Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอน…
พระราชบญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๗ ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๘ ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้การใดต้องทําเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนํากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง
มาตรา ๙ ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้นําเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ถ้าได้นําเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าได้มีการนําเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสารต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว
มาตรา ๑๑ ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตามกฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๑๒ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา ๑๐ ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้เก็บรักษาเอกสารหรือข้อความใด ถ้าได้เก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาเอกสารหรือข้อความตามที่กฎหมายต้องการแล้ว
มาตรา ๑๒/๑ ให้นําบทบัญญัติในมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ และมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับกับเอกสารหรือข้อความที่ได้มีการจัดทําหรือแปลงให้อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในภายหลังด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์และการเก็บรักษาเอกสารและข้อความดังกล่าวด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๑๓ คําเสนอหรือคําสนองในการทําสัญญาอาจทําเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้และห้ามมิให้ปฏิเสธการมีผลทางกฎหมายของสัญญาเพียงเพราะเหตุที่สัญญานั้นได้ทําคําเสนอหรือคําสนองเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๑๔ ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล การแสดงเจตนาหรือคําบอกกล่าวอาจทําเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
มาตรา ๑๕ บุคคลใดเป็นผู้ส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยวิธีใด ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้นั้น
มาตรา ๑๖ ผู้รับข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้ส่งข้อมูลและชอบที่จะ
ดําเนินการไปตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้
มาตรา ๑๗ ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและ
ผู้รับข้อมูล ผู้รับข้อมูลมีสิทธิถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับนั้นถูกต้องตามเจตนาของผู้ส่งข้อมูล และสามารถดําเนินการไปตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เว้นแต่ผู้รับข้อมูลได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับนั้นมีข้อผิดพลาดอันเกิดจากการส่ง หากผู้รับข้อมูลได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
มาตรา ๑๘ ผู้รับข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับแต่ละชุดเป็นข้อมูลที่แยก
จากกัน และสามารถดําเนินการไปตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แต่ละชุดนั้นได้
มาตรา ๑๙ ในกรณีที่ต้องมีการตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าผู้ส่งข้อมูลได้ร้อง
ขอหรือตกลงกับผู้รับข้อมูลไว้ก่อนหรือขณะที่ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือปรากฏในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลได้รับการตอบแจ้งการรับจากผู้รับข้อมูล ให้สันนิษฐานว่า
ผู้รับข้อมูลได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องแล้ว
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่ปรากฏในการตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเองว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับเป็นไปตามข้อกําหนดทางเทคนิคที่ผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลได้ตกลง
มาตรา ๒๒ การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้มีการส่งเมื่อ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูล
มาตรา ๒๓ การรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้
เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูล
มาตรา ๒๔ การส่งหรือการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่า ได้ส่ง ณ ที่ทําการงานของผู้ส่งข้อมูล หรือได้รับ ณ ที่ทําการงานของผู้รับข้อมูล แล้วแต่กรณี
มาตรา ๒๕ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดที่ได้กระทําตามวิธีการแบบปลอดภัยที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ให้สันนิษฐานว่าเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้
หมวด ๓ ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๓๒ บุคคลย่อมมีสิทธิประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ในกรณีที่จําเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์
มาตรา ๓๓ ในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกากําหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดเป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ หรือต้องขึ้นทะเบียน ให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องแจ้งหรือขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาก่อนเริ่มประกอบธุรกิจนั้น
มาตรา ๓๔ ในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีกากําหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับ
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กรณีใดเป็นกิจการที่ต้องได้รับใบอนุญาต ให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
หมวด ๔ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
