Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ((หลักการสำคัญของ UNCITRAL Model Law on…
กฎหมายพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์
หลักการสำคัญของ UNCITRAL Model Law on Electronic Commerce (1996)
คือ กฎหมายเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศของไทย มีสาระสำคัญ
กฎหมายแม่แบบว่าด้วยการพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Model Law on Electronic Commerce)ผ่านการยกร่างและพิจารณาร่วมกันของบรรดาประเทศสมาชิกของ สหประชาชาติ แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2539 Model Law on Electronic Commerce นี้เป็นกฎหมายแม่แบบที่มุ่งขจัดข้อขัดข้องทางกฎหมายและสร้างความมั่นใจในการพัฒนาการพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์และเป็นตัวอย่างให้กับประเทศต่างๆนำไปออกหรือปรับปรุงกฎหมายของตนให้สอดคล้องกับหลักการและบทบัญญัติของกฎหมายแม่แบบ กฎหมายแม่แบบนี้มีเนื้อหาสาระในการตั้งกฎเกณฑ์ยอมรับสถานภาพของสัญญาที่เกิดขึ้นโดยผ่านสื่อ ทางอิเล็กทรอนิกส์ การยอมรับข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้มีค่าทางกฎหมายเทียบเท่ากับเอกสารลายลักษณ์อักษร (Writing) หรือถือเป็นเอกสารต้นฉบับ (Original) และการยอมรับให้ลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ตลอดจนให้มีการรับฟังข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณา คดีของศาลได้
กฎหมายพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง
กิจกรรมใด ๆ ที่กระทำขึ้นระหว่างหน่วยธุรกิจ บุคคล รัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การค้า และการติดต่องานราชการ โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ยกตัวอย่าง เช่น การซื้อ-ขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, การสมัครสมาชิกผ่านระบบออนไลน์, การตกลงทำสัญญาซื้อ-ขาย หรือสัญญาตกลงตามข้อบังคับต่างๆ บนเครือข่าย, การโอนเงินด้วยระบบอัตโนมัติผ่านระบบเครือข่าย, การสื่อสารรับ-ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยเครือข่ายการสื่อสาร และการสอบถามข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คืออะไรสามารถใช้แทนลายมือชื่อในสัญญาได้หรือไม่ ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
คำว่า “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” ตามพระราชบัญญัติ นี้หมายถึง“ อักษร อักขระ ตัวเลขเสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นและเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับใน
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ” (มาตรา 4)
จากความหมายข้างต้นสามารถสรุปลักษณะของ “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์”ตามกฎหมายฉบับนี้ ได้ดังนี้
เป็นอักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดในรูปของอิเล็กทรอนิกส์มีความหมายต่างจากลายมือชื่อตามกฎหมายเดิมคือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 9
วัตถุประสงค์หรือหน้าที่ของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์คือเพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นและเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นแม้ว่าจะมีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ข้างต้นก็ตาม แต่ลายมือชื่อฯ ที่จะถือเป็นลายมือชื่อที่มีผลทางกฎหมาย จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขสำคัญ 2 ประการ (มาตรา 9) คือ
(1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อและสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน
(2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี ”ลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้มีมาตราที่เกี่ยวข้องคือมาตรา 25, มาตรา 26 และมาตรา 29คู่กรณีที่เกี่ยวข้องยังสามารถใช้วิธีการใดๆที่เข้าลักษณะและเงื่อนไขของกฎหมายได้ แม้ว่ากฎหมายจะกำหนดลักษณะของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือได้แต่ก็ไม่ควรจำกัดการใช้เทคโนโลยีใดโดยเฉพาะตามหลักการเรื่อง ‘Technology Neutrality’ คือการไม่ถือเอาเทคโนโลยีหนึ่งเทคโนโลยีใดเป็นเกณฑ์พิจารณาความน่าเชื่อถือว่าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งบทบัญญัติมาตรา 26 ก็หาได้ระบุจำกัดวิธีการหนึ่งวิธีการใดไว้ไม่
สาระสำคัญของ พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีอะไรบ้าง
เหตุผลในการประกาศใช้ “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2544” คือเพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมหรือสัญญาให้มีผลเช่นเดียวกับการทำสัญญาตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายปัจจุบัน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) กำหนดไว้ ได้แก่
การทำเป็นหนังสือ หลักฐานเป็นหนังสือ การลงลายมือชื่อกล่าวคือถ้ามีการทำสัญญาระหว่างบุคคลที่ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามความหมายของกฎหมายแล้ว กฎหมายนี้ถือว่าการทำสัญญานั้นได้ทำตามหลักเกณฑ์ข้างต้นของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วเป็นผลทำให้สัญญานั้นมีผลสมบูรณ์หรือใช้บังคับได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กำหนด สรุปเนื้อหาโดยย่อ ดังนี้
หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์(มาตรา 26 - 31)
หมวด 3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(มาตรา 32 - มาตรา 34)
หมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ(มาตรา 35)
หมวด 5 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 36 - 43)
หมวด 6 บทกำหนดโทษ (มาตรา 44 - 46)
หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 7 - 25) การรับรองรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการรับ การส่งผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถใช้เป็นหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือ (มาตรา 8)การยอมรับผลทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์) ให้ถือว่าเป็นการลงลายมือชื่อตามกฎหมายหากใช้วิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (มาตรา 9)การนำเสนอและเก็บรักษาข้อความที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อย่างต้นฉบับเอกสาร (มาตรา 10, 12)
การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งเป็นกี่ประเภท
การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัตินี้
แบ่งได้ 3ประเภท คือ
การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องขึ้นทะเบียน
การประกอบธุรกิจประเภทที่ต้องได้รับใบอนุญาต
ผู้ให้บริการออกใบรับรอง (Certification Authority – CA) สำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่อย่างไรตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
ผู้ที่ต้องการประกอบธุรกิจการให้บริการออกใบรับรองสำหรับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ต้องดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาข้างต้น และมีหน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายบัญญัติไว้ใน มาตรา 28 ดังนี้ หน้าที่ปฏิบัติตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติของผู้ให้บริการที่แสดงไว้(เนื่องจากผู้ให้บริการออกใบรับรองฯจะต้องมีการออกแนวนโยบายและแนวปฏิบัติว่าด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตัวอย่างเช่น ‘Certification Practices Statement (CPS) หรือเอกสารใดๆทำนองเดียวกัน)หน้าที่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรเกี่ยวกับความถูกต้องและความสมบูรณ์ของใบรับรองอายุใบรับรอง เป็นต้น หน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบเนื้อหาหรือสาระสำคัญของใบรับรอง เกี่ยวกับการระบุผู้ให้บริการออกใบรับรอง, เจ้าของลายมือชื่อที่ระบุไว้ในใบรับรองและข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ได้ในขณะหรือก่อนที่มีการออกใบรับรองหน้าที่กำหนดวิธีการให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจดูใบรับรองได้เพื่อตรวจสอบวิธีการที่ใช้ในการระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ, วัตถุประสงค์และคุณค่าที่มีการนำข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับรอง,ขอบเขตความรับผิดของผู้ให้บริการออกใบรับรอง, วิธีการให้เจ้าของลายมือชื่อส่งคำบอกกล่าวเมื่อมีเหตุตามบางประการตามมาตรา 27 (2), บริการเกี่ยวกับการเพิกถอนใบรับรอง เป็นต้น หน้าที่จัดให้มีบริการที่เจ้าของลายมือชื่อสามารถติดต่อกับผู้ให้บริการออกใบรับรองในกรณี ตามมาตรา 27(2) และกรณีการขอเพิกถอนใบรับรองที่ทันการหน้าที่ใช้ระบบ วิธีการและบุคลากรที่เชื่อถือได้ในการให้บริการ ฯลฯ
พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีบทบัญญัติที่ยอมรับผลทางกฎหมายเรื่องการยื่นคำขอ การขออนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมายของประชาชน ที่ต้องการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือไม่
