Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพัฒนาความเป็นนักบริหารมืออาชีพ โดยเฉพาะการเป็นผู้ใฝ่รู้และมีวิสัยทัศน์ …
การพัฒนาความเป็นนักบริหารมืออาชีพ โดยเฉพาะการเป็นผู้ใฝ่รู้และมีวิสัยทัศน์ :silhouettes:
การเป็นผู้ใฝ่รู้ :red_flag:
นิยาม
:pen:
การเรียนรู้เป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้คนเราประสบความ ก้าวหน้าได้ทั้งในเรื่องชีวิตและ การงานและยังเป็นการเปิดโลกให้กว้างขึ้น ซึ่งสถานที่แห่งนั้นมีสิ่งใหม่ ๆ รอให้เรียนรู้อยู่มากมาย หากสิ่งใดที่เราไม่รู้ ก็ขอให้เปิดใจให้กว้างเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตเราและสามารถนำมาต่อยอดเป็นประโยชน์ให้แก่สังคมได้
นอกจากนี้คุณลักษณะใฝ่รู้ใฝ่เรียนเป็นลักษณะนิสัยอย่างหนึ่ง ที่สร้างศักยภาพในการนำชีวิตไปสู่ความสำเร็จ เป็นคุณลักษณะที่พบเห็นโดยทั่วไปในแถบประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั่วโลกแต่แทบจะไม่มี ในสังคมไทย รากฐานความรู้ของคนไทยจึงอ่อนแอไม่สามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้
สิ่งที่สนองตอบการใฝ่รู้ของผู้บริหารมืออาชีพ มี 3 ประเภท :pen:
การเรียนรู้จากผู้อื่น (Listen)
การเรียนรู้ด้วยตนเอง (Learn)
การเรียนรู้จากสถาบันการศึกษา
หัวใจสำคัญของผู้ใฝ่รู้
:pen:
สุ จิ ปุ ลิ หรือ หัวใจนักปราชญ์
วิสัยทัศน์ :red_flag:
วิสัยทัศน์เป็นสิ่งบอกให้รู้ว่า ความมุ่งหมายขององค์การ (organizational purpose) คืออะไร จะต้องทำภารกิจ (mission) อย่างไรจึงจะบรรลุความมุ่งหมายนั้น
วิสัยทัศน์เป็นสิ่งบอกให้รู้ว่า ความมุ่งหมายขององค์การ (organizational purpose) คืออะไร จะต้องทำภารกิจ (mission) อย่างไรจึงจะบรรลุความมุ่งหมายนั้น
วิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำของผู้บริหารควรประกอบด้วย “มุ่งพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศด้านคุณธรรม จริยธรรม นำความรู้สู่สากล ก้าวทันเทคโนโลยี ดำรงชีวิตอย่างพอเพียง บริหารงานอย่างมืออาชีพ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม”
มีวิสัยทัศน์ (Vision) ผู้บริหารมืออาชีพต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
วิสัยทัศน์คือ สิ่งที่อยากเห็น อยากมี อยากเป็นในอนาคตหรือภาพความสำเร็จในอนาคตที่มีความเป็นไปได้ ท้าทาย และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายและค่านิยมขององค์การ ผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลต้องเป็นผู้ที่เรียนรู้มาก คือ ได้อ่าน ได้ฟัง ได้เห็น ได้ทำมาก
ผู้บริหารมืออาชีพจะต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล และมุ่งมั่นนำวิสัยทัศน์สู่การปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จอยู่เสมอ
หลักธรรมาภิบาลและความซื่อสัตย์สุจริต :red_flag:
ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาล :pen:
ถ้ามีธรรมาภิบาลในทุกระดับจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีคนเป็นศูนย์กลางที่แท้จริง
เป็นหลักการพื้นฐานในการสร้างความเป็นธรรมในสังคม
ธรรมาภิบาล ช่วยลด บรรเทา หรือแก้ปัญหา ความขัดแย้งในองค์กร
ธรรมาภิบาลจะช่วยให้สังคมมีความเข้มแข็งในทุกด้านทั้งทางคุณค่า และจิตสำนึกทางสังคม
ธรรมาภิบาลจะช่วยลดปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง
เป็นแนวคิดที่เกื้อหนุนสังคมประชาธิปไตย จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและมีการตรวจสอบการทำงาน
ช่วยให้ระบบบริหารของรัฐมีความยุติธรรมเป็นที่น่าเชื่อถือ
หลักธรรมาภิบาลกลายเป็นมาตรฐานสากลที่บ่งชี้ถึงระดับ การพัฒนาของประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง หากสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นได้ย่อมหมายถึงการได้รับการยอมรับ และเชื่อถือจากสังคมระหว่างประเทศมากยิ่งขึ้น
เป้าหมายของหลักธรรมาภิบาล:pen:
ประการแรก การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อให้การบริหารงานภาครัฐมีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่ประชาชนต้องการ มีความโปร่งใสในการตัดสินใจและในกระบวนการทำงาน ให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสาร ร่วมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการทำงาน รวมทั้งการประหยัด มีประสิทธิภาพต่อผลงานนั้นแทนการเน้นทำให้ถูกต้องตามกฎระเบียบและวิธีการเพียงอย่างเดียว
ประการที่สอง การปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานของภาครัฐ โดยเน้นงานในหน้าที่หลักของภาครัฐซึ่งได้แก่ การกำหนดนโยบายที่มองการณ์ไกลการมีบังคับใช้กฎหมายที่ให้ความเสมอภาคเป็นธรรมและองค์การบริหารอย่างเป็นอิสระ มีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการดำเนินการ
ประการที่สาม การบริหารแบบพหุภาคีได้แก่ การบริหารที่ให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายตัดสินใจ หรือร่วมปฏิบัติงานโดยไม่ผูกขาดหรือรวมศูนย์อำนาจ
องค์ประกอบของหลักธรรมาภิบาล :pen:
หลักคุณธรรม
หลักนิติธรรม
หลักความโปร่งใส่
หลักความ
มีส่วนร่วม
หลักความ
รับผิดชอบ
หลักความคุ้มค่า
สรุป
:pen:
การใช้หลักธรรมาภิบาลทำให้องค์การสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานได้ อีกทั้งยังเป็นกลไกในการควบคุมติดตามและตรวจสอบ โดยมีประชาชนหรือ องค์การภายนอกมีส่วนร่วม ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่การบริหาร องค์การ เพราะการสร้างธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นในองค์การ เป็นการสร้างสำนึกที่ดีใน การบริหารงาน และการทำงานในองค์การ และจัดระบบที่สนับสนุนให้มีการปฏิบัติตามสำนึกที่ดี ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่สิ้นเปลือง การติดตามการทุจริต ความโปร่งใส โดยคำนึงถึงผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะได้รับผลกระทบ เนื่องจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐนั้น จะเกี่ยวข้องกับ ประชาชนโดยตรง