Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบำบัดรักษาด้วยยาทางจิตเวช (Psychopharmacology) (ยารักษาอาการซึมเศร้า…
การบำบัดรักษาด้วยยาทางจิตเวช (Psychopharmacology)
ยารักษาโรคจิต (Antipsychotic Drugs/Major Tranquillizers)
Typical antipsychotic drugs หรือ Dopamine Antagonists (DA)
กลุ่ม Aliphatic Phenothiazine
Chlorpromazine (Largactil) 25 mg, 50 mg, 100 mg, 200 mg
มีฤทธิ์ Sedative สูง มีฤทธิ์ข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตต่ำมากกว่ายาชนิดอื่น
Piperazine Phenothiazine
มีฤทธิ์ Sedative ปานกลาง มี Extrapyramidal Symptoms น้อย แต่มีฤทธิ์ข้างเคียง Anticholinergic สูงกว่ายาอื่น
Thioridazine (Melleril, Tidazine, Thiomed) 10 mg, 25 mg, 50 mg, 100 mg
กลุ่ม Piperazine Phenothiazine
มีฤทธิ์ Sedative ต่า แต่ Extrapyramidal Symptoms สูง ลดความคิดหลงผิด และประสาทหลอนได้ดี
Perphenazine (Trilafon, pernazine, Pernamed) 2 mg, 4 mg. 8 mg
Trifluoperazine (Stelazine, Triflazine, Psyrazine) 1 mg, 2 mg, 5 mg, 10 mg
Fluphenazine (Fendec, Phenezine, Prolixin) 25 mg/ml
กลุ่ม Thiozanthenes
Zuclopenthixol Acetate (Clopixol Acuphase) 50 mg/ml, 200 mg/ml
Flupenthixol Decanoate (Fluanxol Depot) 20 mg/ml, 40 mg/ml
กลุ่ม Butyrophenone
มี Potency สูง มีฤทธิ์ Sedative น้อยละมี Extrapyramidal Symptoms สูง ใช้ในการควบคุมอาการวุ่นวาย ก้าวร้าว ประสาทหลอน หลงผิด และ Mania
Haloperidol (Haldol, Halop, Haridol) ชนิดรับประทาน 0.5 mg, 2 mg, 5 mg, 10 mg และ ชนิดฉีด 5 mg/ml
Bromperidol (Impromen) 5 mg, 10 mg มีทั้งชนิดรับประทานและฉีด
Atypical antipsychotic drugs หรือ Serotonin-Dopamine Antagonists (SDA)
เป็นยารักษาโรคจิตกลุ่มใหม่ ซึ่งยากลุ่มใหม่นี้มีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาต่างจากยากลุ่มเดิม มีการตอบสนองต่อการรักษาและผลข้างเคียงประเภท Extrapyramidal Symptoms น้อยกว่ายากลุ่มเดิม แต่ราคาจะค่อนข้างสูงกว่า ยากลุ่มใหม่
Clozapine (Clozaril, Clopaze) 25 mg, 100 mg
Risperidone (Risperdal) 1 mg, 2 mg, 3 mg, 4 mg
Olanzapine (Zyprexa) 5 mg, 7.5 mg, 10 mg
Quetiapine (Seroquel) 25 mg, 100 mg, 200 mg
Ziprasidon (Geodon) 20 mg, 40 mg
ผลข้างเคียงของยาและการพยาบาล
Extrapyrmidal Symptoms (EPS) ทำให้เกิดเกิดความผิดปกติทางการเคลื่อนไหว
Pseudoparkinsonism/Parkinsonism มีอาการเหมือนกับคนเป็นโรค Parkinson เช่น การเคลื่อนไหวช้า (Akinesia) เดินขาลาก มีอาการสั่น (Tremor) กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (Rigidity) สีหน้าเฉยเมยไม่แสดงความรู้สึกเหมือนใส่หน้ากาก (Mask Face) กลืนน้าลายไม่ลง ทำให้มีน้าลายเต็มปาก
Acute Dystonia ผู้ป่วยจะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ (Muscle Spasm) คอบิดไปข้างใดข้างหนึ่งหรือลำตัวบิดไปด้านข้าง กล้ามเนื้อที่หน้ากระดุก ขากรรไกรแข็ง น้าลายไหล ลิ้นคับปาก พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ตาเหลือกขึ้นค้างบนตลอดเวลา หลังแอ่น
Akathisia เป็นความรู้สึกกระวนกระวาย กระสับกระส่าย อยู่นิ่งไม่ได้ ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา มือและแขนสั่น มีอาการคล้าย Agitation
