Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากร และ สิ่งแวดล้อมระดับโลก (การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามปรั…
ปัญหาทรัพยากร
และ
สิ่งแวดล้อมระดับโลก
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปัญหา
มีก๊าซบางชนิดสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินสมดุล ซึ่งก๊าซเหล่านี้สามารถดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดและคายพลังงานความร้อนได้ดีพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศ จึงมีอุณหภูมิสูงขึ้น
สาเหตุ
ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นผ่านลงมายังผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อน ให้กระจายอยู่ภายใน ชั้นบรรยากาศและพื้นผิวโลก จึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก แต่ในปัจจุบันมีก๊าซบางชนิดสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินสมดุล ซึ่งก๊าซเหล่านี้สามารถดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดและคายพลังงานความร้อนได้ดีพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศ จึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลก และสิ่งมีชีวิตพื้นผิวโลกอย่างมากมาย
ผลกระทบ
ผลกระทบต่อแหล่งน้ำ เมื่อมีฝนตกหนักขึ้น จนเกิดอุทกภัยและแผ่นดินถล่ม ดินอันอุดมสมบูรณ์จะถูกพัดพาไปตามลำน้ำเกิดเป็นความขุ่นของสายน้ำ ที่เมื่อตกตะกอนจะสร้างความตื้นเขินให้แก่แหล่งน้ำ เมื่อสายน้ำขุ่นไหลออกสู่ชายฝั่งจะทำลายแนวปะการัง แหล่งอาศัยและอนุบาลสัตว์น้ำ นอกจากนั้นแล้วตะกอนดินที่มีปริมาณธาตุไนโตรเจนสูง ยังช่วยเร่งการเจริญเติบโตของสาหร่ายตามชายฝั่ง เมื่อสาหร่ายเหล่านี้ตายลง จะเกิดการเน่าเสีย ที่ลดปริมาณออกซิเจนในน้ำจนเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ
ผลกระทบต่อการเกษตรกรรม ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มสูงขึ้นจะเร่งการเจริญเติบโตของพืช แต่ในบริเวณที่มีการจัดสรรน้ำในการชลประทานได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในการเกษตรกรรม อากาศที่ร้อนขึ้นจะเร่งการระเหยและการคายน้ำของพืช ทำให้พืชเกิดอาการเหี่ยวแห้งตาย ในขณะเดียวกัน อากาศร้อนยังเร่งการเจริญเติบโตของแมลงและจุลินทรีย์บางชนิดที่ทำลายพืช
การสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ที่ผิดปรกติบนผิวโลก นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่าความผิดปกติในการสะท้อนรังสีดวงอาทิตย์ของโลกในฤดูกาลต่างๆ มีสาเหตุมาจากการตัดไม้ทำลายป่าในเขตร้อนชื้น และ การหายไปของน้ำแข็งที่ขั้วโลก เนื่องจากแถบเส้นศูนย์สูตรเป็นบริเวณที่ได้รับแสงอาทิตย์มากที่สุด ดังนั้นการหายไปของป่าในเขตร้อนชื้น จึงทำให้การสะท้อนรังสีของโลกผิดปกติไป ซึ่งจะสัมพันธ์กับความผิดปกติของปริมาณน้ำฝนที่ตก
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
ลดระยะทางที่ใช้สำหรับการขน ส่งอาหาร เนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้นเป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในการเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ให้เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูกในท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ การขนส่งลงได้
ปิดเครื่องปรับอากาศในโรงแรมที่เราได้เข้าพักพร้อมทั้งอย่าให้พนักงานนำผ้าขนหนูที่ยังไม่สกปรกมากไปซัก
โดยพึงระลึกว่าเราไม่ได้ช่วยให้โรงแรมประหยัดค่าไฟฟ้าแต่เรากำลังช่วยโลกที่เราอาศัยอยู่
ลดระดับการใช้งานเครื่องใช้ ไฟฟ้าลงแม้เพียงน้อยนิดเช่น เพิ่มความร้อนของเครื่องปรับอากาศในสำนักงาน
หรือที่พัก อาศัยลงสักหนึ่งองศา หรือ ปิดไฟขณะไม่ใช้งานปิดฝาหม้อที่มีอาหารร้อนอยู่หรือลด จำนวนชั่วโมงการดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุลง อาจลดค่าใช้จ่ายของเราไม่มากนักแต่จะส่ง ผลมหาศาลต่อโลก
