Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพ personality disorder…
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางด้านบุคลิกภาพ personality disorder
คำจำกัดความ
หมายถึง แบบแผนของพฤติกรรมและการดำเนินชีวิต ที่เบี่ยงเบนไปจากวัฒนธรรมของบุคคลนั้นๆ และเป็นไปอย่างถาวร (APA, 2000 อ้างใน Mohr, 2006.)
สาเหตุ (Etiology)
Biological factors - Genetic / familial factors
พบความผิดปกติได้สูงในญาติสายตรง
พบได้สูงในฝาแฝดเหมือน (Monozygotic twins)
Neurotransmitter dysregulation
บางการศึกษาพบว่า serotonin มีระดับต่ำในผู้ที่มีพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย
พบระดับของ dopamine เพิ่มขึ้นในผู้ที่มีความผิดปกติของความคิด และ การรับรู้
Psychosocial / Environment stressors
เข้มงวด / ลงโทษ
ปล่อยตามใจ
ทอดทิ้ง / ทารุณกรรม
ความสัมพันธ์พ่อ-แม่-ลูกไม่ดี
ชนิดของความผิดปกติ ตาม DSM-V
Cluster A มีพฤติกรรมแบบแปลกประหลาด (Eccentric)
A1 บุคลิกหวาดระแวง (Paranoid personality disorder)
เกณฑ์การวินิจฉัยจะต้องมีอย่างน้อย4อาการ
1.หวาดระแวงว่าผู้อื่นจะทำร้ายหรือหลอกลวง
2.หมกมุ่นครุ่นคิดว่าเพื่อนหรือผู้ร่วมงานไม่ซื่อสัตย์
3.ไม่ไว้ใจผู้อื่น
4.แปลเจตนาผู้อื่นในทางร้าย
5.มีความเคืองแค้นฝังแน่นในใจ
6.มีความรู้สึกว่าผู้อื่นจะมาทำร้ายหรือทำลายชื่อเสียง
7.มีความระแวงว่าคู่ครองจะนอกใจ
A2 บุคลิกจิตเภท (Schizoid personality disorder)
เกณฑ์การวินิจฉัยจะต้องมีอย่างน้อย4อาการ
1.หลีกเลี่ยงการมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น
ชอบทำงานตามลำพังคนเดียว
ไม่ชอบการมีเพศสัมพันธ์
มีกิจกรรมที่ให้ความสุขน้อยมาก
ไม่มีเพื่อนสนิท
กดเก็บความรู้สึกไม่ค่อยแสดงออก
มีอารมณ์เย็นชา
A3 บุคลิกแยกตัว เพี้ยน Schizotypal personality disorder
เกณฑ์การวินิจฉัยจะต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อย่าง
คิดว่าผู้อื่นพูดถึงหรือนินทาเรื่องของตน
มีความคิดแปลก ๆ เช่น ตาทิพย์หูทิพย์
มีการแปลสิ่งเร้าผิด (illusion)
มีการพูดที่แปลก ๆฟังไม่เข้าใจ
มีความหวาดระแวงสงสัย
ไม่ค่อยแสดงอารมณ์
มีพฤติกรรมแปลกๆ
ไม่มีเพื่อนสนิท
มีความกังวลอย่างมากเมื่ออยู่กับคนแปลกหน้า
Cluster B มีการแสดงออกทางอารมณ์ผิดปกติ หรือเหมือนแสดงละคร (Dramatic - emotional)
B1บุคลิกต่อต้านสังคม (Antisocial personality disorder)
วินิจฉัยจะต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อย่างขึ้นไป
1.ไม่เคารพกฏระเบียบของสังคม
2.พฤติกรรมหลอกลวง
3.หุนหันพลันแล่น
4.มีอารมณ์หงุดหงิดและก้าวร้าว
5.ไม่ให้ความสนใจต่อตนเองและผู้อื่น
6.ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน
7.ไม่รู้สึกเสียใจต่อความผิดที่ได้กระทำลงไป
B2 อาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder_BPD)
