Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อธิบายความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายของไบโอม…
อธิบายความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายของไบโอม และยกตัวอย่างไบโอมชนิดต่าง ๆ เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน เขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ตรง กม.ที่ 42 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอย อินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่
ความหลากหลายของระบบนิเวศ
ระบบนิเวศประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตนานาชนิดและรูปแบบต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ จุลินทรีย์ที่อยู่รวมกันบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมรอบๆ ตัวได้ การปรับตัว เปลี่ยนแปลงบางอย่างของสิ่งมีชีวิตอาจเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วอายุ หรือยาวนานหลายชั่วอายุ โดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติ ตามกระบวนการวิวัฒนาการ คุณสมบัติ และความสามารถของสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่างก็มีบทบาทร่วมกัน และมีปฏิกริยาต่อกันและกันอย่างซับซ้อนในระบบนิเวศที่สมดุล โครงสร้างและคุณสมบัติของระบบนิเวศเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ รวมทั้งมนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล เมื่อความเจริญและอารยธรรมของมนุษย์ได้มาถึงจุดสุดยอดและเริ่มเสื่อมเพราะมนุษย์เริ่มทำลายสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ที่เคยช่วยเหลือสนับสนุนตนเองมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรือการแสวงหาความสุขและความบันเทิงบนความทุกข์ยากของสิ่งมีชีวิตอื่น จนทำให้เกิดการเสียสมดุลของระบบนิเวศ ซึ่งนำไปสู่ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงของสรรพสิ่ง
ทั้งมวลการที่สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ถูกทำลายสูญหายไปจากโลก จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเร่งให้อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เหลืออยู่เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ อันเนื่องมาจากการเสียดุลของระบบนิเวศนั้นเอง อัตราการสูญพันธุ์อาจแตกต่างกันไปในแต่ละระบบนิเวศ จะมีทางเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดหรือไม่ที่มนุษย์จะนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุง หาสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นมาทดแทนสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไป ทั้งนี้เพราะการสูญเสียแหล่งสะสมความแปรผันทางพันธุกรรม อันถือว่าเป็นขุมทรัพย์ล้ำค่าของประชากรสิ่งมีชีวิตนั้น จะเป้ฯการส่งเสริมให้มีการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศนั้นๆ มากขึ้น
ระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมาย หลายชนิด โดยมีสภาวะที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด โดยที่ระบบนิเวศจะมีความหลากหลายที่สามารถแยกออกได้ 3ลักษณะ คือ
- ความหลากหลายของการทดแทน ( successional diversity) ในป่านั้นมีการทดแทนของสังคมพืชกล่าวคือ เมื่อป่าถูกทำลายจะโดยวิธีใดก็ตาม เช่น ถูกแผ้วถางพายุพัดไม้ป่าหักโค่น เกิดไฟป่า น้ำท่วม หรือแผ่นดินถล่ม เกิดเป็นที่โล่ง ต่อมาจะมีพืชขึ้นใหม่เรียกว่า พืชเบิกนำ เช่น มีหญ้าคา สาบเสือ กล้วยป่า และเถาวัลย์เกิดขึ้นในที่โล่งนี้ เมื่อกาลเวลาผ่านไปก็มีต้นไม้เนื้ออ่อนโตเร็วเกิดขึ้น เช่น กระทุ่มน้ำ ปอหูช้าง ปอตองแตบ นนทรี เลี่ยน เกิดขึ้นและหากปล่อยไว้โดยไม่มีการรบกวน ป่าดั้งเดิมก็จะกลับมาอีกครั้งเราเรียกกระบวนการนี้ว่า การทดแทนทางนิเวศวิทยา ( ecological succession ) สิ่งมีชีวิตบางชนิดปรับตัวให้เข้ากับยุคต้น ๆ ของการทดแทน บางชนิดก็ปรับตัวให้เข้ากับยุคสุดท้ายซึ่งป่าบริสุทธิ์ ( virgin forest)
- ความหลากหลายของภูมิประเทศ ( land scape diversity) ในท้องที่บางแห่งมีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติมากมาย เช่น ลำน้ำ บึง หาดทราย ถ้ำ หน้าผา ภูเขา ลานหิน และมีสังคมพืชในหลาย ๆ ยุคของการทดแทน มีทุ่งหญ้าป่าโปร่งและป่าทึบ พื้นที่เช่นนี้จะมีสรรพสิ่งมีชีวิตมากมายผิดกับเมืองหนาวที่มีต้นไม้ชนิดเดียวขึ้นอยู่บนเนื้อที่หลายร้อยไร่ มองไปก็เจอต้นไม้สนเพียงชนิดเดียว
- ความหลากหลายของถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ (habitat diversity) วอย่างความหลากหลายของถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ เช่น ในผืนป่าทางตะวันตกของ
