Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาไทย ในศตวรรษที่ 21 (ข้อดี (เน้นผู้เรียนเป็นศูนย…
ความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาไทย
ในศตวรรษที่ 21
ความเปลี่ยนแปลง ?
เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง มิติของสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมแบบเดิมอาจ ถูกแทนที่ด้วย แนวคิด รูปแบบวิธีการความเชื่อและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ ตามยุคสมัย สังคมที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง การปรับตัว และการบริหารจัดการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ซึ่งโลกในศตวรรษที่ 21 ถือเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 19 และ20
อย่างสิ้นเชิง เศรษฐกิจ อุตสาหกรรมในอดีต ได้ถูกแทนที่ด้วยเศรษฐกิจ และบริการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ความรู้และนวัตกรรม และการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการเพิ่มผลผลิตแทนการใช้แรงงานแบบเดิม
อะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง ?
การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการศึกษา
การทำงานในรูปแบบดิจิตอล
การสื่อสารที่เสมือนจริง
การเรียนรู้อย่างไม่มีขอบเขต
3R4C
3R
Reading การอ่าน
Arithmetic คณิตศาสตร์
Writing การเขียน
4C
Critical Thinking การคิดวิเคราะห์
Communication การสื่อสาร
Collaboration การร่วมมือ
Creativity ความคิดสร้างสรรค์
ความท้าทายทางการบริหารในความเปลี่ยนแปลง
สภาวะทางสังคม
1) บุคลากรการศึกษาที่จะมีโอกาสขาดแคลน และ
จำเป็นต้องขยายอายุการทำงานของบุคลากร
2) การจัดการศึกษาจำเป็นต้องออกแบบสำหรับ
การจัดการศึกษาสำหรับผู้สูงอายุมากขึ้นเพราะ
เป็นคนกลุ่มใหญ่ของสังคม
ความเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคน
พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนจะเปลี่ยนไป สังเกตได้
อย่างง่ายจากพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ปัจจุบันการซื้อ
ขายผ่านอินเตอร์เน็ตมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เครือข่ายสังคม
ก็เข้ามามีบทบาทต่อการตัดสินใจของคนมากขึ้น
การเข้าถึงเทคโนโลยี
เทคโนโลยีกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เด็ก ครู จะใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ ใช้ในการจัดการเรียน การสอน เป็นเครื่องมือในการค้นคว้าพัฒนาความรู้ ของตนเอง อีกทั้งยังต้องสามารถนำเอาเทคโนโลยี มาใช้ในการบริหารจัดการสถานศึกษาอีกด้วย
ความหลากหลายและความขัดแย้ง
ในศตวรรษที่ 21 สถานศึกษาจำเป็นต้องเป็นองค์การที่เปิดรับ
ความหลากหลายและความแตกต่างมากขึ้น พร้อมๆ กับความ
จำเป็นในการสร้างให้เกิดความเป็นเอกภาพในองค์การ
ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
คนในยุคใหม่จะเป็นกลุ่มคนที่ไม่ยึดติดกับที่ทำงาน มีความ
พร้อมที่จะเปลี่ยนงานใหม่ได้ตลอดเวลา และนิยมที่จะ
ทำงานแบบอิสระมากกว่า ดังนั้นการรูปแบบการบริหาร
จัดการจึงเป็นอีกประเด็นสำคัญที่ท้าทายผู้บริหารในการปรับ
ตัวให้เข้ากับทีมงานรุ่นใหม่
ข้อดี
เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
สามารถทบทวนความรู้เดิม และสืบค้นความรู้ใหม่ได้ตลอดเวลา
ผู้เรียนมีช่องทางในการเรียน สามารถเข้าถึงผู้สอนได้
สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ในที่สนใจร่วมกันได้
ปลูกฝังการหาความรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ผู้เรียนมีเวลาในการคิดพิจารณาอย่างรอบคอบมากขึ้น ในการจัดเตรียมหรือหาความรู้อย่างลึกซึ้งและชัดเจน ตลอดจนใส่ใจในการหาคำตอบ
สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้
ให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้
เหมาะสำหรับผู้เรียนที่ค่อนข้างขาดความมั่นใจในตัวเอง
ข้อเสีย
ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง
ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software
ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง
ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้
ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ
อาจก่อให้เกิดนิสัยการผัดวันประกันพรุ่ง
แนวทางการแก้ไข
รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษาอย่างเหมาะสม
โรงเรียนต้องชี้แจงและขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง
ครูและบุคลากรต้องหมั่นศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีอยู่เสมอ
ครูผู้สอนต้องใส่ใจ แนะนำ และสอนการใช้เทคโนโลยีกับนักเรียน
ครูผู้สอนต้องศึกษาลักษณะของผู้เรียนอย่างละเอียด
ผู้เรียนต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย