Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฏหมายและจริยธรรมที่เกี่ยว ข้องกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และสื่อออนไลน์ (พ.ร.บ…
กฏหมายและจริยธรรมที่เกี่ยว
ข้องกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์และสื่อออนไลน์
จริยธรรม
หมายถึงแนวทางซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม และเป็นลักษณะที่สังคมต้องการเป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมส่วนรวม บุคคลที่มีจริยธรรมอยู่ในตนเอง ย่อมเป็นที่ยอมรับนับถือของคนในสังคมและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข เป็นคนที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับของสังคมส่วน
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้
ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้ ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้
8 เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8) หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy) หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10) ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบหรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดบทลงโทษ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11) ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเองบทลงโทษถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12) โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย
บทลงโทษ จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)
กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วยกรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)
บทลงโทษหากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)
ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)
กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิดบทลงโทษแต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ
ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16) บทลงโทษ
หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
กฎหมาย
เป็นกฎเกณฑ์ กติกา หรือ มาตรฐานที่ใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อให้สมาชิกประพฤติปฏิบัติตาม โดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากบุคคลอื่น ด้วยเหตุที่กฎหมายมีสภาพบังคับ ทำให้สมาชิกในสังคมทุกคนจะต้องรู้กฎหมาย ผู้ใดจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ และจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ตที่ควรรู้
การใช้ "ชื่อ" และ "นามแฝง" ในโลกสังคมออนไลน์ โลกอินเตอร์เน็ตนั้นจะเปิดช่องทางให้ผู้ใช้สามารถตั้งชื่อปลอม นามแฝง และสามารถ โกหกถึงสถานภาพและอายุได้อย่างง่ายดาย ในกรณีที่ใช้ "นามแฝง" ที่ตั้งขึ้นมาเองหรือไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใดและไม่ได้เข้าไปเขียนข้อความให้ร้ายบุคคลอื่นนั้น คงจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่ถ้าได้มีการนำชื่อของบุคคลอื่นมาใช้โดยเจ้าตัวไม่ได้รับรู้รับทราบ จนทำให้เกิดความเสียหายนั้นจะต้องมีการรับผิด ซึ่งอาจมีการถูกฟ้องร้องต่าง ๆ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากการกระทำดังกล่าวได้
การพนันออนไลน์ ตามกฎหมายแบ่งแยกการพนันออกเป็น 2 ประเภท โดยแยกออกเป็น "บัญชี ก." และ "บัญชี ข." กลุ่มที่อยู่ในบัญชี ก. กฎหมายห้ามเล่นโดยเด็ดขาด อาทิ พวกหวย ก.ข. ไฮโล ไพ่ต่างๆ ส่วนประเภทสอง ที่อยู่ในบัญชี ข. เล่นได้แต่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อนเว็บไซต์เกี่ยวกับการพนันออนไลน์มีนับไม่ถ้วน ส่วนใหญ่จะเป็นไพ่ต่างๆ และสล็อตแมชชีน ซึ่งถือเป็นการพนันตามบัญชี ก. ผู้ฝ่าฝืนก็มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 3 ปี อย่างไรก็ตาม การเล่นพนันออนไลน์ในขณะนี้ติดตามจับกุมยากและไม่คุ้มกับทรัพยากรของภาครัฐ จึงยังไม่ค่อยเห็นการดำเนินคดีอย่างจริงจัง
ความผิดของ"เว็บมาสเตอร์" "เว็บมาสเตอร์" คือคำเรียกขานผู้ดูแลเว็บไซต์ต่างๆ ในกรณีมีนักท่องเน็ตเข้ามาเขียนกระทู้ โพสต์ ข้อความหรือโพสต์รูปที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย รวมทั้งโพสต์ภาพอนาจาร หรือเขียนเนื้อหาพาดพิงสถาบัน ตัวนักท่องเน็ต คนนั้นถือว่ากำลังทำความผิดทางอาญา ส่วนเว็บมาสเตอร์ ถ้าสืบสวนพบว่าเห็นข้อมูล ที่สร้างปัญหา แต่ปล่อยปละละเลยไม่สนใจลบข้อความทิ้งหรือแก้ไขข้อความก็อาจถูกฟ้องร้องฐานร่วมกระทำความผิดด้วย เช่น เรียกค่าเสียหายทางแพ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าในเว็บไซต์ดังกล่าวไม่มีมาตรการป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย โอกาสต้องรับโทษจะยิ่งสูงขึ้น
