Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
:star:ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ :star: (คุณสมบัติของพาณิชย์ …
:star:
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
:star:
คุณสมบัติของพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์
การมีอยู่ทั่วทุกหนแห่ง (Ubiquity)
ขอบเขตครอบคลุมทั่วโลก (Global Reach)
มาตรฐานระดับสากลในด้านระบบสื่อสาร (Universal Standards)
ความสมบูรณ์ในข่าวสาร (Richness)
ความสามารถในการโต้ตอบระหว่างกัน (Interactivity)
ความหนาแน่นของสารสนเทศ
(Information Density)
ความเป็นเฉพาะตัวและการปรับแต่งตามแต่ละบุคคล
ก่อเกิดเทคโนโลยีทางสังคม (Social Technology)
ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
คือ การดำเนินธุรกรรมทางการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการซื้อสินค้าขายสินค้า จัดส่งสินค้า การแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ หรือสารสนเทศผ่านอินเทอร์เน็ต
นิยามมุมมองทางด้านต่างๆ
มุมมองด้านกระบวนการทำธุรกิจ(BusinessProcess)
เป็นอีคอมเมิร์ซที่นำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจผ่านกระบวนการ
ทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สื่อสารบนระบบเครือข่ายแทนกระบวนการทาง
ธุรกิจแบบเดิมๆ ที่ทำด้วยมือ
มุมมองด้านการเรียนรู้ (Learning)
เป็นอีคอมเมิร์ซเพื่อการฝึกอบรมแบบออนไลน์ และสนับสนุนการศึกษาในโรงเรียน
มหาวิทยาลัย ภาคธุรกิจ และองค์กรอื่นๆเช่น การสร้างบทเรียน ในรูปแบบ e-Learning
เพื่อการศึกษาแบบทางไกล
มุมมองด้านบริการ (Service)
เป็นอีคอมเมิร์ซที่ใช้เป็นเครื่องมือในการตอบสนองความต้องการอันพึงประสงค์ของบริษัท รัฐบาล
ผู้บริโภค และการจัดการเพื่อนำไปสู่การลดต้นทุนด้านงานบริการ ในขณะที่การบริการลูกค้ากลับมี
คุณภาพดียิ่งขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการเพิ่มความเร็วในการส่งมอบงานบริการเหล่านั้น
มุมมองเชิงพาณิชย์ (Commerce)
ซึ่งหมายถึงอีคอมเมิร์ซนั่นเอง เกี่ยวข้องกับกระบวนการซื้อ การขาย การถ่ายโอน หรือการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์/บริการ/สารสนเทศ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งปกติมักเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต
มุมมองด้านการทำงานร่วมกัน (Collaborative)
เป็นอีคอมเมิร์ซที่ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงาน ในการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กร
มุมมองทางสังคม (Community)
เป็นเครื่องมือสร้างชุมชน เพื่อใช้เป็นสถานที่ชุมนุมของเหล่าสมาชิกในรูปแบบชุมชนออนไลน์
เพื่อการเรียนรู้การทำธุรกรรม และทำกิจกรรมร่วมกัน โดย ชุมชนเครือข่ายทางสังคมที่นิยม
เช่น MySpace และ Facebook เป็นต้น
ประโยชน์และข้อจำกัดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประโยชน์ต่อองค์กร
จัดหาวัตถุดิบและบริการทั้งในและต่างประเทศได้อย่างรวดเร็ว ช่องทางการกระจายสินค้าของตลาดแคบลง
ลดต้นทุนได้กว่า 90% ในด้านของการสร้าง การประมวลผล การจัดจำหน่ายการจัดเก็บ
ช่วยลดต้นทุนด้านการสื่อสารโทรคมนาคม เนื่องจากใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตซึ่งมีราคาถูกกว่ามาก
ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้
ส่งเสริมการตลาดที่มุ่งไปยังลูกค้าเฉพาะกลุ่ม
ขยายโอกาสจากธุรกิจซื้อขายสินค้าที่มีอยู่เดิม ไปสู่ตลาดระหว่างประเทศด้วยการลงทุนที่ต่ำ
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ช่วยเพิ่มทางเลือกแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการที่มีอยู่มากมาย
ลูกค้าสามารถเข้าชมเพื่อเลือกสินค้าหรือบริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ให้การเรียกดูข่าวสาร สามารถดำเนินการสำเร็จได้ภายในไม่กี่วินาที
ผู้บริโภคมีโอกาสเข้ามามีส่วนรวมในการตั้งราคาขายของตัวผลิตภัณฑ์และการบริการได้
สามารถประมูลสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขาย
เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคสามารถโต้ตอบ แลกเปลี่ยนข่าวสารและประสบการณ์ ในรูปแบบของชุมชนออนไลน์
ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกซื้อสินค้าหรือบริการด้วยราคาที่ถูกที่สุด
ประโยชน์ต่อสังคม
