Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายของไบโอมเส้นทางเดินศึก…
ความสัมพันธ์ของสภาพทางภูมิศาสตร์บนโลกกับความหลากหลายของไบโอมเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน
ไบโอมบนบก (terrestrial biomes)
ไบโอมป่าดิบชื้น
ป่าดิบชื้น (tropical rain forest) พบได้ในบริเวณใกล้เขตเส้นศูนย์สูตรของโลกในทวีปอเมรอกากลาง ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปแอฟริกา ทวิปเอเชียตอนใต้ และบริเวณบางส่วนของหมู่เกาะแปซิฟิก
ลักษณะของภูมออากาศร้อนและชื้น มีฝนตกตลอดปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 200-400 เซนติเมตรต่อปี ในป่าชนิดนี้พบพืชและสัตว์หลากหลายนับพันสปีชีส์ เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์
ไบโอมป่าผลัดใบในเขตอบอุ่น
ป่าผลัดในใบเขตอบอุ่น (temperate deciduous forest) พบกระจายทั่วไปในละติจูลกลาง ซึ่งมีปริมาณความชื้นเพียงพอที่ต้นไม้ใหญ่จะเจริญเติบโตได้ โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 100 เซนติเมตรต่อปี
และมีอากาศค่อนข้างเย็น ในป่าชนิดนี้ต้นไม้จะทิ้งใบ หรือผลัดใบก่อนที่จะถึงฤดูหนาวและจะเริ่มผลิใบอีกครั้งจากฤดูหนาวผ่านพ้นไปแล้ว ต้นไม้ที่พบมีหลากหลายทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม รวมถึง ไม้ล้มลุก
ไบโอมป่าสน
ป่าสน (coniferous forest) ป่าไทกา (taiga) และ ป่าบอเรียล (boreal) เป็นป่าประเภทเดียวกันที่มีต้นไม้เขียวชอุ่มตลอดปีพบได้ทางตอนใต้ของแคนาดา ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปเอเชีย และยุโรป ในเขตละติจูดตั้งแต่ 45-67 องศาเหนือ ลักษณะของภูมิอากาศมีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนาน อากาศเย็นและแห้งพืชเด่นที่พบ ได้แก่ พืชจำพวกสน เช่น ไพน์ (pine) เฟอ (fir) สพรูซ (spruce) และเฮมลอค (hemlok) เป็นต้น
ไบโอมทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (temperate grassland) หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ทุ่งหญ้าแพรี่ (prairie) ในตอนกลางของทวีปอเมริกาเหนือและ
ทุ่งหญ้าสเตปส์(steppes) ของประเทศรัสเซีย เป็นต้น สภาพภูมิอากาศมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 25-50 เซนติเมตรต่อปี ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นนี้เหมาะสำหรับการทำการกสิกรรมและปศุสัตว์ เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์สูงมีหญ้านานาชืดขึ้นอยู่ ส่วนใหญ่พบมีการทำเกษตรกรรมควบคู่ในพื้นที่นี้ด้วย
ไบโอมสะวันนา
