการเงินด้านอื่นเหมือนกัน ดังนั้นกลุ่มนี้จึงควรตรวจสอบกรมธรรม์ของตัวเองด้วยว่า วงเงินคุ้มครองที่ตัวเองมีอยู่เพียงพอที่ต้องการมั้ย ควรต้องซื้ออะไรเพิ่ม
ลืมคิดไปว่าค่ารักษาพยาบาลจะปรับขึ้นทุกๆปี ลืมว่าค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลมีแนวโน้มที่แพงขึ้นทุกๆปี เฉลี่ยแล้วปีละ 7-10% ต่อปี
ดังนั้นจึงควรต้องหมั่นตรวจสอบกรมธรรม์ของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อมีโอกาสปรับเพิ่มต่อๆไป ให้พอกับภาวะปัจจุบันเสมอๆ
ความคุ้มครองของประกันสุขภาพที่มีอยู่สั้นเกินไปไม่พอถึงยามหลังเกษียณ หากเราพอจะซื้อประกันสุขภาพก่อนตั้งแต่อายุน้อยๆ ก่อนเกษียณได้ก็จะปลอดภัยและอุ่นใจกว่าในระยะยาว
ลืมประมาณการค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นในอนาคต (ข้อนี้น่าจะเป็นข้อที่คนละเลยมากที่สุด) เมื่ออายุมากๆเบี้ยประกันสุขภาพบางตัวเช่น แผนค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาล แผนคุ้มครองโรคร้ายแรง อาจจะมีค่าเบี้ยที่สูงมากด้วยเช่นกัน ควรตรวจสอบเบี้ยประกันสุขภาพในอนาคตที่ต้องชำระตั้งแต่วันนี้ เผื่อเตรียมแผนการรับมือ โดยอาจจะวางแผนเรื่องการลงทุนเพิ่มเติมเพื่อเตรียมพร้อมกับเบี้ยประกันที่ต้องชำระในอนาคตได้
5 ข้อดีของการเก็บเงินให้ลูกผ่านประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ที่สินค้าการเงินอื่นไม่มี :check:
2.มีความแน่นอนของจำนวนเงินที่ได้รับ
การกำหนดเบี้ยที่ต้องชำละและระบุทุนประกันคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ซื้อกรมธรรม์ สามารถทราบได้ทันที ว่าได้ทั้งหมดเท่าไหร่ตั้งแต่วันที่เริ่มโครงการ
1.ความมีวินัย
ประกันสะสมทรัพย์ส่วนใหญ่ จะเป็นระบบบังคับที่ผู้เอาประกัน เก็บเงินอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราสามารถมีการเก็บเงินได้อย่างสม่ำเสมอ
3.มีความคุ้มครองชีวิตของลูกน้อยด้วย
บางทีความสูญเสืยที่ไม่คาดคิดนั้นก็อาจจะเกิดขึ้นได้กับครอบครัว ดังนั้นหากลูกเรายังมีทุนประกันบ้างก็น่าจะเป็นการเยียวยาความสูญเสียให้ลดลงได้บ้าง
4.มีความคุ้มครองในส่วนของผู้ปกครองให้ด้วย
คือการที่ผู้ปกครองซื้อสัญญาเพิ่มเติม คุ้มครองผู้ชำระเบี้ย หากเกิดเหตุไม่คาดฝันกับผู้ที่ชำระเบี้ยแล้ว บริษัทรับประกันจะเป็นผู้ชำระเบี้ยประกัน ของกรมธรรม์ฉบับนี้ต่อไปแทน
5.ผลตอบแทนไม่เสียภาษี
การเก็บออมสินค้าประกันชีวิตนั้นจะได้รับการยกเว้นภาษี ไม่ว่างจะเป็น เงินคืนตามเงื่อนไข หรือ เงินคืนเมื่อตอนครบสัญญา
ข้อดี ของการทำประกันสุขภาพให้ลูกน้อย :check:
ได้ความสบายใจ
จะได้ไม่ต้องกังวลว่าจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลแพงๆ ถ้ารู้ว่าจะต้องจ่ายค่าเบี้ยปีละเท่าไหร่ มันก็ง่ายกว่าการมาจ่ายเงินเป็นก้อนโตที่โรงพยาบาล
มีโอกาสหายเร็วขึ้น
แน่นอนว่าพอเราทำประกันให้ลูกน้อยแล้วเราก็มั่นใจได้ว่าลูกเราสามารถได้รับรักษากับโรงพยาบาลที่มั้นใจโดยไม่ต้องรอให้หายเอง
ได้คุ้มครองทุกโรค
การทำประกันสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อยๆ ลูกของเราจะไม่มีประวัติการเจ็บป่วยดังนั้นประกันจึงคุุมครองทุกโรค
10 ความจริงที่ควรรู้ ก่อนซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี :check:
1.ประกันชีวิต ไม่ใช่การฝากเงิน ประกันชีวิตเป็นการทำสัญญาตกลงระยะยาวโดยมีการจ่ายเบี้ยตามที่กำหนดไว้ให้กับบริษัทประกันเพื่อคุ้มครองชีวิต
2.ประกันคือการบริหารความเสี่ยงเป็นหลัก ถ้าคิดแต่จะซื้อเพื่อลดหย่อนภาษี ให้ได้ลดหย่อนเยอะๆ หรือลดให้เต็มสิทธิ์ บางทีแล้วอาจจะเป็นการลดหย่อนที่มากเกินความจำเป็น และไม่ได้มองถึงภาพรวมของการวางแผนการเงินเพื่อชีวิตได้อย่างถูกต้อง
ประกันที่เหมาะสำหรับลดหย่อนภาษีไม่ได้มีแค่เฉพาะประกันแบบสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตมีหลายประเภท ทั้งเน้นความคุ้มครองชีวิต และออมเงินระยะยาว สิ่งที่ต้องดูจริงๆ คือ “ความจำเป็น” ของแต่ละคน เพราะถ้าหากเราต้องการแบบคุ้มครองชีวิต แต่ไปทำสะสมทรัพย์แทน แม้จะลดภาษีได้ แต่ถือว่าบริหารความเสี่ยงผิดพลาด เพราะแบบสะสมทรัพย์นั้นให้ความคุ้มครองต่ำ
4.ประกันสั้นๆ ไม่ได้ดีกว่าประกันยาวๆ สั้นหรือยาว มันขึ้นอยู่กับเป้าหมายการเงิน และความจำเป็นในชีวิต เช่น เป้าหมายการออมของเราคือเพื่อเอาไว้ใช้หลังเกษียณ ก็ต้องออมยาว หรือความจำเป็นคือ เรามีภาระเลี้ยงดูลูก มีภาระหนี้สินที่ต้องผ่อนอีก 30 ปี แบบนี้ก็ต้องการความคุ้มครองยาวกว่า เพื่อให้เรามั่นใจว่าตรงกับทุกความต้องการที่เรามี
5.จ่ายเบี้ยสั้นๆ ไม่ได้ดีกว่าจ่ายเบี้ยยาวๆ ประกันแต่ละแบบนั้น มันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย การจ่ายเบี้ยยาวๆ เป็นแบบประกันที่สัญญายาวเท่ากัน แบบที่จ่ายเบี้ยยาวกว่า จะถูกกว่าแบบที่จ่ายเบี้ยสั้นกว่า
6.แบบที่มีเงินคืน ไม่ได้ดีกว่าแบบที่ไม่มีเงินคืน ที่จริงแล้วประกันแบบที่มีเงินคืนนั้น ส่วนใหญ่จะแบบสะสมทรัพย์ ทำเพื่อการันตีเงินออม ส่วนแบบที่ไม่มีเงินคืนคือเป็นแบบเน้นคุ้มครองชีวิต
7.ทำประกันชีวิตเท่าที่พอใจจะจ่ายเบี้ยอาจมีผลเสียมากกว่าดี จ่ายได้เยอะเกินไป คือ การทำประกันมากเกินความจำเป็น แต่ถ้ามีการวางแผนที่ดี รู้จักเอาเงินส่วนหนึ่งไปวางแผนลงทุนบ้าง เราอาจจะได้มากกว่านั้นหลายเท่า แล้วยังเหลือเงินไปวางแผนด้านอื่นอีกด้วย
จ่ายน้อยกว่าที่จำเป็น คือ คนที่มีภาระการเงินเยอะ แต่ทำประกันวงเงินคุ้มครองแค่เพียงเล็กน้อยซึ่งอาจจะไม่ครอบคลุมความเสี่ยงเพียงพอ เพราะฉะนั้นต้องมองเรื่องการวางแผนการเงินให้ครบถ้วนด้วย
8.ประกันสุขภาพ ไม่ใช่เรื่องถ้าไม่เคลม ก็ไม่คุ้ม ไม่มีใครรู้อนาคตว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้นเมื่อไร และถ้าหากรู้อนาคตจริงๆ ประกันก็คงไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นอีกต่อไป เพราะทุกคนสามารถจัดการความเสี่ยงได้หมด
9.เงื่อนไขที่ว่า ไม่ต้องตรวจหรือตอบคำถามสุขภาพ นั้นเป็นเรื่องจริง ต้องแยกก่อนว่ามันคือประกันที่ ไม่ต้องตรวจสุขภาพ หรือ ไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ
ยกตัวอย่างเช่น การไม่ต้องตรวจสุขภาพ เป็นกรณีที่เวลาจะทำประกัน ตัวแทนจะถามเราว่า มีโรคประจำตัวมาก่อนไหม สุขภาพแข็งแรงดีรึเปล่า ถ้าเราแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัว ไม่เคยผ่าตัดอะไรหนักๆ ส่วนใหญ่คือไม่ต้องตรวจสุขภาพ อันนี้เป็นเรื่องปกติ แต่ ถ้าเราตอบคำถามแบบบิดเบือนหรือโกหก ทำให้ไม่ต้องตรวจสุขภาพ แล้วเกิดต้องเคลมทีหลัง ที่มีผลเกี่ยวข้องกับโรคที่เป็นอยู่ก่อน แล้วบริษัทประกันไปสืบประวัติเจอ อันนี้บริษัทประกันสามารถปฏิเสธการเคลมได้
10.ยูนิตลิงค์ ไม่ใช่ประกัน ที่ดีที่สุด ข้อดีของมันก็คือความยืดหยุ่น สามารถวางแผนเองได้ ว่าจะจ่ายเบี้ยกี่ปี่ คุ้มครองกี่ปี ปรับลดเบี้ยเมื่อไหร่ ถอนเงินออกมาเท่าไหร่ ปีไหน ได้ผลตอบแทนประมาณไหน วางแผนเองได้ รวมถึงบางแบบก็ความคุ้มครองสูง 100-120 เท่าของเบี้ยประกัน แล้วก็อาจจะเป็นเรื่องของความสะดวก ซื้อหนึ่งได้ถึง 2 คือได้คุ้มครองชีวิตกับลงทุนไปพร้อมๆกันที่เดียว นี่คือจุดเด่นจริงๆของยูนิตลิงค์ แต่ไม่ใช่เรื่องของผลตอบแทนเป็นหลัก เพราะถ้าบอกว่าดี เพราะผลตอบแทนสูง ก็ไม่ใช่ เพราะยังไงก็อาจแพ้การไปลงทุนในกองทุนรวมด้วยตัวเอง เพราะยูนิตลิงค์ต้องเสียค่าธรรมเนียมจากบริษัทประกันอีกรอบหนึ่ง
ส่วนข้อเสียอีกเรื่องของยูนิตลิงค์ก็มาจากข้อดีนั่นแหละ เพราะมีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงกว่าแบบสะสมทรัพย์ ก็เลยเสี่ยงกว่า ถ้าไปวางแผนไว้ให้ผลตอบแทนสูงๆ 8-10% ต่อปี แล้วเกิดถึงช่วงวิกฤติขึ้นมา หุ้นติดลบ 40-50% มูลค่าเงินลงทุนในกรมธรรม์หายไปครึ่งนึ่ง มันอาจจะไม่พอเหลือให้ตัดไปเป็นค่าทำประกันปีต่อๆไปก็ได้ ทำให้ความคุ้มครองหายไปเลย เพราะฉะนั้น ในข้อดี มันก็มีข้อควรระวังที่ต้องคำนึงถึงอยู่ด้วยเช่นกัน
ซื้อประกันชีวิตเพื่อลดหย่อนภาษียังไงให้ตรงสิทธิ์ และคุ้มค่าที่สุด :check:
เหมาะกับ คนที่ต้องเลี้ยงดูครอบครัว คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือคนที่มีคนอื่นๆต้องดูแล
“แบบตลอดชีพ” หรือ “แบบชั่วระยะเวลา” ที่ไม่เน้นเงินคืน หรือผลตอบแทน แต่เน้นจ่ายเบี้ยน้อย ความคุ้มครองสูงๆ
ทำให้ทุนประกัน (วงเงินคุ้มครอง) ครอบคลุมค่าดูแลในแต่ละปี ไปจนกว่าจะหมดภาระดูแล
“แบบคุ้มครองหนี้สิน” ที่วงเงินคุ้มครองจะลดลงเรื่อยๆตามหนี้สินที่ทยอยลดลง จากการทยอยผ่อนชำระ
คนที่ต้องการออมเงิน แล้วไม่อยากเจอความเสี่ยง หรือความผันผวนของผลตอบแทน อยากมีเงินแน่ๆก้อนหนึ่ง ไว้ใช้ในอนาคต
“แบบสะสมทรัพย์” หรือที่ชอบเรียกกันว่าแบบออมทรัพย์ ที่มีเงินคืนในแต่ละปี ครบสัญญาได้เงินก้อนใหญ่
ทำให้เงินคืนทั้งหมดรวมถึงเงินครบสัญญา เท่ากับเงินที่เราวางแผนอยากจะได้ในอนาคต (เช่น อยากจะมีเงิน 500,000 ในอีก 10 ปีข้างหน้า ก็คำนวณให้เงินคืนทั้งหมดเท่ากับ 5 แสน แล้วค่อยคำนวณกลับมาเป็นเบี้ยที่จะจ่าย)
คนที่วางแผนจะเกษียณตอนอายุ 55 หรือ 60 ปี แล้วได้เงินก้อนหนึ่งที่แน่นอนเอาไว้ใช้หลังเกษียณ ในทุกๆปี
“แบบบำนาญ” ที่จะจ่ายเงินบำนาญให้เราทุกปี ตั้งแต่เราเกษียณตอน 55 หรือ 60 ปี ไปจนถึงอายุ 85 ปีเป็นอย่างน้อย
