Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก (l19-43, TEMPLATE2018_CONTENT-03-8-1,…
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
การเร่งรัดพัฒนาประเทศในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงโดยรวดเร็ว ป่าไม้ถูกทำลายไปจนเหลือไม่ถึงหนึ่งในสี่ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดที่มีอยู่เดิม ต้นน้ำลำธารก็ถูกทำลายลงมากจนเกิดปัญหาภัยแล้ง สัตว์ป่าถูกล่าจนบางชนิด
-
สมัน สูญพันธุ์หมดไปจากโลก แร่ธาตุถูกขุดขึ้นมาใช้จนบางแห่งหมดไปจากพื้นที่ทำให้เกิดมีเหมืองร้างขึ้น น้ำในแม่น้ำลำคลองที่เคยใสสะอาดก็เน่าเสียเพราะขยะและน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม การใช้ธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยในช่วงเวลาห้าสิบปีได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน
-
ข้อมูลมลพิษทางอากาศในแต่ละวัน จำเป็นต้องมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตเพื่อตรวจสอบคุณภาพอากาศรายชั่วโมงของสถานที่ที่ตนเองอยู่ แม้มลพิษทางอากาศจะคุกคามทุกคนในเมือง แต่การป้องกันมลพิษทางอากาศ คือการใส่หน้ากากป้องกัน และการใช้เครื่องกรองอากาศ แต่สำหรับผู้คนบางกลุ่มนั้น การหาหน้ากาก N95 หรือ N99 ที่เหมาะสมมาใส่เพื่อป้องกันตัวเองไม่ใช่เรื่องง่ายเนื่องด้วยข้อจำกัดด้านค่าใช้จ่ายและในช่วงนี้ที่ความต้องการสูง ของขาดตลาด ทำให้การหาซื้อนั้นจำเป็นต้องผ่านทางช่องทางออนไลน์ที่ต้องใช้อย่างน้อยก็คือโทรศัพท์สมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ตอีกเช่นกัน การเข้าถึงทรัพยากรจึงเป็นข้อจำกัดของคนบางกลุ่ม ทั้งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต หน้ากากกันฝุ่น ยังมิต้องกล่าวถึงเครื่องกรองอากาศราคาสูง
-
การเผาในที่โล่งแจ้ง เช่น การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในที่ราบและที่ดอน การเผาขยะ การเผาพื้นที่ไร่หมุนเวียนในที่สูงเพื่อเตรียมการเพาะปลูก การเผาป่า เป็นต้น
-
-
-
หมอกควันข้ามแดนมาจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเพราะมีการเผาป่าและเตรียมการเกษตรมากขึ้น ได้แก่ สาธารณรัฐเมียนม่าร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
-
เป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศโลกที่ดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์มากที่สุด โดยประกอบด้วยโอโซน (O3) ในปริมาณมากกว่าชั้นบรรยากาศอื่น แม้จะยังถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับแก๊สชนิดอื่นในชั้นสตราโทสเฟียร์ ชั้นโอโซนมีโอโซน 10 ส่วนในล้านส่วน ขณะที่ปริมาณเฉลี่ยของโอโซนในชั้นบรรยากาศโลกโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 0.3 ส่วนในล้านส่วน ชั้นโอโซนพบได้ ชั้นโอโซนดูดซับ 97 ถึง 99 เปอร์เซ็นต์ของรังสียูวีความถี่กลางของดวงอาทิตย์
-
-
-
สภาพภูมิอากาศของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปตามแรงกระทำจากภายนอก ซึ่งรวมถึงการผันแปรของวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ (แรงกระทำจากวงโคจร) การระเบิดของภูเขาไฟ และการสะสมของแก๊สเรือนกระจกในบรรยากาศ รายละเอียดเกี่ยวกับสาเหตุของความร้อนที่เพิ่มขึ้นของโลกยังคงเป็นประเด็นการวิจัยที่มีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี มีความเห็นร่วมทางวิทยาศาสตร์ (scientific consensus) บ่งชี้ว่า ระดับการเพิ่มของแก๊สเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นส่วนที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดนับแต่เริ่มต้นยุคอุตสาหกรรมเป็นต้นมา สาเหตุข้อนี้มีความชัดเจนมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากมีข้อมูลมากพอสำหรับการพิเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีสมมุติฐานอื่นในมุมมองที่ไม่ตรงกันกับความเห็นร่วมทางวิทยาศาสตร์ข้างต้น ซึ่งนำไปใช้เพื่ออธิบายเหตุการณ์ที่อุณหภูมิมีค่าสูงขึ้น สมมุติฐานหนึ่งในนั้นเสนอว่า ความร้อนที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นผลจากการผันแปรภายในของดวงอาทิตย์
ผลกระทบจากแรงดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นในฉับพลันทันใด เนื่องจาก “แรงเฉื่อยของความร้อน” (thermal inertia) ของมหาสมุทรและการตอบสนองอันเชื่องช้าต่อผลกระทบทางอ้อมทำให้สภาวะภูมิอากาศของโลก ณ ปัจจุบันยังไม่อยู่ในสภาวะสมดุลจากแรงที่กระทำ การศึกษาเพื่อหา “ข้อผูกมัดของภูมิอากาศ” (Climate commitment) บ่งชี้ว่า แม้แก๊สเรือนกระจกจะอยู่ในสภาวะเสถียรในปี พ.ศ. 2543 ก็ยังคงมีความร้อนเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 0.5 องศาเซลเซียสอยู่ดี