สร้างโอกาสให้สามารถเข้าถึงแหล่งศึกษาหาความรู้ทางวิชาชีพการเรียนการสอนทางไกล และการได้รับรู้วิธีดูแลรักษาสุขภาพที่ถูกต้อง ถูกสุขลักษณะ
อำนวยความสะดวกด้านการส่งมอบงานบริการจากภาครัฐไปสู่สาธารณชน เช่น สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่พึงได้รับจากภาครัฐ ช่วยลดต้นทุนด้านการเผยแพร่ความรู้ และลดปัญหาเกี่ยวกับการคอรัปชั่น ช่วยเพิ่มคุณภาพการบริการสู่สังคม การทำงานของตำรวจ สุขภาพ และการศึกษาของประชาชน
มีส่วนช่วยให้ผู้คนบาง
กลุ่มสามารถทำงานที่บ้านได้
ข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี
ช่องสัญญาณหรือแบนด์วิดธ์ของระบบสื่อสารโทรคมนาคมมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ
เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ที่นำมาใช้เป็นเครื่องมือพัฒนาเปลี่ยนแปลงเร็ว
ความสลับซับซ้อนและความยากต่อการนำระบบต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน อินเทอร์เน็ตโปรแกรมประยุกต์ทางอีคอมเมิร์ซ ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานอยู่ และระบบฐานข้อมูล
จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เฉพาะ มาติดตั้งเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์
มีราคาแพงและปัญหาจากการเข้าถึงของผู้ใช้พร้อมๆกันจำนวนมาก
ขาดมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ทั้งในเรื่องของคุณภาพ ความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือ
ข้อจำกัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
ขาดข้อบังคับทางกฎหมายทั้งภายในและระหว่างประเทศ และมาตรฐานอุตสาหกรรม
ยอมรอให้ระบบอีคอมเมิร์ซมีความเสถียรมากกว่านี้ ก่อนที่จะมีการใช้งานจริง
ขาดความเชื่อมั่นต่อการซื้อขายสินค้าที่มิได้สัมผัสกับตัวสินค้าจริงๆ รวมถึงการที่ผู้ซื้อมิได้
พบปะกับผู้ขายโดยตรง
ยังกลุ่มคนบางกลุ่มที่ยังคงเข้าใจว่า สินค้าหรือบริการที่ขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ มีราคาแพงและไม่ปลอดภัย
ปัญหาเรื่องข้อกฎหมายที่นำมาบังคับใช้ โดยเฉพาะเรื่องรายละเอียดการจัดเก็บภาษีที่ยังคง
คลุมเครือ ไม่ชัดเจน
รูปแบบการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
Brick-and-Mortar
เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิม (Old Economy/Purely Physical) ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และวิธีการส่งมอบสินค้า ล้วนเป็นการพบปะกันแบบซึ่งหน้า เป็นตามโครงสร้างทางกายภาพเช่น ร้านสะดวกซื้อ (ที่มีหน้าร้าน)
Click-and-Click
เป็นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบดิจิตอลหรือแบบออนไลน์ล้วนๆ หรือเรียกว่า Pure-Play โดยไม่มีร้านที่ตั้งอยู่จริง ต้องด าเนินการผ่านเว็บไซต์เพียงช่องทางเดียว เช่น amazon.com
Click-and-Mortar
เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์กระบวนการ และตัวแทน การส่งมอบ จะมีทั้งโครงสร้างเชิงกายภาพ และดิจิตอลเข้าด้วยกัน เช่น ร้านขายหนังสือซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ มีหน้าร้าน และเปิดขายผ่านเว็บไซต์ www.se-ed.com
กรอบการดำเนินงานของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การตลาดและการโฆษณา (Marketing and Advertising)
จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากตลาดและการโฆษณาประชาสัมพันธ์
งานบริการสนับสนุน (Support Services)
ตั้งแต่การจัดสร้างเนื้อหา จนกระทั่งถึงระบบการชำระเงิน และการส่งมอบ
นโยบายสาธารณะ (Public Policy)
เกี่ยวข้องกับเรื่องของตัวบทกฎหมายและนโยบาย รวมถึงข้อบังคับต่างๆ
คู่ค้าทางธุรกิจ (Business Partnerships)
การร่วมลงทุน การแลกเปลี่ยน และการได้เป็นคู่ค้าทางธุรกิจร่วมกัน
คน (People)
ได้แก่ ผู้ขาย ผู้ซื้อ คนกลาง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ
ประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer-to-Consumer : C2C)
เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน การซื้อขายสินค้าด้วยวิธีนี้อาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการประกาศขายสินค้ามือสอง หรือการแลกเปลี่ยนสินค้าโดยหากผู้ซื้อและผู้ขายมีความพอใจในสินค้าทั้งสองฝ่าย ก็จะตกลงซื้อขายกันเอง จากนั้นก็ทำการนัดแนะสถานที่เพื่อชำระเงิน หรือเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า