สะวันนา (savanna) เป็นทุ่งหญ้าที่พบได้ในทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปออสเตรเลีย และพบบ้างทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ลักษณะของภูมิอากาศร้อน พืชที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็นหญ้าและมีต้นไม้ขึ้นกระจายเป็นหย่อม ๆ ในฤดูร้อนมักมีไฟป่า เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ
ไบโอมทะเลทราย
ทะเลทราย (desert) พบได้ทั่วไปในโลก ในพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตรต่อปี ทะเลทรายบางแห่งร้อนมากมีอุณหภูมิเหนือผิวดินสูงถึง 60 องศาเซลเซียสตลอดวัน บางแห่งค่อนข้างหนาวเย็น พืชที่พบในไบโอมทะเลทรายนี้มีการป้องกันการสูญเสียน้ำโดยใบลดรูปเป็นหนาม ลำต้นอวบเก็บสะสมน้ำ ทะเลทรายที่รู้จักกันโดยทั่วไปได้แก่ ทะเลทรายซาฮารา (Sahara) ในทวีปแอฟริกา ทะเลทรายโกบี (Gobi) ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและทะเลทรายโมฮาวี (Mojave) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
ไบโอมทุนดรา
ทุนดรา (tundra) เป็นเขตที่มีฤดูหนาวค่อนข้างยาวนานฤดูร้อนช่วงสั้น ๆ ลักษณะเด่นคือ ชั้นของดินชั้นบนลงไปจะจับตัวเป็นน้ำแข็งอย่างถาวร ทุนดราพบทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ และยูเรเซีย พบพืชและสัตว์อาศัยอยู่น้อยชนิด ปริมาณฝนน้อยมาก ฤดูร้อนช่วงสั้นๆ น้ำแข็งที่ผิวหน้าดินจะละลาย แต่เนื่องจากน้ำมาสามารถซึมผ่านลงไปในชั้นน้ำแข็งได้จึงท่วมขังอยู่บนผิวดิน ทำให้ปลูกพืชได้ในระยะสั้นๆ พืชที่พบจะเป็นพวกไม้ดอกและไม้พุ่ม นอกจากนี้ยังพบสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำ เช่น ไลเคนด้วย
ไบโอมในน้ำ(AQUATIC BIOMES)
ไบโอมแหล่งน้ำจืด (Freshwater biomes)
โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำนิ่งซึ่งได้แก่ ทะเลสาบ สระ หนอง หรือบึง กับแหล่งน้ำไหล ได้แก่ ธารน้ำไหลและแม่น้ำ
ไบโอมแหล่งน้ำเค็ม (Marine biomes)
โดยทั่วไปประกอบด้วยแหล่งน้ำเค็ม ซึ่งได้แก่ ทะเลและมหาสมุทร ซึ่งพบได้ในปริมาณมากถึงร้อยละ 71 ของพื้นที่ผิวโลก และมีความลึกมากโดยเฉลี่ยถึง 3,750 เมตร ไบโอมแหล่งน้ำเค็มจะแตกต่างจากน้ำจืดตรงที่มีน้ำขึ้นน้ำลงเป็นปัจจัยกายภาพสำคัญ นอกจากนี้ยังพบช่วงรอยต่อของแหล่งน้ำจืดกับน้ำเค็มที่มาบรรจบกัน และเกิดเป็นแหล่งน้ำกร่อยซึ่งมักพบบริเวณปากแม่น้ำ
ไบโอมบนบก (terrestrial biomes)
ไบโอมในน้ำ(AQUATIC BIOMES)
ไบโอม (biomes) หรือชีวนิเวศ หมายถึง ระบบนิเวศที่มีองค์ประกอบของปัจจัยทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และ ปัจจัยทางชีวภาพ ที่คล้ายคลึงกัน
เส้นทางกิ่วแม่ปาน 21 จุด
เฟิร์นยุคโบราณ บริเวณรอบๆ เป็นป่ามีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น มีแสงแดดรำไรส่งลงมา เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของเฟิร์นใบบางที่สุดในโลก มีมาแต่โบราณประมาณ 230 ล้านปี ช่วงอากาศแล้งเฟิร์นจะพักตัว ใบเหี่ยวแต่ไม่ตาย และจะฟื้นเขียวอีกครั้งเมื่อได้ละอองหมอก
ป่าเมฆ ป่าที่ถูกปกคลุมด้วยเมฆหมอกหลายเดือน อากาศหนาวชื้น ลมแรง ดินเป็นกรดสูง พันธุ์ไม้ที่ขึ้นได้บริเวณนี้ จะมีแต่กลุ่มไม้เมืองหนาว เช่น หว้า กุหลาบพันปี กุหลาบขาว กล้วยไม้ เฟิร์น มอส
ป่าต้นน้ำ กำเนิดสายธาร มีน้ำตกขนาดเล็ก ไหลมาเป็นลำห้วย ในยุคแรกน้ำตกไหลรุนแรง เกิดเป็นหลุมลึก และในยุคปัจจุบันสายน้ำเปลี่ยนทางไหล ปริมาณน้ำลดลง น้ำที่ไหลจากน้ำตกเป็นน้ำสะอาด มีธาตุอาหารสูง ปลายทางของน้ำจะไหลลงสู่แม่น้ำปิง
พรรณพืชไม้ป่าเมฆ ต้นก่อ (ต้นโอ๊ค) ต้นทะโล้ ต้นหว่าอ่างกา (พืชเฉพาะท้องถิ่น) ในป่านี้เป็นต้นไม้เมืองหนาว มีการปรับตัวให้อยู่ได้ในป่าหนาวและชุ่มชื้นสูง
ป่าซ่อมป่า ป่าเมฆที่มีลมพัดแรง มักมีไม้หักโค่น ต้นไม้ใหญ่ที่ล้มทำให้เกิดแสงส่องลงมายังพื้นดิน ต้นไม้รุ่นใหม่จึงงอกมาซ่อมแซม เป็นวงจรการพื้นฟูตนเองของป่า
เถาวัลย์ เป็นต้นไม้ที่ชอบแดดจัด โตเร็ว เลื้อยพันต้นไม้ใหญ่อย่างรวดเร็ว กระรอกและสัตว์หากินบนต้นไม้ใช้เป็นเส้นทางเดิน
ทุ่งหญ้าเมืองหนาว ปกติที่ความสูง 4000 เมตร จากระดับน้ำทะเลในเขตหนาว จะมีเฉพาะไม้ล้มลุก เรียกว่า “ทุ่งหญ้าอัลไพน์” แต่ที่ดอยอินทนนท์ ดอยผ้าห่มปก และ ดอยเชียงดาว เป็นภูเขาสูง 2,000-2,500 เมตร มีปรากฏการณ์พิเศษ มีไม้ล้มลุกปะปนกับไม้พุ่มขนาดเล็ก เรียกพงไม้นี้ว่า “ทุ่งหญ้ากึ่งอัลไพน์”
กู๊ดเกี๊ยะ เฟิร์นทนไฟ ขึ้นบริเวณทุ่งหญ้าเมืองหนาว เฟิร์นชนิดนี้มีใบหนาแข็ง ลดการคายน้ำ ซ่อนลำต้นไว้ใต้ดิน เมื่อมีไฟป่าใบที่อยู่พ้นดินจะไหม้ และจะงอกขึ้นใหม่อีกครั้งจากลำต้นที่อยู่ได้ดิน
จุดชมทิวทัศน์ เป็นพื้นที่โล่ง มีระเบียงยื่นออก บางวันจะมองเห็นทะเลหมอกได้ที่บริเวณนี้ และวันที่ฟ้าเปิดจะมองเห็น อ.แม่แจ่มที่อยู่เบื้องหน้าได้ชัดเจน จุดชมวิวตรงนี้เป็นประเด็นในโลกโซเชียลเนื่องจากมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปยืน – นั่งที่รั้วกันตก อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เมื่อมาถึงที่จุดนี้ส่วนมากจะเริ่มเหนื่อยหายใจไม่ทัน แนะนำให้พักนานหน่อย ส่วนคนที่ไม่ไหวจริงๆ สามารถให้ไกด์พาเดินกลับได้
