Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคจิตเภท (Schizophrenia) (ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยส่งเสริมของการเกิดโรคจิตเ…
โรคจิตเภท (Schizophrenia)
หมายถึง
เป็นคำที่มาจากภาษากรีกว่า “Skizo” หมายถึง การแยกออกหรือแตกแยก (Split)
“Phren” หมายถึง จิตใจ
Eugen Bleuer จิตแพทย์ ชาวสวิสเซอร์แลนด์เป็นผู้ตั้งชื่อโรคนี้ว่า Schizophrenia ในปีค.ศ.1911
กลุ่มอาการของความผิดปกติที่มี ลักษณะอาการของความเจ็บป่วยทางจิตและการทำหน้าที่ต่ำงๆลดลง
อาการแสดง
ทางบวก
อาการหลง ผิด ประสาทหลอน พูดจำสับสน พฤติกรรมวุ่นวาย เป็นต้น
ทางลบ
อารมณ์เฉยเมย สีหน้าเรียบเฉย
ขาดความกระตือรือร้น เฉยชำ เก็บตัว
ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม การงานหรือกิจกรรมทางสังคม
ทำให้มีความบกพร่องในการดำเนิน ชีวิตประจำวัน
การจำแนก
WHO
ICD-10
ความผิดปกติในด้านบุคลิกภาพ ความคิด และการรับรู้การแสดง
อารมณ์ไม่เหมาะสม แต่สภาพความรู้สึกตัวและความสามารถทาง
สติปัญญายังคงปกติแม้ว่าจะมีการสูญเสียของการรับรู้ไปบ้างเมื่อเจ็บป่วยเป็นระยะเวลานาน
ไม่มีสาเหตุมาจากโรคทางกาย
ไม่มีโรคของสมอง พิษจากยำ หรือสารเสพติด
ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยส่งเสริมของการเกิดโรคจิตเภท
ปัจจัยด้านชีวภาพ (Biological factors)
1.1 ปัจจัยด้านพันธุกรรม (Genetic factor)
ยีนที่ผิดปกติซึ่งพบได้ในผู้ป่วยโรคจิตเภทมีความสัมพันธ์กับ โครโมโซมคู่ที่ 6
1.2 ปัจจัยด้านระบบสารชีวเคมีในสมอง
Dopamine เพิ่มขึ้น
Serotonin และ Norepinephrine ทำงานมากเกินไป
ปัจจัยด้านจิตใจ
โรคจิตเภทมีสำเหตุมาจากความผิดปกติของพัฒนาการทางบุคลิกภาพของบุคคลในวัยเด็ก
โดยเฉพาะในขวบปีแรก มีผลให้เกิดพยาธิสภาพส่วนที่ทำหน้ำที่ในการปรับตัว การควบคุม
ผู้ป่วยเลือกใช้กลไกทางจิตในลักษณะที่ไม่เหมาะสม
การถดถอย
การโทษคนอื่น
3.ด้านบุคลิกภาพ
ไม่ไว้วางใจ และมีความสงสัยในบุคคลอื่น
ขาดสัมพันธภาพกับบุคคล
มีความคิด และการรับรู้ที่ผิดปกติ
ปัจจัยด้านครอบครัว
สภาพครอบครัวที่มีการใช้อารมณ์ต่อกันสูง
สัมพันธภาพหับครอบครัวไม่ค่อยดี และมีความห่างเหิน
บิดามารดา มีความขัดแย้งพยายามดึงเด็กมาเป็นพวกของตน
การสื้อสารภยในครอบครัวเป้็นแบบที่บิดามารดามักจะพูดแบบคลุมเครือ ไม่เที่ยงตรง
ปัจจัยด้านสังคมและวัฒนธรรม
เศรษฐกิจต่ำ
การคิดอย่างไม่มีเหตุผลโดยเลียนแบบมาจากบิดามารดา
การวินิจฉัย
A. มีอาการต่อไปนี้ตั้งแต่ 2 อาการขึ้นไป ในช่วงเวลาต่อเนื่อง 1 เดือน (หรือน้อยกว่านี้หากได้รับการรักษาก่อน) และมีอาการ
อย่างน้อย 1 อย่าง
อาการหลงผิด (Delusion)
อาการประสาทหลอน
ความผิดปกติของการพูด (Disorganized speech)
ความผิดปกติของพฤติกรรม
อาการด้านลบ
B. มีปัญหาด้านสังคม (Social dysfunction) ด้านการงาน (Occupational dysfunction) ด้านสัมพันธภาพ (Poor interpersonal relation) หรือ สุขอนามัยของตนเอง (Poor hygiene)
C. มีอาการต่อเนื่องกันนาน 6 เดือนขึ้นไป โดยต้องมีช่วง Active phase ซึ่งมีอาการตามตามข้อ A. อย่างน้อยนาน 1 เดือน(หรือน้อยกว่านี้หากได้รับการรักษาก่อน) และระยะที่เหลืออาจเป็น Prodromal หรือ Residual phase ที่มีเพียงกลุ่มอาการ ด้านลบ หรืออาการตามข้อ A. ตั้งแต่ 2 อาการ ที่แสดงออกเพียงเล็กน้อย เช่น การรับสัมผัสแปลกๆแต่ไม่ถึงขั้นมีอาการประสาทหลอน
D. ไม่มีอาการเข้าได้กับโรค Schizoaffective disorder และ Depressive disorder หรือ Bipolar disorder ที่มีอาการทางจิต
ร่วมด้วย
E. อาการไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางร่างกาย ยา หรือการใช้สารเสพติด
การพยาบาล
วินิจฉัยการพยาบาล
1 กระบวนการคิดแปรปรวนเนื่องจากการเสียสมดุลของสารชีวเคมีในสมอง
2 เสี่ยงต่อการทำร้ายตันเองและผู้อื่นเนื่องจากมีความคิดหลงผิด
3 มีพฤติกรรมแยกตัว เนื่องจากไม่ไว้วางใจผู้อื่นเนื่องจากมีอำการหลงผิด
4 แบบแผนการนอนแปรปรวนเนื่องจากมีอำการหลงผิดร่วมกับอำการประสาทหลอน
5 มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นลดลงเนื่องจากหมกมุ่นกับอำการหลงผิด
6 ขาดความร่วมมือในการบำบัดรักษาเนื่องจากปฏิเสธการเจ็บป่วย
7 ขาดความร่วมมือในการบำบัดรักษาเนื่องจากมีอำการหลงผิด
8 ขาดความสนใจเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวันของตนเองเนื่องจากหมกมุ่นกับอำการหลงผิด
วัตถุประสงค์การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการหลงผิด
ลดอำการหลงผิด
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยแยกระหว่างอาการหลงผิดกับความจริงได้
ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
ส่งเสริมกำรท ำกิจวัตรประจำวันของตนเอง
ป้องกันกำรท ำร้ายตนเองและผู้อื่น
ลดพฤติกรรมแยกตัว
ส่งเสริมการนอนหลับพักผ่อน
ส่งเสริมความร่วมมือในการรักษา
เกณฑ์การพยาบาล
เกณฑ์ระยะสั้น
1 ผู้ป่วยไม่มีการทำร้ายตนเองและบุคคลอื่น
2 ผู้ป่วยสามารถสร้างสัมพันธ์ภาพกับพยาบาลแบบหนึ่งต่อหนึ่งได้
3 ท ำกิจวัตรตามตารางหอผู้ป่วยได้โดยมีคนคอยช่วยเหลือดูแลกำกับ
4 นอนหลับพักผ่อนได้หลังการรับประทานยา อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
เกณฑ์ระยะยาว
1 ผู้ป่วยมีอาการหลงผิดลดลงหรือหายจากอาการหลงผิด
2 ผู้ป่วยสามารถสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยอื่นได้
3 ป่วยไม่มีพฤติกรรมแยกตัว
4 ผู้ป่วยสามารถเข้ากลุ่มกิจกรรมบำบัดครบตามเวลา
5 ผู้ป่วยใส่ใจดูแลกิจวัตรประจำวันของตนเองโดยไม่ต้องมีคนคอยกำกับดูแล
6 ผู้ป่วยยอมรับการเจ็บป่วยและให้ความร่วมมือในการรักษา
กิจกรรมการพยาบาล
1 สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ โดยความไว้วางใจของผู้ป่วยที่มีต่อพยาบาลจะนำไปสู่ความร่วมมือที่ดีในการให้การพยาบาล
2 ประเมินชนิด และความรุนแรงเกี่ยวกับอาการหลงผิดในผู้ป่วย เพื่อวางแผนในการพยาบาลอย่างเหมาะสม
3 เฝ้าระวังการทำร้ายตนเองและผู้อื่นที่เกิดจากอาการหลงผิด โดยสังเกตจากท่าทางของผู้ป่วยเช่น การมีท่าทีไม่เป็นมิตร การมีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยจัดสิ่งแวดล้อมที่สงบ ปลอดภัย ลดสิ่งกระตุ้นผู้ป่วยถ้ำผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ด้วยการเตือนด้วยวาจา พิจารณาการจำกัดพฤติกรรมตามความเหมาะสม
4 ประเมินความเครียด ความกลัว และความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่เกิดจากการหลงผิด หากผู้ป่วยมีความเครียด ความวิตกกังวลจากอาการหลงผิดให้เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกเกี่ยวกับอาการหลงผิด และรับฟังด้วยความตั้งใจ แต่ถ้ำผู้ป่วยรู้สึกกลัวมากให้อยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัยไม่ถูกทอดทิ้ง
5 เฝ้าระวังการถูกผู้อื่นทำร้ายผู้ป่วยที่เกิดจากอาการหลงผิด โดยเฉพาะอาการหลงผิดหลงผิดคิดว่าตนเองเป็นใหญ่ มีอำนาจมีความสามารถพิเศษหรือเป็นบุคคลสำคัญที่อาจแสดงพฤติกรรมในสั่งสอน บงการผู้อื่นให้ทำความเคารพ หรือทำตามคำสั่ง
