Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของการนอนหลับและการตื่น (sleep-wake disorder) (ตาม DSM5…
ความผิดปกติของการนอนหลับและการตื่น
(sleep-wake disorder)
ตาม DSM5 ประกอบไปด้วย10โรค
2.โรคนอนหลับมากผิดปกติ(hypersomnolence disorder) มีอาการง่วงนอนหรือนอนหลับมากกว่าปกติ รู้สึกเหมือนนอนไม่พอ ไม่สดชื่น ทั้งที่ได้นอนหลับตอนกลางคืนอย่างเต็มที่ตั้งแต่7ชั่วโมงขึ้นไป
3.โรคลมหลับ(narcolepsy) ง่วงนอนมากเกินไป ไม่สามารถต้านทานความง่วงที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วได้
4.กลุ่มโรคนอนหลับจากปัญหาการหายใจ(breating-related sleep disorder) ผู้ป่วยขาดหายใจเป็นช่วงหรือลมหายใจลดลงจนเป็นผลให้ระดับออกซิเจนในเลือดน้อยลง
5.ความผิดปกติจากวงจรเวลาการนอนหลับและการตื่น(circadian rhythm Sleep-wake disorder) ทำให้การง่วงนอนเกิดขึ้นไม่เหมาะสมกับช่วงเวลาที่สามารถนอนหลับได้
6.โรคการตื่นตัวผิดปกติขณะนอนหลับในช่วงไม่มีการกลอกลูกตาอย่างรวดเร็ว(non- Rapid eye movement sleep arousal disorder)แบ่งเป็น2ชนิดคือ ชนิดละเมอเดิน(sleep walking type) และชนิดฝันผวา(sleep terror)
7.โรคฝันร้าย(nightmare disorder)
8.โรคผิดปกติของพฤติกรรมการนอนหลับในช่วง rem sleep (rapid eye movement sleep behavior disorder) เคลื่อนไหวร่างกายตามความฝัน
9.โรคขาอยู่ไม่สุข(restless legs syndrom)
10.โรคการนอนที่เกิดจากสารหรือยา(substance/medication-induced sleep disorder)
1.โรคนอนไม่หลับ (insomnia disorder) อาการหลักได้แก่ นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิทหรือตื่นบ่อยๆกลางดึกหรือมีการตื่นนอนเร็วกว่าปกติ
การรักษา
ยานอนหลับ ในกลุ่ม benzodiazepines
ยาต้านเศร้า(antidepressants)และผลต่อการนอนหลับ
1.amitriptyline
2.clomipramine
3.imipramine
4.nortriptyline
5.ยาในกลุ่มSSRIs(escitalopram,sertraline,fluoxetine, fluvoxamine,paroxetine)
6.ยาต้านเศร้าอื่นๆ (venlafaxine,trazadone,nefazodone,mirtazapine
การแก้ไขการรู้การเข้าใจและพฤติกรรม cognitive-behavioral therapy
ให้การศึกษาเรื่อง สุขอนามัยที่ดีของการนอนหลับ (sleep hygiene)
ควบคุมการกระตุ้น
จำกัดการนอน
การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเครียด
เทคนิคการลดความเครียดอย่างอื่น
การฝึกการหายใจ
การนวด
การอบตัว
รสสุคนธ์บำบัด
การบำบัดทางการพยาบาล Nursing Intervention for Sleep Pattern Disturbance
Medication Management
Pain Management
Environment Management : Comfort
Urinary Incontinent Care
Sleep Enhancement เป็นการเอื้อ (facilitation) ให้ผู้ป่วยได้รับการหลับได้ อย่างพอเพียงตามความต้องการ
Simple Massage
Simple Relaxation Therapy
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินรายละเอียดรูปแบบ การนอนหลับ ลักษณะการนอนหลับ สังเกตและบันทึกการนอนหลับ เช่น ชั่วโมงการนอน คุณภาพการนอน ความรู้สึกว่านอนพอเพียง สดชื่น ไม่อ่อนเพลีย ฯลฯ ปัจจัยเหตุ ยาหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
อธิบายให้ผู้ป่วยถึงความจำเป็นที่ต้องได้รับการนอน ให้เพียงพอ