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยในการปรับปรุงคุณภาพของแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้ว เช่น บึงและหนองต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งบำบัดน้ำเสียที่รับมาจากคลองให้มีสภาพดีขึ้น โดยหนึ่งในโครงการปรับปรุงแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ โครงการบึงมักกะสันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหลักการบำบัดน้ำเสียตามแนวทฤษฎีการพัฒนาโดยอาศัยผักตบชวาช่วยดูดซับสิ่งสกปรก โลหะหนัก และสารพิษต่าง ๆ ในแหล่งน้ำ
การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ
การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศเป็นระบบการบำบัดน้ำ โดยอาศัยธรรมชาติร่วมกับเทคโนโลยีแบบประหยัด คือ การสร้างบ่อกรวดสำหรับดักสารแขวนลอย จากนั้นจึงส่งผ่านน้ำไปยังบ่อต่อ ๆ ไป ซึ่งมีการปลูกต้นกกอียิปต์เพื่อดับกลิ่น การปลูกผักตบชวาเพื่อช่วยดูดซับสิ่งสกปรก โลหะหนักและสารพิษต่าง ๆ ในแหล่งน้ำ สุดท้ายจึงส่งน้ำเข้าสู่บ่อเติมออกซิเจน โดยอาศัยกังหันน้ำชัยพัฒนาและแผงท่อเติมอากาศช่วยเติมออกซิเจนลงในน้ำ
เป็นโครงการที่เกิดขึ้นเนื่องจากทรงห่วงใยในปัญหาน้ำเน่าเสียที่เกิดขึ้นที่หนองหาน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียจากครัวเรือนในเขตเทศบาลเมืองสกลนคร เมื่อชุมชนเมืองมีการขยายตัว จนทำให้หนองหานไม่สามารถรองรับน้ำเสียได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานแนวพระราชดำริทฤษฎีการบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชและระบบเติมอากาศ ณ บริเวณหนองสนม-หนองหาน จังหวัดสกลนคร
การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด
โครงการวิจัยและการพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแหลมผักเบี้ย จังหวัดเพชรบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงปัญหาภาวะมลพิษที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชน เนื่องจากภายในชุมชนยังขาดระบบบำบัดน้ำเสียและการกำจัดขยะมูลฝอยที่ดีและมีประสิทธิภาพ จึงทรงให้ดำเนินการตามโครงการดังกล่าวขึ้นในพื้นที่ 1,135 ไร่ เพื่อให้เป็นโครงการศึกษาวิจัยวิธีการบำบัดน้ำเสีย กำจัดขยะมูลฝอยและการรักษาสภาพป่าชายเลนด้วยวิธีธรรมชาติ โดยอาศัยระบบการบำบัดคล้ายกับที่หนองหาน คือ มีบ่อสำหรับดักขยะและสิ่งสกปรกต่าง ๆ จากนั้นจึงส่งไปบำบัดในขั้นตอนอื่น ๆ ต่อไป
กังหันน้ำชัยพัฒนา
การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ
ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา
ลานีญา
ปัญหา
เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติแต่รุนแรงกว่า กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออก (Trade wind) ที่พัดไปทางทิศตะวันออกมีกำลังแรงทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ
ผลกระทบ
ลมค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซียทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก แต่ที่บริเวณชายฝั่งประเทศเปรูน้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันออกดังภาพที่ 3 ทำให้เกิดธาตุอาหารและฝูงปลาชุกชุม
เอลนีโญ
ปัญหา
กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวจึงเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซียและออสเตรเลียตอนเหนือไปทางทิศตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้
กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู
ผลกระทบ
ทำให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์
ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาดังภาพที่ 2 บริเวณชายฝั่งจึงขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเลทำให้ชาวประมงเปรูขาดรายได้
