Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
✨สรุปองค์ความรู้ เรื่อง นมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ✨…
✨สรุปองค์ความรู้ เรื่อง นมัสการมาตาปิตุคุณและนมัสการอาจริยคุณ✨
ลักษณะคำประพันธ์ของเรื่อง
อินทรวิเชียรฉันท์ 11 บทหนึ่งมี 4 วรรควรรคหน้า 5 ค่าวรรคหลัง 6 คำและมีคำรับส่งสัมผัสเพียงแห่งเดียวคือระหว่างคําสุดท้ายในวรรคที่ 2 กับคำสุดท้ายในวรรคที่ 3
พระยาศรีสุนทรโวหารเรียกฉันท์ที่ใช้ในการแต่งบทนมัสการมาตาปิตคุณและอาจารยคุณว่า“ อินทะวะชิระฉันท์ "แต่โดยทั่วไปเรียกว่า“ อินทรวิเชียรฉันท์ซึ่งมีการบังคับครูและลหุ แต่ผู้แต่งคือพระยาศรีสุนทรโวหารเลือกให้ความสำคัญกับเนื้อหาโดยเลือกสรรค้าทําให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ความรู้สึกและใช้สําหรับเป็นบทบูชาสรรเสริญมากกว่าการแต่งให้ถูกฉันทลักษณ์อย่างไรก็ตามเพื่อน ๆ ก็สามารถอ่านให้ถูกฉันทลักษณ์ได้เช่นคําว่าชนนีสามารถอ่านว่าชะ-นะ-นีเป็นต้น
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ หมายถึงฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามประดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ นิยมใช้ในการแต่งข้อความซึ่งเป็นบทซูมบทคร่ำครวญและใช้แต่งเป็นบทพากย์โขน
คําครุ (เสียงหนัก)
•คําที่ประสมกับสระเสียงยาวในแม่ ก กา
•คําที่มีตัวสะกด
•คำที่ประสมกับสระ,-ำ,ไ-,ใ-, เ-า
คําลหุ (เสียงเบา)
●คำที่ประสมกับสระเสียงสั้นในแม่
ก กา
.คำที่เป็นพยัญชนะตัวเดียวไม่มีรูปสระเช่น ธ ณ บ บ่เป็นต้น
ประวัติผู้แต่ง
• พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) เป็นกวีคนสําคัญในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้รับสมญานามว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทยเพราะเป็นผู้แต่งตำราชุดแรกของไทยเรียกว่า“ แบบเรียนหลวง”
• พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยอาจารยางกูร) เกิดวันที่ ๕ กรกฎาคมพปีศปี ๒๓๖๕ เป็นผู้แต่งตำราภาษาไทยและเป็นอาจารย์สอนวิชาภาษาไทยแก่เจ้านายในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ รวมสิริอายุได้ ๖๘ ปี
วัตถุประสงค์ในการแต่ง
เพื่อสรรเสริญพระคุณของพระบิดามารดา และครูอาจารย์
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และบทนมัสการอาจริยคุณ[1] เป็นบทสรรเสริญ พระคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ รวมอยู่ในคำนมัสการคุณานุคุณ ประกอบด้วยบทนมัสการ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ บทนมัสการมาตาปิตุคุณ บทนมัสการอาจริยคุณ บทสดุดีพระมหากษัตริย์ และบทสรรเสริญเทพยดา
เนื้อเรื่องย่อ
มีเนื้อหากล่าวสรรเสริญพระคุณของบิดามารดา ที่ได้เลี้ยงดูทะนุถนอมบุตรจนเติบใหญ่ โดยมิเห็นแก่ความยากลำบาก พระคุณของบิดามารดากว้างใหญ่ไพศาล เปรียบได้กับภูผา และแผ่นดิน สุดที่จะทดแทนได้
บทนมัสการอาจริยคุณมีเนื้อหากล่าวสรรเสริญพระคุณของครูบาอาจารย์ ผู้เปี่ยมด้วยจิตเมตตากรุณา ทำหน้าที่สั่งสอนให้ความรู้ในสรรพวิชา และอบรมจริยธรรม ชี้ให้เห็นบาปบุญคุณโทษ เพื่อขจัดความเขลาของศิษย์
การบูชาบิดา มารดาและครูอาจารย์นี้ถือเป็นมงคล อันจะยังความรุ่งเรืองแก่ชีวิต และวัฒนธรรมอันดีงามที่ดำรงสืบมาช้านานในสังคมไทย
ความเป็นมาของเรื่อง
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ และบทนมัสการ อาจริยคุณ เป็นบทประพันธ์ของพระยาศรีสุนทร โวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่ต้องการสั่งสอนและ ปลูกฝังให้เยาวชนในฐานะที่เป็นลูกและศิษย์มีความ กตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่ อันได้แก่ บิดา มารดา และครูอาจารย์ เพราะความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
บทประพันธ์ที่รู้สึกประทับใจ
เหตุผลที่ชอบ
เพราะเมื่อถอดคำประพันธ์แล้วเนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับความเคารพนับถือคุณครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณที่ช่วยสั่งสอนเรามาจนมีความรู้ความสามารถ
นมัสการอาจริยคุณ
ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
1.บิดามารดาเป็นพรหมของบุตร ทำหน้าที่อบรมสั่งสอนและเลี้ยงดูบุตรจนเติบโต ดังนั้นผู้ที่เป็นบุตรจึงควรสำนึกในบุญคุณของท่านทั้งสอง และปฏิบัติต่อท่านเพื่อให้ท่านมีความสุขทั้งกายและใจ