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีผลทำให้ นอนไม่หลับ
สนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้านอนได้ตามปกติ เท่าที่เป็นไปได้
จัดให้งีบหลับระหว่างวัน
ให้ยาตามแผนการรักษา
เลือก เพื่อนผู้ป่วยที่มีความต้องการสภาพแวดล้อมในการนอนคล้ายกัน จำกัดผู้เข้าเยี่ยม
เอื้อให้เกิด sleep hygiene จัดท่านอนให้สบาย ตามความเจ็บป่วยที่เหมาะสม ดูแลผิวหนัง เช่นมีแผล มีผิวที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง
แนะนำผู้ป่วยให้เกิดการผ่อนคลายตามความเหมาะสมกับผู้ป่วย (somatic relaxation, cognitive relaxation)
ช่วยจำกัดสิ่งก่อความเครียด (stressful situation)ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมเช่น แสง เสียง อุณหภูมิห้อง ความสุขสบายต่าง ๆ
สุขอนามัยที่ดีของการนอนหลับ (sleep hygiene)
สิ่งที่ควรปฎิบัติ 14 ข้อ
ควรหลับต่อเนื่องอย่างน้อย 6 -8 ชั่วโมง ต่อวัน และควรเข้านอนก่อนเที่ยงคืน
ถ้าไม่สามารถหลับได้ หลังจากเข้านอนแล้ว เกิน 30 นาที ไม่ควรนอนอยู่บนเตียง ควรลุกขึ้นจากเตียงนอน และออกจากห้องนอน แล้วทำกิจกรรมชนิดอื่นแทน
ก่อนนอน ควรทำกิจกรรมสั้นๆ ให้ร่างกายทราบว่าถึงเวลาเข้านอนแล้ว
ถ้าตื่นขึ้นกลางดึก หลังเข้านอนแล้ว ไม่ควรพยายามกดดันตนเองเพื่อให้รีบนอนจนเกินไป
การอาบ หรือแช่น้ำอุ่นก่อนนอนประมาณ 1 - 1½ ชั่วโมง
ควรควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป
ควรหาวิธีผ่อนคลายความเครียด
ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
การรับประทานอาหารว่างเบาๆ ก่อนนอน
ควรรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำในแต่ละช่วงเวลา
ปรับท่านอนให้เหมาะสมกับตนเอง
ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกไปข้างนอกบ้าน ควรสัมผัสกับแสงอาทิตย์ หรือแสงธรรมชาติระหว่างวันบ้าง
จัดบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น
รักษาความสมดุล และความสม่ำเสมอในกิจวัตรประจำวัน
สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง 11 ข้อ
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารจำนวนมาก หรืออาหารที่ย่อยยากหรืออาหารที่มีรสเผ็ดจัด ภายใน 3 ชั่วโมงก่อนนอน
หลีกเลี่ยงยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท, ยาขยายหลอดลม (bronchodilator) และยาแก้คัดจมูกบางชนิด (เช่น pseudoephedrine) ในช่วงก่อนนอน
หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่หนักและหักโหม ในช่วงหัวค่ำ หรือภายใน 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน
หลีกเลี่ยงการใช้สารนิโคติน (nicotine) ภายใน 4-6 ชั่วโมง ก่อนนอน
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดความเครียด ในช่วงเวลาใกล้นอน
หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมภายใน 4-6 ชั่วโมง ก่อนนอน
หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจำนวนมากก่อนนอน
หลีกเลี่ยงการบริโภคสารคาเฟอีน (caffeine)
หลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับอย่างต่อเนื่องนานเกิน 1 เดือน
ในระหว่างกลางวัน พยายามไม่งีบหลับ
หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมอื่นๆบนเตียงนอน