"ลิงก์-ไฮเปอร์ลิงก์" ละเมิดลิขสิทธิ์ โลกอินเตอร์เน็ตเปิดโอกาสให้แต่ละเว็บไซต์เชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวกง่ายดาย ผ่านระบบ ที่เรียกว่า"ไฮเปอร์ลิงก์" หรือ "ลิงก์" ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ ถ้าไปเอาข้อมูลจากเว็บไซต์อื่นๆ มาเผย แม้จะทำลิงก์เชื่อมโยงที่มาเอาไว้ แต่ถ้าไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของเว็บปลายทางโดยตรงก็อาจมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นในสหรัฐอเมริกามีก็ได้ข้อถกเถียงกันในประเด็นดังกล่าวอย่างหลายถ้าจะเอาเว็บไซต์ของคนอื่นมาลิงก์เข้ากับเว็บไซต์ของเราจะต้องไปขออนุญาตหรือไม่ ในประเทศไทยปัญหานี้ยังไม่เคยเกิดขึ้น แต่อนาคตอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ก่อนจะนำเว็บของคนอื่นมาลิงก์เข้ากับเว็บของเราก็ควรจะขออนุญาตให้เรียบร้อยก่อน เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาในภายหลังอีกด้วย
การดาวน์โหลดเพลง "เพลง" ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ใครจะไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยต่อสาธารณชน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของไม่ได้ การอัพโหลดไฟล์เพลงขึ้นไปอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ต ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน ยิ่งถ้าทำเพื่อการค้าโดยเก็บเงินจากคนที่ดาวน์โหลดเพลงนับเป็นความผิดคดีอาญา สำหรับคนที่ดาวน์โหลดมาฟังเฉยๆ ถือเป็นการทำซ้ำแต่พอมีช่องทางทางกฎหมายที่จะอ้างได้ว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะถือเป็นการทำซ้ำมาเพื่อใช้ประโยชน์เอง และการดาวน์โหลดมาฟังยังพอมีช่องทางต่อสู้คดีได้ว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะไม่ได้เอาไปขาย
การซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์และนำมาก๊อบปี้แจกผู้อื่น เนื่องจากโปรแกรมลิขสิทธิ์ หรือโปรแกรมถูกกฎหมายมีราคาแพงมาก ทำให้ธุรกิจโปรแกรมเถื่อน ละเมิดลิขสิทธิ์เฟื่องฟูยิ่งกว่าดอกเห็ด อย่างไรก็ตาม แม้เราจะซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์มาใช้ แต่ถ้า นำโปรแกรมนั้นไปแจกให้เพื่อนฝูงก๊อบปี้ หรือทำสำเนาไปใช้ต่อ ถือว่ามีความผิดฐาน "ทำซ้ำ" ซึ่งเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ แม้กฎหมายจะมีข้อยกเว้นให้การทำสำเนาโดยเจ้าของโปรแกรมมีลิขสิทธิ์ ทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ไม่ใช่การยกเว้นโดยไม่มีขอบเขต เพราะกฎหมายจำกัดจำนวนสำเนาว่า ให้มีจำนวนตามสมควร เพื่อวัตถุประสงค์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
สื่อออนไลน์
สื่อสังคมออนไลน์ หมายถึง สื่อดิจิทัลที่เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติการทางสังคม (Social Tool) เพื่อใช้สื่อสารระหว่างกันในเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ผ่านทางเว็บไซต์และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อใดๆ ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต โดยเน้นให้ผู้ใช้ทั้งที่เป็นผู้ส่งสารและผู้รับสารมีส่วนร่วม (Collaborative) อย่างสร้างสรรค์ ในการผลิตเนื้อหาขึ้นเอง (User-GenerateContent: UGC) ในรูปของข้อมูล ภาพ และเสียง
ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์
Weblogs หรือเรียกสั้นๆ ว่า Blogs คือ สื่อส่วนบุคคลบนอินเทอร์เน็ตที่ใช้เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อคิดเห็น บันทึกส่วนตัว โดยสามารถแบ่งปันให้บุคคลอื่นๆ โดยผู้รับสารสามารถเข้าไปอ่าน หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้ ซึ่งการแสดงเนื้อหาของบล็อกนั้นจะเรียงลำดับจากเนื้อหาใหม่ไปสู่เนื้อหาเก่า ผู้เขียนและผู้อ่านสามารถค้นหาเนื้อหาย้อนหลังเพื่ออ่านและแก้ไขเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา เช่น Exteen, Bloggang, Wordpress,Blogger, Okanation
Social Networking หรือเครือข่ายทางสังคมในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายทางสังคมที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล เพื่อให้เกิดเป็นกลุ่มสังคม (Social Community) เพื่อร่วมกันแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูลระหว่างกันทั้งด้านธุรกิจ การเมือง การศึกษา เช่น Facebook, Hi5, Ning, Linked in,MySpace, Youmeo, Friendste
