Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แบบประเมินความเสี่ยงการเกิดแผล (Braden scale (5.ภาวะโภชนาการ (โภชนาการ…
แบบประเมินความเสี่ยงการเกิดแผล
Braden scale
1.ระดับการรับรู้และรู้สึกตัว
ถ้าไม่รู้สึกตัวหรือไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นใดๆเกือบทั้งหมดของร่างกายจะเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมากเพราะผู้ป่วยต้องนอนติดเตียงตลอดเวลา
2.ความเปียกชื้น
ถ้าผู้ป่วยมีเหงื่อ อุจจาระ ปัสสาวะ หรือไม่พลิกตะแคงตัว จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้สูง เนื่องจากจะให้เกิดความชื้น จนทำให้ผิวหนังเปื่อยง่าย และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
3.ความสามารถในการทำกิจกรรม
ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยอัมพาตจากการบาดเจ็บไขสันหลังมักมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากคนปกติเป็นผู้ป่วยอัมพาตพิการอย่างกะทันหัน สภาพของการเป็นอัมพาต ทำให้ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ และไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เหมือนเดิม ต้องกลายเป็นคนที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นในทุกๆด้าน ทั้งด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การดูแลการขับถ่ายปัสสาวะ-อุจจาระ การป้องกันแผลกดทับ การป้องกันการติดเชื้อ เป็นต้น
4.ความสามารถในการเคลื่อนไหว
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเอง หรือเคลื่อนไหวได้น้อย เป็นผู้ป่วยที่นอนติดเตียง ไม่ค่อยได้พลิกตัว ทำให้การไหลเวียนของเลือด เพื่อที่จะไปหล่อเลี้ยงเซลล์ผิวหนังบริเวณดังกล่าว เป็นไปได้ยาก ทำให้เกิดการตายของเซลล์และเนื้อเยื่อ เนื่องจากการขาดเลือด ส่งผลให้เกิดแผลกดทับ
5.ภาวะโภชนาการ
โภชนาการ การรับประทานอาหารที่มีสารอาหารจำพวกโปรตีน วิตามิน และเกลือแร่อย่างหลากหลายจะช่วยป้องกันผิวหนังถูกทำลายและช่วยให้อาการป่วยหายเร็วขึ้น ผู้ป่วยแผลกดทับที่รู้สึกอยากอาหารน้อยลงอันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นนั้น สามารถปรับพฤติกรรมการกินเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน ดังนี้
-แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อย รวมทั้งรับประทานอาหารให้เป็นเวลา ซึ่งจะช่วยให้ได้สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
-เลี่ยงดื่มเครื่องดื่มหรือน้ำเปล่าในปริมาณมากก่อนรับประทานอาหาร เนื่องจากจะทำให้รู้สึกอิ่มเกินไป
-ดื่มเครื่องดื่มที่อุดมไปสารอาหารหรือรับประทานอาหารอ่อน ๆ ในกรณีที่กลืนอาหารลำบาก
-ผู้ที่รับประทานอาหารมังสิวรัติควรรับประทานอาหารโปรตีนสูงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ เช่น ชีส โยเกิร์ต เนยถั่ว หรือถั่วต่าง ๆ
6.แรงดึงรั้งเเละการเสียดสี
การจัดท่าหรือเปลี่ยนท่าจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ เพราะจะทำให้เกิดการกดและเสียดสีที่ปุ่มกระดูก
คะแนนแต่ละหัวข้อคือ 1-4
Braden Score >18 ไม่มีภาวะความเสี่ยงแผลกดทับ
Braden Score = 13-14 มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับปานกลาง
Braden Score = 15-18 มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับน้อย
Braden Score = 10-12 มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับสูง
Braden Score <9 มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับสูงมาก
แผลกดทับ (Pressure Sore)
เกิดจากการที่ผิวหนังได้รับแรงกดทับ หรือแรงเสียดทานอย่างต่อเนื่อง จากการที่ต้องสัมผัสกับพื้นผิวอื่น เช่น เตียง หรือรถเข็น เป็นเวลานาน บริเวณที่จะเกิดแผลกดทับขึ้นบ่อย คือส่วนของผิวหนังที่ห่อหุ้มกระดูก อย่างก้นกบสะโพก ส้นเท้า ตาตุ่ม ไปจนถึง ข้อศอก หัวไหล่ และท้ายทอย
ปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดแผลกดทับ
Albuminต่ำ,เบาหวาน,BP drop,ไข้สูง,ผู้สูงอายุ
และปัจจัยอื่นๆ
PAT score
1.ความรุนแรง ชนิดและความเข้มข้นของสิ่งระคายเคือง
ถ่ายอุจจาระเหลว
ถ่ายอุจจาระอ่อน
ถ่ายอุจจาระก้อน
2.ระยะเวลาและจำนวนที่ผิวหนังสัมผัสสิ่งขับถ่าย
3.สภาพผิวหนังบริเวณ Perineum
ความสมบูรณ์ของผิวหนัง
4.ปัจจัยเสริม
ภาวะอัลบูมินต่ำ
ได้รับยาปฏิชีวนะ /ยาเคมีบำบัด/ยากดภูมิคุ้มกัน
ภาวะทุพโภชนาการ
การเจ็บป่วยรุนแรง
มีไข้ > 38.5
ระดับความเสี่ยงต่อการเกิด IAD
เสี่ยงต่ำ
คะแนน 4-6
Nursing Care
ประเมินผิวหนัง เวรละ 1 ครั้ง
ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำสะอาด
ไม่ให้ออกแรงถูผิว
ซับให้แห้ง
ดูแลผิวหนังให้ชุมชื้น ด้วยโลชั่นทารก
แผ่นเช็ดทำความสะอาดชนิดไม่มีส่วมผสมของอัลกฮอล์
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ไม่ต้องล้างออก
เสี่ยงสูง
คะแนน 7-12
Nursing care
ประเมินผิวหนังทุก 2 ชม.
ทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำสะอาด
ดูแลผิวหนังให้ชุ่มชื้น
Vaseline
โลชั่นทารก
ปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิด IAD
ควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ/ปัสสาวะไม่ได้
ถ่ายอุจจาระ > 3 ครั้งต่อวัน
ตรวจพบความเปียกชื้นจากอุจจาระ/
ปัสสาวะทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนท่า
ภาวะผิวหนังอักเสบเนื่องจากการควบคุมการขับถ่ายไม่ได้
(Incontinence Associated Dermatitis: IAD)
การสัมผัสกับปัสสาวะ อุจจาระ และบางครั้งอาจมีเหงื่ออย่างต่อเนื่อง หรือซ้ำๆ จนทำให้เกิดอาการแดง
บริเวณรอยพับผิวหนัง ซึ่งอาจมีหรือไม่มีการกัดกร่อน หรือเปิดออกเป็นแผลของผิวร่วมด้วย ทำให้เกิดจากการทำลายของชั้นผิวหนังกำพร้าถึงชั้นหนังแท้