ขณะที่เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้แต่ก็ทำให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ ไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซียในบางปีเป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญนั่นเอง
ภาวะโลกร้อน
ปัญหา
การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เราจึงเรียกว่า ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
สาเหตุ
กิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนคือ กิจกรรมที่ทำให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ การเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยตรง เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง และการเพิ่มปริมาณก๊าซเรือน
ผลกระทบ
ผลผลิตทางการเกษตรจะลดลง นอกจากผลกระทบโดยตรงจากอุณหภูมิฝน ช่วงระยะเวลาฤดูกาลเพาะปลูกแล้ว ยังเกิดจากผลกระทบทางอ้อมอีกด้วย คือ การระบาดของโรคพืช ศัตรูพืชและวัชพืช
สัตว์น้ำจะอพยพไปตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิน้ำทะเล แหล่งประมงที่สำคัญ ๆ ของโลกจะเปลี่ยนแปลงไป
ทำให้ฤดูกาลของฝนเปลี่ยนแปลงไป กระบวนการระเหยและการกลั่นตัวจะเร็วขึ้น หมายถึงว่า ฝนอาจจะตกบ่อยขึ้น แต่น้ำจะระเหยเร็วขึ้นด้วย ทำให้ดินแห้งเร็วกว่าปกติในช่วงฤดูกาลเพาะปลูก
มนุษย์จะเสียชีวิตเนื่องจากความร้อนมากขึ้น ตัวนำเชื้อโรคในเขตร้อนเพิ่มมากขึ้น ปัญหาภาวะมลพิษทางอากาศภายในเมืองจะรุนแรงมากขึ้น
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
ช่วยกันปลูกต้นไม้ เพราะต้นไม้จะคายความชุ่มชื้นให้กับโลก และช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุภาวะเรือนกระจก
การชวนกันออกไปเที่ยวธรรมชาติภายนอก ก็ช่วยลดการใช้ปริมาณไฟฟ้าได้
พยายามรับประทานอาหารให้หมด เศษอาหารที่เหลือทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน ซึ่งก่อให้เกิดปริมาณความร้อนต่อโลก เมื่อหลายคนรวม ๆ กันก็เป็นปริมาณความร้อนที่มาก
เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน ในกรณีที่สามารถทำได้ ได้แก่ รถไฟฟ้า รถตู้ รถเมล์ เนื่องจากพาหนะแต่ละคัน จะเกิดการเผาผลาญเชื้อเพลิง ซึ่งจะเกิดความร้อน และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ดังนั้นเมื่อลดปริมาณจำนวนรถ ก็จะลดจำนวนการเผ่าไหม้บนท้องถนน ในแต่ละวันลงได้
ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น แอร์ เครื่องปรับอากาศ พัดลม หากเป็นไปได้ใช้วิธี เปิดหน้าต่าง ซึ่งบางช่วงที่อากาศดี ๆ สามารถทำได้ เช่น หลังฝนตก หรือช่วงอากาศเย็น เป็นการลดค่าไฟ และ ลดความร้อน เนื่องจากหลักการทำความเย็นนั้นคือ การถ่ายเทความร้อนออก ดังนั้นเวลาเราใช้แอร์ จะเกิดปริมาณความร้อนบริเวณหลังเครื่องระบายความร้อน
รูโหว่โอนโซน
ปัญหา
รูโหว่โอโซนเป็นเพียงชั้นบรรยากาศที่มีก๊าซโอโซนอยู่บางเบาเท่านั้น ไม่ใช่เกิดเป็นรูโหว่ที่ไม่มีก๊าซโอโซนอยู่เลย ในแต่ละปีก็จะมีขนาดของรูโหว่โอโซนแตกต่างกันไป แต่ในปัจจุบันมนุษย์เริ่มมีการตระหนักถึงความสำคัญของชั้นโอโซน โดยแต่ละประเทศต่างได้ร่วมกันทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ในการลดการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนนี้ เพื่อรักษาชั้นโอโซนที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บนโลก
สาเหตุ
ก๊าซโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ มีหน้าที่ช่วยดูดซับรังสียูวี (Ultraviolet) โดยเฉพาะรังสียูวีบี (UV-B) ให้ผ่านมายังโลกในปริมาณที่พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่ในยุคอุตสาหกรรมมีการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือสารซีเอฟซี (Chlorofluorocarbons : CFCs) ในเครื่องทำความเย็นจำพวกตู้เย็น แอร์ รวมถึงใช้ในสเปรย์ฉีดพ่นหรือการทำโฟม โดยสารซีเอฟซีที่หลุดลอยขึ้นไปในบรรยากาศจะไปทำลายก๊าซโอโซน ทำให้เกิดเป็นรูโหว่ในชั้นโอโซนนั้นเอง ส่งผลให้รังสียูวีสามารถทะลุผ่านมายังโลกได้มากขึ้น
ผลกระทบ
