Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาด้านการรับประทานอาหาร (การบำบัดรักษา…
การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาด้านการรับประทานอาหาร
สาเหตุ (Etiology
ปัจจัยทางชีววิทยา (Biological factors)
-พันธุกรรม
-ขนาดของ ventricles ใหญ่กว่าปกติ ปริมาณของสารสื่อประสาทหลายชนิดในน้ำไขสันหลังผิดปกติ
ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial factors)
-พัฒนาการทางด้านจิตใจ
-มีบุคลิกลักษณะแบบย้ำคิด (obsessiveness) และเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ (perfectionism)
-สื่อมวลชนและแฟชั่น
เกณฑ์การวินิจฉัย Anorexia nervosa
ตามเกณฑ์ DSM V
A. การจำกัดปริมาณพลังงานที่สัมพันธ์กับความต้องการ นำไปสู่น้ำหนักตัวที่ต่ำอย่างมีนัยสำคัญในบริบทของ อายุ เพศวิถี การพัฒนาการตามวัยและสุขภาพร่างกาย น้ำหนักต่ำอย่างมีนัยสำคัญถูกกำหนดให้เป็นน้ำหนักที่น้อยกว่าปกติเล็กน้อยหรือสำหรับเด็กและวัยรุ่นน้อยกว่าที่คาดไว้เล็กน้อย
B. ความกลัวที่เพิ่มขึ้นของการเพิ่มน้ำหนักหรือกลายเป็นไขมันหรือพฤติกรรมถาวรที่รบกวนการเพิ่มน้ำหนักแม้ว่าจะมีน้ำหนักต่ำอย่างมีนัยสำคัญ
C. การรบกวนในลักษณะที่น้ำหนักหรือรูปร่างของร่างกายเป็นประสบการณ์มีอิทธิพลต่อน้ำหนักตัวหรือรูปร่างที่ไม่เหมาะสมต่อการประเมินตนเองหรือการขาดการรับรู้ถึงความร้ายแรงของน้ำหนักตัวต่ำในปัจจุบัน
ชนิด
Binge eating/purging type: ในช่วงที่เป็น Anorexia Nervosa บุคคลผู้นั้นจะมีพฤติกรรมการรับประทานครั้งละมากๆ หรือขับอาหารออกจากร่างกาย (binge eating or purging behavior)
Restricting type : ในช่วงที่เป็น Anorexia Nervosa บุคคลผู้นั้นไม่มีการรับประทานครั้งละมากๆ หรือมีการขับอาหารออกจากร่างกาย
Purging type: ในช่วงที่เป็น Bulimia Nervosa บุคคลผู้นั้นจะทำให้ตนเองอาเจียน ใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ยาสวนถ่าย
Nonpurging type : ในช่วงที่เป็น Bulimia Nervosa บุคคลผู้นั้นจะมีพฤติกรรมเพื่อชดเชยการกินมากที่ไม่เหมาะสม เช่น การอดอาหาร หรือออกกำลังกายอย่างหักโหม แต่ไม่มีการทำให้ตนเองอาเจียน ใช้ยาระบาย ยาขับปัสสาวะ ยาสวนถ่าย
โรคแทรกซ้อน
เนื่องจากผลของการอดอาหาร และการทำให้อาเจียน ผู้ที่มีความผิดปกติทางการกิน อาจเกิดโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือช้าลง ไตทำงานผิดปกติ เม็ดโลหิตและเกร็ดเลือดลดน้อยลง กล้ามเนื้อกระเพาะและลำไส้อ่อนแอลง กระดูกบาง กระดูกหักได้ง่าย ผิวหนังจะแห้ง มีขนอ่อนขึ้นตามตัวและใบหน้า ผมร่วง และในรายที่การอาเจียนบ่อยๆจะทำให้ต่อมน้ำลายบวม และเคลือบฟันบาง ฟันผุกร่อนได้ง่าย
การบำบัดรักษา
การรักษาด้วยยา (Psychopharmacology) ยารักษาอาการเศร้า ชนิด Tricyclics และ SSRIs ใช้ได้ดีทั้งผู้ป่วยที่มีหรือไม่มีอาการซึมเศร้า
. การรักษาด้วยสิ่งแวดล้อม (Milieu therapy) สิ่งแวดล้อมต้องคำนึงถึงความปลอดภัย สนับสนุนให้ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมบำบัด
จิตบำบัด (Psychotherapy) มุ่งให้ผู้ป่วยรู้ถึงความสัมพันธ์ทางจิตใจกับปัญหาการกินที่ผิดปกติ
ครอบครัวบำบัด (Family therapy) ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพที่ดี มีการส่งเสริมให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และร่วมกันวางแผนการดำเนินชีวิตที่เหมาะสมในครอบครัว
พฤติกรรมบำบัด (Behavior therapy) เป็นการปรับพฤติกรรมการกินอาหารของผู้ป่วยให้เป็นไปตามปกติ ให้ผู้ป่วยรับรู้ความก้าวหน้าของการเพิ่มของน้ำหนักตัว และสภาพความแข็งแรงของร่างกาย ตลอดจนการให้แรงเสริมทางบวกเมื่อผู้ป่วยกินอาหารได้อย่างเหมาะสม เพื่อเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง