Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาล personality disorder (ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (เสี่ยงต่อการทำร้า…
การพยาบาล personality disorder
การบำบัด
การรักษาด้วยยา (Psychopharmacology)
เป็นการรักษาตามอาการที่จำเป็นต้องควบคุม
ยาลดอารมณ์เศร้า (Antidepressant) และการให้ยาต้านโรคจิต (Antipsychotic) เพื่อลดอาการรุนแรงและให้ผู้ป่วยควบคุมตนเองได้
ยาคลายกังวล (Anti - anxiety) เพื่อลดความวิตกกังวล
พฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy)
มุ่งเน้นที่ ทั้งสถานการณ์ความเครียดในปัจจุบันและประสบการณ์ด้านลบในวัยเด็ก เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้เกิดความสุขในชีวิตและเป็นที่ยอมรับในสังคม
จิตบำบัด (Psychotherapy)
เป็นการรักษาทางด้านจิตใจ โดยช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจปัญหา รู้ถึงความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น หาวิธีการที่จะปรับตัวให้เหมาะสมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เผชิญอยู่
นิเวศบำบัด (Milieu therapy)
ผู้ป่วยต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวอยู่ในสังคมตามสภาพแวดล้อมของตน การควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเอง
วิตกกังวล
การนับถือคุณค่าในตนเองต่ำ
การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่อง
บกพร่องในการสื่อสารด้วยวาจา
การเผชิญปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ
แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง
เสี่ยงต่อการกระทำที่รุนแรงหรือทำร้ายบุคคลอื่น
เสี่ยงต่อการไม่ปฏิบัติตามแผนการรักษา
การแสดงแบบแผนทางเพศไม่มีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติทางเพศไม่เหมาะสม
การปฏิบัติทางการพยาบาล
ให้เรียนรู้จากแบบอย่างของพฤติกรรมที่กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม (Assertive behavior)
แนะแนวทางให้พัฒนา การแสดงความคิดเห็นต่อผู้อื่นด้วยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับได้ในสังคม
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย
ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นทางสังคม เช่น วางแผนการใช้จ่าย การทำอาหาร วิธีแสวงหาความรู้และประสบการณ์ทางสังคม เป็นต้น
พยาบาลต้องมีอารมณ์มั่นคง หนักแน่น เสมอต้นเสมอปลาย และเข้าใจความรู้สึกของผู้ป่วยอย่างแท้จริง
ส่งเสริมให้ เลือกหาและทดลองใช้เทคนิคการแก้ปัญหา
พยาบาลต้องอุตสาหะ อดทน และทำเรียงตามลำดับขั้นตอน
แนะนำเทคนิคการคลายเครียดต่างๆ แล้วให้ผู้ป่วยเลือกวิธีที่เหมาะสมสำหรับตนเอง
ฝึกหรือจัดให้แสดงบทบาทสมมุติ (role-play) เกี่ยวกับทักษะที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิต
การประเมินผล
ความร่วมมือในการรักษา
การพยายามปรับตัวเอง
เทคนิคการแก้ปัญหา
การรับรู้พฤติกรรมของตนเอง
การวางแผนทางการพยาบาล
กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลให้สอดคล้องกับปัญหา
วางเป้าหมายให้สอดคล้องกับปัญหา
ระบุข้อมูลสนับสนุนการเกิดปัญหาให้ชัดเจนทั้ง objective data และ subjective data