Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบาดวิทยา (Epidemiology) (ลักษณะการเกิดโรคในชุมชน (Sporadic หมายถึง…
ระบาดวิทยา (Epidemiology)
ความหมาย
ระบาดวิทยา คือ การศึกษาเกี่ยวกับการกระจายของโรคและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระจายของโรคในมนุษย์
ลักษณะการเกิดโรคในชุมชน
Sporadic หมายถึง ลักษณะของโรคที่เกิดขึ้นกระจัดกระจายไม่เฉพาะที่ เกิดขึ้นประปราย และมักจะเกิดทีละราย เกิดเป็นบางครั้งคราว เช่น โรคบาดทะยัก โรคพิษสุนัขบ้า โรคคอตีบ โรคไอกรน เป็นต้น
Epidemic หมายถึง ปรากฏการณ์การเพิ่มขึ้นของโรคอย่างผิดปกติในชุมชน และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ในสถานที่หนึ่งและในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกที่สูงกว่าปกติในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม เรียกว่ามีการระบาด (Epidemic) เมื่ออัตราป่วยสูงกว่าค่าเฉลี่ยสองเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และถ้าพบโรค เช่น ไข้ทรพิษที่ไม่เคยเกิดมานานเพียง 1 รายก็ถือว่ามีการระบาดเกิดขึ้น
Endemic หมายถึง โรคเกิดประจำท้องถิ่น การเกิดโรคที่พบอยู่ได้บ่อยๆ ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งหรือประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่มีอัตราป่วยสูง มีอัตราความชุกและอุบัติการณ์ที่สูง เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่หรือประชากรกลุ่มอื่นๆ เช่น มาลาเรียเป็นโรคเกิดประจำท้องถิ่นของจังหวัดกาญจนบุรี ตราด แม่ฮ่องสอน
Pandemic หมายถึง ลักษณะของโรคที่เกิดขึ้นในวงกว้าง เช่น เกิดทั่วประเทศ ระหว่างประเทศ ทวีปหรือทั่วโลก เช่น เอดส์ โรคอหิวาตกโรค และไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (Epidemiological surveillance)
การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา หมายถึง การติดตามสังเกตและพินิจพิจารณาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง (Dynamic process) ของลักษณะการเกิด การกระจายของโรคภัยต่างๆ รวมทั้งองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นๆจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ
พยาบาลเป็นหนึ่งในบุคลากรของระบบบริการสาธารณสุข มีบทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการเฝ้าระวังทางการระบาดวิทยา ดังนี้
พยาบาลและทีมสุขภาพร่วมมือกันจัดและดำเนินการเฝ้าระวังโรคเชิงรุก เฝ้าระวังเฉพาะปัญหาสำคัญของชุมชนที่รับผิดชอบ เฉพาะกลุ่มบุคคลที่รับผิดชอบ เช่น นักเรียนในโรงเรียน คนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล เป็นต้น ในการเฝ้าระวังเฉพาะปัญหาหรือเฉพาะกลุ่มที่นอกเหนือจากนโยบายระดับประเทศ พยาบาลชุมชนและทีมสุขภาพจะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง เรียบเรียง วิเคราะห์ข้อมูล และประมวลผลการเฝ้าระวังแล้วนำไปเผยแพร่แก่ผู้ร่วมงานและร่วมกันวางแผนดำเนินงานแก้ไขเมื่อพบปัญหา
ติดตามข้อมูลข่าวสารและนำความรู้จากรายงานการเฝ้าระวังทางวิทยาการระบาดพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขศึกษารายงานการเฝ้าระวังทางวิทยาการระบาดประจำสัปดาห์ ประจำเดือน ประจำปีของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนป้องกันและควบคุมโรคของชุมชน การวิจัยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ฯลฯ
ร่วมกับทีมสุขภาพในการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา บันทึกและรายงานการเกิดโรคที่ต้องเฝ้าระวังแก่เครือข่ายงานเฝ้าระวังโรคและรับข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการดูแลสุขภาพของชุมชนที่รับผิดชอบ
ปัจจัยก่อโรคทางระบาดวิทยา (Epidemiologic)
