Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ศึกษารูปแบบของธุรกิจ แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง แต่ละประเภทมีลักษณะ ข้อดี…
ศึกษารูปแบบของธุรกิจ แบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง แต่ละประเภทมีลักษณะ ข้อดี และข้อเสียอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ ระบุแหล่งที่มา (จัดทำในรูปแบบโปรแกรมเสนอ) รายคู่ ส่ง 24 มิ.ย 2562
-
2.ห้างหุ้นส่วน เป็นรูปแบบของการประกอบธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และสามารถทำนิติกรรมตามกฎหมายได้ โดยการทำสัญญาด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรที่จะเข้าเป็นหุ้นส่วนกัน ซึ่งผู้เป็น
หุ้นส่วนจะต้องลงทุนร่วมกันด้วยเงินหรือแรงกาย เพื่อวัตถุประสงค์ในการแบ่งกำไรที่จะได้รับจากการดำเนินกิจการร่วมกัน ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
-
1.ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Ordinary Partnership ) เป็นรูปแบบที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะต้องรับผิดชอบในการ
ชำระหนี้สินร่วมกันโดยไม่จำกัดจำนวน ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ โดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรและขาดทุนที่เกิดจาก
1.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (จดทะเบียน) เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน
ถูกต้องตามกฎหมาย หากมีการฟ้องร้องต้องฟ้องห้างหุ้นส่วน เมื่อทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนไม่พอชำระหนี้จึงจะฟ้องร้องจากหุ้นส่วนต่อไป
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (ไม่จดทะเบียน) เป็นห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนให้
ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนจะไม่แยกจากกัน เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องบุคคลใดก็ได้
2.ห้างหุ้นส่วนจำกัด (จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล) (Limited Partnership) เป็นรูปแบบห้างหุ้นส่วน
ที่จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงมีผลทำให้กิจการนั้นเสมือนเป็นบุคคล และมีสิทธิดำเนินการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ ผู้เป็นหุ้นส่วนจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ซึ่งรับผิดชอบเพียงจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
2.หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ ผู้เป็นหุ้นส่วนจะมีคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ซึ่งรับผิดชอบในบรรดาหนี้สินทั้งหมดของห้างหุ้นส่วน
โดยไม่จำกัดจำนวน
ข้อดีห้างหุ้นส่วน
- การจัดหาเงินทุนทำได้ง่ายกว่ากิจการเจ้าของ คนเดียว เพราะมีหุ้นส่วนหลายคน ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินจึงให้กู้ง่ายกว่า
- ถ้าหุ้นส่วนแต่ละคนมีความสามารถ ความชำนาญ และมีประสบการณ์ในแต่ละด้านจะทำให้การบริหารธุรกิจสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี
ข้อเสียของห้างหุ้นส่วน
- ถ้าผู้ถือหุ้นส่วนบางคนที่ไม่สุจริต หรือทำการโดยประมาทเลินเล่อจะทำให้ผู้ถือหุ้นส่วนอื่นเสียหายไปด้วย
- ถอนทุนคืนได้ยาก เพราะมีข้อจำกัดตามข้อตกลงในสัญญาและกฎหมาย
- มีหนี้สินไม่จำกัด หากไม่สามารถชำระหนี้ของกิจการได้หมด เจ้าหนี้สามารถเรียกร้องทรัพย์สินส่วนตัวของหุ้นส่วนแต่ละคนได้
- มีความล่าช้าในการตัดสินใจและอาจเกิดความขัดแย้งกันได้ง่าย เนื่องจากมีผู้ถือหุ้นหลายคน
- จัดตั้งได้ง่ายกว่าการจัดตั้งบริษัทจำกัด เพราะข้อจำกัดทางกฎหมายมีไม่มาก
3.บริษัทจำกัดริษัทจำกัด เป็นการประกอบการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จัดตั้งเพื่อวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรจากกิจการ ซึ่งจะแบ่งทุนออกเป็นหุ้นที่มีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน และมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป แต่ไม่ถึง 100 คน โดยผู้ถือหุ้นแต่ละคนจะมีความรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ ในปัจจุบันประเทศไทยแบ่งบริษัทจำกัดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
-
2ประเภท
- บริษัทเอกชนจำกัด เป็นบริษัทประเภทหนึ่งซึ่งจัดตั้งด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกัน โดยมีผู้ถือหุ้นไม่เกิน 100 คน
เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ซึ่งถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
-
-
ข้อดีของบริษัทจำกัด
ข้อดี
- การจัดการมีประสิทธิภาพ เนื่องจากบริษัทมักจะใช้ผู้บริหารมืออาชีพและมีระบบการทำงานที่ดีกว่าธุรกิจรูปแบบอื่นๆ
- ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบจำกัดเฉพาะค่าหุ้นที่ตนยังค้างจ่ายแก่บริษัทเท่านั้น ถ้าบริษัทมีหนี้สินใดๆผู้ถือหุ้นไม่ต้องรับผิดชอบ
- โอน หรือขาย หรือขยายกิจการได้ง่าย เนื่องจากบริษัทจำกัดดูน่าเชื่อถือในกลุ่มของบุคคลและสถาบันทางการเงิน
- มีความมั่นคงถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลง เจ้าของบริษัท เช่น ผู้ถือหุ้นเสียชีวิต ล้มละลาย หรือศาลให้เป็นผู้ไร้ความสามารถกิจการไม่ต้องล้มเลิกไป
ข้อเสียของบริษัทจำกัด
ข้อเสีย
- การจัดตั้งยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากมีข้อจำกัดทางกฎหมายและหน่วยงานของรัฐดูแลอย่างเข้มงวด
- ไม่สามารถปกปิดความลับของกิจการได้ทั้งหมด เพราะต้องเปิดเผยข้อมูลแก่รัฐตามที่กฎหมายกำหนด
- ถ้าผ่ายบริหารไม่ใช้ผู้ถือหุ้นอาจบริหารงานไม่รอบคอบทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้
- ผู้ประกอบการต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน คือ ทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1.กิจการเจ้าของคนเดียว** เป็นการประกอบธุรกิจที่บุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการ และบริหารจัดการธุรกิจทุกเรื่องด้วยตนเอง การประกอบธุรกิจในรูปแบบนี้ จะใช้ต้นทุนต่ำ มีวิธีการดำเนินงานที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก การบริหารจัดการต่างๆ มีความคล่องตัวสูง และเป็นธุรกิจที่สามารถพบเห็นในชีวิตประจำวันมากที่สุด เช่น หาบเร่ แผงลอย ร้านขายของชำ ร้านเสริมสวย ร้านขายเสื้อผ้า เป็นต้น
-
-
-
-