ระวังการเกิดอุบัติเหตุ และการรบกวนผู้อื่น คอยดูแลการรับประทานอาหาร
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการเหล่านี้จะเกิดได้ในระยะแรกที่ได้รับยา จะเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น จะหายไปได้เมื่อใช้ยาแก้แพ้ (Antiparkinson drugs) และร่างกายจะค่อยๆ ปรับตัวได้ อาการดังกล่าวจะไม่มีอันตรายกับผู้ป่วย เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
Tardive dyskinesia จะมีอาการของการเคลื่อนไหวซ้าๆ ของกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าลิ้น และลำคอ ผู้ป่วยอาจไม่รู้ตัวหรือควบคุมไม่ได้ เช่น ดูดปาก แลบลิ้น เลียริมฝีปาก เคี้ยวปาก แสยะใบหน้า กลืนลำบาก ซึ่งเกิดจากการใช้ยาในขนาดสูงเป็นระยะนานติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน เป็นอาการที่ดื้อต่อการรักษา
คอยสังเกตอาการ ถ้าพบควรให้อาหารที่มีแคลลอรี่สูง อาหารอ่อน ให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอแนะนำผู้ป่วยให้พูดช้าๆ ให้ผู้ป่วยพูดถึงความรู้สึกเขาออกมา
Neuroleptic malignant syndrome (NMS)
เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก อาการสำคัญ คือ มีอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็งอย่างรุนแรง
ไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก ปัสสาวะออกน้อย ความดันโลหิตไม่สม่ำเสมอ ระดับการรู้สึกตัวลดลง อาจเกิดภาวการณ์ทางานของระบบหายใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้
คอยสังเกตการ ถ้าพบรีบรายงานแพทย์ทราบเพื่อให้การช่วยเหลือ
Anticholinergic side effect
จะทำให้มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ เกิดจากการใช้ยา Thioridazine เป็นส่วนใหญ่ โดยมีอาการปากแห้ง ตาพร่า ปัสสาวะลำบาก ท้องผูก
ให้อมน้ำแข็งหรือจิบน้าบ่อยๆ
ให้ความมั่นใจว่าอาการจะหายไปได้ ไม่ควรขับรถจนกว่าอาการตาพร่าจะดีขึ้นระวังการพลัดตกหกล้มจากการมองเห็นไม่ชัด
จดบันทึกน้ำดื่มและปัสสาวะเพื่อดูความสมดุลของน้ำที่ได้รับและการขับถ่ายออกไป หาหลายๆ วิธีที่จะทาให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้เอง
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากใยมากๆ เช่น ผัก ผลไม้ ดื่มน้ำเพิ่มขึ้นถ้าไม่มีข้อห้าม และกระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย
Adrenergic side effect
มีความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ (Orthostatic hypotension) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเวียนศีรษะและหน้ามืด
แนะนำผู้ป่วยให้ลุกขึ้นอย่างช้าๆจากท่านอนเป็นท่านั่ง หรือท่านั่งเป็นท่ายืน วัดความดันโลหิตท่านอนและท่ายืนเพื่อเปรียบเทียบกัน
ผลต่อระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine effect)
ผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายกลายชนิด ที่พบบ่อย คือ ผู้หญิงมีการเพิ่มระดับ Prolactin ซึ่งเป็นผลให้มีเต้านมคัด และบางรายมีการหลั่งน้ำนม (Lactation) ประจำเดือนผิดปกติ ความต้องการทางเพศลดลง สำหรับผู้ชายอาจมีเต้านมโตขึ้น การหลั่งอสุจิลดลง มักเกิดจากยา Thioridazine นอกจากนี้ที่พบบ่อย คือ หิวบ่อย กินจุ น้าหนักตัวเพิ่มขึ้น (Weight Gain)
อธิบายให้ผู้ป่วยฟังว่าอาการเล่านี้จะเกิดชั่วคราวเท่านั้นและจะเป็นปกติได้ แนะนำเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย
ผลต่อผิวหนัง (Skin reaction)
อาจจะมีลมพิษหรือผิวหนังอักเสบ เนื่องจากผิวหนังไวต่อแสงแดด มักจะพบบริเวณใบหน้าและแขนผิวหนังอาจจะไหม้เมื่อถูกแสงแดดหรือสีผิวอาจเปลี่ยนไป โดยเฉพาะในส่วนที่ถูกแสงแดด เกิดจาก Chlorpromazine
อาจจะหยุดยาชั่วคราว หรือให้ยาแก้แพ้และแนะนำผู้ป่วยให้ระวัง โดยใส่เสื้อแขนยาวหรือกางร่ม หรือใช้ยาทาผิวกันแสงแดดเมื่อจะออกไปข้างนอก
ผลต่อตับ (Hepatologic effect)
ทำให้เกิดดีซ่านได้ จากยา Chlorpromazine ใน 1-2 เดือนแรกของการใช้ยา
สังเกตอาการดีซ่าน เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง
ผลต่อระบบเลือด (Hematologic effect)
ทำให้มีจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่าปกติ (Agranulocytosis) ผู้ป่วยจะมีอาการติดเชื้อง่าย (เจ็บคอ มีไข้) พบได้จากยา Chlorpromazine
สังเกตอาการของผู้ป่วย เช่น เจ็บคอ มีไข้ รายงานให้แพทย์ทราบ
ความต้านทานต่อการชักลดลง (Effect on seizure threshold)
ผู้ป่วยจะมีอาการชักง่ายขึ้น ในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคลมชัก
คอยสังเกตอาการชักของผู้ป่วยที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ผลต่อตา (Ocular effect)
มีการเปลี่ยนสีที่เลนส์ถูกตาและที่ Retina ทำให้ตาพร่ามองเห็นไม่ชัด พบในรายที่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานเป็นผลจาก Thioridazine ขนาดสูง (800 mg/day)
คอยสังเกตอาการของผู้ป่วยและถ้าพบแนะนำให้ผู้ป่วยระวังการเคลื่อนไหว เพราะอาจพลัดตกหกล้มทำให้บาดเจ็บได้
ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressant Drugs)
กลุ่ม Tricyclic Antidepressants (TCAs)
Imipramine (Tofranil) 10 mg, 25 mg, 50 mg
Amitriptyline (Tryptanol) 10 mg, 25 mg, 50 mg
Nortriptyline (Aventyl, Nortrilen, Pamelor) 10 mg, 25 mg
Clomipramine (Anafranil) 10 mg, 25 mg, 50 mg
Doxepin (Sinequan) 25 mg
Maprotiline (Ludiomil) 10 mg, 25 mg
ผลข้างเคียงและการพยาบาล
ตาพร่า
ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่าอาการจะหายไปหลังจากได้รับยา 2-3 สัปดาห์แนะนำผู้ป่วยอย่าขับรถจนกว่าอาการตาพร่าจะดีขึ้นระวังการพลัดตกหกล้มจากการมองเห็นไม่ชัด
ท้องผูก
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากใย ดื่มน้ำเพิ่มขึ้นถ้าไม่มีข้อห้าม และกระตุ้นให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย
ปัสสาวะลำบาก
แนะนำให้ผู้ป่วยรายงานแพทย์เมื่อปัสสาวะลำบาก จดบันทึกน้ำดื่มและปัสสาวะเพื่อดูความสมดุลของน้ำ หาวิธีที่จะทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะได้เอง
ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ (Orthostatic hypotension)
แนะนำผู้ป่วยให้ลุกขึ้นอย่างช้าๆจากท่านอนเป็นท่านั่ง หรือท่านั่งเป็นท่ายืน วัดความดันโลหิตท่านอนและท่ายืนเพื่อเปรียบเทียบกัน
มีโอกาสชักง่ายขึ้นในรายที่เป็นโรคลมชัก
สังเกตผู้ป่วยรายที่มีประวิตโรคลมชักอย่างใกล้ชิด
น้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ Amitriptyline
แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับการรับระทานอาหารและให้ผู้ป่วยออกกำลังกาย
กลุ่ม Monoamine Oxidase Inhibitors (MAOIs)
Aurorix (Moclobemide) 150 mg, 300 mg
Phenelzine (Nardil) 15 mg
Tranylcypromine (Parnate) 10 mg