ภาคธุรกิจกับพนักงาน (Business-to-Employee : B2E)
เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นโดยนำมาใช้สำหรับแลกเปลี่ยนข่าวสารและสารสนเทศภายในองค์กร พนักงานสามารถรับทราบข่าวสารเหล่านี้ได้จากกระดานข่าวที่ถูกบรรจุไว้บนเครือข่ายอินทราเน็ต นอกจากนี้ยังช่วยลดงานด้านเอกสารลง โดยนำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานแทน ซึ่งมีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี
ภาคธุรกิจกับภาคธุรกิจ (Business-to-Business : B2B)
เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ประกอบการด้วยกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นได้ทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างผู้ผลิตด้วยกัน หรือผู้ผลิตกับผู้ค้าส่ง เป็นต้น การดำเนินธุรกรรมระหว่างภาคธุรกิจอย่าง B2B นั้น จะส่งผลให้เกิดคู่ค้าทางธุรกิจที่สามารถสร้างสัมพันธ์อันดีร่วมกันได้เป็นอย่างดีเนื่องจากธุรกิจในยุคปัจจุบันจะเติบโตได้ ต่างต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
ผู้บริโภคกับภาคธุรกิจ (Consumer-to-Business : C2B)
เป็นการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบการในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ผู้บริโภคกลับมีสถานะเป็นผู้ค้า และมีบทบาทในการต่อรองเพื่อตั้งราคาสินค้า โดยผู้ประกอบการจะเป็นคนกลางในการน าราคาที่ลูกค้าเสมอ ส่งให้กับผู้ขายพิจารณาว่า สามารถจ าหน่ายในราคานี้ได้หรือไม่ ดังนั้นจะพบว่าอีคอมเมิร์ซในรูปแบบ C2B นั้นลูกค้ากับผู้ประกอบการ จะมีบทบาทย้อนศรสลับกัน
ภาคธุรกิจกับผู้บริโภค (Business-to-Consumer : B2C)
เป็นรูปแบบการดำเนินธุรกรรมระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค โดยฝ่ายผู้ประกอบการจะเป็นผู้ขายสินค้า และฝ่ายผู้บริโภคก็คือลูกค้าซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้านั่นเอง อีคอมเมิร์ซในรูปแบบ B2C สามารถเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า e-Tailing (Electronic Retailing) ซึ่งเป็นวิธีการขายตรง (Direct Sale) ด้วยการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านร้านอิเล็กทรอนิกส์
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government)
เป็นการดำเนินธุรกรรมที่ภาครัฐได้นำสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาบริการแก่ภาคประชาชน เพื่อปรับปรุงการบริการแก่ประชาชนทั่วไป ซึ่งงานเหล่านี้จัดเป็นส่วนหน้าร้าน (Front Office) ในขณะเดียวกันก็สามารถนำไปใช้เพื่อบริหารงานตัวภาครัฐเอง ซึ่งจัดเป็นส่วนหลังร้าน (Back Office) สำหรับการบริการแก่ภาคประชาชน
● ภาครัฐกับประชาชน (Government-to-Citizens : G2C)
● ภาครัฐกับภาคธุรกิจ (Government-to-Business : G2B)
● ภาครัฐกับภาครัฐ (Government-to-Government : G2G)
● ภาครัฐกับพนักงานของรัฐ (Government-to-Employee : G2E)+++
ปัจจัยหลักที่มีต่อการขับเคลื่อน
ไปสู่ระบบอีคอมเมิร์ซ
ปัจจัยทางการเมือง (Political Factors)
เกี่ยวข้องกับบทบาทของรัฐบาล ในการสร้างตัวบทกฎหมาย ความคิดริเริ่ม และการจัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการใช้และการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและอีคอมเมิร์ซ
ปัจจัยทางสังคม (Social Factors)
เกี่ยวข้องกับระดับการศึกษา และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ การฝึกอบรมซึ่งส่งผลต่อประชากรที่มีศักยภาพเพียงพอต่อการเรียนรู้ มีความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆให้ก่อเกิดประโยชน์อันได้แก่
ปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี (Technological Factors)
เกี่ยวข้องกับระดับความก้าวหน้าทางโครงสร้างพื้นฐานของระบบโทรคมนาคม ที่เปิดช่องให้การเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ได้ทั่วถึงกัน ทั้งภาคธุรกิจและผู้บริโภค
ปัจจัยทางเศรษฐกิจ (Economic Factors)
เกี่ยวข้องกับความมั่งคั่งและสภาพเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆ
ปัญหาปกติที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
ปัญหาด้านวัฒนธรรม
วัฒนธรรมและรัฐบาล
ปัญหาด้านภาษา
ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ปัญหาด้านความน่าเชื่อถือบนเว็บ