Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ลักษณะทั่วไปของลายมือชื่อดิจิตอล,…
กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
ความหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
คือ ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ติดมากับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อระบุถึงตัวบุคคลผู้เป็นเของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือแสดงตนเป็นเจ้าของของข้อความและรวมถึงการยอมรับในข้อความหรือข้อมูลในเล็กทรอนิกส์ด้วย
ลักษณะทั่วไปของลายมือชื่อดิจิตอล
กุญแจส่วนตัว
ผู้เป็นเจ้าของจะเป็นเพียงผู้เดียวที่รู้ว่ากุญแจของตนมีลักษณะเป็นอย่างไร และต้องเก็บรักษาไว้เป็นความลับ ไม่ควรให้ผู้อื่นล่วงรู้ สามารถสร้างขึ้นมาเองหรือให้ผู้ประกอบการรับรอง (Certificate Authority) เป็นผู้สร้างให้
กุญแจสาธารณะ
จะต้องเปิดเผยให้บุคคลทั่วไปสามารถตรวจสอบและรู้ได้โดยปกติ ไม่จำเป็นต้องเก็บเป็นความลับ มักจะประกาศอยู่ในระบบเก็บรักษาข้อมูลของผู้ประกอบการเกี่ยวกับลายมือชื่อดิจิตอล
การสร้างกุญแจคู่
ประกอบด้วย กุญแจส่วนตัว (Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public Key) ในระบบรหัสแบบอสมมาตร (Asymmetric Cryptosystem)
อยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์เรียงกัน โดยทั่วไปจะไม่แสดงความหมายให้มนุษย์เข้าใจได้
ต้องอาศัยซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในการสร้าง
หน้าตาของลายมือชื่อดิจิตอล ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ คือกุญแจส่วนตัวที่ใช้ในการสร้าง วิธีการสร้าง ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ส่งสาร
แหล่งกำเนิดข่าวสาร
ผู้รับสาร
จุดหมายปลายทางข่าวสาร
สาร
ซึ่งในปัจจุบันมักพบเห็นในรูปของสื่อประสม ที่อาจมีทั้งลักษณะที่เป็นข้อความตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว
สื่อกลาง
สื่อกลางหรือตัวกลางที่ทำหน้าที่ ส่งผ่านของข้อมูล ข่าวสาร จากฝั่งผู้ส่งไปยังผู้รับ
โปรโตคอล
กฎระเบียบมาตรฐาน หรือข้อกำหนด ขั้นตอน ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถสื่อการกันได้เข้าใจ ซอฟต์แวร์ หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เช่น โปรแกรมรับส่งอีเมล์
ชนิดของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
สัญญาณแบบอนาล็อก (Analog signal)
จะเป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องที่ทุกๆค่าที่เปลี่ยนแปลงไป ของระดับสัญญาณจะมีความหมาย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น
สัญญาณแบบดิจิทัล
จะประกอบขึ้นจากระดับสัญญาณเพียง 2 ค่า คือ สัญญาณ ระดับสูงสุด และสัญญาณระดับต่ำสุด ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบอนาล็อก เนื่องจากมีการใช้งานค่าสองค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on / off หรือ 0 / 1 เท่านั้น ซึ่งเป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน
กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
กำหนดเกี่ยวกับลายมือชื่อที่เชื่อถือได้ ซึ่งเมื่อใช้งานจะสามารถยืนยันตัวบุคคลได้อย่างแน่นอน และสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับธุรกรรมที่ทำได้ด้วย(มาตรา 26)และได้มีการกำหนดหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ไว้สามบุคคลด้วยกัน กล่าวคือ หน้าที่ของเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 27) หน้าที่ของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา ๒๘ – มาตรา ๒๙)และหน้าที่ของคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง (มาตรา ๓๐)ส่วนมาตรา ๓๑ กำหนดเกี่ยวกับผลทางกฎหมายของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ต่างประเทศ
ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
กำหนดว่า ธุรกิจบริการใดที่ประกอบการหรือให้บริการแล้ว หากส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ หรือเพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความเชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชน ก็อาจมีการตราพระราชกฤษฎีกากำกับดูแลธุรกิจบริการดังกล่าว โดยอาจแยกระดับการกำกับดูแลเป็นสามระดับ กล่าวคือ แจ้งให้ทราบ,ขึ้นทะเบียน,และรับอนุญาต โดยผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามก็ให้มีการลงโทษปรับทางปกครอง
หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง
คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ทำหน้าที่ติดตามดูแลการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544
ศุลกากร
การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ในส่วนของศุลกากรไม่ว่าจะยื่นเอกสารหรือดำเนินการใดๆ ที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากร สามารถทำได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุดราชการ
สำนักงานธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์กรมหาชน)
เป็นหน่วยงานรับรองสิ่งพิมพ์ออก เพื่อให้สิ่งพิมพ์ออกสามารถใช้อ้างอิงแทนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลใช้แทนต้นฉบับได้ ซึ่งหน่วยงานรับรองสิ่งพิมพ์ออกนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นหน่วยงานของรัฐแต่เพียงอย่างเดียว หากห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใดมีความประสงค์จะเป็นให้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์