ไทยที่มีลำน้ำใหญ่ไหลผ่าน จะพบถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติมากมายคือ ลำน้ำ หาดทราย พรุซึ่งมีน้ำขัง ฝั่งน้ำ หน้าผา ถ้ำ ป่าบนที่ดอนซึ่งมีหลายประเภท แต่ละถิ่นกำเนิดจะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่แตกต่างกันไป เช่น ลำน้ำพบควายป่า หาดทรายมีนกยูงไทย หน้าผามีเลียงผา ถ้ำมีค้างคาว เป็นต้น เมื่อแม่น้ำใหญ่ถูกเปลี่ยนเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ ภายหลังการสร้างเขื่อนความหลากหลายของถิ่นกำเนิดก็ลดน้อยลง โดยทั่วไปแล้วที่ใดที่มีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติหลากหลายที่นั้นจะมีชนิดสิ่งมีชีวิตหลากหลายตามไป
ไบโอม (biomes)
ไบโอมบนบก
• สะวันนา (Savanna)
เป็นทุ่งหญ้าที่พบได้ในทวีปแอฟริกาและพบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ลักษณะของภูมิอากาศร้อน พืชที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าและมีต้นไม้กระจายเป็นหย่อม ๆ ในฤดูร้อนมักเกิดไฟป่า
• ป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น (Temperate deciduous forest)
พบกระจายทั่วไปในละติจูดกลาง ซึ่งมีปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ดี โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปี และมีอากาศค่อนข้างเย็น ในป่าชนิดนี้และต้นไม้จะทิ้งใบหรือผลัดใบก่อนฤดูหนาว และจะเริ่มผลิใบอีกครั้งเมื่อฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว ต้นไม้ที่พบมีหลากหลายทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม รวมถึงไม้ล้มลุก
• ทะเลทราย (Desert)
พบได้ทั่วไปในโลก ในพื้นที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี ทะเลทรายบางแห่งร้อนมากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวัน บางวันแห่งมีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น พืชที่พบในไบโอมทะเลทรายนี้มีการป้องกันการสูญเสียน้ำ โดยใบลดรูปเป็นหนาม ลำต้นอวบ เก็บสะสมน้ำดี ทะเลทรายที่รู้จักกันโดยทั่วไป ได้แก่ ทะเลทรายซาฮารา (Sahara) ในทวีปแอฟริกา ทะเลทรายโกบี (Gobi) ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและทะเลทรายโมฮาวี (Mojave) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
• ป่าดิบชื้น (Tropical rain forest)
พบได้ในบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลกในทวีปอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเอเชียตอนใต้ และบริเวณบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิก ลักษณะของภูมิอากาศร้อนและชื้น มีฝนตกตลอดปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 200 – 400 เซนติเมตรต่อปี ในป่าชนิดนี้พบพืชและสัตว์หลากหลายพันสปีชีส์ เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก
• ทุนดรา (Tundra)
เป็นเขตที่มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน ฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ ลักษณะเด่นคือ ชั้นของดินที่อยู่ต่ำกว่าจากผิวดินชั้นบนลงไปจะจับตัวเป็นน้ำแข็งถาวร ทุนดราพบเพียงตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ และยูเรเซีย พบพพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยชนิด ปริมาณฝนน้อยในฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ น้ำแข็งที่ผิวหน้าดินละลาย แต่เนื่องจากน้ำไม่สามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้ในระยะสั้น ๆ พืชที่พบจะเป็นพวกไม้ดอกและไม้พุ่ม นอกจากนี้ยังพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ไลเคนด้วย
• ป่าสน (Coniferous forest) • ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (Temperate grassland)
หรือที่รู้จักกันในชื่อทุ่งหญ้าแพรี่ (Prairie) ในตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือและทุ่งหญ้า สเตปส์ (Steppes) ของประเทศรัสเซีย สภาพภูมิอากาศมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25 – 50 เซนติเมตรต่อปี ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นนี้เหมาะสำหรับการทำกสิกรและปศุสัตว์ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้านานาชนิดขึ้นอยู่ ส่วนใหญ่พบมีการทำเกษตรกรรมควบคู่ในพื้นที่นี่ด้วย
ไบโอมในน้ำ
ไบโอมแหล่งน้ำจืด (Freshwater biomes)
โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำนิ่งซึ่งได้แก่ ทะเลสาบ สระ หนอง หรือบึง กับแหล่งน้ำไหล ได้แก่ ธารน้ำไหลและแม่น้ำ เป็นต้น
ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (Marine biomes)
โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำเค็ม ซึ่งได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร ซึ่งพบได้ในปริมาณมากถึงร้อยละ 71 ของพื้นที่ผิวโลก และมีความลึกมากโดยเฉลี่ยถึง 3,750 เมตร ไบโอมแหล่งน้ำเค็มจะแตกต่างจากน้ำจืดตรงที่มีน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยกายภาพสำคัญ นอกจากนี้ยังพบช่วงรอยต่อของแหล่งน้ำจืดกับน้ำเค็มที่มาบรรจบกัน และเกิดเป็นแหล่งน้ำกร่อยซึ่งมักพบบริเวณปากแม่น้ำ
-