Isocarboxazid (Marplan) 10 mg
ผลข้างเคียงที่เกิดได้กับยากลุ่ม MAOIs ภาวะความดันโลหิตสูงอย่างเฉียบพลัน (Hypertensive crisis) มีอาการความดันโลหิตสูงร่วมกับอาการปวดศีรษะ ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ เจ็บหน้าอก
+แนะนำผู้ป่วยหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสาร Tyramine หยุดให้ยาทันทรายงานแพทย์ วัดความดันโลหิตตามเวลาเพื่อประเมินอาการและระวังการเกิดความดันโลหิตสูงอย่างเฉียบพลัน
กลุ่ม Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIs)
Floxetine (Prozac) 20 mg
Fluvoxamine (Faverin, Luvox) 50 mg, 100 mg
Paroxetine (Paxil, Seroxat) 10 mg, 20 mg, 30 mg, 40 mg
Sertraline (Zoloft) 25 mg, 50 mg 100 mg
Citalopram (Celexa, Cipram) 10 mg, 20 mg, 40 mg
ผลข้างเคียงและการพยาบาล
นอนไม่หลับ
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาในตอนเช้า หลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สอนเทคนิคคลายเครียดให้ผู้ป่วยใช้ก่อนนอน
ปวดศีรษะ
รายงานให้แพทย์ทราบ
น้ำหนักลด
ให้รับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ความต้องการทางเพศลดลง
ให้ผู้ป่วยพูดถึงความรู้สึก รายงานแพทย์ทราบเพื่อให้การช่วยเหลือ
Serotonin syndrome เกิดจากการมี Serotonin activity มากเกินไป ทาให้อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ความดันโลหิตไม่สม่ำเสมอ (อาจจะสูงหรือต่ำ) เดินเซสับสน กระวนกระวาย อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็ว อาจหมดสติได้
+หยุดให้ยาทันที รายานแพทย์ทราบ
กลุ่ม New Generation
Mianserin (Tolvon, Tolimed) 10 mg, 30 mg
Trazodone (Desirel) 50 mg, 100 mg, 150 mg
Tianeptine (Stablon) 12.5 mg
Bupropion (Quomen) 150 mg
Venlafaxian (Efexor-XR) 75 mg, 150 mg
Mirtazapine (Remeron) 30 mg
Maprotiline (Ludiomil) 10 mg, 25 mg, 75 mg
ผลข้างเคียงของยาและการพยาบาล
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้กับยารักษาอาการซึมเศร้าทุกกลุ่ม
ปากแห้ง (Dry mouth)
แนะนำให้ผู้ป่วยอมก้อนน้ำแข็งหรือจิบน้าบ่อยๆ
ง่วงซึม (Sedation) โดยเฉพาะ เมื่อได้รับยา Amitriptyline และ Mianserin
แพทย์อาจให้เป็นยาก่อนนอนและแนะนำผู้ป่วย อย่าขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรที่อาจเกิดอันตรายจากการง่วงซึม
คลื่นไส้ (Nausia)
ผู้ป่วยรับประทานยาพร้อมอาหารเพื่อลดอาการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร
ผลต่อการทำหน้าที่ของตับ
+ตระหนักรู้ถึงการทาหน้าที่ของตับที่ปกติ เช่น คลื่นไส้ ผู้ป่วยบ่นเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและอาการตาเหลือง ตัวเหลือง
ผลข้างเคียงอื่นๆที่อาจพบได้ เช่น Withdrawal Symptoms จาก Anticholinergic Rebound ซึ่งพบจากการหยุดยาที่มีฤทธิ์ Anticholinergic มาก หากให้ขนาดสูง เช่น ยา Amitriptyline 150 mg/วัน นานเกิน 3 เดือนหลังหยุดยาจะเกิดอาการวิตกกังวล กระวนกระวาย นอนไม่หลับ ปั่นป่วนในท้อง ภายใน 48 ชั่วโมง
+รายงานแพทย์ทราบ เพื่อพิจารณาการลดขนาดยาลง ในผู้ที่จำเป็นต้องหยุดยาทันที อาจทำให้ Diphenhydramine หรือ Artane ช่วยแก้อาการ
ยาควบคุมอารมณ์ (Mood Stabilizing Drugs/Antimanic Drugs)
ยาที่ใช้
Lithium Carbonate (Eskalith, Lithane, Lithonate)
