Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ (การประเมินภาวะสุขภาพ…
การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ
ตาม DSM-V จำแนก เป็น 3 กลุ่ม
1. Sexual dysfunctions
การวินิจฉัย
1.มีอาการติดต่อกันนาน6เดือนขึ้นไป
2.อาการต้องเกิดเป็นส่วนใหญ่(ร้อยละ75-00)ในกิจกรรมทางเพศของบุคคลนั้น
3.ไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางกาย ไม่ได้เป็นผลของสารเสพติดหรือยา ไม่ได้เป็นอาการแสดงของโรคจิตเวชอื่น
การรักษา
1.การรักษาด้วยยา ในกรณีของความผิดปกติของการแข็งตัวขององคชาต ยาในกลุ่ม phosphodiesterase-5 inhibitor ได้แก่ verdanafil,tadalafil เป็นยาหลัก
2.พฤติกรรมบำบัด assertive training เพื่อช่วยฝึกให้ผู้ป่วยบอกความต้องการในเรื่องเพศได้อย่างเหมาะสม
2.Gender dysphoria
การวินิจฉัย
1.ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองเป็นอีกเพศหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับเพศที่ถูกกำหนดมาแต่กำเนิด โดยมีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า6เดือน
2.ภาวะในข้อ1ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ใจอย่างมากหรือส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตด้านต่างๆ
การรักษา
1.หากตรวจพบโรคทางกายหรือความผิดปกติของพัฒนาการต้องส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
2.ส่งเสริมพัฒนาการทางเพศตามปกติ
3.กรณีเป็นผู้ที่มีภาวะรักร่วมเพศที่ผ่านขั้นตอนตามข้อ1-2แล้ว ให้ความรู้ความเข้าใจ การปรับตัว การแสดงออกในสังคม การทำความเข้าใจตนเอง
4.หลังจากรักษาเบื้องต้นทางจิตใจและสังคมแล้ว ผู้ป่วยยังคงต้องการแปลงเพศ จิตแพทย์จะให้ความรู้เรื่องโรคและการแปลงเพศ ให้คำปรึกษาผู้ป่วยและครอบครัว
3. Paraphilic disorders
กลุ่ม anomalous activity preference
Voyeuristic disorder
Exhibitionistic disorder
Sexual Masochism disorder
Sexual Sadism disorder
กลุ่มanomalous target preference
Pedophilic disorder
Fetishistic disorder
Transvestic disorder
การรักษา
1.การใช้ยา ใช้หลักการลดระดับ testosterone เพื่อลดกิจกรรมทางเพศ เรียกว่า chemical castration
2.การรักษาด้วยจิตบำบัด
3.พฤติกรรมบำบัด ใช้หลักการของpositive and negative reinforcements
4.กลุ่มบำบัด
การประเมินภาวะสุขภาพ
แบบแผนการรับรู้สุขภาพและการดูแลสุขภาพ (Health perception-health management pattern)
แบบแผนโภชนาการและการเผาผลาญสารอาหาร (Nutritional-metabolic pattern)
แบบแผนการขับถ่าย (Elimination pattern)
แบบแผนการทำกิจกรรมและการออกกำลังกาย (Activity-exercise pattern)
แบบแผนการพักผ่อนและการนอนหลับ (Sleep-rest pattern)
แบบแผนการรู้คิด การรับรู้ และการสื่อสาร (Cognitive-perceptual-communication pattern)
แบบแผนการรับรู้ตนเอง อัตมโนทัศน์ และสภาพอารมณ์ (Self perception - self concept – emotional status pattern)
แบบแผนบทบาทและสัมพันธภาพ (Role-relationship pattern)
แบบแผนทางเพศและการเจริญพันธ์ (Sexuality-reproductive pattern)
แบบแผนความเครียด ความทนต่อความเครียด และการจัดการกับความเครียด (Coping-stress-tolerance pattern)
แบบแผนคุณค่า ความเชื่อ และสุขภาวะทางจิตวิญญาณ (Value-belief-spiritual pattern)
การปฏิบัติทางการพยาบาล
ก่อนการเริ่มกิจกรรมพยาบาลพยาบาลไม่เพียงต้องมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้องแต่สิ่งสำคัญต้องมีเจตคติที่ดีในเรื่องเพศ
สร้างสัมพันธภาพด้วยท่าทีที่ยอมรับ เข้าใจ และพร้อมที่จะรับฟังผู้ป่วย ไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอาย
ให้ความสำคัญกับปัญหาปัจจุบันของผู้ป่วยก่อน
แนะแนวทางให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลในเรื่องเพศศึกษาอย่างถูกวิธี
ให้ความรู้ผู้ป่วยเกี่ยวกับความผิดปกติทางเพศ ถึงสาเหตุ อาการและการบำบัดรักษาตลอดจนวิธีการประเมินความแปรปรวน ทั้งทางร่างกายและจิตใจที่เกิดขึ้น
แนะนำผู้ป่วยให้รู้จักการสื่อสารอย่างเหมาะสมและให้โอกาสผู้ป่วยได้ฝึกทักษะการมีสัมพันธภาพ โดยสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวย ให้กำลังใจและให้แรงเสริม
ช่วยผู้ป่วยประเมินความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับความกลัว ความวิตกกังวล หรือการเกิดภาวะซึมเศร้า ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปัญหาทางเพศ
ช่วยเสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยที่สัมพันธ์กับเรื่องเพศ