Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์…
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
รูปแบบการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2) Click-and-Mortar
เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และตัวแทน การส่งมอบ จะมีทั้งโครงสร้างเชิงกายภาพ และดิจิตอลเข้า ด้วยกัน
3) Click-and-Click
เป็นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบดิจิตอลหรือแบบออนไลน์ล้วนๆ หรือ เรียกว่า Pure-Play โดยไม่มีร้านที่ตั้งอยู่จริง ต้องดำเนินการผ่านเว็บไซต์เพียง ช่องทางเดียว
1) Brick-and-Mortar
เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และวิธีการส่งมอบสินค้า ล้วนเป็นการพบปะกันแบบซึ่งหน้า เป็นไปตามโครงสร้างทางกายภาพ
ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C)
เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน การซื้อขายสินค้าด้วยวิธีนี้อาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศขายสินค้ามือสอง หรือการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยหากผู้ซื้อและผู้ขายมีความพอใจในสินค้าทั้งสองฝ่าย ก็จะตกลงซื้อขายกันเอง จากนั้นก็ทำการนัดแนะสถานที่เพื่อชำระเงิน หรือเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า
ผู้บริโภคกับภาคธุรกิจ (C2B)
เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้บริโภคกลับมีสถานะเป็นผู้ค้า และมีบทบาทในการต่อรองเพื่อตั้งราคาสินค้า โดยผู้ประกอบการจะเป็นคนกลางในการนำราคาที่ลูกค้าเสมอ ส่งให้กับผู้ขายพิจารณาว่า สามารถจำหน่ายในราคานี้ได้หรือไม่ ดังนั้นจะพบว่าอีคอมเมิร์ซในรูปแบบ C2B นั้นลูกค้ากับผู้ประกอบการ จะมีบทบาทย้อนศรสลับกัน
2.ภาคธุรกิจกับภาคธุรกิจ (ฺB2B)
เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นได้ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน หรือผู้ผลิตกับผู้ค้าส่ง เป็นต้น การดำเนินธุรกรรมระหว่างภาคธุรกิจอย่าง B2B นั้น จะส่งผลให้เกิดคู่ค้าทางธุรกิจที่สามารถสร้างสัมพันธ์อันดีร่วมกันได้เป็นอย่างดีเนื่องจากธุรกิจในยุคปัจจุบันจะเติบโตได้ ต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ภาคธุรกิจกับพนักงาน (B2E)
เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นโดยนำมาใช้สำหรับแลกเปลี่ยนข่าวสารและสารสนเทศภายในองค์กร พนักงานสามารถรับทราบข่าวสารเหล่านี้ได้จากกระดานข่าวที่ถูกบรรจุไว้บนเครือข่ายอินทราเน็ต นอกจากนี้ยังช่วยลดงานด้านเอกสารลง โดยนำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานแทน ซึ่งมีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government)
เป็นการดำเนินธุรกรรมที่ภาครัฐได้นำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาบริการแก่ภาคประชาชน เพื่อปรับปรุงการบริการแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งงานเหล่านี้จัดเป็นส่วนหน้าร้าน (Front Office) ในขณะเดียวกันก็สามารถนำไปใช้เพื่อบริหารงานตัวภาครัฐเอง ซึ่งจัดเป็นส่วนหลังร้าน (Back Office) สำหรับการบริการแก่ภาคประชาชน
1.ภาคธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C)
เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค โดยฝ่ายผู้ประกอบการจะเป็นผู้ขายสินค้า และฝ่ายผู้บริโภคก็คือลูกค้าซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้านั่นเอง อีคอมเมิร์ซในรูปแบบ B2C สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า e-Tailing (Electronic Retailing) ซึ่งเป็นวิธีการขายตรง (Direct Sale) ด้วยการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านร้านอิเล็กทรอนิกส์
กรอบการดำเนินงานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การตลาดและการโฆษณา
(Marketing and Advertising)
จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากตลาดและการโฆษณาประชาสัมพันธ์
งานบริการสนับสนุน (Support Services)
ตั้งแต่การจัดสร้างเนื้อหา จนกระทั่งถึงระบบการชำระเงิน และการส่งมอบ
นโยบายสาธราณะ (Public Policy)
เกี่ยวข้องกับเรื่องของตัวบทกฎหมายและนโยบาย รวมถึงข้อบังคับต่างๆ
คู่ค้าทางธุรกิจ (Business Partnerships)
การร่วมลงทุน การแลกเปลี่ยน และการได้เป็นคู่ค้าทางธุรกิจร่วมกัน
คน (People)
ได้แก่ ผู้ขาย ผู้ซื้อ คนกลาง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ
ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
มุมมองด้านบริการ (Service)
เป็นอีคอมเมิร์ซที่ใช้เป็นเครื่องมือในการตอบสนองความต้องการ อันพึงประสงค์ของบริษัท รัฐบาล ผู้บริโภค และการจัดการเพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนด้านงานบริการ ในขณะที่การบริการลูกค้ากลับมีคุณภาพดียิ่งขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการเพิ่มความเร็วในการส่งมอบงานบริการเหล่านั้น
มุมมองด้านการเรียนรู้ (Learning)
เป็นอีคอมเมิร์ซเพื่อการฝึกอบรมแบบออนไลน์ และสนับสนุน การศึกษาในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ภาคธุรกิจ และองค์กรอื่นๆ เช่น การสร้างบทเรียน ในรูปแยย e-Learning เพื่อการศึกษาแบบทางไกล
มุมมองด้านกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process)
เป็นอีคอมเมิร์ซที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ ผ่านกระบวนการทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารบนระบบเครือข่าย แทนกระบวนการทางธุรกิจแบบเดิมๆ ที่ทำด้วยมือ
มุมมองด้านการทำงานร่วมกัน (Collaborative)
เป็นอีคอมเมิร์ซที่ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงาน ในการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กร
มุมมองเชิงพาณิชย์ (Commerce)
ซึ่งหมายถึงอีคอมเมิร์ซนั่นเอง เกี่ยวข้องกับกระบวนการซื้อ การขาย การถ่ายโอน หรือการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์/บริการ/สารสนเทศ ผ่าน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งปกติมักเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต
มุมมองทางสังคม (Community)
เป็นเครื่องมือสร้างชุมชน เพื่อใช้เป็นสถานที่ชุมนุมของเหล่าสมาชิกในรูปแบบชุมชนออนไลน์ เพื่อการเรียนรู้ การทำธุรกรรม และทำกิจกรรมร่วมกัน โดย ชุมชนเครือข่ายทางสังคมที่นิยม เช่น MySpace และ Facebook เป็นต้น