2.ครูอาจารย์เป็นผู้อบรมสั่งสอนศิษย์ต่อจากบิดามารดา ทำให้ศิษย์มีความรู้ สามารถนำไปใช้ดำเนินชีวิต ดังนั้นผู้ที่เป็นศิษย์จึงควรยกย่องและเคารพเชื่อฟังคำสั่งสอนของครู
ครูเป็นผู้ชี้แจงอบรมสั่งสอนทั้งวิชาความรู้และความดีทางจริยธรรมพระคุณของครูนับว่าสูงสุดจะป็นรองก็เพียง แต่บิดามารดาเท่านั้น
เพื่อให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิตได้ความคิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่านและนําไปใช้ในการดำเนินชีวิตนําไปเป็นแนวปฏิบัติหรือแก้ปัญหา
ไม่มีพระคุณของผู้ใดจะยิ่งใหญ่เท่ามารดา
วิเคราะคุณค่าที่ได้จากเรื่อง
คุณคด้านวรรณศิลป์
การเลือกสรรคำ
ผู้ประพันธ์ได้เลือกคำที่เหมาะสมในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก มีการใช้คำที่เป็นการยกระดับในการเดินเรื่อง เช่น ชนก ชนนี เป็นต้น และยังพยายามใช้คำเพื่อให้คนเห็นภาพ เช่น โอบเอื้อ เจือจุน เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ผู้ประพันธ์ใช้คำที่เรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจได้ในทันที อาจมีคำยากบ้างแต่ไม่มากนัก ซึ่ง StartDee ได้รวบรวมให้แล้วข้างต้น
การใช้ภาพพจน์
มีการใช้ภาพพจน์เพื่อเปรียบเทียบระหว่างบุญคุณของพ่อแม่ กับสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและความยิ่งใหญ่ของพระคุณของท่าน โดยผู้ประพันธ์ได้ใช้ “อุปลักษณ์”
การเล่นเสียง
แบ่งออกเป็นการเล่นเสียงพยัญชนะ การเล่นเสียงสระ และการเล่นเสียงเบา - หนัก (ครุ - ลหุ)
การเล่นเสียงพยัญชนะ หากเล่นเสียงพยัญชนะเดียวกับหรือใกล้เคียงกัน จะทำให้เกิดการกระทบกันของเสียง ช่วยให้เกิดความไพเราะ เช่น ข้าขอนบชนกคุณ มีการใช้คำว่า ข้าและขอ เป็นเสียง ข เหมือนกัน และใช้คำว่า (ช) นกและนบ ซึ่งเป็นเสียง น เหมือนกัน เป็นต้น
การเล่นเสียงสระ มีการเล่นเสียงสระที่เป็นเสียงเดียวกัน ทำให้เวลาอ่านเกิดการส่งสัมผัสที่น่าฟัง เช่น ตรากทนระคนทุกข์ มีการเล่นเสียงสระโอะ โดยใช้คำว่า ทน และ (ระ) คน
การซํ้าคำ
มีการใช้คำที่ออกเสียงเหมือนกันมาวางไว้ในตำแหน่งใกล้กัน แต่มีการใช้คำอื่นแทรกลงไป ทำให้การออกเสียงมีความคมคาย ไพเราะ และยังเพิ่มความหมายที่น่าสนใจ เช่น ก็ บ่ เทียบ บ่ เทียมทัน มีการใช้คำว่า “บ่” แทรกกลางระหว่างคำว่า “เทียบ” และ “เทียม” ที่ออกเสียงคล้ายคลึงกัน
นอกจากนี้ยังมีการเล่นคำที่มีความหมายคู่ตรงข้าม เช่น บ ทราบก็ได้ทราบ ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน เป็นต้น
คุณคด้านเนื้อหา
• การลำดับความได้ชัดเจน คำนมัสการมาตาปิตุคุณและอาจริยคุณมีการลำดับเนื้อหาอย่างเหมาะสม ชัดเจน โดยในคำนมัสการมาตาปิตุคุณ มีการกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของพ่อแม่ที่คอยเลี้ยงดูลูกจนเติบใหญ่ ตลอดจนความยิ่งใหญ่ของบุญคุณของพ่อแม่ และปิดท้ายด้วยการการสอนให้เด็ก ๆ รู้จักกตัญญูรู้คุณต่อผู้ให้กำเนิด เช่นเดียวกับคำนมัสการอาจาริยคุณ ที่กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของครูอาจารย์ที่คอยสั่งสอนและให้ความรู้ทั้งทางธรรมและทางโลก ตามด้วยการกล่าวถึงบุญคุณของคุณครู ซึ่งเด็ก ๆ ควรเคารพและขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง
• มีการสอนจริยธรรม จะเห็นได้ว่า บทเรียนเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่เพื่อน ๆ นำไปใช้ได้จริง ด้วยการรู้จักสำนึกในพระคุณของบิดามารดาและครูอาจารย์ นับเป็นการใช้บทประพันธ์เพื่อปลูกฝังจริบธรรมได้เป็นอย่างดี
คำนมัสการคุณานุคุณพิมพ์รวมอยู่ในงานชุดภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร
อนึ่งข้าคำนับน้อม
โอบเอื้อและเจือจุน
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ
ชี้แจงและแบ่งปัน
จิตมากด้วยเมตตา
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์
ขจัดเขลาบรรเทาโม-
กังขา ณ อารมณ์
คุณส่วนนี้ควรนับ
ควรนึกและตรึกใน
ต่อพระครูผู้การุญ
อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน
และกรุณา บ เอียงเอน
ให้ฉลาดและแหลมคม
หะจิตมืดที่งุนงม
ก็สว่างกระจ่างใจ
ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
จิตน้อมนิยมชม
นายบุญฤทธิ์ ขะตะเจริญ ม.4/5 เลขที่ 15
สมาชิกในกลุ่ม
Thank you