Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพ (สาเหตุ (Etiology)…
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพ
สาเหตุ (Etiology)
Biological factors - Genetic / familial factors
พบความผิดปกติได้สูงในญาติสายตรง
พบได้สูงในฝาแฝดเหมือน
Neurotransmitter dysregulation
บางการศึกษาพบว่า serotonin มีระดับต่ำในผู้ที่มีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย
พบระดับของ dopamine เพิ่มขึ้นในผู้ที่มีความผิดปกติของความคิด และ การรับรู้
Psychosocial / Environment stressors
เข้มงวด/ลงโทษ
ปล่อยตามใจ
ทอดทิ้ง/ทารุณกรรม
ความสัมพันธ์พ่อ-แม่-ลูกไม่ดี
อิทธิพลของคนใกล้ชิด - การขาดที่พึ่ง - ความยากจน - การถูกกดขี่ หรือทารุณกรรมทางด้านจิตใจ
ชนิดของความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพ
Cluster A มีพฤติกรรมแบบแปลกประหลาด (Eccentric) ได้แก่ Paranoid, Schizoid และ Schizotypal personality disorders
Cluster B มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือเหมือนแสดงละคร (Dramatic - emotional) ได้แก่ Antisocial, Borderline, Histrionic และ Narcissistic personality disorders
Cluster C มีความหวาดกลัวหรือความวิตกกังวลอย่างสูง (Fearful – anxious) ได้แก่ Avoidant, Dependent, และ Obsessive-compulsive personality disorders
การบำบัดรักษา
1. การรักษาด้วยยา (Psychopharmacology) เป็นการรักษาตามอาการที่จำเป็นต้องควบคุม เช่น การให้ยาคลายกังวล (Anti - anxiety) ยาลดอารมณ์เศร้า (Antidepressant) และการให้ยาต้านโรคจิต (Antipsychotic)
2. จิตบำบัด (Psychotherapy) เป็นการรักษาทางด้านจิตใจ โดยช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา รู้ถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น หาวิธีการที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เผชิญอยู่
3. พฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy) การใช้พฤติกรรมบำบัดเป็นการมุ่งเน้นที่ ทั้งสถานการณ์ความเครียดในปัจจุบันและประสบการณ์ด้านลบในวัยเด็ก เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้เกิดความสุขในชีวิตและเป็นที่ยอมรับในสังคม
4. นิเวศบำบัด (Milieu therapy) ผู้ป่วยต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวอยู่ในสังคมตามสภาพแวดล้อมของตน การควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การปฏิบัติทางการพยาบาล
การให้เรียนรู้จากแบบอย่างของพฤติกรรมที่กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม (Assertive behavior)
แนะแนวทางให้พัฒนา การแสดงความคิดเห็นต่อผู้อื่นด้วยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับได้ในสังคม
ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นทางสังคม เช่น วางแผนการใช้จ่าย การทำอาหาร วิธีแสวงหาความรู้และประสบการณ์ทางสังคม เป็นต้น
ส่งเสริมให้ เลือกหาและทดลองใช้เทคนิคการแก้ปัญหา ที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา
แนะนำเทคนิคการคลายเครียดต่างๆ แล้วให้ผู้ป่วยเลือกวิธีที่เหมาะสมสำหรับตนเอง
ฝึกหรือจัดให้แสดงบทบาทสมมุติ (role-play) เกี่ยวกับทักษะที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิต
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการไม่ปฏิบัติตามแผนการรักษา
แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง
บกพร่องในการสื่อสารด้วยวาจา
การนับถือคุณค่าในตนเองต่ำ
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
นางสาววิมลรัตน์ คามะปะใน เลขที่49 ห้องB รุ่น24