มาตรา ๓๕ คําขอ การอนุญาต การจดทะเบียน คําสั่งทางปกครอง การชําระเงิน การประกาศ หรือการดําเนินการใดๆ ตามกฎหมายกับหน่วยงานของรัฐหรือโดยหน่วยงานของรัฐ ถ้าได้กระทําในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ให้นําพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับและให้ถือว่ามีผล โดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดําเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายในเรื่องนั้นกําหนด
ในการออกพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวอาจกําหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องแจ้งให้ทราบ ต้องขึ้นทะเบียนหรือต้องได้รับใบอนุญาต แล้วแต่กรณีก่อนประกอบกิจการก็ได้ ในกรณีนี้ให้นําบทบัญญัติในหมวด ๓ และบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๒ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๒๖ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้
มาตรา ๒๗ ในกรณีมีการใช้ข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างลายมือ
ชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จะมีผลตามกฎหมาย
มาตรา ๒๘ ในกรณีมีการให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทางกฎหมายเสมือนหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้บริการออกใบรับรองต้องดําเนินการ
มาตรา ๒๙ ในการพิจารณาความเชื่อถือได้ของระบบ วิธีการ และบุคลากรตามมาตรา ๒๘ (๖) ให้คํานึงถึงกรณีดังต่อไปนี้
(๑) สถานภาพทางการเงิน บุคลากร และสินทรัพย์ที่มีอยู่
(๒) คุณภาพของระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
(๓) วิธีการออกใบรับรอง การขอใบรับรอง และการเก็บรักษาข้อมูลการให้บริการนั้น
(๔) การจัดให้มีข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเจ้าของลายมือชื่อที่ระบุในใบรับรอง และผู้ที่อาจคาดหมายได้ว่าจะเป็นคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง
(๕) ความสม่ําเสมอและขอบเขตในการตรวจสอบโดยผู้ตรวจสอบอิสระ
(๖) องค์กรที่ให้การรับรองหรือให้บริการออกใบรับรองเกี่ยวกับการปฏิบัติหรือการมีอยู่ของ
สิ่งที่กล่าวมาใน (๑) ถึง (๕)
(๗) กรณีใดๆ ที่คณะกรรมการประกาศกําหนด
มาตรา ๓๐ คู่กรณีที่เกี่ยวข้องต้องดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) ดําเนินการตามสมควรในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(๒) ในกรณีลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มีใบรับรอง ต้องมีการดําเนินการตามสมควร
มาตรา ๓๑ ใบรับรองหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่ามีผลทางกฎหมายโดยไม่ต้องคํานึงถึง
(๑) สถานที่ออกใบรับรองหรือสถานที่สร้างหรือใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
(๒) สถานที่ทําการงานของผู้ออกใบรับรองหรือเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
หมวด ๕ คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
มาตรา ๓๖ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองประธานกรรมการและกรรมการอื่นอีกจํานวนสิบสองคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงิน ด้านการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ด้านนิติศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ด้านวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์และด้านสังคมศาสตร์ที่ได้รับการสรรหาด้านละสองคน
มาตรา ๓๗ ให้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อวางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง
(๒) ติดตามดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(๓) เสนอแนะหรือให้คําปรึกษาต่อรัฐมนตรีเพื่อการตราพระราชกฤษฎีกาตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) ออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามพระราชบัญญัติ
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
มาตรา ๓๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดํารงตำแหน่งสามปี
มาตรา ๓๙ นอกจากการพ้นจากตําแหน่งตามวาระตามมาตรา ๓๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
พ้นจากตําแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะรัฐมนตรีให้ออกเพราะมีความประพฤติเสื่อมเสีย บกพร่อง หรือไม่สุจริตต่อหน้าที่หรือหย่อนความสามารถ
(๔) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ได้รับโทษจําคุกโดยต้องคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้
กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา ๓๙ ให้ถือว่าคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ และให้ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กรรมการพ้นจากตําแหน่ง
มาตรา ๔๑ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ
จํานวนกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม
มาตรา ๔๒ คณะกรรมการมีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการ
อย่างหนึ่งอย่างใดแทนคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๔๒/๑ ให้คณะกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกําหนด
มาตรา ๔๓ ให้จัดตั้งสํานักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทําหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการ
หมวด ๖ บทกําหนดโทษ
มาตรา ๔๔ ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่แจ้งหรือขึ้นทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๓๓ วรรคหนึ่ง หรือโดยฝ่าฝืน คําสั่งห้ามการประกอบธุรกิจของคณะกรรมการตามมาตรา ๓๓ วรรคหก ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๔๕ ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๔ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
มาตรา ๔๖ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่กระทําโดยนิติบุคคล ผู้จัดการหรือ
ผู้แทนนิติบุคคลหรือผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการดําเนินงานของนิติบุคคล ต้องรับผิดในความผิดนั้นด้วยเว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็นหรือมีส่วนร่วมในการกระทําความผิดนั้น