Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ ๒๕๔๔ (หมวด ๑…
พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ ๒๕๔๔
ความหมาย
ธุรกรรม
การกระทําใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์หรือ
ในการดําเนินงานของรัฐตามที่กําหนดในหมวด ๔
อิเล็กทรอนิกส์
การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ธุรกรรมที่กระทําขึ้นโดยใช้วิธีการทาง
อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ข้อความ
เรื่องราวหรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนํามาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
ระบบข้อมูล
กระบวนการประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์สําหรับ
สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
การส่งหรือรับข้อความด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใช้มาตรฐานที่กําหนดไว้ล่วงหน้า
ผู้ส่งข้อมูล
บุคคลซึ่งเป็นผู้ส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก่อนจะมีการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อส่งไปตามวิธีการที่ผู้นั้นกําหนด โดยบุคคลนั้นอาจจะส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง หรือมีการส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในนามหรือแทนบุคคลนั้นก็ได้ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสําหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
ผู้รับข้อมูล
บุคคลซึ่งผู้ส่งข้อมูลประสงค์จะส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้และ
ได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสําหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
บุคคลที่เป็นสื่อกลาง
บุคคลซึ่งกระทําการในนามผู้อื่นในการส่ง รับ หรือเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ รวมถึงให้บริการอื่นที่เกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
ใบรับรอง
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือการบันทึกอื่นใด ซึ่งยืนยันความ
เชื่อมโยงระหว่างเจ้าของลายมือชื่อกับข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
เจ้าของลายมือชื่อ
ผู้ซึ่งถือข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
และสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นในนามตนเองหรือแทนบุคคลอื่น
คู่กรณีที่เกี่ยวข้อง
ผู้ซึ่งอาจกระทําการใดๆ โดยขึ้นอยู่กับใบรับรองหรือ
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
หน่วยงานของรัฐ
กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคล คณะบุคคล หรือบุคคลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ดําเนินงานของรัฐไม่ว่าในการใดๆ
คณะกรรมการ
คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส
รัฐมนตรี
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๗
ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๘
ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา ๙ ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้การใดต้องทําเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทําเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว
มาตรา ๙
ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในนั้นมีการหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์ลงลายมือชื่อแล้ว
(๑) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน
(๒) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยคํานึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี
มาตรา ๑๐
ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้นําเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ถ้าได้นําเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าได้มีการนําเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสารต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว
มาตรา ๑๑
ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการชั่งน้ําหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดนั้นให้พิเคราะห์ถึงความน่าเชื่อถือของลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ลักษณะหรือวิธีการเก็บรักษา ความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความลักษณะ หรือวิธีการที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวงให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
มาตรา ๑๒
ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๐ ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้เก็บรักษาเอกสารหรือข้อความใด ถ้าได้เก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาเอกสารหรือข้อความตามที่กฎหมายต้องการแล้ว
มาตรา ๑๒/๑
ให้นําบทบัญญัติในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับกับเอกสารหรือข้อความที่ได้มีการจัดทําหรือแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในภายหลังด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และการเก็บรักษาเอกสารและข้อความดังกล่าวด้วยโดยอนุโลมการจัดทําหรือแปลงเอกสารและข้อความให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด
มาตรา ๑๓
คําเสนอหรือคําสนองในการทําสัญญาอาจทําเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้และห้ามมิให้ปฏิเสธการมีผลทางกฎหมายของสัญญาเพียงเพราะเหตุที่สัญญานั้นได้ทําคําเสนอหรือคําสนองเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๑๔
ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล การแสดงเจตนาหรือคําบอกกล่าวอาจทําเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
มาตรา ๑๕
บุคคลใดเป็นผู้ส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยวิธีใด ให้ถือว่าข้อมูล
อิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้นั้น
มาตรา ๑๖
ผู้รับข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้ส่งข้อมูลและชอบที่จะดําเนินการไปตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได
มาตรา ๑๗
ในกรณีตามมาตรา ๑๕ หรือมาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล ผู้รับข้อมูลมีสิทธิถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับนั้นถูกต้องตามเจตนาของผู้ส่งข้อมูลและสามารถดําเนินการไปตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เว้นแต่ผู้รับข้อมูลได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับนั้นมีข้อผิดพลาดอันเกิดจากการส่ง หากผู้รับข้อมูลได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรหรือดําเนินการตามวิธีการที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้ว
มาตรา ๑๘
ผู้รับข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับแต่ละชุดเป็นข้อมูลที่แยกจากกัน และสามารถดําเนินการไปตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แต่ละชุดนั้นได้ เว้นแต่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ชุดนั้นจะซ้ํากับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อีกชุดหนึ่ง และผู้รับข้อมูลได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซ้ํา หากผู้รับข้อมูลได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรหรือดําเนินการตามวิธีการที่ได้ตกลงกันไว้ก่อนแล้ว
มาตรา ๑๙
ในกรณีที่ต้องมีการตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าผู้ส่งข้อมูลได้ร้องขอหรือตกลงกับผู้รับข้อมูลไว้ก่อนหรือขณะที่ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือปรากฏในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลมิได้ตกลงให้ตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบหรือวิธีการใดโดยเฉพาะ การตอบแจ้งการรับอาจทําได้ด้วยการติดต่อสื่อสารจากผู้รับข้อมูล ไม่ว่าโดยระบบข้อมูลที่ทํางานโดยอัตโนมัติหรือโดยวิธีอื่นใด หรือด้วยการกระทําใดๆ ของผู้รับข้อมูลซึ่งเพียงพอจะแสดงต่อผู้ส่งข้อมูลว่าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นแล้ว(๒) ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลกําหนดเงื่อนไขว่าจะถือว่ามีการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อเมื่อได้รับการตอบแจ้งการรับจากผู้รับข้อมูล ให้ถือว่ายังไม่มีการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จนกว่าผู้ส่งข้อมูลจะได้รับการตอบแจ้งการรับแล้ว(๓) ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลมิได้กําหนดเงื่อนไขตามความใน (๒) และผู้ส่งข้อมูลมิได้รับการตอบแจ้งการรับนั้นภายในเวลาที่กําหนดหรือตกลงกัน หรือภายในระยะเวลาอันสมควรในกรณีที่มิได้กําหนดหรือตกลงเวลาไว้
มาตรา ๒๐
ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลได้รับการตอบแจ้งการรับจากผู้รับข้อมูลให้สันนิษฐานว่าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ข้อสันนิษฐานดังกล่าวมิให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นถูกต้องตรงกันกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ส่งข้อมูลได้ส่งมา
มาตรา ๒๑
ในกรณีที่ปรากฏในการตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเองว่าข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับเป็นไปตามข้อกําหนดทางเทคนิคที่ผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลได้ตกลง หรือระบุไว้ในมาตรฐานซึ่งใช้บังคับอยู่ ให้สันนิษฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งไปนั้นได้เป็นไปตาม ข้อกําหนดทางเทคนิคทั้งหมดแล้ว
มาตรา ๒๒
การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้มีการส่งเมื่อ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้
เข้าสู่ระบบข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูล
มาตรา ๒๓
การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูลหากผู้รับข้อมูลได้กําหนดระบบข้อมูลที่ประสงค์จะใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะ ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลได้กําหนดไว้นั้น แต่ถ้าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้ส่งไปยังระบบข้อมูลอื่นของผู้รับข้อมูลซึ่งมิใช่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลกําหนดไว้ให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มีผลนับแต่เวลาที่ได้เรียกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จากระบบข้อมูลนั้นความในมาตรานี้ให้ใช้บังคับแม้ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูลตั้งอยู่ในสถานที่อีกแห่งหนึ่งต่างหากจากสถานที่ที่ถือว่าผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา ๒๔
มาตรา ๒๔