ทำให้เงินบำนาญที่จะได้ในแต่ละปี เท่ากับจำนวนเงินขั้นต่ำสุดเพื่อให้เรามีชีวิตรอด (เช่น คิดว่าเงินขั้นต่ำสุดที่จะทำให้เราพออยู่พอกินในแต่ละเดือนคือ 8,000 บาท ปีหนึ่งก็ 96,000 ก็ให้ทำประกันบำนาญ โดยคำนวณให้ได้เงินบำนาญปีละ 96,000 บาท++ ต่อปี (เผื่อเงินเฟ้อไว้ด้วยครับ)
5 ข้อที่ต้องรู้ ก่อนเลือกซื้อประกันชีวิตควบการลงทุน :check:
ความเสี่ยงและผลตอบแทนการลงทุน รับความเสี่ยงของการลงทุนได้ส่วนหนึ่ง เพราะเริ่มมีการลงทุนในตราสารทุน หรือหุ้น เพิ่มเข้ามา (
ความคุ้มครอง ความคุ้มครองชีวิตที่ได้ สูงกว่าเบี้ยทั้งหมดที่เราจ่ายไปมากแค่ไหน? มีการการันตีกี่เปอร์เซ็นต์? คุ้มไหมเมื่อเทียบกับเบี้ยที่จ่าย และค่าใช้จ่ายในการทำประกันที่บริษัทประกันคิดกับเรา? ซึ่งอย่างน้อยๆ ส่วนตัวแล้วผมคิดว่าไม่ควรต่ำกว่า 20%
สินทรัพย์ลงทุนที่ให้เลือก บริษัทประกันให้เราเลือกลงทุน ว่าเป็นกองทุนที่ดีไหม? ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับกองทุนประเภทเดียวกัน กองอื่นๆ ในตลาด ถ้าเป็น ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ก็ว่าบริษัทประกันมีนโยบายจะไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทไหนบ้าง? สัดส่วนเท่าไหร่? สินทรัพย์ที่ลงทุนมีความเสี่ยงหรือศักยภาพมากน้อยแค่ไหน? เช่น ถ้าเป็นพันธบัตรหรือตราสารหนี้
ค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ เราก็ควรเทียบว่า ถ้าเป็นประกันชีวิตควบการลงทุน เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว ส่วนที่เหลือที่เราจะได้ จะสูงกว่าประกันชีวิตแบบดั้งเดิมมากแค่ไหน? หรือน้อยกว่าการที่เราเลือกไปลงทุนเองเยอะไหม? (เช่น ถ้าเป็นแบบสะสมทรัพย์แบบดั้งเดิม แล้วเราได้ผลตอบแทนเฉลี่ย
คุณสมบัติเด่นที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาคุ้มครอง ระยะเวลาจ่ายเบี้ย จำนวนเบี้ยที่จ่าย ความคุ้มครองที่ได้ รวมถึงการวางแผนจัดพอร์ตการลงทุน ตามผลตอบแทนและความเสี่ยงที่เหมาะสมกับตัวเอง แต่ก็ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจค่อนข้างมาก เพราะมีรายละเอียดเยอะ และต้องวางแผนให้เหมาะกับเป้าหมายการเงินของตัวเอง ส่วนจุดเด่นของ ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ก็คือเรื่องของการผสมทั้งความคุ้มครองและผลตอบแทน
ไขข้อข้องใจให้พ่อแม่ ทำไมถึงควรทำประกันสุขภาพให้ทุกคนในครอบครัว? :check:
ข้อดีของประกันสุขภาพ
เลือกโรงพยาบาลที่ต้องการได้
ว่างแผนค่าใช่จ่ายได้ล่วงหน้า
บริษัทประกันช่วยจ่าย
สิทธิในการลดหย่อนภาษี
5 ขั้นตอนง่ายๆในหารเลือกซื้อประกัน
เลือกทำประกันสุขภาพให้ครอบคลุมด้านต่างๆ ตามส่วนที่ขาด
เช่น ค่าห้อง ค่ารักษาโรคร้ายแรง หรืออุบัติเหตุ ตามวงเงินส่วนที่ยังขาดอยู่
เปรียบเทียบความคุ้มค่า และความพึงพอใจของแผนประกันที่เลือก
เราเปรียบเทียบว่าเราได้รับความคุ้มครองแบบคุ้มค่าหรือเปล่า และต้องดูค่าเบี้ยประกันในอนาคตไว้ด้วย เพื่อประเมินว่า เราสามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยไหวหรือไม่
สำรวจสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลที่ตัวเองมีอยู่
เช่น ประกันสังคม บัตรทอง
ทำประกันสุขภาพตามที่วางแผนไว้ โดยประเมินค่าเบี้ยประกันภัยให้เหมาะสมกับรายได้
เบื้องต้น ค่าเบี้ยประกันภัยไม่ควรเกิน 10% ของรายได้ทั้งปีของเรา
สำรวจค่ารักษาของโรงพยาบาลที่ต้องการใช้ในกรณีฉุกเฉิน
ว่ามีอัตราเท่าไหร่ เช่น ค่าห้อง ค่าผ่าตัด ค่าหมอ หรือค่ารักษาโรคร้ายแรง
เรื่องค่ารักษาพยาบาล
เปลี่ยนค่าใช้จ่ายที่ “คาดการณ์ไม่ได้” ให้เป็นค่าใช้จ่ายที่ “คาดการณ์ได้”
อุ่นใจ และมั่นใจได้ว่าจะได้ใช้บริการรักษาพยาบาลจากโรงพยาบาลที่ต้องการ
ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง เพราะบริษัทประกันเป็นคนจ่ายให้
อื่นๆ เช่น เรื่องของสิทธิในการลดหย่อนภาษี เป็นต้น
ประกันสุขภาพแบบ(family care) เหมาะสำหรับคนที่มีครอบครัว
เข้ารับการรักษาได้เลย
โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ด้วยบัตร FWD Care Card ในโรงพยาบาลและคลินิกในเครือข่ายกว่า 380 แห่งทั่วประเทศ
มีส่วนลดค่าเบี้ยประกันภัย 25%
เมื่อซื้อความคุ้มครองให้สมาชิกในครอบครัวพร้อมกันตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
คุ้มครองชีวิตและสุขภาพ
ทั้งกรณี เสียชีวิตทั่วไป และเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอก
5 แนวทาง วางแผนรับมือค่ารักษาพยาบาลให้อยู่หมัด :check:
เลือกโรงพยาบาลให้เหมาะสมกับฐานะของตัวเองควรเลือกโรงพยาบาลที่มีอัตราค่าห้องและค่ารักษาพยาบาลที่สอดค้องกับรายได้ของเรา
