Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์…
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง
การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ต
องค์กรการค้าโลก ให้คำจำกัดความไว้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง
การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง
การดำเนินธุรกิจทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่าน และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
องค์ประกอบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สร้างระบบตะกร้ารับสิ่งของสั่งซื้อ (Shopping Car System)
เป็นระบบที่สามารถคลิกเพื่อสั่งซื้อสินค้าจากหน้าเว็บเพจได้โดยการคลิกซื้อแต่ละครั้ง จะเป็นการหยอดของลงตะกร้า หรือรถเข็นและสะสมไว้จนกว่าเราจะซื้อของครบ และตัดสินใจให้ระบบแคชเชียร์อัตโนมัติคำนวณเงิน (ระบบตะกร้ามีหลายรูปแบบมาก) ซึ่งสามารถปรับแต่ง หรือออกแบบเฉพาะ ให้เหมาะสมกับกิจกรรมการค้าและสินค้าแต่ละชนิดได้
แต่อย่างไรก็ตามก็ยัง ไม่มีความปลอดภัยมากนักเพราะไม่สามารถระบุผู้ถือบัตรได้ว่าใช่ตัวจริงหรือไม่ ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบนี้ใหม่ขึ้นมาคือ SET ( Secure Electronic Transaction) ซึ่งมีการระบุทั้งสองฝ่ายว่า คือตัวจริง แต่ติดปัญหาที่ต้นทุนการลงทุนสูง จึงยังไม่แพร่หลาย
องค์ประกอบของระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คำสั่งซื้อที่ได้จะถูกส่งเข้า Mail Box หรือตู้จดหมายของเราโดยอัตโนมัติ (หรืออาจจะเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลก็ได้)
รวมทั้งมีการยืนยันไปที่ลูกค้าผู้สั่งซื้อด้วย ในขณะที่ข้อมูลบัตรเครดิตก็สามารถส่งเข้าไปขออนุมัติวงเงินที่ธนาคาร ได้โดยอัตโนมัติ โดยจะมีการแจ้งยืนยันไปที่ลูกค้าด้วย ซึ่งถ้าใครขายสินค้าที่สามารถดาวน์โหลด ได้เลยก็จะได้เปรียบเพราะลูกค้าสามารถรับมอบสินค้าไปได้เลย ในขณะที่เจ้าของร้านก็ได้รับเงินเข้าบัญชีไปเลย
สร้างเว็บเพจ หรือร้านค้าบนเว็บ
สามารถประกาศขายสินค้าบนระบบอินเทอร์เน็ต ได้โดยอาจเป็นเพียงหน้าโฆษณาสินค้าธรรมดาที่เอาไปฝากกับเว็บไซต์อื่น หรือร้านค้าอื่นไว้ หรือ มีชื่อร้าน หรือเว็บไซต์เป็นของตนเอง เช่น www.sabai.com เป็นต้น หน้าเว็บเพจสำหรับการเสนอสินค้า บางทีเรียกกันว่า หน้าร้าน (Store Front)
รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. การขายตรงไปยังผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก หรือธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business : B-to-B)
เป็นการค้าขนาดใหญ่ระหว่างองค์การกับองค์การ ผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก เป็นต้น จะมีการสั่งซื้อสินค้าจำนวนมากและมีมูลค่าสูงในการซื้อขายแต่ละครั้งซึ่งการชำระเงินจะผ่านระบบธนาคาร เช่น T/T L/C ฯลฯ
2. การขายตรงไปยังผู้บริโภค หรือธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer : B-to-C)
เป็นการค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั่วโลก หรือภายในท้องถิ่น ของตน จากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภค จากพ่อค้าขายส่งไปสู่ผู้บริโภค ซึ่งปริมาณการขายจะมีปริมาณปานกลาง หรือพอประมาณ ในส่วนนี้รวมการค้าแบบล็อตใหญ่ หรือเหมาโหล หรือการค้าส่ง ขนาดย่อยไว้ด้วย ซึ่งการชำระเงินโดยส่วนใหญ่จะเป็นการชำระผ่านทางระบบบัตรเครดิต แต่อย่างไรก็ตามการค้าแบบ B-to-C นี้ก็มักทำให้เกิดการค้าแบบ B-to-B ในอนาคตได้ และหลายบริษัทมักทำกิจกรรมสองอย่างนี้ในคราวเดียวกัน
3. การขายตรงสู่ผู้บริโภคด้วยกันเอง หรือผู้บริโภคกับผู้บริโภค(Consumer to Consumer : C-to-C)
เป็นการค้าปลีกระหว่างบุคคลทั่วไป หรือระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยกัน อาจจะเป็นการขายสินค้าหรือเครื่องใช้ที่ใช้งานแล้ว เช่น การขายโทรศัพท์ การขายแสตมป์ การขายของที่ระลึก เป็นต้น รวมทั้งการขายซอฟต์แวร์ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีเป็นจำนวนมากที่เปิดเว็บไซต์มาเพื่อขายซอฟต์แวร์ที่ตนเองพัฒนาขึ้น