6 ให้ข้อมูลผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการหลงผิดตามความเป็นจริง โดยการสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างสุภาพ เป็นมิตร เปิดเผยตรงไปตรงมา กระชับ เข้าใจง่ายไม่ตำหนิ หรือแสดงความเห็นด้วยกับการหลงผิดของผู้ป่วย
7 ส่งเสริมให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น การออกกำลังกาย การช่วยเหลืองานในหอผู้ป่วย เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ หรือลดความหมกมุ่นจากอาการหลงผิด และเสริมแรงทำงบวกเมื่อผู้ป่วยสามารถแยกอาการหลงผิดและความจริงได้
8 ช่วยเหลือดูแลกกับในเรื่องการท ำกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยในช่วงที่มีอาการหลงผิด แยกตัว ขาดความสนใจในการดูแลกิจวัตรประจำวันของตัวเอง แต่เมื่อผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ และมีความใส่ใจในการดูแลกิจวัตรของตนเองควรให้การเสริมแรงทำงบวกโดยการชมเชยเพื่อให้คงพฤติกรรมที่ดีต่อ
9 ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอำหารให้ครบ 3 มื้อตามความต้องการของร่างกาย ในผู้ป่วยที่หลงผิดที่คิดว่าตนเองไม่มีอวัยวะเกี่ยวการย่อยอาหารที่ไม่ยอมรับประทานอาหาร รายงานแพทย์เพื่อให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำหรือให้อาหารทางสายยางจนกว่าผู้ป่วยจะรับประทานอาหารด้วยตนเอง
10 ดูแลให้ผู้ป่วยนอนหลับพักผ่อนเพียงพอโดยการลดสิ่งกระตุ้นผู้ป่วย ร่วมกับการให้ยำตามแผนการรักษาในรายที่นอนไม่หลับ
11 ดูแลให้ผู้ป่วยได้ รับการจัดการอาการทางจิต โดย การ เข้ากลุ่มการจัดการอาการทางจิต (Symptom management) เพื่อลดอำการหลงผิด และประสาทหลอน
12 ส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นเพื่อลดอาการหมกมุ่นกับอาการหลงผิด โดยการแนะนำให้ผู้ป่วยรู้จักกับผู้ป่วยอื่น พร้อมกับเสริมแรงทำงบวกเมื่อผู้ป่วยสามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นได้ดี แต่ต้องเฝ้าระวังในช่วงแรกที่ผู้ป่วยมีอำการหลงผิด ก้าวร้าว ควบคุมตนเองได้น้อย เพราะเสี่ยงต่อกำรท ำร้ายผู้อื่น เมื่อผู้ป่วยไม่มีอำกำหลงผิดส่งเสริมใหผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มบำบัดเพื่อฝึกการสร้างสัมพันธภาพที่มีแบบแผนกับบุคคลอื่น
13 การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยารักษาอาการทางจิต (Antipsychotic drugs) ตามแผนการรักษา เพราะยารักษาอาการทางจิตจะช่วย ลดระดับสารชีวเคมีในสมองโดปามีน (Dopamine neurotransmitter) ที่สมองส่วนมีโซลิมบิค (Mesolimbicpathway) ซึ่งจะมีผลให้อาการทางบวกของการเจ็บป่วยทางจิตลดลงได้ ในรายที่ปฏิเสธการเจ็บป่วย (Poorinsight) ควรมีการดูแลเรื่องการรับประทานยาอย่างใกล้ชิดเพื่อระวังการทิ้งยาและเฝ้าระวังอาการข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยารักษาอาการทางจิต
14 การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยไฟฟ้า (ECT) ตามแผนการรักษาทั้งในระยะก่อนการรักษา ระยะรักษาและระยะหลังการรักษาพร้อมทั้งเฝ้าระวังอำการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการรักษาด้วยไฟฟ้า
อ้างอิง
อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์ . (2557) . การพยาบาลจิตเวชศาสตร์ . กรุงเทพ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด
มาโนช หล่อตระกูล.(2558).การตรวจสัมภาษณ์ทางจิตเวช. กรุงเทพ: โฮลิสติก พับลิซซิ่ง.
ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ .(2556) . การพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท. เชียงใหม่: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.