ใช้ประโยชน์จากสวัสดิการรักษาพยาบาลที่มีอยู่จากที่ทำงาน สำรวจรายละเอียดค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับจากบริษัทหรือที่ที่เราทำงานอยู่ ว่ามีสวัสดิการรักษาพยาบาลคลอบคลุมอะไรบ้าง แล้ววงเงินเท่าไหร่ เผื่อมีกรณีฉุกเฉินจำเป็นต้องใช้จะได้รู้ว่าเราต้องสำรองเงินจ่ายเอบางส่วน
วางแผนทำประกันสุขภาพเพิ่มเติม เลือกจากแผนประกันที่เหมาะกับรายได้ของเรา โดยเลือดแพ็กเกทที่วงเงินสอดคล้องกับค่ารักษากับโรงพยาบาลที่เราเลือกไว้ โดยต้องคำนวณเผื่อถึงความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันในอนาคตของเราด้วย
5.ดูแลรักษาสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสเจ็บป่วย ารเตรียมเงินค่ารักษา ใช้สวัสดิการ หรือทำประกันสุขภาพ เป็นการเตรียมตัว ณ ปลายเหตุ คือตอนที่เกิดการเจ็บป่วย และเกิดค่ารักษาขึ้นเรียบร้อยแล้ว แต่ทางที่ดีที่สุดคือ เราไม่ต้องเจ็บป่วย หรือลดโอกาสเจ็บป่วยลงให้เหลือน้อยที่สุด ด้วยการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้ดี ทั้งการทานอาหาร การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่โหมใช้ร่างกายหนักจนเกินไป เพราะร่างกายของเราไม่ใช่เครื่องจักร คงไม่คุ้มกันแน่ ถ้าเราทำงานหนัก หาเงินได้เยอะ แต่กลับทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรมแล้วต้องนำเงินที่หามาได้มาใช้ในการรักษาพยาบาลตัวเองอีกรอบ ดังนั้น การเตรียมตัวรับมือค่ารักษา
อย่าลืมเรื่องสวัสดิการรักษาพยาบาล เมื่อคิดจะย้ายบริษัท อาจจะให้เบิกค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด หรือเกือบหมด รวมถึงสวัสดิการด้านอื่นๆ แม้จะเป็นข้อได้เปรียบ แต่ก็อาจเป็นข้อจำกัดด้วยเช่นเดียวกัน เพราะถ้าหากวันหนึ่งเราเกิดพิจารณาอยากย้ายงานไปทำงานที่อื่น อย่าลืมว่า สวัสดิการที่เรามีอยู่ก็จะต้องเปลี่ยนไป หรือหายไปด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าจะเปลี่ยนที่ทำงานใหม่ ต้องดูดีๆว่าสวัสดิการเป็นอย่างไร หากสวัสดิการรักษาพยาบาลดีๆที่มีอยู่ต้องหายไป จะอาจจะจำเป็นต้องวางแผนเรื่องนี้ใหม่ ให้ต้องพึ่งพาตัวเองมากขึ้น จึงต้องพิจารณาดีๆ รวมถึงคนที่มีสวัสดิการค่ารักษาดีๆจากที่ทำงาน ที่กำลังใกล้จะเกษียณ อย่าลืมว่า ถ้าเกษียณแล้ว สวัสดิการที่มีอยู่ ก็จะหายไปด้วย ดังนั้น ก็ควรจะต้องเตรียมตัววางแผนเอาไว้ล่วงหน้า
จะซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษี วางแผนยังไงดี :check:
1.ประเมินความเสี่ยงตัวเอง ความเสี่ยงจากการลงทุนเพื่อเป้าหมายการเงินต้องสำรวจจากเป้าหมายการเงินของเราว่า เป้าหมายการเงินที่เราต้องการนั่นเสี่ยงได้มากแค่ไหน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการลงทุน และความจำเป็นของเป้าหมาย เช่น เป้าหมายคือเกษียณอายุ อีก 20 ปี แบบนี้อาจจะเสี่ยงได้มากหน่อย เพราะเวลาลงทุนนาน แต่ถ้าระยะเวลากว่าจะถึงเป้าหมายเหลืออยู่แค่ 4-5 ปี แบบนี้อาจจะเสี่ยงมากไม่ได้ เพราะระยะเวลาลงทุนมันสั้น ก็ต้องเน้นเครื่องมือหรือสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่ำๆเป็นหลัก ซึ่งตรงนี้ควรวิเคราะห์ประกอบกับความสามารถในการรับความเสี่ยงของตัวเองประกอบกันด้วยว่า เราเป็นคนที่รับความเสี่ยงได้มากหรือน้อย
การวางแผนประกันและจำนวนทุนประกันที่ควรซื้อ เงินฝาก เงินลงทุนต่างๆ ถ้าหากเรามีเงินเก็บหรือเงินลงทุนรวมกัน 2 ล้านบาท แล้วยังมีทุนประกันจากสวัสดิการที่ทำงาน หรือประกันชีวิตเดิมที่เรามีอยู่ อยู่ 500,000 บาท ก็แปลว่า เราทำทุนประกันเพิ่มเติมแค่ 2,500,000 บาทก็เพียงพอเราก็ไปเลือกแบบประกันชีวิตที่เน้นคุ้มครองชีวิต เช่น แบบตลอดชีพ หรือแบบชั่วระยะเวลา ทำที่ทุนประกัน 2,500,000 บาทจะจ่ายเบี้ยกี่ปี ก็ดูที่แบบประกันที่เราเลือก
ค่าห้องและค่ารักษาพยาบาล ก็จะเป็นตัวสัญญาเพิ่มเติมพวกค่ารักษาพยาบาลหรือเงินชดเชยรายวัน
ส่วนโรคร้ายแรง
ส่วนที่เป็นอุบัติเหตุ
การจัดการด้านภาษี คนที่ตัดสินใจจ่ายเบี้ยประกันไปในจำนวนมากแล้วมีปัญหาจ่ายไม่ครบ ทำให้โดนประเมินภาษีเพิ่ม หรือว่าทำประกันเกินกว่าที่ลดหย่อนโดยไม่ดูความจำเป็นของตัวเอง เช่น นาย ก มีเงินคงเหลือในเดือนนี้จากโบนัสมา 50,000 บาท ตัดสินใจทำประกันชีวิตทันที โดยที่ปีหน้าไม่มีโบนัส แบบนี้ก็จะมีปัญหาได้
7 ความจริงที่คุณควรรู้ ก่อนลดหย่อนภาษีด้วยประกันชีวิต :check:
การลดหย่อนภาษีด้วยประกัยชีวิต
เบี้ยประกันชีวิต
รวมทั้งสิ้นจำนวน 100,000 บาท ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยส่วนแรกสามารถหักได้ 10,000 บาท สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาทนั้นหักได้ไม่เกินเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท โดยมีเงื่อนไขดังนี้
กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
ต้องทำกับบริษัทรับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในประเทศไทย
ถ้ามีการจ่ายเงินคืนเงินปันผลหรือผลตอบแทนระหว่างสัญญา จะต้องมีเงื่อนไขดังนี้
กรณีได้รับเงิน คืนทุกปี ยอดเงินคืนนั้นต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี
กรณีได้รับเงินคืนตามช่วงระยะเวลา เช่น 2 ปี 3 ปี 5 ปี ยอดเงินคืนจะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตสะสมของแต่ละช่วงระยะเวลา
กรณีอื่นๆ ผลรวมของเงินคืนตั้งแต่ปีแรกถึงปีที่มีการจ่ายเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนคืนต้องไม่เกินร้อยละ 20 ของเบี้ยประกันสะสมในช่วงนั้นๆ
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
ลดหย่อนได้สูงสุด15% ของเงินที่ได้เป็นจำนวน 200,000บาท
ซึ่งประกันชีวิตแบบบำนาญนี้ เมื่อรวมกับเงินสะสมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นต้องไม่เกิน 500,000บาทโดยมีเงื่อนไขดังนี้
เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
ต้องเอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในไทย
มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ จะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกันก็ได้
มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้น ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้ว ก่อนได้รับผลประโยชน์
เมื่อประกันชีวิต ไม่ได้มีประโยชน์แค่ลดหย่อนภาษี :check:
ประกันชีวิตเพื่อสร้างเงินออม" นั้น มักจะเลือก "ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment)" ซึ่งเป็นประกันชีวิตที่เน้นการออมเงิน ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่กำหนดไว้แน่นอนตามกรมธรรม์ โดยมีทั้งแบบระยะสั้น กลาง ยาว ตั้งแต่ 3-5 ปี ยาวไปจนถึง 25-30 ปีขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของประกันสะสมทรัพย์แต่ละประเภทที่กำหนดไว้
การเก็บออมเงินเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการ ถ้าหากเราเป็นคนที่มีเป้าหมายในอนาคตว่าต้องการเงินก้อนที่มีจำนวนแน่นอนแบบพลาดไม่ได้ เช่น ดาวน์รถ ดาวน์บ้าน แต่งงาน หรือเงินก้อนอื่นๆตามเป้าหมายที่ต้องการ ประกอบกับเราเองก็ต้องเสียภาษี ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์อาจจะเป็นอีกตัวหนึ่งที่ตอบโจทย์
ถามว่าความน่าสนใจของประกันชีวิตจากอาคเนย์คืออะไร
เพิ่มมรดกเพื่อส่งต่อความมั่งคั่งให้ลูกหลานง่ายๆ ด้วย "ประกันชีวิตควบการลงทุน" :check:
การทำประกันเพื่อให้ได้รับเงินส่วนนี้ คือ การสร้าง “เป้าหมาย” การเงินที่แน่นอน ตามจำนวนที่ตกลงว่าจะส่งมอบตามอายุสัญญาในกรมธรรม์ ซึ่งทำให้เรามั่นใจว่ามันเป็นหลักประกันตัวหนึ่งที่จะทำให้คนข้างหลังไม่ลำบาก
นอกจากนั้นข้อดีเพิ่มเติมของการทำประกันชีวิตยังมี เรื่องของการจัดการเงินได้อย่างรวดเร็ว และไม่ต้องเสียภาษี เพราะเงินที่ประกันชีวิตจ่ายนั้น จะไม่ต้องไปนับรวมกับกองมรดก ซึ่งผู้รับผลประโยชน์จะได้เงินรวดเร็วกว่าวิธีอื่นๆ
มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่าจากการลงทุนในกองทุนรวมคุณภาพที่คัดสรรแล้วจาก บลจ.ชั้นนำ
มั่นคงกับความคุ้มครองชีวิตที่สูงถึง 100 เท่าของเบี้ยประกันภัยหลักต่อปี (สำหรับคนที่อายุไม่เกิน 35 ปี)
ปรับเปลี่ยนสัดส่วนทุกอย่างได้ตามใจ สามารถเลือกได้ตามสถานการณ์ของตลาด และยังปรับเปลี่ยนได้ทั้งเบี้ยประกันภัย ทุนประกันภัย สัดส่วนความคุ้มครองชีวิตและการลงทุน ไปจนถึงการสับเปลี่ยนกองทุนเพื่อเพิ่มโอกาสในผลตอบแทนที่สูงกว่า
สำหรับคนที่ต้องการส่งต่อมรดก ยังสามารถเพิ่มเบี้ยประกันภัยเพิ่มพิเศษ(สัดส่วน) ได้สูงสุดถึง 150 ล้านบาท
มีระบบอัตโนมัติช่วยบริหารการลงทุน เช่น การปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนอัตโนมัติ หรือการทยอยเข้าลงทุนอย่างสม่ำเสมออัตโนมัติ
ความรู้เกี่ยวกับประกันชีวิต
ประกันชีวิต / สุขภาพ / อุบัติเหตุ ควรเลือกทำประกันอะไรก่อนดี
:check:
ถ้าใครมีรถ และจำเป็นต้องใช้รถบ่อย ผมอาจจะขอยกความสำคัญให้ประกันรถยนต์มาก่อนเลย (แม้ในความเป็นจริง เราควรจะปกป้องตัวเองก่อนรถก็ตาม) เพราะเป็นความจริงที่ว่าประเทศนี้มีความเสี่ยงเรื่องอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงอย่างน้อยเราควรต้องมีประกันรถยนต์ไว้คุ้มครองค่าเสียหายทั้งตัวเราเอง และผู้อื่นไว้ก่อน
ส่วนประกันอื่นๆ (เช่น ประกันอัคคีภัย) ก็อาจจะมีความสำคัญรองๆมาเป็นอันดับหลังๆ ต่อจาก ประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุ
การพิจารณาลำดับ
ความสำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน
ถ้ามีสวัสดิการอยู่บ้าง ให้เลือกทำประกัน
ที่ไม่มีสวัสดิการ หรือมีสวัสดิการน้อยที่สุดก่อน
ไปพร้อมๆกับประกันที่ค่าเบี้ยถูกกว่า (ถ้าทำได้)
เช่น เรามีสวัสดิการ ประกันอุบัติเหตุ ครอบคลุม 50% ของทั้งหมดที่เราจำเป็นต้องมี ประกันสุขภาพ 20% ของทั้งหมด ประกันชีวิต 10% ของทั้งหมด เราอจเลือกทำประกันชีวิตเพิ่มก่อน เพราะตอนนี้ยังขาดอยู่มากที่สุด
ดูว่าเรามีสวัสดิการคุ้มครอง
เรื่องอะไรอยู่แล้วบ้าง
ไปสำรวจ แล้วลิสต์ดูก่อนว่า ตอนนี้ เรามีสวัสดิการอะไรอยู่บ้าง แล้วที่มี มีอยู่เท่าไหร่? ครอบคลุมวงเงินที่จำเป็นสำหรับเรามากน้อยแค่ไหน? ถ้ายังไม่ครอบคลุม แล้วส่วนที่ขาด ที่ต้องทำเพิ่มแต่ละอย่าง คิดออกมาแล้วเป็นเบี้ยเท่าไหร่
ดูว่าเรามีงบประมาณในการทำ
ประกันทั้งหมดต่อปีอยู่เท่าไหร่
สำรวจกระเป๋าสตางค์เราดูก่อนว่า เราพอจะมีงบในการจ่ายค่าเบี้ยทั้งหมด ต่อปี ประมาณกี่บาท ครอบคลุมส่วนขาดที่เราต้องทำเพิ่มทั้งหมดหรือไม่
ถ้าไม่มีสวัสดิการเลย ให้เลือกทำประกัน
ที่เน้นคุ้มครองตัวเองก่อน ในราคาที่น้อยที่สุด
สมมติว่า เรามีเรื่องที่ไม่มีสวัสดิการคุ้มครองอยู่ 2 เรื่อง เช่น ประกันอุบัติเหตุ กับประกันชีวิต ก็ให้เราเลือกทำประกันที่คุ้มครองตัวเราก่อนเป็นหลัก คือประกันอุบัติเหตุ (เพราะเราควรช่วยเหลือตัวเองให้รอดก่อน ก่อนจะไปช่วยเหลือคนอื่น แถมใช้เงินน้อยกว่า เพราะเบี้ยถูกกว่า)
ประกันนั้นสำคัญไฉน
:check:
ประกัน คือการการันตีว่าเราจะไม่เสียหายหรือ
เสียผลประโยชน์ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคต
หากเราไม่ได้เคลมหรือไม่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
เราก็สามารถออมเงินมีเงินเก็บไปในตัวในบางประกัน
เช่น ประกันแบบสะสมทรัพย์
เมื่อไหร่ที่เราควรจะซื้อประกัน?
:check:
ซื้อเมื่อมีเงินและเข้าใจวัตถุประสงค์ของการซื้อ และ
รู้ว่าชีวิตเรามีความเสี่ยงมากแค่ไหน มีเสี่ยงอะไรบ้าง
เสียงที่ครอบครัวจะต้องรับภาระเรื่องเงินหากเราตายไป
ซึ่งประกันที่จ่ายเงินเมื่อเราตายก็มีหลายประเภท เช่น
(1.1) แบบชั่วระยะเวลา = จ่ายเมื่อตายประกันนี้จะเน้นการให้"ความคุ้มครองไม่ใช่ออมทรัพย์" จ่ายเบี้ยประกันต่ำเหมาะกับคนที่มีความเสี่ยงสูง
(1.2) แบบตลอดชีพ = ตายเมื่อไหร่ก็จ่ายแต่ถ้าอยู่ถึงครบสัญญาจะได้เงินคืนซึ่งประกันนี้มีเพื่อคนที่อยู่ข้างหลังเมื่อเราตาย
2. เสี่ยงที่ตัวเองจะไม่มีเงินพอใช้ในอนาคต
ก็มีประกันที่เราจ่าย
เบี้ยประกันครบตามเงื่อนไขบริษัทก็จะจ่ายเงินคืนให้เราตามเวลา เช่น
(2.1) แบบสะสมทรัพย์ = จ่ายคืนเมื่อเราไม่ตาย และอยู่จนครบกำหนดสัญญา แต่ถ้าเราตายในระยะเวลาที่มีประกันก็ได้เงินคืนเช่นเดียวกัน รายการนี้ เน้น "การออมมากกว่าคุ้มครอง" เหมาะกับคนที่ต้องการออมเงิน
(2.2) แบบบำนาญ = จะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเท่าๆกัน ตั้งแต่อายุครบ 55 ปีหรือ 60 ปี แล้วแต่เงื่อนไขที่กำหนดไว้กับบริษัทประกัน
ข้อดี-ข้อเสียของประกันเเต่ละประเภท
:check:
1. แบบสะสมทรัพย์ เบี้ยประกันแพงมาก
เพื่อสร้างวินัยการออมระยะยาว
ข้อดี
- จ่ายผลตอบแทน , มีเงินคืน , บังคับออมระยะยาว
ข้อเสีย
- ผลตอบแทนต่ำ, คุ้มครองต่ำ
2. แบบบำนาญ เบี้ยประกันแพง
เพื่อเป็นเงินบำนาญการันตีหลังเกษียณ
ข้อดี
- เป็นการสร้างเงินการันตียามเกษียณ , ให้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมม 200,000 บาท
ข้อเสีย
- ผลตอบแทนต่ำ, คุ้มครองต่ำ
3. แบบตลอดชีพ เบี้ยประกันค่อนข้างถูก
เพื่อสร้างความคุ้มครองระยะยาว
ข้อดี
- มีการคุ้มครองตลอดชีพ, ต้นทุนค่าประกันคงที่
ข้อเสีย
- ไม่มีผลตอบแทน , ระยะเวลาคุ้มครองอ่านนานกว่าความจำเป็น
4. แบบชั่วระยะเวลา เบี้ยประกันถูกที่สุด
เพื่อสร้างความคุ้มครองระยะสั้น - กลาง
ข้อดี
- สามารถเลือกระยะเวลาคุ้มครองตามเวลาที่เหมาะสมเบี้ยถูกที่สุด
ข้อเสีย
- เป็นเบี้ยจ่ายทิ้ง , ไม่มีมูลค่าเงินสดในกรมธรรม์
5. แบบควบการลงทุน เบี้ยประกันถูก
เพื่อกำหนดความคุ้มครองโดยมีผลตอบแทนที่ดี
ข้อดี
- มีอิสระในการกำหนด -ปรับเบี้ยและทุนประกันได้เอง , มีโอกาสได้ผลตอบแทนสูงกว่า
ข้อเสีย
- ต้นทุนประกันปรับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆตามอายุ
วิธีจัดการกับความเสี่่ยง
:check:
การเข้าใจและมองเห็นความเสี่ยงในชีวิต จะช่วยให้เรา
สามารถหาวิธีจัดการกับความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม
ดังนั้น วิธีจัดการกับความเสี่ยงมี 4 ข้อดังนี้
1.