เมื่อรังสียูวีทะลุผ่านเข้ามายังโลกได้มากขึ้น โดยเฉพาะรังสียูวีบี จะทำให้จุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ ตายได้ รวมทั้งไปทำลายเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง สามารถทำให้ตาเป็นต้อกระจกได้ และที่สำคัญ เมื่อโลกได้รับรังสียูวีมากขึ้นหรือรังสีที่มีความร้อน จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีกด้วย
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
อย่าซื้อละอองลอย (Aerosols) ที่ใช้คลอโรฟลูโอคาร์บอน (CFCs) – ตรวจสอบฉลากหรือใช้สเปรย์ปั๊มเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีคลอโรฟลูโอคาร์บอน (CFCs)
ตรวจดูว่าเครื่องดับเพลิงของคุณมีฮาโลเจนหรือไฮโดรคาร์บอนฮาโลเจนหรือไม่ ถ้ามี ให้แทนที่ด้วยชิ้นส่วนที่ไม่มีสารทำลายชั้นโอโซน
ซื้อไม้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยเมทธิลโบรไมด์ (Methyl Bromide) - ไม้บางชนิดจะผลิตก๊าซโบรมีนเข้าสู่สตราโตสเฟียร์ (stratosphere) วิธีการคือ ดูไม้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ให้ดีๆ ถ้าหากว่ามีเครื่องหมาย MB ควรหลีกเลี่ยง
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัญหา
เมื่อห้าสิบปีก่อนประเทศไทยมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มาก เราเคยมีป่าไม้กว้างใหญ่ไพศาลเป็นพื้นที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ ไม้สักของเราเป็นไม้มีค่าซึ่งทั่วโลกต้องการ มีสัตว์ป่านานาชนิดจำนวนมาก มีแร่ธาตุ เช่น ดีบุก และวุลแฟลม ทั้งบนบกและในทะเล มีน้ำธรรมชาติเปี่ยมฝั่งอยู่ในแม่น้ำลำคลองทั่วไป น้ำใสสะอาดจน กุ้ง ปลา หอย และเต่า อาศัยอยู่ได้อย่างสบาย แต่แล้วต่อมาเนื่องจากมีการเร่งรัดพัฒนาประเทศในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมทำให้ทรัพยากรที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงโดยรวดเร็ว ป่าไม้ถูกทำลายไปจนเหลือไม่ถึงหนึ่งในสี่ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมดที่มีอยู่เดิม ต้นน้ำลำธารก็ถูกทำลายลงมากจนเกิดปัญหาภัยแล้ง สัตว์ป่าถูกล่าจนบางชนิด เช่น สมัน สูญพันธุ์หมดไปจากโลก แร่ธาตุถูกขุดขึ้นมาใช้จนบางแห่งหมดไปจากพื้นที่ทำให้เกิดมีเหมืองร้างขึ้น น้ำในแม่น้ำลำคลองที่เคยใสสะอาดก็เน่าเสียเพราะขยะและน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม การใช้ธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยในช่วงเวลาห้าสิบปีได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน
ความหมาย
ทรัพยากรธรรมชาติ
สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติซึ่งได้แก่ อากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ ป่าไม้ สัตว์ป่า พลังงานความร้อน พลังงานแสงแดด และอื่น ๆ มนุษย์ได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตนับตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ทรัพยากรธรรมชาติจึงเป็นประโยชน์และมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อมวลมนุษย์
สิ่งแวดล้อม
สิ่งต่าง ๆ ทุกสิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวเราทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ได้แก่ บรรยากาศ น้ำ ดิน แร่ธาตุ พืช และสัตว์ ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ สาธารณูปการต่าง ๆ เช่น ถนน เขื่อนกั้นน้ำ ฝาย คูคลอง เป็นต้น
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนินงานต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการจัดหา การเก็บรักษา การซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัด และการสงวนรักษา เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมนั้น สามารถเอื้ออำนวยประโยชน์แก่มวลมนุษย์ได้ใช้ตลอดไป อย่างไม่ขาดแคลน หรือมีปัญหาใดๆ หรืออาจจะหมายถึง กระบวนการจัดการ แผนงาน หรือกิจกรรมในการจัดสรร และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อสนองความต้องการในระดับต่างๆ ของมนุษย์ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดของการพัฒนาคือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักการอนุรักษ์ ด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด ประหยัด และก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