แต่เดิมนั้นการยื่นคำขอการอนุญาต การจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมาย ผู้ร้องขอจะต้องเดินทางมาติดต่อกับหน่วยงานของรัฐด้วยตนเองหรือบางกรณีอาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยมีเอกสารของผู้มอบอำนาจพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้การรับรองให้หน่วยงานของรัฐสามารถรับคำขอ การอนุญาตการจดทะเบียน หรือการดำเนินการใดๆ ของประชาชนทั่วไปหรือผู้ประกอบธุรกิจโดยผู้ยื่นคำร้องหรือคำขอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์กล่าวอีกนัยหนึ่งคือยื่นคำขอในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผลที่สำคัญคือการกระทำข้างต้นนี้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับการกระทำในรูปแบบเดิมกฎหมายยังระบุให้การออกคำสั่งทางปกครอง การประกาศ หรือการดำเนินการใดๆโดยหน่วยงานของรัฐ สามารถกระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ กระนั้นก็ดีพระราชบัญญัตินี้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาจึงจะถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าซื้อสินค้าหรือบริการทางอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ได้รับสินค้าหรือบริการ หรือสินค้าไม่ ถูกต้องหรือชำรุดเสียหาย ผู้ซื้อควรจะทำอย่างไรปัญหาที่ผู้บริโภคมักประสบจากการสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตอาจมีลักษณะเช่นเดียวกันปัญหาที่เกิดขึ้นในการซื้อขายตามปกติ ได้แก่
ผู้ซื้อไม่ได้รับสินค้าหรือให้บริการตามที่ตกลงกัน
สินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับรายการที่สั่งซื้อ
สินค้าที่สั่งซื้อชำรุดเสียหายไม่สามารถใช้การได้
อพึงปฏิบัติ
การแก้ไขหากผู้ซื้อสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ตแต่ไม่ได้รับสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศหรือสินค้าที่ได้รับไม่ตรงกับรายการที่สั่งซื้อ หรือสินค้าที่สั่งซื้อชำรุดเสียหายไม่สามารถใช้การได้แล้วแต่กรณีแต่เดิมนั้นผู้บริโภคที่ใช้บัตรเครดิตอาจไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ต่อมาจึงมีการออก“ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ.2542” (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543)
ซึ่งเป็นกฎหมายที่ออกโดยอาศัยอำนาจของ มาตรา 35 ทวิ แห่ง“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522” เป็นผลทำให้ผู้ถือบัตรเครดิตซึ่งรวมถึงบัตรเดบิตด้วยได้รับความคุ้มครองเมื่อชำระค่าสินค้าค่าบริการทางอินเทอร์เน็ต กล่าวคือ ผู้ซื้อมีสิทธิขอยกเลิกการซื้อสินค้าหรือรับบริการนั้นภายในระยะเวลา 45 วัน นับแต่วันสั่งซื้อ หรือภายใน 30วัน นับแต่วันถึงกำหนดส่งมอบสินค้าหรือบริการเมื่อมีกำหนดเวลาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ผู้บริโภคต้องพิสูจน์ว่าไม่ได้รับสินค้าจริง หรือได้รับไม่ตรงกำหนดเวลาหรือได้รับไม่ครบถ้วน ไม่ถูกต้อง หรือชำรุดบกพร่องแล้วแต่กรณี
ผู้ถือบัตรเครดิตต้องรับผิดชอบหรือไม่ ถ้ามีผู้อื่นนำบัตรไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต และมีข้อพึงปฏิบัติเพื่อป้องกันอย่างไร
ต่อไปนี้เป็น ข้อพึงปฏิบัติของผู้บริโภคเพื่อป้องกันและวิธีแก้ไขปัญหา
ข้อพึงปฏิบัติ
ผู้ซื้อควรเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขายที่น่าเชื่อถือคือ มีรายละเอียดชื่อ ที่อยู่ของผู้ขายสินค้า หรือวิธีที่สามารถติดต่อได้ หากไม่มั่นใจผู้ขายก็ควรหลีกเลี่ยงไปใช้บริการของร้านค้าที่เป็นที่รู้จักการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตทางอินเทอร์เน็ตผู้ถือบัตรไม่ควรให้ข้อมูลบัตรเครดิต เช่น หมายเลขบัตร วัน เดือน ปีที่บัตรหมดอายุหรือข้อมูลส่วนบุคคลแก่ผู้ขายที่ไม่น่าไว้วางใจหรือไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยขณะชำระเงิน (สังเกตจาก https:// หรือเครื่องหมายแม่กุญแจที่ล็อกอยู่)สอบถามหรือตรวจสอบสัญญาหรือเงื่อนไขบัตรชนิดต่างๆกับธนาคารหรือบริษัทที่ออกบัตรเครดิต บัตรเดบิตหรือบัตรที่สามารถชำระเงินทางอินเทอร์เน็ตได้ว่า ผู้ถือบัตรจะได้รับความคุ้มครองในกรณีใดบ้างและมีข้อควรปฏิบัติอย่างไรเมื่อพบรายการผิดปกติใดๆ
หรือเชื่อว่าตนอาจถูกหลอกหรือมีผู้ใช้บัตรเครดิตโดยไม่ได้รับอนุญาตควรรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือธนาคารที่ออกบัตรทราบและทำหนังสือปฏิเสธการใช้บัตรเพื่อระงับรายการนั้นไว้ชั่วคราว ถ้าผลการตรวจสอบพบว่า ผู้ถือบัตรไม่ได้ใช้บัตรจริงธนาคารผู้ออกบัตรจะไม่เรียกเก็บเงิน หรือหากได้ชำระเงินไปแล้วก็จะคืนเงินให้แก่ผู้ถือบัตร จนกว่าจะมีการตรวจสอบข้อมูลของฝ่ายผู้ออกบัตรแล้วทั้งนี้ ผู้บริโภคที่เป็นผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามข้อตกลงระหว่างผู้ออกบัตรและผู้ถือบัตรจะเห็นได้ว่าผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองจากการใช้บัตรเครดิตของบุคคลอื่นทางอินเทอร์เน็ตซึ่งตนไม่ได้ให้ความยินยอม เนื่องจากธนาคารผู้ออกบัตรจะต้องปฏิบัติตาม “ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาพ.ศ. 2542” ที่ประกาศให้การประกอบธุรกิจบัตรเครดิตเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาผู้ออกบัตรจะต้องใช้ข้อสัญญาที่มีเนื้อความตามประกาศ