Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
3 ปัญหาเรื้อรังกับ 2 ความท้าทายใหม่ ตัวกำหนดนโยบายการศึกษาไทยหลังได้รัฐบ…
3 ปัญหาเรื้อรังกับ 2 ความท้าทายใหม่
ตัวกำหนดนโยบายการศึกษาไทยหลังได้รัฐบาลชุดใหม่
3 ปัญหาเรื้อรัง
คุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนตกต่ำ
ผลจากการจัดการศึกษาที่เน้นความเป็นเลิศทางวิชาการจน
บั่นทอนคุณภาพของผู้เรียน ด้วยการประเมินผลและตัวชี้วัด
คุณภาพการศึกษาที่ยังไม่หลากหลาย เน้นการวัดผลจาก
คะแนนสอบเท่านั้น คัดแต่คนเรียนเก่ง จนอาจละเลยศักยภาพ
ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ทำให้องค์ความรู้ท้องถิ่นและความ
สามารถของนักเรียนที่มีความแตกต่างหลากหลายทั้งเชื้อชาติ
ศาสนา และวัฒนธรรมค่อยๆ สูญหายไป
ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาสูง
ที่ผ่านมานักปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทยมีความคิดที่จะลดความเหลื่อมล้ำ
ทางการศึกษาระหว่างคนรวยในเมืองกับคนจนในแถบชนบท เพราะความแตกต่าง
พวกนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุของความตึงเครียดทางการเมืองที่มีมาเป็น 10 ปี
ขณะที่พ่อแม่เด็กที่มีฐานะดีสามารถส่งไปเรียนเมืองนอกหรือโรงเรียนกวดวิชาได้
แต่คุณภาพการศึกษาโดยเฉพาะในชนบทยังต่ำอยู่มากและดูจะเป็นเรื่องที่น่าสิ้น
หวังของคนชนบทที่มีคุณภาพทางการศึกษาต่ำกว่า มิหนำซ้ำยังโดนชนชั้นกลาง
ในเมืองที่มีการศึกษาดีกว่า ตราหน้าว่าคนบ้านนอกพวกนั้นไร้การศึกษาและเชื่อ
คนง่าย ตกเป็นเครื่องมือของพวกนักการเมือง
ประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรต่ำ
ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในภาคการศึกษา นั่นคือ ครู เพราะปัญหาการขาดแคลนครูนั้น
เป็นปัญหาเรื้อรังที่มีความรุนแรง และเป็นปัญหาที่สะสมมาตั้งแต่ในชั้นประถมศึกษา การจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษา โดยเฉพาะทรัพยากรครูให้เพียงพอ เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพจึงเป็นความท้าทายหลักของทุกพรรคการเมืองที่จะเข้ามา บริหารประเทศต่อไป ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ
2 ความท้าทายใหม่
สภาวะสังคมสูงวัย (Aging Society)
“ไทยมีสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากร
ในวัยแรงงานมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับ
ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ ระดับรายได้
ต่อหัวและระดับการศึกษาของไทยยังต่ำกว่าประเทศอื่นที่
ได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยแล้ว ผลจากการเปลี่ยนผ่านสู่
สังคมสูงวัยของไทยจึงอาจเกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรงกว่า
ในหลายประเทศ”
ความปั่นป่วนทางเทคโนโลยี (Technology Disruption)
“ควรต้องมีความชัดเจนและปรับตัวให้ทันตั้งแต่
โครงสร้างเศรษฐกิจ การจ้างงาน ระบบการศึกษา
ระบบสวัสดิการ และกฎระเบียบภาครัฐ ตลอดจนต้อง
ปรับการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะใหม่ ปรับระบบ
สวัสดิการสังคมพร้อมรับโลกใหม่ที่ผันผวน และปรับ
ทัศนคติภาครัฐเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงแห่งอนาคตด้วย”
ทักษะ 3H
ความละเอียดด้านประสาทสัมผัสและมือ (Hand)
ความคิดสร้างสรรค์ (Head)
ความฉลาดทางสังคม (Heart)
การผลิตกำลังคนตามแนวทาง 3C
Craft คือ การผลิตสินค้าประณีต เช่น สินค้าเกษตรแบบญี่ปุ่น เฟอร์นิเจอร์สั่งทำ คราฟต์เบียร์
Creative เช่น การผลิตเกม งานบันเทิง ศิลปะ
Care งานในภาคบริการต่างๆ เช่น ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วย มัคคุเทศก์ ดูแลสัตว์เลี้ยง