วินิจฉัยจะต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อย่างขึ้นไป
1.พยายามหลีกเลี่ยงการถูกทอดทิ้ง
2.มีมนุษยสัมพันธ์ไม่ดีอย่างมาก
3.มีความสับสนเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของตน
4.มีอาการขาดการควบคุมอารมณ์
5.มีความคิดหรือพฤติกรรมซึ่งแสดงว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่บ่อยๆ
6.อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
7.มีความรู้สึกเงียบเหงาอยู่เสมอ
8.มีอารมณ์หงุดหงิดโกรธง่ายอยู่เป็นประจำ
9.มีความคิดหวาดระแวงหรืออาการดีสโซซิเอชั่นเมื่อมีความเครียด
B3 บุคลิกเรียกร้องความสนใจ (Histrionic personality disorder)
วินิจฉัยจะต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อย่างขึ้นไป
1.รู้สึกอึดอัดเวลาที่ไม่ได้เป็นจุดสนใจ
2.ยั่วยวนทางเพศเกินควรหรือมีพฤติกรรมกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
3.อารมณ์ที่แสดงออกเปลี่ยนแปลงเร็วและไม่ลึกซึ้ง
4.มีการใช้รูปร่างหน้าตาเพื่อดึงดูดให้ผู้อื่นหันมาสนใจตนเองอยู่เสมอๆ
5.ลักษณะการพูดจะเน้นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกมากเกิน และไม่มีเนื้อหาสาระ
6.การแสดงออกเหมือนเล่นละคร แสดงสีหน้าท่าทางมาก และมีการแสดงออกของอารมณ์มากเกินไป
7.ถูกชักจูงง่าย กล่าวคือ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้อื่นหรือสถานการณ์ต่างๆ ได้ง่าย
8.เห็นความสัมพันธ์ที่มีกับผู้อื่นเป็นแบบใกล้ชิดกว่าที่เป็นจริง
B4 บุคลิกหลงตัวเอง (Narcissistic personality disorder)
วินิจฉัยจะต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อย่างขึ้นไป
มีความคิดว่าตนเองเป็นคนสำคัญเหนือคนอื่น
หมุ่นกับความสำเร็จ ความฉลาดหลักแหลม ความสวยงามของตนเอง
มีความเชื่อว่าตนเองควรจะอยู่ในกลุ่มคนที่มีสถานภาพทางสังคมสูง หรือตำแหน่งใหญ่โต
ต้องการการยกย่องชมเชยจากผู้อื่นอย่างมาก
คิดว่าตัวเองเป็นผู้มีสิทธิพิเศษกว่าคนอื่น
เห็นแก่ตัวและเอาเปรียบ โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น
ขาดความเข้าในและเห็นใจ ไม่รับรู้ความต้องการของผู้อื่น
มีความคิดว่าผู้อื่นอิจฉาตนเอง
หยิ่งยโส รสนิยมสูง
Cluster C มีความหวาดกลัวหรือความวิตกกังวลอย่างสูง (Fearful – anxious)
C1 บุคลิกหลีกเลี่ยง (Avoidant personality disorder)
วินิจฉัยจะต้องมีอาการอย่างน้อย 4 อย่างขึ้นไป
1 หลีกเลี่ยงการเข้าสังคมหรือการทำงานร่วมกับผู้อื่น เนื่องจากกลัวผู้อื่นปฏิเสธ ทั้ง ๆ ที่ตัวเองต้องการเพื่อน
2 ไม่ยอมร่วมกิจกรรมกับผู้อื่น นอกจากคนในกลุ่มที่คุ้นเคย
3 มีข้อจำกัดในเรื่องการสร้างความสัมพันธ์
4 หมกมุ่นกับความคิดที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ หรือถูกปฏิเสธ
5 รู้สึกว่าตนเองไม่มีความสามารถ ไม่สามารถเรียนรู้กิจกรรมใหม่ ๆ ได้
6 มองว่าตนเองเข้าสังคมไม่เป็น บุคลิกไม่ดี และมีข้อด้อยมากกว่าข้อดี
