Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพ personality disorder…
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพ personality disorder
การบำบัดรักษา
2. จิตบำบัด (Psychotherapy)
เป็นการรักษาทางด้านจิตใจ โดยช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา รู้ถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น หาวิธีการที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เผชิญอยู่ จิตบำบัดเดี่ยวและจิตบำบัดกลุ่มจะเน้นหลักการแก้ปัญหา(Problem-solving oriented)
3. พฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy)
การใช้พฤติกรรมบำบัดเป็นการมุ่งเน้นที่ ทั้งสถานการณ์ความเครียดในปัจจุบันและประสบการณ์ด้านลบในวัยเด็ก เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้เกิดความสุขในชีวิตและเป็นที่ยอมรับในสังคม
1. การรักษาด้วยยา (Psychopharmacology)
เป็นการรักษาตามอาการที่จำเป็นต้องควบคุม เช่น การให้ยาคลายกังวล (Anti - anxiety) เพื่อลดความวิตกกังวล ยาลดอารมณ์เศร้า (Antidepressant) และการให้ยาต้านโรคจิต (Antipsychotic) เพื่อลดอาการรุนแรงและให้ผู้ป่วยควบคุมตนเองได้
4. นิเวศบำบัด (Milieu therapy)
ผู้ป่วยต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวอยู่ในสังคมตามสภาพแวดล้อมของตน การควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การพยาบาล
สิ่งที่พยาบาลจะต้องคำนึงถึง
คือ พฤติกรรมของผู้ป่วยเป็นมานาน และยึดติด จึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายในข้ามคืน แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไป ดังนั้นพยาบาลต้องอุตสาหะ อดทน และทำเรียงตามลำดับขั้นตอน (Carson,2000,p786) นอกจากนี้พยาบาลต้องมีอารมณ์มั่นคง หนักแน่น เสมอต้นเสมอปลาย และเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยอย่างแท้จริง
การปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพนั้น สิ่งสำคัญ
คือ การสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มีปัญหาการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น นอกจากนี้การปรับพฤติกรรมของผู้ป่วยเป็นเรื่องยากและมักไม่ประสบความสำเร็จ ถ้าผู้ป่วยไม่คิดว่าเขาผิดปกติและไม่ต้องการปรับปรุงตนเอง ดังนั้นพยาบาลจึงควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าใจและปรารถนาที่จะปรับเปลี่ยนตนเอง
การจำแนกตาม DSM-V
Cluster A
มีพฤติกรรมแบบแปลกประหลาด (Eccentric)
A2 บุคลิกจิตเภท (Schizoid personality disorder
)
โรคนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับโรคจิตเภท schizophrenia แต่ไม่รุนแรงเท่า คนที่มีความผิดปกติชนิดนี้นี้มักไม่ปรากฏตัว ชอบอยู่ในที่ห่างไกล แยกตัวเองจากคนอื่น ไม่ต้องการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับใครแม้จะเป็นสมาชิกในครอบครัว
A3 บุคลิกแยกตัว เพี้ยน Schizotypal personality disorder
บุคลิกจะสัมผัสกับความจริงมากกว่า ไม่ค่อยสัมผัสกับภาพหลอนหรือความหลงผิด แต่มักมีความเชื่อและความกลัวที่แปลกๆ มีสถานทางสังคมที่น่าอึดอัด ไม่ค่อยมีเพื่อนสนิท
A1 บุคลิกหวาดระแวง (Paranoid personality disorder)
มักแยกตัวจากสังคม ไม่เป็นมิตร มีความกังวลว่าคนอื่น ๆ จะมีแรงจูงใจซ่อนเร้น หลอกใช้งาน มักมีปัญหาในการทำงานและการเข้ากับผู้อื่น
Cluster B
มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือเหมือนแสดงละคร (Dramatic - emotional)
B2 อาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder_BPD)
มักมีปัญหารุนแรงด้านความสัมพันธ์กับคนอื่น หวาดระแวง กลัวการถูกทอดทิ้งแบบหยั่งรากลึก อารมณ์ ไม่มั่นคง อารมณ์รุนแรง รู้สึกไม่มีตัวตน
B3 บุคลิกเรียกร้องความสนใจ (Histrionic personality disorder)
มีแนวโน้มที่จะทำงานได้ดีในชีวิต มักต้องการเป็นศูนย์กลางของความสนใจโดยแสดงออกทางอารมณ์รุนแรงแบบตัวละคร (drama)
B1 บุคลิกต่อต้านสังคม (Antisocial personality disorder)
มักเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ชอบสั่งการคนอื่น ไม่สนใจเรื่องความปลอดภัย ชอบ โกหก ลักขโมย ชอบใช้กำลัง โกรธง่าย ไม่สำนึกต่อการทำผิด
B5 บุคลิกหลงตัวเอง (Narcissistic personality disorder)
ต้องการเป็นคนสำคัญที่มากเกินไป ไม่มีน้ำใจเห็นอกเห็นใจคนอื่น มุ่งเน้นแต่ความจำเป็นของตัวเอง และสิ่งที่ตนเองต้องการ
Cluster C
มีความหวาดกลัวหรือความวิตกกังวลอย่างสูง (Fearful – anxious)
C2 บุคลิกต้องพึ่งพา(Dependent personality disorder)
มีเอกลักษณ์เฉพาะด้วยการต้องขึ้นอยู่กับคนอื่น ๆ ทั้งความต้องการทางกายภาพ หรือทางอารมณ์ มักไม่ต้องการที่จะอยู่คนเดียว ไม่กล้าตัดสินใจ
C3 บุคลิกครอบงำ (Obsessive-compulsive personality disorder)
เชื่อว่าความคิดของตนถูกต้อง เข้มงวดกับกฎระเบียบและรายละเอียด ไม่ยืดหยุ่นใจกว้างหรือแสดงความรักต่อคนอื่น และมักถูกครอบงำด้วยการทำงานหรือ คลั่งงาน
C1 บุคลิกหลีกเลี่ยง (Avoidant personality disorder)
ขี้อาย อ่อนไหว เจ็บปวดง่าย เห็นตัวเองไม่ดีเท่าคนอื่น มักหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรืองานที่ต้องติดต่อกับคนอื่น ไม่เปิดกว้างกับลักษณะความสัมพันธ์เชิงเสน่หา (romantic)
สาเหตุ (Etiology)
Biological factors - Genetic / familial factors
พบได้สูงในฝาแฝดเหมือน (Monozygotic twins)
พบความผิดปกติได้สูงในญาติสายตรง
Neurotransmitter dysregulation
พบระดับของ dopamine เพิ่มขึ้นในผู้ที่มีความผิดปกติของความคิด
และ การรับรู้
บางการศึกษาพบว่า serotonin มีระดับต่ำในผู้ที่มีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย
Psychosocial / Environment stressors - การเลี้ยงดูของพ่อแม่
เข้มงวด / ลงโทษ
ทอดทิ้ง / ทารุณกรรม
ความสัมพันธ์พ่อ-แม่-ลูกไม่ดี