Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดทฤษฏีความสูงอายุ (1.ทฤษฎีทางชีววิทยา ประกอบด้วย 9 ทฤษฎี…
แนวคิดทฤษฏีความสูงอายุ
แนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้สูงอายุ
ภาวะผู้สูงอายุไว้ดังนี้ภาวะผู้สูงอายุ (aging) เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมทั่ว ๆ ไปเมื่อสมาชิกของสังคมที่มีอายุมากขึ้น
1.ทฤษฎีทางชีววิทยา ประกอบด้วย 9 ทฤษฎี
ทฤษฎีว่าด้วยคอลลาเจน (Collagen Theory)
เชื่อว่า เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ สารที่เป็นส่วนประกอบของคอลลาเจนและไฟบรัสโปรตีนจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและเกิดการจับตัวกันมากทำให้เส้นใยหดสั้นเข้าปรากฏรอยย่นมากขึ้นถ้าอยู่ตรงข้อ ต่อจะมองเห็นปุ่มกระดูกชัดเจน
ทฤษฏีว่าด้วยภูมิคุ้มกัน (Immunological Theory)
เชื่อว่าอายุมากขึ้นร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันน้อยลง พร้อมกับสร้างภูมิเพื่อทำลายตัวเอง ทำให้เซลล์ของร่างกายถูกทำลาย เช่น สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจ
ทฤษฎีว่าด้วยยีน (Genetic Theory)
เชื่อว่าการสูงอายุนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างอวัยวะบางส่วนของร่างกาย เช่น ศรีษะล้าน ผมงอกเร็ว
ทฤษฎีว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงและความผิดพลาดของเซลล์ร่างกาย (Somatic Mutation and Error Theories)
การได้รับรังสีเล็กน้อยเป็นประจำ หรือได้รับขนาดสูงทันทีจะมีผลทำให้เซลล์ชีวิตสั้นลง สำหรับทฤษฎีความผิดพลาด เชื่อว่าเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลง โครงสร้าง DNA ทำให้เกิดเป็นมะเร็ง
ทฤษฎีว่าด้วยการเสื่อมและถดถอย (Wear and Tear Theory)
ยิ่งใช้งานอวัยวะส่วนใดมาก ก็จะทำให้อวัยวะส่วนนั้นนเสื่อมเร็วขึ้น
ทฤษฎีว่าด้วยการดูดซึมบกพร่อง (Deprivation Theory)
เชื่อว่าเมื่ออายุมากขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ทำให้การดูดซึมและการนำส่งออกชิเจนลดลง
ทฤษฎีการสะสม (Accumulation Theory)
เกิดจากการสะสมของ lipofuscin (มีส่วนประกอบของ ไขมัน โปรตีน) เมื่ออายุมากขึ้นผิดหนังจะเป็นจุด age pigment หรือ รงควัตถุ ทำให้เนื้อเยื่อขาดออกชิเจน พบมากในเนื้อเยื่อตับ
ทฤษฎีสารอนุมูลอิสระที่เกิดจากการเผาผลาญ (Free radical Theory)
การหายใจรับอนุมูลอิสระเขาไปเกิด Supperoside radical oxygen เกิดการทำลายของเซล์
ทฤษฎีความเครียดและการปรับตัว (Stress Adaptation Theory)
เชื่อว่าความเคียดที่เกิดขึ้นสามารถทำลายเซลล์
2.ทฤษฎีทางจิตวิทยา (Psychoanalytic Theory) ประกอบด้วย2 ทฤษฎี
ทฤษฎีบุคลิกภาพ (Personality Theory)
การทีผู้สูงอายุจะมีความสุข หรือมีความทุกข์ ขึ้นอยู่กับภูมิหลัง และการพัฒนาจิตของผู้นั้น
ทฤษฎีความปราดเปรื่อง (Intelligence Theory)
เชื่อว่าผู้สูงอายุยังมีความปราดเปื่องและยังคงความเป็นปราชญ์
ทฤษฎีสังคมวิทยา ประกอบด้วย5 ทฤษฎี
ทฤษฎีบทบาท (Role Theory)
เชื่อว่าการปรับตัวเป็นผู้สูงอายุน่าจะเกี่ยวกับทฤษฏีบทบาท คือ บุคคลนั้นจะรับบทบาทที่ต่างไปตลอดช่วงชีวิต
ทฤษฎีกิจกรรม (Activity Theory)
ผู้สูงอายุที่มีการทำกิจกรรมหลังจากเกษียณอายุแล้วและทำกิจกรรมที่แตกต่างจากงานที่เคยทำ เช่น มีอาชีพครูหลังเกษียณไปทำกิจการขายของ
ทฤษฎีการแยกตนเอง (Disengagement Theory)
เชื่อว่าผู้สูงอายุที่ไม่เกี่ยวข้องกับสังคม เป็นเพาะการถอนสถานภาพบทบาทของตนเอง
ทฤษฎีความต่อเนื่อง (Continuity Theory)
ผู้สูงอายุที่มีการทำกิจกรรมและแสวงหาบทบาททางสังคมและทำแบบเดิมที่ตนเคยทำมาก่อน เช่น ครูหลังเกษียณ ก็ยังไปสอนเด็กๆที่โรงเรียนวัด
ทฤษฎีระดับชั้นอายุ(Age Stratification Theory)
อายุเป็นหลักเกณฑ์ในการเปลี่ยนแปลงบทบาทตามช่วงอายุ