กวางผา ปลอดภัยในบ้านผาหิน กวางผาเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันตามทุ่งหญ้าบนภูเขา และหน้าผาในเทือกเขาสูง ปัจจุบันกวางผาดอยอินทนนท์เป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์แล้ว นักท่องเที่ยวมีโอกาสเจอได้ยาก
ผาแง่มน้อย เป็นแท่งหินแกรนิต เมื่อสองร้อยล้านปีที่ผ่านมาได้หลอมเหลว ดันตัวตัดผ่าหินไนส์ที่มีอายุกว่า 500 ล้านปี เมื่อเย็นตัวลงปรากฎรอยแตกตรงข้ามอีกครั้งเป็นการผุกร่อน กัดกร่อน ผลคือ หินแง่มน้อยมีเนื้อหินแข็งกว่า จึงคงทน เด่น เป็นสัญลักษณ์ของกิ่วแม่ปาน บริเวณนี้มีจุดให้ยืนชมวิว
กิ่วแม่ปาน (ป่าสองมุมบนสันเขา) “กิ่ว” ภาษาเหนือแปลว่าแคบ “กิ่วแม่ปาน” เป็นพื้นที่บนสันเขาส่วนที่แคบที่สุด ลาดเขาสองด้านเป็นป่าต่างชนิดกัน ฝั่งด้านนอกโดนแดดส่อง และลมปะทะแรงจะมีแต่ต้นไม้ขนาดเล็ก ส่วนฝั่งด้านในเป็นป่าชุ่มชื้น
กุหลาบพันปี ปรับตัวเองให้อยู่ได้ในอากาศหนาวเย็น และลมแรง ใบเป็นแผ่น เหนียวหนา ลดการคายน้ำ กิ่งโปร่งลมผ่านสะดวก ดอกสีแดงเข้ม จะออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม
ป่าร้อน ป่าหนาว เชิงดอยอินทนนท์อากาศร้อนชื้น แต่ยอดดอยอากาศหนาว ลมพัดแรง และมีหมอกหนา ด้วยสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ป่าร้อนจะมีพันธุ์ไม้ใบกว้าง ชอบแดดจัด ทนแล้ง ส่วนป่าหนาวจะเป็นพันธุ์ไม้พุ่มเตี้ย ใบมัน
สายน้ำ ยอดเขาสูงสุดของไทย ห้วยสายเล็กๆ ปกคุลมด้วยป่าดิบเขาอุดมสมบูรณ์มีฝนตกชุก อากาศชื้นมาก ต้นไม้คายน้ำได้น้อย ใบไม้ย่อยสลายช้า มีสภาพเหมือนผ้าห่มพร้อมซับน้ำฝน
มอส ชอบน้ำแต่ทนแล้ง มอสมักขึ้นตามโคนไม้ และที่ชื้นฉ่ำ ช่วงแล้งก็พักตัวรอความชื้นก็ฟื้นกลับมา สามารถแพร่พันธุ์ด้วยสปอร์
ป่าสองรุ่น ในป่ามีไม้หลายชนิด มีอายุ และความสูงไม่เท่ากัน บ่งบอกได้ว่าป่านี้ในอดีตเคยโค่นล้มจากพายุ แล้วมีต้นไม้รุ่นใหม่เกิดพร้อมกัน
สูงใหญ่แต่ล้มง่าย ป่าเขาสูงชัน หน้าดินถูกน้ำฝนชะล้างจนมีความหนาเพียง 1-2 เมตร ส่วนด้านใต้เป็นชั้นหิน ต้นไม้สูงใหญ่มักไม่พบรากแก้ว เพราะไม่สามารถเจาะลงหินได้ เมื่อมีพายุใหญ่มาต้นไม้ก็ล้มได้ง่าย
กูดต้น เฟิร์นสัญลักษณ์ป่าบริสุทธิ์ กูดต้น เป็นเฟิร์นใบใหญ่เรียงเวียนรอบปลายต้น เรือนยอดกว้าง พบตามลุ่มน้ำริมห้วยชื้นแฉะ ใต้ร่มเงาแสงรำไรเท่านั้น การไม่พบกูดต้นในที่แดดจัด จึงสัญนิษฐานว่า กูดต้นเป็นพืชสัญลักษณ์ของป่าบริสุทธิ์
เสียงป่า ลองหยุดนิ่งแล้วหลับตา จะได้ยินเสียงใบไม้หล่น เสียงลมพัด เสียงสายน้ำ นกร้อง เปรียบเสมือนวงดนตรีวงใหญ่
21.สรุป ป่าเมฆแห่งนี้ คือของขวัญที่ธรรมชาติสร้างไว้ เป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศ