Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ sexual disorder (กิจกรรมการพยาบาลที่…
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ
sexual disorder
Gender dysphoria ภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง
การวินิจฉัย
1.ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองเป็นอีกเพศหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับเพศที่ถูกกำหนดมาแต่กำเนิด โดยมีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า6เดือน
2.ภาวะในข้อ1ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ใจอย่างมากหรือส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตด้านต่างๆ
การรักษา
1.หากตรวจพบโรคทางกายหรือความผิดปกติของพัฒนาการต้องส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
2.ส่งเสริมพัฒนาการทางเพศตามปกติ
3.กรณีเป็นผู้ที่มีภาวะรักร่วมเพศที่ผ่านขั้นตอนตามข้อ1-2แล้ว ให้ความรู้ความเข้าใจ การปรับตัว การแสดงออกในสังคม การทำความเข้าใจตนเอง
4.หลังจากรักษาเบื้องต้นทางจิตใจและสังคมแล้ว ผู้ป่วยยังคงต้องการแปลงเพศ จิตแพทย์จะให้ความรู้เรื่องโรคและการแปลงเพศ ให้คำปรึกษาผู้ป่วยและครอบครัว จากนั้นจะให้ผู้ป่วยทดลองใช้ชีวิตแบบเพศใหม่ 1 ปี ระหว่างนี้ผู้ป่วยจะกินฮอร์โมนเพศไปด้วย หากผู้ป่วยยังคงไม่เปลี่ยนใจ จะปรึกษาจิตแพทย์คนที่2เพื่อการวินิจฉัยโรค หากพบว่าผู้ป่วยไม่มีปัญหาทางจิตเวชใดๆ แล้วจึงปรึกษาแพทย์ผู้ผ่าตัดแปลงเพศต่อไป
กิจกรรมการพยาบาลที่สำคัญ
แนะแนวทางให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลในเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกวิธี
ให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับความผิดปกติทางเพศ ถึงสาเหตุ อาการ และการบำบัดรักษาตลอดจนวิธีการประเมินความแปรปรวน ทั้งทางร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับเขา และสามารถที่จะรู้ได้ว่าอาการใดเป็นสิ่งที่บอกว่าเขามีปัญหาทางเพศ
ให้ความสำคัญกับปัญหาปัจจุบันของผู้ป่วยก่อน เนื่องจากผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ มักเข้ามารับการรักษาทางจิตเวชด้วยปัญหาทางจิตใจ เช่น วิตกกังวล นอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า หรือ พยายามทำร้ายตนเอง
แนะนำผู้ป่วยให้รู้จักการสื่อสารอย่างเหมาะสม และให้โอกาสผู้ป่วยได้ฝึกทักษะการมีสัมพันธภาพ โดยสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ให้กำลังใจและให้แรงเสริม
สร้างสัมพันธภาพด้วยท่าทีที่ยอมรับ เข้าใจ และพร้อมที่จะรับฟังผู้ป่วย ไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอาย
ช่วยผู้ป่วยประเมินความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับความกลัว ความวิตกกังวล หรือการเกิดภาวะซึมเศร้า ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหาทางเพศ โดยเปิดโอกาสให้เขาได้พูดเล่าหรือระบายออก รวมทั้งให้คำแนะนำในการลดความเครียด และให้ผู้ป่วยได้ฝึกวิธีคลายเครียด เช่น การบริหารการหายใจ
ก่อนการเริ่มกิจกรรมพยาบาล สิ่งสำคัญคือพยาบาลต้องมีเจตคติที่ดีในเรื่องเพศ
ช่วยเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับเรื่องเพศ โดยให้ผู้ป่วยได้พูดถึงตนเองในด้านบวก ทั้งในเรื่องของความตั้งใจในการบำบัดรักษา การคิดอย่างเหมาะสม ความร่วมมือ และการลงมือปฏิบัติตามแผนการรักษา ตลอดจนความก้าวหน้าของการบำบัดรักษา
Paraphilic disorders ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ
กลุ่ม anomalous activity preference
Sexual Masochism disorder (พึงพอใจทางเพศจากการที่ตนเองได้รับความเจ็บปวด)
Sexual Sadism disorder (พึงพอใจทางเพศจากการทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด)
Exhibitionistic disorder (ชอบอวดอวัยวะเพศให้คนแปลกหน้า ที่ไม่ได้คาดคิด)
Voyeuristic disorder (ชอบแอบมองคนเปลือยกายหรือร่วมเพศ)
กลุ่มanomalous target preference
Pedophilic disorder (พึงพอใจกับเด็ก)
Fetishistic disorder (พึงพอใจกับวัตถุ)
Transvestic disorder (พึงพอใจใส่เครื่องแต่งกายเพศตรงข้าม)
การรักษา
2.การรักษาด้วยจิตบำบัด
2.1cognitive behavioral therapy
2.2relapse prevention therapy
2.3victimempathy
3.พฤติกรรมบำบัด
3.1olfactory aversion conditioning
3.2covert sensitization
3.3masturbatory satiation
3.4orgasmic reconditioning
1.การใช้ยา
1.2hormonal agents เช่น long-acting gonadotropin-releasing hormone agonists,leuteinizing hormone-releasing hormone inhibitors
1.1antiandrogen เช่น cyproterone acetate ,medroxyprogesterone
4.กลุ่มบำบัด
Sexual dysfunctions กลุ่มโรคที่มีความบกพร่องในการตอบสนองทางเพศ หรือการมีความสุขทางเพศ
การวินิจฉัย
1.มีอาการติดต่อกันนาน6เดือนขึ้นไป
2.อาการต้องเกิดเป็นส่วนใหญ่(ร้อยละ75-100)ในกิจกรรมทางเพศของบุคคลนั้น
3.ไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางกายเช่นการบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณอุ้งเชิงกราน ไม่ได้เป็นผลของสารเสพติดหรือยา ไม่ได้เป็นอาการแสดงของโรคจิตเวชอื่นเช่นโรคซึมเศร้าซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีความสนใจหรือความพึงพอใจทางเพศลดลงได้อย่างมาก และไม่ได้เกิดจากปัญหาความสัมพันธ์ที่รุนแรงเช่นถูกทำร้ายร่างกายจากอีกฝ่าย
โรคในกลุ่มนี้
Female Sexual Arousal Disorders คืออาการตื่นตัวทางเพศต่ำหรือกามตายด้านในหญิง
5.Genito-pelvic pain/penetration disorder คืออาการเจ็บบริเวณอวัยวะเพศหรือช่องท้องส่วนล่างเมื่อมีความพยายามจะสอดใส่
Female Orgasmic Disorder คืออาการที่เพศหญิงไม่เกิดความรู้สึกถึงจุดสุดยอด
6.male hypoactive sexual desire disorder คืออาการที่เพศชายมีการลดลงหรือไม่มีความต้องการทางเพศ
Erectile Disorder คืออาการองคชาตไม่มีการแข็งตัว
7.premature (early) ejaculation คืออาการหลั่งอสุจิเร็วเกินไป
1.delayed ejaculation คืออาการหลั่งอสุจิช้าหรือไม่สามารถหลั่งอสุจิได้
8.substance/medication-induced sexual dysfunction คืออาการที่มีความผิดปกติในด้านเพศโดยมีความเกี่ยวข้องทางช่วงเวลากับการใช้ยาหรือสารเสพติดยายามจะสอดใส่
การรักษา
1.การรักษาด้วยยา ในกรณีของความผิดปกติของการแข็งตัวขององคชาต
ยาในกลุ่ม phosphodiesterase-5 inhibitor ได้แก่ verdanafil,tadalafil เป็นยาหลัก
2.พฤติกรรมบำบัด assertive training เพื่อช่วยฝึกให้ผู้ป่วยบอกความต้องการในเรื่องเพศได้อย่างเหมาะสม