4. การขายตรงให้หน่วยงานราชการ หรือธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government : B-to-G)
เป็นการค้าระหว่างธุรกิจกับหน่วยงานของรัฐบาล เช่น กระทรวง กรม กอง ซึ่งเป็นการค้าที่มีมูลค่าสูง
5. การขายตรงระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล (Government to Government :G-to-G)
เป็นการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน เช่นการค้าระหว่างการไฟฟ้านครหลวงกับกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ในประเทศเดียวกัน หรือการค้าระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล เช่น รัฐบาลไทยส่งข้าวไปขายให้รัฐบาลของประเทศอิหร่าน หรือรัฐบาลอิหร่านขายน้ำมันดิบให้รัฐบาลไทย เป็นต้น
ประเภทของสินค้าในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง ได้แก่การรับจดทะเบียนโดเมนเนม ตั้งเว็บไซต์อีเมลบริการเคาน์เตอร์ หรือซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตโดยตรง
ธุรกิจด้านคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การขายซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมทั้งฮาร์ดแวร์ด้วย โดยเฉพาะด้านซอฟต์แวร์จะได้เปรียบอย่างมากในการส่งมอบสินค้า เพราะสามารถดาวน์โหลดผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้โดยตรง
ธุรกิจทางด้านการท่องเที่ยว ถือเป็นธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ธุรกิจแรกที่เติบโตอย่างรวดเร็วบนระบบอินเทอร์เน็ต ได้แก่ การจองโรงแรม จองตั๋วเครื่องบิน จองแพ็กเกจทัวร์ต่างๆ เป็นต้น
ธุรกิจด้านการส่งออก เป็นการเปลี่ยนวิธีการค้าแบบเดิมซึ่งเคยต้องส่งแค็ตตาล็อกสินค้าไปให้คู่ค้าทั่วโลก ก็หันมาใช้การทำเว็บเพจ หรือการโฆษณาผ่านระบอินเทอร์เน็ต
ธุรกิจค้าปลีกสินค้าทั่วไป ผู้บริโภคในซีกโลกตะวันตกสามารถปรับตัวเข้าสู่ระบบการค้าปลีกบนเว็บได้โดยไม่ยากนัก เพราะจะคุ้นเคยกับการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบไปรษณีย์ หรือแค็ตตาล็อกอยู่แล้ว แต่คราวนี้มีความตื่นตาตื่นใจมากกว่าแต่ก่อนด้วยเพราะเป็นสินค้าที่มีการเสนอขายมาจากทั่วโลก เพียงแต่ผู้ขายผ่านเว็บจะต้องปรับตัวสินค้าและราคา ให้สอดคล้องกับความต้องการเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว
ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ข้อมูลทันสมัยอยู่เสมอ และประหยัดค่าใช้จ่าย
ทำงานแทนพนักงานขาย และเพิ่มประสิทธิภาพการขาย
แทนหน้าร้าน หรือบูทแสดงสินค้า
เทคโนโลยีช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
ง่ายต่อการชำระเงิน
เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
สร้างความประทับใจและพึงพอใจได้มากกว่า
รู้และแก้ปัญหาต่างๆได้ทันท่วงที
ทำการค้าได้ตลอด 24 ชั่งโมง และขายสินค้าได้ทั่วโลก
ข้อจำกัดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ขาดการตรวจสอบการใช้บัตรเครดิตบน Internet ข้อมูลบนบัตรเครดิตอาจถูกดักฟังหรืออ่าน
ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ที่จะทำหน้าที่รับประกันความเสี่ยง สำหรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
ปัญหาความยากจน ความด้อยโอกาสและขาดความรู้ทางเทคโนโลยี รวมทั้งขาดเครือข่ายการสื่อสาร
E-Commerce ยังมีประเด็นเชิงนโยบายที่ทำให้รัฐบาลต้องเข้ามากำหนดมาตรการ เพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ซื้อและผู้ขาย ขณะเดียวกันมาตรการมนเรื่องระเบียบที่จะกำหนดขึ้นต้องไม่ขัดขวางการพัฒนาเทคโนโลยี
ผู้ซื้อไม่มั่นใจเรื่องการเก็บรักษาความลับทางธุรกิจ ข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้ขายไม่มั่นใจว่าลูกค้ามีตัวตนอยู่จริง จะเป็นบุคคลเดี่ยวกับที่แจ้งสั่งซื้อสินค้าหรือไม่
ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำสำเนาหรือดัดแปลงหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ง่ายกว่าเอกสารที่เป็นกระดาษ