ฝนกรด
ปัญหา
น้ำฝนที่มีค่าเป็นกรด มีค่า pH ต่ำกว่า 5.6 เกิดจากการรวมตัวของน้ำฝนและแก๊สออกไซด์ต่างๆ ของโลหะที่เกิดจากควันเสียจากโรงงานอุตสากรรม รวมถึงควันจากการเผาไหม้อื่นๆ ปะปนอยู่ในอากาศจึงทำให้มีสมบัติเป็นกรด วัดค่าได้จากการใช้เสกลที่เรียกว่า pH ซึ่งค่ายิ่งน้อยแสดงความเป็นกรดที่แรงขึ้น โดยน้ำบริสุทธิ์จะมีค่า pH เท่ากับ 7
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตกระแสไฟฟ้า,โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ดีเซล
เบนซิน ส่วนที่เกิดจากธรรมชาติ เช่นการระเบิดของภูเขาไฟ การระเหยจากน้ำทะเล การเน่าเปื่อยของพืชและแพลงตอน มีน้อยมาก
ผลกระทบ
สัตว์
สัตว์น้ำจะได้รับผลกระทบโดยตรง จากการศึกษาพบว่า ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
พืช
ฝนกรดสามารถทำปฎิกิริยากับธาตุอาหารที่สำคัญของพืช เช่น Calcium, magnesium และ potassium ทำให้พืชไม่สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้
และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศยังไปปิดปากใบพืช ทำให้ความสามารถในการสังเคราะห์แสงลดลง
สิ่งก่อสร้าง
ฝนกรดสามารถละลาย Calcium carbonate ในหินเกิดการผุพัง เช่น ปิรามิดในประเทศอียิปต์ และ ทัชมาฮาลในประเทศอินเดีย
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
สามารถทำได้โดยการลดตัวการที่จะทำให้เกิดฝนกรด โดยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้น้อยลง จะสามารถทำให้ค่าความเป็นกรดในน้ำฝนลดลงได้
สำหรับพวกเราควรระมัดระวัง การดื่มน้ำฝนที่เป็นกรดและสารพิษอื่นๆ ซึ่งตกลงมาผ่านอากาศที่เป็นมลพิษในเมืองใหญ่เช่น กรุงเทพฯ พบว่าน้ำฝนมีความเป็นกรดสูง
ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5
ปัญหา
ฝุ่นละออง PM2.5 ถือเป็นมลพิษต่อสุขภาพของมนุษย์ตามที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและออกมาแจ้งเตือนให้ทราบ เพราะเป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก เส้นผมที่ว่ามีขนาดเล็กแล้ว เจ้า PM2.5 ยังเล็กกว่าเส้นผมถึง 20 เท่า ทำให้เล็ดลอดผ่านขนจมูกเข้าสู่ปอด และหลอดเลือดได้ง่าย ส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว
สาเหตุ
าเหตุของการเกิดฝุ่นละอองมีหลายปัจจัย เช่น โรงผลิตไฟฟ้า ควันท่อไอเสียจากรถยนต์ การเผาไม้ทำลายป่า เผาขยะ รวมถึงควันบุหรี่ด้วย ซึ่งปกติแล้วกิจกรรมต่างๆ ที่คนเราทำทุกวันก็ส่งผลให้เกิดฝุ่นละอองใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แต่แหล่งต้นตอสำคัญของ PM2.5 ในบรรยากาศ คือ การเผาไหม้เชื้อเพลิงธรรมชาติที่ไม่สมบูรณ์ และฝุ่นจากการก่อสร้าง
ผลกระทบ
กระตุ้นให้คนที่มีโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
สำหรับผลระยะยาวจะทำให้การทำงานของปอดถดถอย อาจเกิดโรคถุงลมโป่งพองได้แม้จะไม่สูบบุหรี่ก็ตาม และเพิ่มโอกาสทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ด้วย
กระตุ้นให้คนที่มีโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังเกิดอาการกำเริบ เช่น โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ โรคหอบหืด และโรคถุงลมโป่งพอง
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
ลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัว ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
หลีกเลี่ยงการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง เผาพื้นที่เพื่อเตรียมการทำเกษตรกรรม เผาขยะ หรือวัสดุเหลือใช้
ควบคุมกระบวนการก่อสร้างให้มีฝุ่นน้อยที่สุด