หลีกเลี่ยง
ไม่พาตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาะที่อาจจะเกิดภัยนั้นๆ
2.
ควบคุม
หาวิธี "จำกัด" โอกาสหรือความเสียหาย ให้ลดน้อยลง
3.
รับ
การยินยอมที่จะใช้ทรัพย์สิน หรือทรัพยากรของตัวเอง
ในการรับมือกับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น
4.
ถ่ายโอน
การทำสัญญาให้บุคคลอื่นมาชดใช้ความเสียหายแทน
"ความเสี่ยง" เรื่องการเงินสำคัญ
ที่คนไทยมองข้าม
การทำประกัน มีไว้สำหรับคนที่ "มีความเสี่ยงต่ำ" โอกาสเกิดเหตุร้ายน้อย แต่ถ้าเกิดแล้วจะมีความเสียหายมาก จึงต้องใช้วิธี
จ่ายเงินจำนวนน้อย เพื่อถ่ายโอนความเสี่ยง เสมือนว่าว่าจ้างให้
บริษัทประกัน มารับความเสี่ยงแทนเรา จะเห็นได้ว่า
ไม่ว่าจะเป็นการลงทุน หรือการทำประกัน หรือแม้แต่การเก็บเงิน
ออมเงิน ก็หนีไม่พ้นการทำความเข้าใจเรื่อง "ความเสี่ยง"
เรื่องการเงินจึงไม่ใช่แค่เรื่องที่จะมามองถึงผลตอบแทนแต่เพียงอย่างเดียวได้ แต่ต้องมีการวางแผนล่วงหน้า มีความรอบคอบ ระมัดระวังด้วย
เลือกประกันอย่างไรให้ง่ายและคุ้มค่า
เพื่อใช้ชีวิตได้ง่ายกว่า :check:
คนส่วนใหญ่ไม่ได้นึกถึงการทำประกันชีวิตหรือ
ประกันสุขภาพมาก่อนแต่ทุกคนนึกถึงเรื่องของ
การประกันทรัพย์สิน โดยเฉพาะ “ประกันรถยนต์”
ที่คนส่วนใหญ่เลือกประกันรถยนต์ก่อน ก็เพราะว่า
อุบัติเหตุที่เกิดบ่อยที่สุด ก็คือ“อุบัติเหตุตามท้องถนน”
หากเกิดอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะมีความเสียหายมากแค่ไหน
เราก็จะได้รับความเสียหายแค่ไม่เกินเบี้ยประกันที่จ่าย
จะซื้อประกันทั้งที ต้องรู้อะไรบ้าง
:check:
วัตถุประสงค์ในการทำประกันของเรา โดยให้ดูตามความเป็นจริง
และความจำเป็นเป็นหลักโดยดูว่าหากเราเป็นอะไรไป
ใครที่จะได้รับผลกระทบบ้าง
เงินที่ต้องการคืนในอนาคต เช่น หากเราเสียชีวิตไป
เราอยากได้เงินชดเชยเท่าไหร่ หรือ เราอยากได้เงินเท่าไหร่
เมื่อครบปีที่กำหนดโดยไม่เคลม
ศักยภาพในการจ่ายเงิน ควรหาประกันที่สามารถจ่ายได้
โดยไม่เดือดร้อน และจ่ายได้ตลอด ไม่ควรจ่ายเบี้ยประกัน
เกิน 10-15% ของรายได้รวมในแต่ละปี
3 ระดับในการสร้างความมั่นคงด้วยประกัน
:check:
1.ลดความเสี่ยงในขณะที่เรามีชีวิตอยู่ ต้องมีเพื่อลดความเสี่ยง
ในชีวิต (ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ) หากเราทำงานไม่ได้
ขาดรายได้ เราก็จะได้รับค่าชดเชย
2.ลดความเสี่ยงหากเราไม่มีชีวิตแล้ว หากเราเสียชีวิตแล้ว ควรป้องกันบุคคลรอบข้างไม่ให้เดือดร้อน (ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
ช่วยให้มีเงินก้อนให้ครอบครัว ประกันเพื่อป้องกันหนี้สิน
ช่วยชำระเงินกู้ให้ครอบครัว ทำให้ครอบครัวไม่เดือดร้อน)
3.ลดความเสี่ยงในทรัพย์สินต่างๆ เป็นประกันทรัพย์ที่อยู่ภายนอกกาย
เช่น ประกันภัยทั้งหลาย ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือประกันรถยนต์
เป็นประกันที่ต้องทำหลังจาก 2 กลุ่มแรก
**5 ความเชื่อที่ผิดๆเกี่ยวกับ
การวางแผนทางการเงิน
**
"มีเงินน้อย ไม่สามารถวางแผนการเงินได้"
ให้คิดใหม่ว่า
เพราะเรามีเงินน้อย ถึงต้องรู้วิธีบริหารจัดการ ให้เรามีวินัย
มีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้น โดยที่เรายังมีสภาพคล่องที่เหมาะสมอยู่
มีน้อยก็บริหารน้อย มีมากก็บริหารมาก
"รวยอยู่แล้วไม่ต้องวางแผน"
การวางแผนไม่ได้เกี่ยวกับปริมาณเงิน มันเกี่ยวกับว่าเราจัดการทรัพย์สินอย่างชาญฉลาดแค่ไหน ถ้าเราไม่รู้จักวางแผนรับมือล่วงหน้าไว้ วันหนึ่งเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมา ก็อาจทำให้เราสูญเสียเงินจำนวนมาก จนความมั่งคั่งที่เรามีหายไปจนหมด
การวางแผนการเงิน = การวางแผนลงทุน/การทำประกันชีวิต
รากฐานสำคัญของการเงินบุคคล ที่จะต้องมีก่อนเป็นอันดับแรก คือ "เงินเก็บ" มันจึงเกี่ยวกับเรื่องของการจัดการสภาพคล่อง บริหารรายรับรายจ่าย การวางแผนจัดการหนี้สิน และการวางแผนการออม
การวางแผนการเงิน เป็นเรื่องของคนที่เริ่มมีอายุ ยิ่งเตรียมตัวได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีครับ แถมหากเกิดเหตุไม่คาดฝัน หรือความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นมา เรายังมีโอกาส มีเวลาปรับเปลี่ยน แก้ตัวทัน