Lithium Citrate (Cibalith-s)
ระดับความเป็นพิษของลิเทียมและการช่วยเหลือ
ระดับเฝ้าระวัง (Serum Lithium 1.2-1.5 mEq/L)
เป็นระดับที่มี Lithium สูงสุดที่มีผลในการรักษา อาการข้างเคียงที่พบ เช่น มือสั่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ ท้องเสีย ปวดท้องและอ่อนเพลีย ซึ่งอาจจะไม่รุนแรง
ให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อไป ให้ข้อมูลกับผู้ป่วยว่าเป็นผลข้างเคียงของยาที่พบได้ในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกที่ได้รับยาติดตามประเมิน Serum Lithium เป็นระยะ
ระดับเป็นพิษปานกลาง (Serum Lithium 1.5-2.0 mEq/L)
เป็นระดับที่มี Lithium สูงจนเกิดอาการเป็นพิษ ระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง อาการข้างเคียงที่พบ เช่น ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง มึนศีรษะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง พูดไม่ชัด ผิดปกติในการเคลื่อนไหว เดินเซ ตาพร่ามัว และหูอื้อ
อาจจะปฏิบัติเหมือนข้อ 1 หรือข้อ 3 อยู่ที่ความรุนแรงของอาการ
. ระดับเป็นพิษรุนแรง (Serum Lithium 2.0-2.5 mEq/L)
เป็นระดับที่มี Lithium สูงจนเกิดอาการเป็นพิษ ระดับปานกลางถึงรุนแรงอาการข้างเคียงที่พบ เช่น ท้อเสีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และอาเจียนตลอด แขนขากระตุกเป็นระยะ จนถึงแสดงอาการชัก สับสนมาก การทำงานของหัวใจผิดปกติ เป็นลม หมดสติ
หยุดยาทันที ถ้าผู้ป่วยยังรู้สึกตัวให้ยาแก้อาเจียน และทำ Gastric lavage
ระดับอันตราย (Serum Lithium > 2.5 mEq/L)
เป็นระดับที่มี Lithium สูงจนเกิดอันตรายถึงชีวิต อาการสำคัญได้แก่ การทำงานของหัวใจล้มเหลว ความดันโลหิตต่ำมาก ไข้สูง ไม่รู้สึกตัว มีอาการชัก ปัสสาวะออกน้อย และการทำงานของไตล้มเหลว
ปฏิบัติเหมือนข้อ 3 และเตรียมทำ Hemodialysis
ผลข้างเคียงของยา
Early Side Effects เป็นอาการที่เกิดขึ้นในช่วงแรกที่ได้ยา
ระบบทางดินอาหารถูกรบกวน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย
กล้ามเนื้ออ่อนแรงและอ่อนเพลีย
มือสั่น โดยเฉพาะเวลาเขียนหนังสือ
ปากแห้ง กระหายน้ำ
Late Side Effects เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อใช้ยาเป็นเวลานาน
อาการมือสั่น
กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อยมากกว่าระยะแรก
บวมและมีน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น จากการเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกายและการเปลี่ยนแปลงของการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต
อาจมีภาวะแทรกซ้อนของ Hypothyroidism หรือ Goiter
Leukocytosis
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ยาลดอาการข้างเคียงของยาทางจิตเวช (Anticholinergic Drugs/Antiparkinson Drugs)
ยาที่ใช้
Trihexyphenidyl (Aca, Artane, Benzhexol) 2 mg, 5 mg
Benztropine (Cogentin) 0.5 mg, 1 mg, 2 mg
Dipenhydramine (Benadryl) 25 mg
Biperidan (Akineton) 2 mg, 6 g
ผลข้างเคียงของยา
Anticholinergic effect เช่น ปากแห้ง ตาพร่า ท้องผูก อาจมีปัสสาวะลำบากในผู้สูงอายุ
คลื่นไส้ ปั่นป่วนในท้อง
Sedation, Drowsiness และ Dizziness
Orthostatic Hypotension
Anticholinergic Delirium อาการสำคัญ คือ สับสน ไม่รู้วัน เวลา สถานที่ หรือแสดงอาการทางจิต
การพยาบาล
