Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:recycle: :!: เทคโนโลยีชีวภาพในประเทศไทย :!: :recycle: (แหล่งที่มา (http…
:recycle: :!: เทคโนโลยีชีวภาพในประเทศไทย :!: :recycle:
– นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต
เป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพที่ทำจากนมชนิดต่างๆ เช่น นมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการหมักนมร่วมกับแบคทีเรียพวก แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส แบคทีเรียพวกนี้จะช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสที่อยู่ในนมให้กลายเป็นกรดแลคติค ทำให้เกิดภาวะกรดและมีรสเปรี้ยว
– วุ้นมะพร้าว
เป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นขนมหวานสีใส ลักษณะคล้ายเยลลี่ ทำจาก การหมักน้ำมะพร้าวผ่านการทำให้แข็งตัวจนกลายเป็นเซลลูโลสโดย ใช้แบคทีเรีย Acetobacter xylinum วุ้นที่เกิดขึ้นเป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลกลูโคสต่อกันด้วยพันธะบีต้า-1,4 ไกลโคซิดิก (ϐ-1,4 glycosidic bond) หรืออาจเรียกว่าเป็นเนื้อเยื่อประเภทเซลลูโลส
ความหมาย
เทคโนโลยีชีวภาพเกิดจากการนาคำที่มีความหมาย 3 คำมารวมกัน โดยเริ่มจาก Bio หรือ Bios ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตและตามด้วย Techno หรือ Technikos ซึ่งแปลว่าเครื่องมือ ส่วนคำสุดท้ายคือ logy หรือ logos ซึ่งแปลว่าการศึกษา เมื่อรวมความหมายของทั้ง 3 คำจึงได้ ความหมายของเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง การนำความรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิต หรือกระบวนการของปฏิกิริยาชีวเคมีที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิตมาประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรมเพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับมนุษย์ เช่น การผลิตขนมปัง การผลิตยาปฏิชีวนะ การสร้างพันธุ์พืชต้านทานโรค การใช้จุลินทรีย์ (microorganism) บำบัดน้าเสีย และการใช้จุลินทรีย์ผลิตก๊าซไฮโดรเจน เป็นต้น นอกจากนี้ เทคโนโลยีชีวภาพตามความหมายของ องค์กร OECD (Organization for Economic Co – operative and Development) หมายถึง การประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อผลิต ผลิตภัณฑ์ โดยใช้สารชีวภาพเป็นสารตั้งต้น
– น้ำส้มสายชู
เป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพที่ลักษณะเป็นของเหลวใสมีรสเปรี้ยวมักใช้ปรุงอาหาร ได้จากการหมักยีสต์กับวัตถุดิบที่มี น้ำตาล เช่น ผลไม้ต่างๆ หรือ น้ำตาล กากน้ำตาล(Molass) หรือพวกเมล็ดธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ซึ่งพวกนี้จะต้องเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาลก่อนจึงหมักกับยีสต์ แล้วจะได้แอลกอฮอล์ จากนั้นจึงนำแอลกอฮอล์มาหมักด้วยแบคทีเรียในกลุ่มAcetobacter และGluconobacterใน ภาวะที่มีออกซิเจนทำให้เกิดกรดอะซิติก (Acetic Acid) ถ้านำมากลั่นจะได้น้ำส้มสายชูกลั่น
– ขนมปัง
เป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำและยีสต์ หรือ ผงฟู และอาจใช้ส่วนผสมอื่นๆเพื่อใช้ในการแต่งสี รสชาติและกลิ่น ให้แตกต่างกันไป จากนั้นนำส่วนผสมเหล่านี้มาตีรวมให้เข้ากันและนำไปอบ
– ไวน์(Wine) หรือ เหล้าองุ่น
เป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำจากน้ำองุ่นที่นํามาหมักด้วยยีสต์จะทำให้เปลี่ยนน้ําตาลในองุ่นให้กลายไปเป็นแอลกอฮอล์แต่ไวน์สามารถทําได้จากการหมักน้ําผลไม้เกือบทุกชนิดกับยีสต์แต่จะให้กลิ่นและรสชาติที่แตกต่างกันไป ถึงอย่างนั้นก็ยังเรียกไวน์เช่นเดียวกันโดยจะเรียกชื่อผลไม้ชนิดนั้นๆตามไปด้วย เช่น ไวน์สับปะรด
– ซีอิ๊ว
เป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นซอสชนิดหนึ่งใช้ในการปรุงอาหาร ทำจากการหมักถั่วเหลืองกับเชื้อรา Aspergillus oryzae (หรือ Aspergillus soyae)
– เต้าเจี้ยว
เป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการปรุงรสอาหาร ทำจากการหมักถั่วเหลืองด้วยเกลือร่วมกับเชื้อรา (Mold)
– แหนม
เป็นผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เป็นอาหารทำจากเนื้อหมูส่วนสะโพกที่แยกไขมันและเอ็นออกแล้ว ผสมกับหนังหมู อาจผสมหูหมูหรือจมูกหมูที่ต้มสุกและหั่นเป็นเส้น เติมเกลือ ข้าวสุก กระเทียมบด น้ำตาลทราย ผสมให้เข้ากัน อาจเติมพริกสดด้วยก็ได้ ห่อเป็นมัดด้วยพลาสติก หรือห่อด้วยใบตองสด หรือบรรจุในภาชนะบรรจุลักษณะอื่นๆ มัดให้แน่นด้วยยาง เชือก หรือตอก เพื่อจะไล่อากาศภายในออกมา จะได้เกิดสภาวะไม่มีอากาศ ซึ่งเป็นสภาวะที่ lactic acid bacteria (เช่น Pediococcus cerevisiae, Lactobacillus plantarum และ Lactobacillus brevis)เจริญได้ดี และสร้างกรดหมักจนมีรสเปรี้ยว
การพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพในประเทศไทย
ประเทศไทยได้ตระหนักถึงความสาคัญของเทคโนโลยีชีวภาพต่อการพัฒนาประเทศ ว่ามีความสาคัญต่อการพัฒนาประเทศ จึงได้จัดตั้งหน่วยงานศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (National Center for Genetic Engineering and Biotechnology : BIOTEC) ขึ้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2526 ภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งอีก 8 ปีต่อมา ในวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2534 จึงได้ร่วมเป็นหน่วยงานภายใต้ สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (ส.ว.ท.ช.) (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, 2546) ปัจจุบันศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพตั้งอยู่ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี มีภารกิจในการสร้างความรู้ความเข้าใจและความสามารถของประเทศให้มีความพร้อมในการจัดการเทคโนโลยีที่สาคัญบนพื้นฐานของข้อมูลและเหตุผลทางวิทยาศาสตร์
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืช
หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืช มีเป้าหมายในการดำเนินงานวิจัยที่มุ่งเน้นการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพิ่มคุณภาพและมูลค่า ลดความสูญเสียและความเสี่ยงในขั้นตอนการผลิต เพื่อให้ประเทศสามารถผลิตพืชอย่างยั่งยืนภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วิถีชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นศูนย์กลางและต้นแบบของหน่วยวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน และเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงด้านพืชและการพัฒนาบุคคลากรวิจัยของภูมิภาคในอนาคต
แหล่งที่มา
http://www.bsru.ac.th/identity/archives/221
https://www.thaibiotech.info/example-product-biotechnology.php
http://www.biotec.or.th/th/index.php/