Micro Blogging และ Micro Sharing หรือที่เรียกกันว่า “บล็อกจิ๋ว” ซึ่งเป็นเว็บเซอร์วิสหรือเว็บไซต์ที่ให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สำหรับให้ผู้ใช้บริการเขียนข้อความสั้นๆ ประมาณ 140 ตัวอักษร ที่เรียกว่า “Status” หรือ “Notice” เพื่อแสดงสถานะของตัวเองว่ากำลังทำอะไรอยู่ หรือแจ้งข่าวสารต่างๆ แก่กลุ่มเพื่อนในสังคมออนไลน์ (Online Social Network) (Wikipedia,2010) ทั้งนี้การกำหนดให้ใช้ข้อมูลในรูปข้อความสั้นๆ ก็เพื่อให้ผู้ใช้ที่เป็นทั้งผู้เขียนและผู้อ่านเข้าใจง่าย ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายคือ Twitter
Online Video เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอออนไลน์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเนื้อหาที่นำเสนอในวิดีโอออนไลน์ไม่ถูกจำกัดโดยผังรายการที่แน่นอนและตายตัว ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามชมได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่มีโฆษณาคั่น รวมทั้งผู้ใช้สามารถเลือกชมเนื้อหาได้ตามความต้องการและยังสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บวิดีโออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้จำนวนมากอีกด้วย เช่น Youtube, MSN, Yahoo
Poto Sharing เป็นเว็บไซต์ที่เน้นให้บริการฝากรูปภาพโดยผู้ใช้บริการสามารถอัพโหลดและดาวน์โหลดรูปภาพเพื่อนำมาใช้งานได้ ที่สำคัญนอกเหนือจากผู้ใช้บริการจะมีโอกาสแบ่งปันรูปภาพแล้ว ยังสามารถใช้เป็นพื้นที่เพื่อเสนอขายภาพที่ตนเองนำเข้าไปฝากได้อีกด้วย เช่น Flickr, Photobucket, Photoshop,Express, Zooom
Wikis เป็นเว็บไซต์ที่มีลักษณะเป็นแหล่งข้อมูลหรือความรู้ (Data/Knowledge) ซึ่งผู้เขียนส่วนใหญ่อาจจะเป็นนักวิชาการ นักวิชาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านต่างๆ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ซึ่งผู้ใช้สามารถเขียนหรือแก้ไขข้อมูลได้อย่างอิสระ เช่น Wikipedia, Google Earth,diggZy Favorites Online
Virtual Worlds คือการสร้างโลกจินตนาการโดยจำลองส่วนหนึ่งของชีวิตลงไป จัดเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่บรรดาผู้ท่องโลกไซเบอร์ใช้เพื่อสื่อสารระหว่างกันบนอินเทอร์เน็ตในลักษณะโลกเสมือนจริง (Virtual Reality) ซึ่งผู้ที่จะเข้าไปใช้บริการอาจจะบริษัทหรือองค์การด้านธุรกิจ ด้านการศึกษา รวมถึงองค์การด้านสื่อ เช่น สำนักข่าวรอยเตอร์ สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อพื้นที่เพื่อให้บุคคลในบริษัทหรือองค์กรได้มีช่องทางในการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ไปยังกลุ่มเครือข่ายผู้ใช้สื่อออนไลน์ ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่ม ลูกค้าทั้งหลัก และรองหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ของบริษัท หรือองค์การก็ได้ ปัจจุบันเว็บไซต์ที่ใช้หลัก Virtual Worlds ที่ประสบผลสำเร็จและมีชื่อเสียง คือ Second life
Crowd Sourcing มาจากการรวมของคำสองคำคือ Crowd และ Outsourcing เป็นหลักการขอความร่วมมือจากบุคคลในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยสามารถจัดทำในรูปของเว็บไซต์ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้นหาคำตอบและวิธีการแก้ปัญหาต่างๆทั้งทางธุรกิจ การศึกษา รวมทั้งการสื่อสาร โดยอาจจะเป็นการดึงความร่วมมือจากเครือข่ายทางสังคมมาช่วยตรวจสอบข้อมูลเสนอความคิดเห็นหรือให้ข้อเสนอแนะ กลุ่มคนที่เข้ามาให้ข้อมูลอาจจะเป็นประชาชนทั่วไปหรือผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่อยู่ในภาคธุรกิจหรือแม้แต่ในสังคมนักข่าว ข้อดีของการใช้หลัก Crowd souring คือ ทำให้เกิดความหลากหลายทางความคิดเพื่อนำ ไปสู่การแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยตรวจสอบหรือคัดกรองข้อมูลซึ่งเป็นปัญหาสาธารณะร่วมกันได้ เช่น Idea storm, Mystarbucks Idea
Podcasting หรือ Podcast มาจากการรวมตัวของสองคำ คือ “Pod” กับ “Broadcasting” ซึ่ง “POD” หรือ PersonalOn - Demand คือ อุปสงค์หรือความต้องการส่วนบุคคล ส่วน“Broadcasting” เป็นการนำสื่อต่างๆ มารวมกันในรูปของภาพและเสียง หรืออาจกล่าวง่ายๆ Podcast คือ การบันทึกภาพและเสียงแล้วนำมาไว้ในเว็บเพจ (Web Page) เพื่อเผยแพร่ให้บุคคลภายนอก (The public in general) ที่สนใจดาวน์โหลดเพื่อนำไปใช้งาน เช่น Dual Geek Podcast, Wiggly Podcast
Discuss / Review/ Opinion เป็นเว็บบอร์ดที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถแสดงความคิดเห็น โดยอาจจะเกี่ยวกับ สินค้าหรือบริการ ประเด็นสาธารณะทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เช่น Epinions, Moutshut, Yahoo!Answer, Pantip,Yelp