Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก (1.ภาวะโลกร้อน (วิธีเเก้ปัญหา…
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
1.ภาวะโลกร้อน
วิธีเเก้ปัญหา
การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน
การลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง (น้ำมัน)
ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายความชุ่มชื้นให้กับโลก
ผลกระทบ
ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
สัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากขึ้น และเกิดความสูญเสียด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ภัยพิบัติจากธรรมชาติที่เกิดบ่อยขึ้น และรุนแรงมากขึ้น เป็นเพราะสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป ฤดูหนาวสั้นลง ฤดูร้อนยาวนานขึ้น
สาเหตุ
ก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ทำให้ก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้ลอยขึ้นไปรวมตัวกันอยู่บนชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้รังสีของดวงอาทิตย์ที่ควรจะสะท้อนกลับออกไปในปริมาณที่เหมาะสม กลับถูกก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้กักเก็บไว้ ทำให้อุณหภูมิของโลกค่อยๆสูงขึ้นจากเดิม
ปัญหา
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกว่า ภาวะโลกร้อน กิจกรรมที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน คือ กิจกรรมที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ได้แก่การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง และการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยทางอ้อม คือ การตัดไม้ทำลายป่า
2.ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปัญหา
ขบวนการที่รังสีความร้อนจากพื้นผิวโลกจะถูกดูดซับโดยก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ และแผ่รังสีออกไปอีกครั้งในทุกทิศทาง เนื่องจากการแผ่รังสีออกไปอีกครั้งถูกส่งกลับมายังพื้นผิวโลกและบรรยากาศด้านล่าง เป็นผลทำให้ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลกเฉลี่ยสูงขึ้นถ้าไม่มีก๊าซเหล่านี้
สาเหตุ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
การเผาไหม้เชื้อเพลิง
ก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
มีเทน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ
CFC เป็นสารประกอบสำหรับทำความเย็น
Nitrous Oxide (N2O) เป็นก๊าซมีพิษที่เกิดจากเครื่องยนต์ การเผาถ่านหิน
ผลกระทบ
อุณหภูมิจะสูงขึ้น ทำให้น้ำแข็งที่ขั้วโลกละลาย
ทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปฝนตกไม่ตามฤดูกาล
วิธีการเเก้ปัญหา
ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
ไม่สนับสนุนกิจการใดๆ ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรของโลก
3.เอลนีโญ - ลานีญา
ปัญหา
ลานีญาอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีค่าต่ำ กว่าปกติ เนื่องจากลมค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงมากกว่าปกติ จึงพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทาง ตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมีอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก
เอลนิโญ่ ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจากการที่กระแสน้ำอุ่นพัดมาแทนที่กระแสน้ำเย็นใน บริเวณเส้นศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก(บริเวณชายฝั่งเอกวาดอร์ เปรูและชิลีตอนเหนือ)ทำให้กระแสน้ำเย็นด้านล่างไม่สามารถหมุนวนขึ้นมาที่ บริเวณพื้นผิวทะเลได้อุณหภูมิผิวน้ำทะเลจึงสูงขึ้นทำให้อากาศเหนือบริเวณดัง กล่าวลอยตัวขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆฝนบริเวณชายฝั่งเอกวาดอร์เปรูและชิลีตอน เหนือ จึงชุ่มชื้นเพราะมีพายุและฝนตกมาก
สาเหตุ
เกิดขึ้นจากการไหลย้อนกลับของผิวน้ำทะเลที่อุ่น ในช่วงเวลาช่วงหนึ่งๆ จากบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ไปแทนที่กระแสน้ำเย็นที่ไหลอยู่เดิมบริเวณเส้นศูนย์สูตรทางมหาสมุทรแปซิฟิก
ผลกระทบจากเอลนิลโญ่
ทำให้พื้นที่ที่เคยชุ่มชื้นเกิดภาวะแห้งแล้งและพื้นที่ที่เคยมีฝนตกน้อยกลับฝนตกหนัก เกิดภาวะน้ำท่วม
ทำให้อุณหภูมิของอากาศเปลี่ยนแปลง
ผลกระทบที่เกิดจากลานิลญ่า
ทำให้เกิดช่วงแห้งแล้งในพื้นที่เดียวกัน ส่วนอีกด้านหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ลานีญาทำให้เกิด
ฝนตกหนัก สำหรับอินเดีย
4.ฝนกรด
ปัญหา
น้ำฝนที่มีค่าเป็นกรด มีค่า pH ต่ำกว่า 5.6 เกิดจากการรวมตัวของน้ำฝนและแก๊สออกไซด์ต่างๆ ของโลหะที่เกิดจากควันเสียจากโรงงานอุตสากรรม รวมถึงควันจากการเผาไหม้อื่นๆ ปะปนอยู่ในอากาศจึงทำให้มีสมบัติเป็นกรด
สาเหตุ
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ทำให้เกิดกรด ซัลฟุริก (H2SO4)
ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ทำให้เกิดกรด ไนตริก (HNO3)
ผลกระทบ
ผู้ที่ใช้น้ำฝนเป็นน้ำดื่ม น้ำใช้ จะมีผลต่อสุขภาพเพราะฝนกรดเหล่านี้อาจทำให้เกิดพิษภัย
ฝนกรดทำลายวัสดุสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์บางชนิด คือ จะกัดกร่อนทำลายพวกโลหะ
วิธีเเก้ปัญหา
การเลือกใช้เชื้อเพลิงที่มีการปนเปื้อนของซัลเฟอร์น้อย
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
7.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมายถึง
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ทุกสิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวเราทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติซึ่งได้แก่ อากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ป่ามนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นประโยชน์และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษย์
หลักการในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป
น้ำมันปิโตเลียม ก๊าซธรรมชาติและสินแร่
ทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น
มีอยู่ในธรรมชาติมากมายหลายชนิด เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า น้ำ ดิน และอากาศ
ทรัพยากรธรรมชาติที่ทดแทนได้
น้ำ ดิน ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Reduce หรือการลดการใช้
Reuse หรือการใช้ซ้ำ
Recycle หรือการนำกลับมาใช้ใหม
Repair หรือการซ่อมแซม
Reject หรือการปฏิเสธ
Recovery หรือการถนอมรักษา
Renewal หรือ การเสริมเเต่งของเก่า
5.รูโหว่โอโซน
สาหตุ
คลอรีนซึ่งมาจากการใช้สาร CFC และปฏิกิริยาลูกโซ่ของออกไซด์ของไนโตรเจน ปฏิกิริยานี้จะเกิดอย่างรวดเร็วบนอนุภาคน้ำแข็ง ทำให้ทวีปแอนทาร์กทิกที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าลบ 80 องศาเซลเซียส มีปริมาณโอโซนลดลงอย่างรวดเร็ว
ผลกระทบ
เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง
สัตว์และพืชรังสีอัลตราไวโอเลตชนิดบี จะไปทำลายการเจริญเติบโตของสัตว์ในช่วงแรก
ปัญหา
ปรากฏการณ์ที่ปริมาณโอโซนในบรรยากาศชั้นสทราโทสเฟียร์ลดลง สาเหตุที่โอโซนถูกทำลาย
วิธีเเก้ปัญหา
เลิกใช้อุปกรณ์ที่เป็นลักษณะกระป๋องสเปรย์
เลือกซื้อและใช้เครื่องปรับอากาศที่ไม่ปล่อยสาร CFC
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
จุดมุ่งหมาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาสิ่งแวดล้อมแลทรัพยากรธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต จึงทรงให้มีการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิธีการทำนุบำรุง ปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ โดยทรงเน้นงานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของปัญหาน้ำเน่าเสีย
การเเก้ไขมลพิษทางน้ำ
การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการปรับปรุงคุณภาพของแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้ว เช่น บึงและหนองต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งบำบัดน้ำเสียที่รับมาจากคลองให้มีสภาพดีขึ้น โดยหนึ่งในโครงการปรับปรุงแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ โครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหลักการบำบัดน้ำเสียตามแนวทฤษฎีการพัฒนาโดยอาศัยผักตบชวาช่วยดูดซับสิ่งสกปรก โลหะหนัก และสารพิษต่าง ๆ ในแหล่งน้ำ
การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ
การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศเป็นระบบการบำบัดน้ำ โดยอาศัยธรรมชาติร่วมกับเทคโนโลยีแบบประหยัด คือ การสร้างบ่อกรวดสำหรับดักสารแขวนลอย จากนั้นจึงส่งผ่านน้ำไปยังบ่อต่อ ๆ ไป ซึ่งมีการปลูกต้นกกอียิปต์เพื่อดับกลิ่น การปลูกผักตบชวาเพื่อช่วยดูดซับสิ่งสกปรก โลหะหนักและสารพิษต่าง ๆ ในแหล่งน้ำ สุดท้ายจึงส่งน้ำเข้าสู่บ่อเติมออกซิเจน โดยอาศัยกังหันน้ำชัยพัฒนาและแผงท่อเติมอากาศช่วยเติมออกซิเจนลงในน้ำ
กังหันน้ำชัยพัฒนา
เป็นเครื่องกลเติมอากาศเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำเพื่อบำบัดน้ำเสียกังหันน้ำชัยพัฒนา เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เรียบง่ายประหยัด และสามารถผลิตขึ้นเองภายในประเทศ โดยมีหลักการทำงาน คือ การวิดน้ำขึ้นมา แล้วปล่อยให้น้ำไหลเป็นสายออกจากซองวิดน้ำ ทำให้น้ำสัมผัสอากาศได้อย่างทั่วถึง ออกซิเจนจึงสามารถละลายในน้ำได้มากขึ้นจึงเป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำได้
การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ
โดยใช้การปลูกพืชบางชนิด เช่น การปลูกหญ้าแฝกช่วยคลุมดินและยึดเกาะดิน เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวดินอีกด้วย การใช้เศษวัสดุที่ไม่มีประโยชน์ต่อครัวเรือน เช่น ซากพืชเศษวัชพืช หรือของเหลือใช้ทางการเกษตรเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตปุ๋ยจากจุลินทรีย์อีเอ็ม ซึ่งสามารถใช้แทนปุ๋ยเคมีได้ จึงเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมที่สมดุลของดินให้มีความยั่งยืนสืบต่อไปได้
6.ฝุ่นละออง PM2.5
ปัญหา
ฝุ่นละออง PM 2.5 (particle matter smaller than 2.5 micron) คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กมากๆๆๆ ตามองไม่เห็น คือเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (ไมโครเมตร) หรือเล็กกว่า 3% ของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมเสียอีก .. ในเมืองใหญ่นั้น สาเหตุหลักๆ คือ จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และจากการก่อสร้าง (ไม่ใช่จากการเผาหญ้า เผาฟาง ทำไร่นะ)
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิดฝุ่นละอองมีหลายปัจจัย เช่น โรงผลิตไฟฟ้า ควันท่อไอเสียจากรถยนต์ การเผาไม้ทำลายป่า เผาขยะ รวมถึงควันบุหรี่ด้วย ซึ่งปกติแล้วกิจกรรมต่างๆ ที่คนเราทำทุกวันก็ส่งผลให้เกิดฝุ่นละอองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่แหล่งต้นตอสำคัญของ PM2.5 ในบรรยากาศ คือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์ และฝุ่นจากการก่อสร้าง
ผลกระทบ
สามารถผ่านเข้าไปในร่างกายเราลึกได้ถึงถุงลมปอด บางส่วนสามารถเล็ดรอดผ่านผนังถุงลมเข้าเส้นเลือดฝอยล่องลอยอยู่ในกระแสเลือด และกระจายตัวแทรกซึมไปทั่วร่างกายของเราได้
กระตุ้นให้คนที่มีโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ
กระตุ้นให้คนที่มีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
การเเก้ไขปัญหา
หลีกเลี่ยงการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง
ใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่จำเป็นต้องออกข้างนอกบ้าน หรือที่โล่งแจ้ง
รับประทานอาหารเสริม อาหารที่มีวิตามินซี และวิตามินอีสูง