7 มีความลังเลในเรื่องที่จะต้องเสี่ยง หรือการทำกิจกรรมกับผู้อื่น
C2บุคลิกต้องพึ่งพา(Dependent personality disorder)
วินิจฉัยจะต้องมีอาการอย่างน้อย 5 อย่างขึ้นไป
1.ต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ
ให้ผู้อื่นตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องสำคัญๆ
ไม่กล้าที่จะไม่เห็นด้วยกับผู้อื่น
4.หลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องตัดสินใจ
ยอมรับผู้อื่นแทบทุกเรื่อง
รู้สึกไม่สบายใจอย่างมากถ้าต้องอยู่ตามลำพัง
รีบหาสัมพันธภาพใหม่เมื่อความสัมพันธ์ที่มีอยู่เดิมสิ้นสุดลง
ครุ่นคิดและกังวลว่าตนจะถูกทอดทิ้ง
C3 บุคลิกครอบงำ (Obsessive-compulsive personality disorder)
วินิจฉัยจะต้องมีอาการอย่างน้อย 4 อย่างขึ้นไป
เป็นคนเจ้าระเบียบละเอียดถี่ถ้วน
ถือตามกฏเกณฑ์อย่างเคร่งคัด
ทำงานจริงจังพักผ่อนไม่เป็นและทะเยอทะยาน
มีคุณธรรมสูง
มักจะเก็บของต่างๆไว้แม้เป็นของไม่มีค่า
ไม่ยอมมอบหน้าที่ของตนให้ผู้อื่นทำแทนเพราะไม่ไว้ใจ
เป็นคนตระหนี่ใจคอคับแคบ
ไม่ยึดหยุ่นผ่อนปรนและดื้อรั้น
การบำบัดรักษา
การรักษาด้วยยา (Psychopharmacology)
จิตบำบัด (Psychotherapy)
พฤติกรรมบำบัด (Behavioral therapy)
นิเวศบำบัด (Milieu therapy)
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
แบบแผนการนอนหลับเปลี่ยนแปลง
บกพร่องในการสื่อสารด้วยวาจา
การนับถือคุณค่าในตนเองต่ำ
วิตกกังวล
การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมบกพร่อง
เสี่ยงต่อการกระทำที่รุนแรงหรือทำร้ายบุคคลอื่น
การแสดงแบบแผนทางเพศไม่มีประสิทธิภาพ
การปฏิบัติทางการพยาบาล
การให้เรียนรู้ จากแบบอย่างของพฤติกรรมที่กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม (Assertive behavior)
แนะแนวทางให้พัฒนา การแสดงความคิดเห็นต่อผู้อื่นด้วยวิธีการที่เป็นที่ยอมรับได้ในสังคม
ส่งเสริมทักษะที่จำเป็นทางสังคม เช่น วางแผนการใช้จ่าย การทำอาหาร วิธีแสวงหาความรู้และประสบการณ์ทางสังคม เป็นต้น
ส่งเสริมให้ เลือกหาและทดลองใช้เทคนิคการแก้ปัญหา ที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา
แนะนำเทคนิคการคลายเครียดต่างๆ แล้วให้ผู้ป่วยเลือกวิธีที่เหมาะสมสำหรับตนเอง
ฝึกหรือจัดให้แสดงบทบาทสมมุติ (role-play) เกี่ยวกับทักษะที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิต
การประเมินผล
ปฏิบัติร่วมกลุ่มกิจกรรมบำบัดตามแผนการรักษา
แสดงความรู้สึกของตนเองอย่างเปิดเผยและจริงใจ
บอกคุณค่าของตนเองได้
บอกว่าไม่มีความคิดทำร้ายตนเอง
เลือกใช้วิธีการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม
ควบคุมพฤติกรรมหุนหันวู่วามได้
ไม่ทำลายข้าวของและไม่ทำร้ายผู้อื่น
นางสาวกัญญารัตน์ อุปพงษ์
นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 รุ่นที่24 ห้องฺB เลขที่ 5