Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทิศทางการศึกษาไทยในยุค “โลกป่วน” (“ข้อดีของยุคโลก “ป่วน”…
ทิศทางการศึกษาไทยในยุค “โลกป่วน”
ความหมาย
แนวทางที่มุ่งไปการพัฒนาบุคคลและสังคมที่ทำให้คนได้มีการเรียนรู้และพัฒนาขึ้นไปสู่ความเป็น
สมาชิกที่ดีของสังคมไทยในยุคที่เกิดการอลวนหรือที่เรียนกว่า ยุค 4.0
ความเป็นมาของทิศทางการศึกษาไทยในยุค “โลกป่วน”
ในยุคโลกป่วน เกิดจากประชากรที่มีรายได้น้อยซึ่งมีทักษะ ที่สามารถแทนที่ได้ง่ายโดยเทคโนโลยี คือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูงสุด ประเทศไทยจะเดินหน้าต่อไปในยุคแห่ง ความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรอบ ด้านนี้ได้ก็ต่อเมื่อประชาชนทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพ
“ข้อดีของยุคโลก “ป่วน”
มีการแก้ไขปัญหาเด็กเยาวชนนอกระบบการศึกษา
เพราะมีเด็กจำนวนมากที่เข้าเรียนช้ากว่าที่ควรจะเป็น
และให้เด็กได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง
มีการปรับ หลักสูตร ปรับกระบวนการจัดการศึกษา ครูต้องปรับบทบาทตัวเองเพื่อสร้างผู้เรียน ให้มีทักษะที่จำเป็นในการสร้างความก้าวหน้า
มีการนําความสามารถทางเทคโนโลยีมาใช้ ผสานกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และมูลค่าเชิงสร้างสรรค์
มีการเรียนรู้ต้องเปลี่ยนจากท่องจำสู่การบริหารความรู้ให้ได้
เพราะการเรียนรู้ในอดีตครูเป็นเจ้าของความรู้แต่โลกในปัจจุบัน
ค้นหาความรู้ผ่านเทคโนโลยีได้อย่างไม่มีข้อจํากัด
มีการลงทุนเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อย ซึ่งถือเป็นมาตรการป้องกันก่อนที่ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ให้ทุนพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะอาชีพแก่นักเรียนที่สำเร็จการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนเริ่มศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา และใช้คืนกลับผ่านระบบภาษีรายได้ในอนาคต
มาตรการลดหย่อนภาษีให้แก่บริษัทที่ลงทุนพัฒนา
ทักษะอาชีพใหม่ ๆ ให้แก่ลูกจ้าง เพื่อให้นายจ้างมีแรง
จูงใจในการลงทุนพัฒนาลูกจ้างเดิมแทนที่จะให้ออก
และจ้างคนใหม่ รวมถึงมาตรการสนับสนุนผู้ว่างงานให้มี
งานทำโดยเร็วภายใน 1 ปีหลังออกจากงาน
แนวทางพัฒนาทักษะการศึกษาใหม่
การเรียนด้วยตัวเอง
นำตัวเองในการเรียนรู้ รู้ว่าสนใจเรื่องอะไร รู้วิธีการหาข้อมูล วิธีการได้มาซึ่งข้อมูล และกลั่นกรองเป็น มีทักษะเรื่องการคิด การวางแผนและจัดการชีวิตตัวเองได้ ซึ่งจะเป็นวิธีการเรียนรู้ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต อันใกล้และเป็นโจทย์ใหม่ๆของการศึกษาทั้งของไทย และของโลก
ครูกลายเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้
บทบาทที่ชัดเจน เมื่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนเร็ว ครูไม่สามารถเป็นผู้ครอบครองความรู้ได้เหมือนแต่ก่อน แต่ครูต้องเรียนรู้ไปกับเด็ก ทำให้บทบาทของครูในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก เป็นโจทย์ที่ต้องเตรียมพร้อม ครูรุ่นใหม่และครูที่อยู่ในระบบอยู่แล้วก็ต้องปรับตัว เพราะจากนี้ไปการรอตำราเรียน รอความรู้ที่ครูถ่ายทอดไม่เพียงพอแล้ว
ครูต้องปรับเปลี่ยนให้ตัวเองมีความคิดในเรื่องสร้างสรรค์และทักษะบางอย่าง
เช่น การเป็นผู้ประกอบการ มองเห็นช่องทางการทำธุรกิจ การที่จะปั้นเด็กแบบนี้ได้ ครูก็ต้องส่งเสริมให้เด็กค้นหาตัวเองให้เจอ ทำงานกับคนและวางแผนชีวิตเป็น
คนยุคใหม่จึงต้องมีทักษะการเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องรู้ว่าตัวเองเก่งหรือถนัดอะไร มีจุดอ่อนที่ต้องพัฒนาเรื่องไหน เพราะการแข่งขันมันจะเกิดขึ้นโดยที่ควบคุมไม่ได้ เปลี่ยนแปลงเร็ว รูปแบบการแข่งขันหรือกติกาก็เปลี่ยนง่าย การที่เด็กรู้ว่าตัวเองคือใคร ทำอะไรได้
สรุป
การเดินทางไปสู่จุดหมาย อาจจะเลือกได้หลายทาง
และระยะเวลา ในการเดินทางได้ และที่สำคัญที่สุดคือการเปลี่ยนจุดหมาย อาจจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เส้นทางในการเดินทางสู่เป้าหมายก็ได้ หมายความว่า แม้ว่าในยุคโลกป่วน เป็นสิ่งที่เกือบทุกประเทศทั่วโลกถือเป็นวาระ แห่งชาติ การเปลี่ยนวิธีคิดอาจจะทำ ให้เปลี่ยนสถานการณ์เป็นคนละเรื่องเดียวกันก็ได้