Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ (กระบวนการพยาบาล (การประเมินภาวะสุขภาพ…
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ
1.Sexual dysfunctions กลุ่มโรคที่มีความบกพร่องในการตอบสนองทางเพศ
การวินิจฉัย
1.มีอาการติดต่อกันนาน6เดือนขึ้นไป
2.อาการต้องเกิดเป็นส่วนใหญ่(ร้อยละ75-100)ในกิจกรรมทางเพศ
3.ไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางกาย หรือผลของสารเสพติดหรือยา
และไม่ได้เป็นอาการแสดงของโรคจิตเวชอื่น
กลุ่มโรค
1.delayed ejaculation คืออาการหลั่งอสุจิช้าหรือไม่สามารถหลั่งอสุจิได้
Erectile Disorder คืออาการองคชาตไม่มีการแข็งตัว
Female Orgasmic Disorder คืออาการที่เพศหญิงไม่เกิดความรู้สึกถึงจุดสุดยอด
Female Sexual Arousal Disorders คืออาการตื่นตัวทางเพศต่ำหรือกามตายด้านในหญิง
5.Genito-pelvic pain/penetration disorder คืออาการเจ็บบริเวณอวัยวะเพศ หรือช่องท้องส่วนล่างเมื่อมีความพยายามจะสอดใส่
6.male hypoactive sexual desire disorder คืออาการที่เพศชายมีการลดลง
7.premature (early) ejaculation คืออาการหลั่งอสุจิเร็วเกินไป
8.substance/medication-induced sexual dysfunction คืออาการที่มีความผิดปกติ ในด้านเพศโดยมีความเกี่ยวข้องทางช่วงเวลากับการใช้ยาหรือสารเสพติด
การรักษา
1.การรักษาด้วยยา ในกรณีของความผิดปกติของการแข็งตัวขององคชาต
ยาในกลุ่ม phosphodiesterase-5 inhibitor ได้แก่ verdanafil,tadalafil เป็นยาหลัก
2.พฤติกรรมบำบัด assertive training เพื่อช่วยฝึกให้ผู้ป่วยบอกความต้องการในเรื่องเพศได้อย่างเหมาะสม
2.Gender dysporia ภาวะความไม่พอใจในเพศตัวเอง
การวินิจฉัย
1.ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองเป็นอีกเพศหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับเพศที่ถูกกำหนดมาแต่กำเนิด โดยมีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า6เดือน
2.ภาวะในข้อ1ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ใจอย่างมากหรือส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตด้านต่างๆ
การดูแลรักษา
1.หากตรวจพบโรคทางกายหรือความผิดปกติของพัฒนาการต้องส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
2.ส่งเสริมพัฒนาการทางเพศตามปกติ
ให้ความรู้ความเข้าใจ การปรับตัว การแสดงออกในสังคม การทำความเข้าใจตนเอง
4.หลังจากรักษาเบื้องต้นทางจิตใจและสังคมแล้ว ผู้ป่วยยังคงต้องการแปลงเพศ จิตแพทย์จะให้ความรู้เรื่องโรคและการแปลงเพศ ให้คำปรึกษาผู้ป่วยและครอบครัว จากนั้นจะให้ผู้ป่วยทดลองใช้ชีวิตแบบเพศใหม่ 1 ปี ระหว่างนี้ให้กินฮอร์โมนเพศ หากยังคงไม่เปลี่ยนใจ จะปรึกษาจิตแพทย์คนที่2เพื่อการวินิจฉัยโรค หากพบว่าผู้ป่วยไม่มีปัญหาทางจิตเวชใดๆ แล้วจึงปรึกษาแพทย์ผู้ผ่าตัดแปลงเพศต่อไป
3.Paraphilic disorders ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ
3.1กลุ่ม anomalous activity preference
Voyeuristic disorder (ชอบแอบมองคนเปลือยกายหรือร่วมเพศ )
Exhibitionistic disorder (ชอบอวดอวัยวะเพศให้คนแปลกหน้า ที่ไม่ได้คาดคิด )
Sexual Masochism disorder (พึงพอใจทางเพศจากการที่ตนเองได้รับความเจ็บปวด )
Sexual Sadism disorder (พึงพอใจทางเพศจากการทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด )
3.2กลุ่มanomalous target preference
Pedophilic disorder (พึงพอใจกับเด็ก )
Fetishistic disorder (พึงพอใจกับวัตถุ )
Transvestic disorder (พึงพอใจใส่เครื่องแต่งกายเพศตรงข้าม)
การรักษา
การใช้ยา ใช้หลักการลดระดับ testosterone เพื่อลดกิจกรรมทางเพศ เรียกว่า chemical castration โดยกลุ่มยาที่ใช้คือantiandrogen, hormonal agents
จิตบำบัด
cognitive behavioral therapy
relapse prevention therapy
victimempathy
พฤติกรรมบำบัด
olfactory aversion conditioning ดมสารเคมี
covert sensitization การขัดจังหวะขณะทำสิ่งที่ชอบ
masturbatory satiation การช่วยตนเอง
orgasmic reconditioning เมื่อถึงจุดสุดยอดให้เปลี่ยน
ความคิด นึกถึงอีกเพศในทางตรงกันข้าม
กลุ่มบำบัด
ใช้หลักการของpositive and negative reinforcements
กระบวนการพยาบาล
การประเมินผล
พฤติกรรมเป้าหมายของผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ ภายหลังการให้การพยาบาล ได้แก่
รับการบำบัดตามแผนการรักษา ทั้งจิตบำบัดรายบุคคล และกลุ่มกิจกรรมบำบัด
แสดงความรู้สึกอย่างเปิดเผยและจริงใจกับคู่ครองได้
บอกความรู้เรื่องเพศได้ถูกต้อง
แต่งกายและแสดงกิริยามารยาทได้ถูกต้องเหมาะสมตามเพศของตน
บอกวิธีปรับตัวที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตกับคู่ครองได้
การปฏิบัติทางการพยาบาล
สร้างสัมพันธภาพด้วยท่าทีที่ยอมรับ เข้าใจ และพร้อมที่จะรับฟังผู้ป่วย
ให้ความสำคัญกับปัญหาปัจจุบันของผู้ป่วยก่อน
แนะแนวทางให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลในเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกวิธี
แนะนำผู้ป่วยให้รู้จักการสื่อสารอย่างเหมาะสม และให้โอกาส ผู้ป่วยได้ฝึกทักษะการมีสัมพันธภาพ โดยสร้างบรรยากาศที่ เอื้ออำนวย ให้กำลังใจและให้แรงเสริม
ช่วยผู้ป่วยประเมินความรู้สึกของตนเองโดยเปิดโอกาสให้เขาได้พูดเล่าหรือระบายออก รวมทั้งให้คำแนะนำใน การลดความเครียด และให้ผู้ป่วยได้ฝึกวิธีคลายเครียด
ให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับความผิดปกติทางเพศ ถึงสาเหตุ อาการ และการบำบัดรักษาตลอดจนวิธีการประเมินความแปรปรวน ทั้งทางร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้น
ช่วยเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับเรื่องเพศ
ให้ผู้ป่วยได้พูดถึงตนเองในด้านบวก ทั้งในเรื่องของความตั้งใจใน
การบำบัดรักษา การคิดอย่างเหมาะสม ความร่วมมือ และการลงมือปฏิบัติตามแผนการรักษา ตลอดจนความก้าวหน้าของการบำบัดรักษา
การวางแผนทางการพยาบาล
การระบุข้อมูลสนับสนุนการเกิดปัญหาให้ชัดเจนทั้ง objective data และ subjective data
การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลนั้นสัมพันธ์กับอะไรบ้าง
การวางเป้าหมายให้สอดคล้องกับปัญหา
การประเมินภาวะสุขภาพ ตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน
แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ ส่วนมากผู้ที่มี Gender identity disorder มักไม่รู้ถึงความผิดปกติของตนเองสำหรับ Sexual dysfunction จะรู้ว่าตนมีปัญหา และต้องการการบำบัดรักษา
แบบแผนการขับถ่าย
แบบแผนการทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา
แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหา
แบบแผนการพักผ่อนและการนอนหลับ
แบบแผนการรู้คิด การรับรู้ และการสื่อสาร
แบบแผนการรับรู้ตนเอง อัตมโนทัศน์ และสภาพอารมณ์ ผู้ที่มี Sexual dysfunction มักคิดว่าตนเป็นคนไม่มีคุณค่า มีอารมณ์วิตกกังวล เศร้า
ผู้ที่มี Gender identity disorder ไม่ต้องการเพศของตัวเอง อาจมีอารมณ์ไม่คงที่ หรือวิตกกังวล
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ เรื่องของบทบาทผู้ที่มี Gender identity disorder จะแสดงบทบาทของเพศตรงข้าม ส่วนผู้ที่มี Sexual dysfunction บางรายอาจมีการแสดงบทบาทไม่เหมาะสม
แบบแผนทางเพศและการเจริญพันธ์
แบบแผนความเครียด ความทนต่อความเครียด และการจัดการกับความเครียด
แบบแผนคุณค่า ความเชื่อ และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ขาดความรู้เรื่องเพศศึกษา เนื่องจากมีความเชื่อตามวัฒนธรรมที่ไม่ถูกต้อง
แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความวิตกกังวล
การนับถือคุณค่าในตนเองต่ำเนื่องจากรู้สึกไม่สามารถให้ความสุขกับภรรยาได้
การทำหน้าที่ในครอบครัวบกพร่อง เนื่องจากการแสดงบทบาทผิดเพศ
การมีความทุกข์ทางจิตวิญญาณ เนื่องจากขาดความสุขทางเพศในการครองชีวิตคู่