อธิบายคุณสมบัติของยาและวิธีรับประทานยาว่า ควรรับประทานเมื่อใด หากไม่มีอาการไม่จ้าเป็นต้องรับประทาน
ควรให้รับประทานยาหลังอาหารทันทีเพื่อป้องกันการรบกวนกระเพาะอาหาร
ควรสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา เช่น การทรงตัว การพูด และความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วย
ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้จากาการ ตามัว เดินเซ เดินไม่ตรงทาง เป็นต้น
สังเกตและประเมินผลหลังให้ยา เพื่อจะได้ช่วยเหลือทันทีที่มีปัญหา
รายงานแพทย์ทันที่พบปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับยา
ควรให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติ ดังนี้
7.1 ดื่มน้ำให้เพียงพอหรืออมลูกอมเพื่อลดอาการปากแห้ง
7.2 ควรหลีกเลี่ยงการขี่พาหนะ การควบคุมเครื่องจักร เพราะผู้ป่วยมักง่วงนอน และตาพร่า
7.3 ควรรายงานอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้น
7.4 ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ โดยเฉพาะตรวจตา
7.5 ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และลดอาหารที่มีโปรตีนสูง
ยารักษาอาการชัก (Anticonvulsant Drug)
ยาที่ใช้
Valproic Acid (Depakene) Capsule 250 mg ,Syrup 250 mg/5 ml
Phenytoin (Dilantin) Suspension 30 mg/5 ml, 125 mg/5 ml ,Chewable tablets 50 mg Capsule 30 mg, 100 mg Injection 50 mg/ml
Clonazepam (Klonopin) Tablets 0.5 mg, 1 mg, 2 mg
Primidone (Mysoline) Tablets 50 mg, 250 mg
Carbamazepine (Tegretol) Tablets 200 mg
ผลข้างเคียงของยา
อาจมีอาการเหงือกบวม คลื่นไส้ ผื่นแดง ง่วง มึนงง ซึม ตาพร่า กล้ามเนื้ออ่อนแรง
ยาคลายกังวล (Antianxiety Drugs/ Anxiolytic Drugs/Minor Tranquillizers)
ยากลุ่ม Benzodiazepines แบ่งตาม Elimination Half Life
Long Acting >24 ชั่วโมง
Chlordiazepoxide (Librium) 5 mg, 10 mg, 25 mg
Dipotassium Clorazepate (Tranxene, Trancon) 3.75 mg, 7.5 mg, 15 mg
Diazepam (Valium) 2 mg, 5 mg, 10 mg
Intermediate Acting ประมาณ 10-20 ชั่วโมง
Alprazolam (Xanax) 0.25 mg, 0.5 mg, 1 mg, 2 mg
Lorazepam (Ativan, Loramed) 0.5 mg, 1 mg, 2 mg
Short Acting ออกฤทธิ์เร็วมาก ส่วนใหญ่เป็นยานอนหลับ
Trizolam (Halcion) 0.125 mg, 0.25 mg, 0.5 mg
Midazolam (Dormicum) 7.5 mg, 15 mg
ผลข้างเคียงของยาและการพยาบาล
ง่วงนอน&เดินเซ + แนะนำผู้ป่วยไม่ให้ขับรถในระยะที่ใช้ยานี้ หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกลต้องระมัด ระวัง เพราะยาอาจทำให้เกิดอาการเชื่องช้า จะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้
หลงลืมเหตุการณ์ช่วงใกล้ๆ ที่เกิดขึ้นก่อนการใช้ยา แต่เหตุการณ์ในอดีตจำได้ (Anterograde amnesia) + ให้ข้อมูลกับผู้ป่วยว่าอาจมีหลงลืมได้บ้าง
ทำให้เกิดอาการติดยาและดื้อยาได้ +แนะนำผู้ป่วยว่าควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
อาการทางพฤติกรรม + คอยสังเกตอาการและใช้การช่วยเหลือผู้ป่วย
Disinhibition Syndrome เป็นอาการที่ผู้ได้รับยา กล้าแสดงพฤติกรรมหรือพูดในสิ่งไม่ควรหรือไม่เคยทำมาก่อน
Paradoxical Excitement เป็นอาการที่ผู้ได้รับยา มีพฤติกรรมวุ่นวาย อาละวาดก้าวร้าว แทนที่จะง่วงซึมหรือสงบ โยเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอาการทางสมอง (Organic Brain Syndrome)