ไม่มีพื้นความรู้ทางการเงินมาก่อน ทุกอย่างอยู่ที่ความตั้งใจ หากเราหาความรู้ ศึกษาบ่อย เราก็สามารถมีความรู้ได้เหมือนกัน สามารถวางแผนได้ หรือไม่ก็จ้างคนที่มีความรู้มาเป็นที่ปรึกษาให้เราก็ได้
"การวางแผนการเงิน เป็นเรื่องของคนที่เริ่มมีอายุ คนหนุ่มสาวอย่างเรายังไม่จำเป็น"
3 เรื่องความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประกันชีวิต
1.เงินฝาก
“เงินฝากดอกเบี้ยสูง เงินฝากประจำ ประกันชีวิต” บางคนได้รับข้อมูลไม่ครบจนทำให้เข้าใจผิดว่าประกันชีวิตเป็นเงินฝากดอกเบี้ยสูงหรือฝากประจำ ทั้งที่ความจริงแล้วทั้ง 3 แบบนี้แตกต่างกัน ดังนี้
เงินฝากดอกเบี้ยสูง คือ เงินฝากที่ได้รับดอกเบี้ยสูงมากกว่า
ออมทรัพย์ทั่วไป ฝากถอนตอนไหนก็ได้
เงินฝากประจำ คือ เงินฝากที่ต้องฝากตามระยะเวลา เช่น 12 เดือน ,
24 เดือน , 36 เดือน ฯลฯ ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน
ได้รับดอกเบี้ยสูงกว่าการฝากออมทรัพย์
ประกันชีวิต มีอยู่ 5 แบบ คือ
"แบบชั่วระยะเวลา แบบตลอดชีพ
แบบสะสมทรัพย์ แบบบำนาญ แบบควบการลงทุน"
ซึ่งแต่ละแบบก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน เช่น มีคืนเงิน
ได้รับเงินก้อนเดียว ได้รับเงินรายปีหลังเกษียณ
2.ผลตอบแทน
บางคนเข้าใจผิดว่า “ประกันชีวิตควบการลงทุน
ให้ผลตอบแทนมากกว่ากองทุนรวม” ทั้งที่
ความจริงแล้วมีการทำงานที่แตกต่างกัน คือ
=> ประกันชีวิตควบการลงทุน เน้นความคุ้มครองชีวิต
=> กองทุนรวม เน้นการลงทุน
3.การยกเลิกประกันชีวิต
“เบิกเงินจากประกันชีวิตตอนไหนก็ได้และได้รับเงินคืนทั้งหมด”
เป็นความเข้าใจผิดขั้นรุนแรง เนื่องจาก
ประกันชีวิตเป็นความคุ้มครองชีวิต ได้รับเงินตามจำนวนที่เขียน
ไว้ในเอกสาร ไม่ใช่เงินฝากที่จะถอนออกตอนไหนก็ได้
ถ้ายกเลิกประกันชีวิตจะได้รับเงินคืนตามตารางกรมธรรม์
**ทำประกัน แล้วเกี่ยวอะไรกับ
การวางแผนทางการเงิน
**
ถ้ามีการวางแผนทางการเงินแล้วพบว่า ทรัพย์สินที่อยู่มีไม่เพียงพอ
ต่อการรับความเสี่ยงด้วยตัวเอง ยังไงก็ต้องมีการวางแผนทำประกัน
เพื่อให้บริษัทประกันมารับความเสี่ยงให้แทน
เราควรทำประกันชีวิตเท่าไหร่
ถึงจะพอเหมาะกับตัวเอง
:check:
ทำเพื่อเน้นคุ้มครองชีวิตตัวเอง เพื่อดูแลคนที่เรากำลังเลี้ยงดู
อยู่ซึ่งแบบนี้ คนที่ได้ผลประโยชน์คือคนที่อยู่ข้างหลัง ไม่ใช่ตัวเรา
ทำเพื่อเน้นคุ้มครอง หรือการันตีเงินออม แบบนี้เราจะเป็นคนได้
ผลประโยชน์เอง เพราะเราจ่ายเบี้ยเพื่อออมให้ตัวเอง
ความรู้เกี่ยวกับประกัน 2
6 ความเข้าใจผิในการซื้อประกันชีวิต :check:
ทำประกันชีวตเพื่อเป้าหมายลดหย่อนภาษี
จริงๆการลดหย่อนภาษีไม่ใช่จุดประส่งค์หลักในการซื้อประกัน เพราะมันจะทำให้เรามองข้าม หรือไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการทำประกัน ซึ้งก็คือการ " ลดหย่อนภาษี "
ใช้ประกันชีวิตในการตอบจทย์เป้าหมายการเงินทุกอย่าง
ประกันชีวิตเป็นสินค้าทางการเงินที่ี แต่มันก็เหมาะกับแค่วัตถุประสงค์บางอย่าง ไม่สามารถตอบโจทย์เรื่องที่อาจจะมีสินค้าทางการเงินที่ตอบโจทย์ได้เหมาะกว่า
เลือกแบบประกันชีวตไม่เหมาะสมกับความจำเป็น
เน้นคุ้มครองชีวิตก็ควรทำแบบที่เน้นคุ้มครองชีวิต คือแบบตลอดชีพ หรือแบบชั่วระยะเวลา ไม่ควรไม่ทำแบบสะสมทรัพย์ เพราะวัตถุประสงค์ และความเหมาะสมต่างกัน
ซื้อยูนิตลิงค์(ประกันชีวิตควบการลงทุน) เพื่อเน้นลงทุนอย่างเดียว
ยูนิตลิงค์ แม้จะมีส่วนของการลงทุน แต่ยังไงพื้นฐานของมันก็คือ "ประกันชีวิต" อยู่ดี ต้องไม่ลืมว่าประกันชีวิตที่มีจุดประสงค์อยู่ที่การ "คุ้มครองความเสี่ยง" เป็นหลัก ไม่ใช่เรื่องของการลงทุน
ไม่สนใจทุนประกัน หรือทำทุนประกันไว้แค่พอ "เป็นค่าทำศพ"
ถ้าทำประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองชีวิต แต่ทำทุนประกันแค่หย่อมเดียว จะมีประโยชน์อะไร เพราะถึงเราจากไป เงินที่ได้ก็ไม่ได้ช่วยให้คนข้างหลังอยู่รอดต่อไปได้อย่างปกติสุขอยู่ดี
ทำประกันสุขภาพกับประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
1.คิดว่าแบบสะสมทรัพย์มีผลตอบแทน มีเงินคืน เงินคืนจะเอามาช่วยลดเบี้ยที่จ่ายได้ แต่เบี้ยที่ต้องจ่ายสำหรับแบบสะสมทรัพย์
2.ยิ่งแบบจ่ายสั้น ระยะเวลาสัญญาก็ยิ่งสั้น