-
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
-
-
มีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และ น้ำท่วม ในปัจจุบันความแห้งแล้งทั่วโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าใน 30 ปีที่ผ่านมา 2 เท่า
-
ผลกระทบรุนแรงในระดับภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ในยุโรป จะเกิดน้ำท่วมจากแม่น้ำเพิ่มขึ้นในพื้นที่ส่วนมากของทวีป และตามพื้นที่ชายฝั่งจะเสี่ยงต่อน้ำท่วม การกัดเซาะ และ การสูญเสียพื้นที่ในทะเลเพิ่มขึ้นอย่างมาก
-
ระบบทางธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ธารน้ำแข็ง ปะการัง ป่าชายเลน ระบบนิเวศของทวีปอาร์กติก ระบบนิเวศของเทือกเขาสูง ป่าสนแถบหนาว ป่าเขตร้อน เขตลุ่มน้ำในทุ่งหญ้า และ เขตทุ่งหญ้าในท้องถิ่น จะถูกคุกคามอย่างรุนแรง
-
-
ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้
การแผ่รังสีดวงอาทิตย์ที่ความถี่แสงที่ตามองเห็นผ่านชั้นบรรยากาศเป็นส่วนใหญ่และทำให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกสูงขึ้น แล้วจะมีการแผ่พลังงานนี้ออกมาในรูปรังสีความร้อนอินฟราเรดที่มีความถี่ต่ำกว่า การแผ่รังสีอินฟราเรดถูกก๊าซเรือนกระจกดูดซับไว้ และจะมีการแผ่พลังงานปริมาณมากกลับไปยังพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศที่ต่ำกว่า กลไกดังกล่าวตั้งชื่อตามปรากฏการณ์ที่การแผ่รังสีดวงอาทิตย์ผ่านกระจกแล้วทำให้เรือนกระจกอุ่นขึ้น แต่วิธีการกักเก็บความร้อนนั้นแตกต่างไป โดยเรือนกระจกเป็นการลดการไหลของอากาศ แยกอากาศที่อุ่นข้างในเพื่อที่ความร้อนจะไม่สูญเสียไปโดยการพาความร้อน
-
ผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ สภาวะโลกร้อนที่มนุษย์สร้างขึ้นได้ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นตลอดศตวรรษที่ผ่านมา
-
-
-
-
ฝนกรดเป็นผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (sulfur dioxide: SO2) และไนโตรเจนออกไซด์ (nitrogen oxide: NO) โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้มักจะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำ (water: H2O) และสารเคมีอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศเพื่อก่อให้เกิดกรดซัลฟิวริก (sulfuric acid: H2SO4) , กรดไนตริก (nitric acid: HNO3) และสารมลพิษอื่น ๆ ก๊าซเหล่านี้มักจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีจะส่งผลทำให้อากาศอบอ้าวอากาศร้อนชื้นทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ
-
-
-
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาสำคัญที่มักเกิดควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะพบได้ในเกือบทุกประเทศ โดยประเทศไทยเองก็เป็นประเทศหนึ่งที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวในขณะนี้ เนื่องจากประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
-
ด้วยการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ซึ่งหากไม่มีแผนการดำเนินงานที่เหมาะสมแล้ว จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่มีสภาพเสื่อมโทรมลง และยังก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ซึ่งย่อมจะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศได้ในที่สุด
-
ปรากฏการณ์เอลนิโญ่เกิดจากการเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของอุณหภูมิที่ผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออก ที่ทำให้ความดันบริเวณตะวันออกต่ำกว่าความดันบริเวณตะวันตก จึงเกิดเป็นลมที่พัดสวนทางกับลมสินค้า จากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก โดยลมต้านนี้อาจมีความแรงพอที่จะพัดพากระแสน้ำอุ่นให้ไหลย้อนทิศทางได้ด้วย (ภาพที่ 5- 7 - b) โดยเฉพาะเมื่อลมสินค้ามีการอ่อนตัวลงในบางเดือนของปี (ประมาณเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์) ปรากฏการณ์เอลนิโญ่ทำให้แปซิฟิกตะวันออก มีความอุ่นอย่างผิดปกติ โดยอุณหภูมิอาจสูงกว่าปกติ 2?C – 3.5?C จึงเรียกว่า “the El Nino warming” และความร้อนในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นนี้จะถูกปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ จะทำให้มีก้อนเมฆสะสมอยู่ในมหาสมุทรมากขึ้น