2.โฮทส์หรือมนุษย์ (Host) เป็นการศึกษาประชากรกลุ่มเป้าหมายในด้านอายุ เพศ พันธุกรรมและเชื้อชาติปัจจัยทางสรีระวิทยา ปัจจัยทางด้านจิตใจ การที่มีภูมิคุ้มกันของโรคมาก่อน การที่เคยป่วยหรือได้รับการรักษาโรคนั้นมาก่อน และพฤติกรรมด้านสุขภาพและอนามัย
3.สิ่งแวดล้อม (Environment) เน้นศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ สิ่งแวดล้อมทางด้านสารเคมี รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
1.สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (Agent) จะศึกษาด้านชีวภาพ ด้านสารเคมี ด้านกายภาพ ด้านจิตใจและสังคม การขาดสารบางชนิด
ความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ ลักษณะสิ่งแวดล้อม และสิ่งทำให้เกิดโรค ถูกเรียกว่า ปัจจัยสามทางระบาดวิทยา (Epidemiological triangle) เพราะต้องวิเคราะห์ตามปัจจัยทั้งสามนี้
1.ในภาวะที่มีความสมดุลระหว่างปัจจัยก่อโรคทางระบาดวิทยา จะไม่มีการเกิดโรคในชุมชน
2.ในภาวะที่ไม่มีความสมดุลระหว่างปัจจัยก่อโรคทางระบาดวิทยา จะมีโรคเกิดขึ้นในชุมชนภาวะที่ไม่สมดุลนี้อาจเกิดเนื่องมาจาก
2.2 คน (Host) มีการเปลี่ยนแปลงไป สัดส่วนของคนที่มีความไวในการติดโรคเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะทารกและคนชรา เช่น เด็กเล็กที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ คนชราป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เป็นต้น
2.3 สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป สิ่งแวดล้อมทำหน้าที่เหมือนเป็นฟัลครัม ดังนั้นจึงเท่ากับฟัลครัมนี้เลื่อนออกจากจุดกึ่งกลางของตน และจะเลื่อนออกไปเป็น 2 แบบ คือ
2.3.1 สิ่งแวดล้อมสนับสนุนสิ่งที่ทำให้เกิดโรคให้มีการเปลี่ยนแปลงไป
ทำให้คานเอียงหมายถึง เกิดโรคขึ้น ตัวอย่าง ฝนตกชุก ยุงชุม ไข้มาลาเรียชุก เป็นต้น
2.3.2 สิ่งแวดล้อมสนับสนุน คน หรือชุมชนที่ทำให้เกิดโรคให้มีการเปลี่ยนแปลงไปทำให้คานเอียงตัวอย่าง คนมีฐานะดีเกินไปหรือจนเกินไป อาจทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน เป็นต้น
2.1 สิ่งที่ทำให้เกิดโรค (Agent)เปลี่ยนแปลงไป โดยมีความสามารถในการแพร่กระจายโรคและทำให้เกิดโรคมากขึ้น เช่น เชื้อไวรัสของไข้หวัดใหญ่ที่ผ่าเหล่าทำให้ไข้หวัดใหญ่ระบาดทั่วโรค
อัตราการป่วย (Morbidity Rate)
อัตราอุบัติการณ์ (Incidence Rate)เป็นการวัดเฉพาะจำนวนผู้ป่วยใหม่ (new cases) ของความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในชุมชนใน “ช่วงเวลาหนึ่ง” (a period of time) ต่อจำนวนประชากรทั้งหมดของชุมชนที่เสี่ยงต่อโรคในช่วงเวลาเดียวกัน
สูตรIncidence rate = X /Y x K
x = จำนวนผู้ป่วยใหม่ของความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในชุมชน (ตามเวลา สถานที่ และบุคคล) ในช่วงเวลาหนึ่ง
y = จำนวนประชากรทั้งหมดของชุมชนนั้น ที่เสี่ยงต่อโรคในช่วงเวลาเดียวกัน
X=ค่าคงที่ โดยกำหนดให้มีค่าเท่ากับ100:1,000:10,000หรือ100,000ตามความเหมาะสม
ความสำคัญ
2.ใช้ศึกษาหาสาเหตุของโรค
3.ใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงมาตรการที่จะใช้ป้องกันและควบคุมโรค
1.ทำให้ทราบถึงโอกาสหรือความเสี่ยงของคนในชุมชนที่จะเกิดโรคในช่วงเวลาหนึ่ง
4.ใช้ประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรค
อัตราป่วยตาย (Case fatality rate)หมายถึงร้อยละของผู้ป่วยด้วยโรคหนึ่งตาย เป็นอัตราตายของผู้ที่ป่วยเป็นโรคนั้นๆ
สูตร อัตราป่วยตาย= จำนวนผู้ป่วยตายด้วยโรคหนึ่งในช่วงเวลาที่กำหนด/จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคนั้นทั้งหมดในช่วงระยะเวลาเดียวกันx100
ความสำคัญ
1.ใช้บ่งชี้ถึงความรุนแรงของโรคอัตราป่วยตาย เป็นดัชนีที่ใช้แสดงถึงความรุนแรงของโรคได้อย่างคร่าวๆ โรคที่มีอัตราตายสูงเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคมะเร็ง โรคที่มีอัตราป่วยตายต่ำเป็นโรคที่มีความรุนแรงต่ำ เช่น โรคหวัด โรคผิวหนัง เป็นต้น
2.ใช้บ่งชี้ถึงคุณภาพของบริการทางการแพทย์