การส่งหรือการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่า ได้ส่ง ณ ที่ทําการงานของผู้ส่งข้อมูล หรือได้รับ ณ ที่ทําการงานของผู้รับข้อมูล แล้วแต่กรณีในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลหรือผู้รับข้อมูลมีที่ทําการงานหลายแห่ง ให้ถือเอาที่ทําการงานที่เกี่ยวข้องมากที่สุดกับธุรกรรมนั้นเป็นที่ทําการงานเพื่อประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง แต่ถ้าไม่สามารถกําหนดได้ว่าธุรกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับที่ทําการงานแห่งใดมากที่สุด ให้ถือเอาสํานักงานใหญ่เป็นสถานที่ที่ได้รับหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นในกรณีที่ไม่ปรากฏที่ทําการงานของผู้ส่งข้อมูลหรือผู้รับข้อมูล ให้ถือเอาถิ่นที่อยู่ปกติเป็นสถานที่ที่ส่งหรือได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับกับการส่งและการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีการทางโทรเลขและโทรพิมพ์หรือวิธีการสื่อสารอื่นตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๒๕
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดที่ได้กระทําตามวิธีการแบบปลอดภัยที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ให้สันนิษฐานว่าเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้
หมวด ๒ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๒๖
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้
มาตรา ๒๗
ในกรณีมีการใช้ข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จะมีผลตามกฎหมาย
มาตรา ๒๘
ในกรณีมีการให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทางกฎหมายเสมือนหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้บริการออกใบรับรองต้องดําเนินการ
มาตรา ๒๙
ในการพิจารณาความเชื่อถือได้ของระบบ วิธีการ และบุคลากรตามมาตรา ๒๘
มาตรา ๓๐
คู่กรณีที่เกี่ยวข้องต้องดําเนินการ
มาตรา ๓๑
ใบรับรองหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลทางกฎหมาย
หมวด ๔ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
มาตรา ๓๕
คําขอ การอนุญาต การจดทะเบียน คําสั่งทางปกครอง การชําระเงิน การประกาศ หรือการดําเนินการใดๆ ตามกฎหมายกับหน่วยงานของรัฐหรือโดยหน่วยงานของรัฐ ถ้าได้กระทําในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
หมวด ๓ ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๓๒
บุคคลย่อมมีสิทธิประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
แต่ในกรณีที่จําเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์
มาตรา ๓๓
ในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกากําหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดเป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ หรือต้องขึ้นทะเบียน
มาตรา ๓๔
ในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกากําหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กรณีใดเป็นกิจการที่ต้องได้รับใบอนุญาตให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
หมวด ๕ คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๓๖
ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า คณะกรรมการธุรกรรมทาง
อิเล็กทรอนิกส ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นประธานกรรมการปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีกจํานวนสิบสองคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกสด้านนิติศาสตรด้านวิทยาการคอมพิวเตอรด้านวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์
มาตรา ๓๗
ให้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๓๘
ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตําแหน่งสามปี กรรมการซึ่งพ้นจากตําแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
มาตรา ๓๙
นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา ๓๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่ง
มาตรา ๔๐
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา ๓๙ ให้ถือว่าคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่และให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กรรมการพ้นจากตําแหน่ง
มาตรา ๔๑
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๔๒
คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๔๒/๑
ให้คณะกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๔๓
ให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนราชการในสํานักงานปลัดกระทรวงกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทําหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการ
หมวด ๖ บทลงโทษ
มาตรา ๔๔
ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่แจ้งหรือขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง หรือโดยฝ่าฝืน คําสั่งห้ามการประกอบธุรกิจของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๓ วรรคหก ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๔๕
ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๔๖
บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่กระทําโดยนิติบุคคลผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคลหรือผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการดําเนินงานของนิติบุคคลต้องรับผิดในความผิดนั้นด้วยเว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือมีส่วนร่วมในการกระทําความผิดนั้น