Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก (8.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามปรัชญ…
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
8.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญและปัญหาสิ่งแวดล้อมแลทรัพยากรธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต จึงทรงให้มีการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิธีการทำนุบำรุง ปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ โดยทรงเน้นงานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของปัญหาน้ำเน่าเสีย
ปัญหา
ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติสำคัญที่มักเกิดควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม และการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะพบได้ในเกือบทุกประเทศ
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา
การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด
กังหันน้ำชัยพัฒนา
การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ
การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ
ผลกระทบ
การพัฒนาที่ผ่านมา ได้ระดมใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำ ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ทรัพยากรธรณี ในอัตราที่สูงมาก และเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จนมีผลทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ เกิดการร่อยหรอ
2.ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปัญหา
โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นเนื่องจาก พลังงานแสงอาทิตย์ ์ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดยโมเลกุลของ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ C2O มีเทน (CH4) และ CFCsไนตรัสออกไซด์ (N2O)ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเหล่านี้มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันทำให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้นการถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ ต่อๆกันไป ในบรรยากาศทำให้โมเลกุลเกิดการสั่นการเคลื่อนไหว ตลอดเวลาและมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำให้เรารู้สึกร้อน
สาเหตุ
เกิดมาจากก็าซชนิดต่างๆที่สามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น เช่น ก๊าซมีเทน ก๊าซไนตรัสออกไซด์ เเละ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน(Chlorofluorocarbon- CFCs)ที่เป็นสาเหตุหลักของปัญหาชั้นโอโซนถูกทำลายนั้นมาจากสารกลุ่ม CFCsเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับสารเคมีในกลุ่มฮาโลคาร์บอนซึ่งประกอบด้วยอะตอมของคลอรีน ฟลูออรีน โบรมีน คาร์บอน และไฮโดรเจน
ผลกระทบ
อาจจะทำให้ถึงจุดกู่ไม่กลับ (Tipping point) ของภาวะโลกร้อนคือจุดของการเปลี่ยนที่กระทำโดยกิจกรรมของมนุษย์ที่เสริมให้กระบวนการที่เคยเป็นไปตามปกติของธรรมชาติถึง จุดที่ไม่สามารถดึงกลับได้ อีก เมื่อมีวงวนของปรากฏการณ์ เช่นความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งเกิดขึ้นกลายเป็นตัวเพิ่มอุณหภูมิ การป้อนกลับย่อมเกิดขึ้นเป็นวงวนดังดล่าว ในบางครั้งผลป้อนกลับอาจเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุเดียวกันกับแรง แต่ก็อาจเกิดโดยผ่านก๊าซเรือนกระจกตัวอื่นหรือปรากฏการณ์อื่นก็ได้ เช่นการเปลี่ยนแปลงของน้ำแข็งที่ปกคลุมผิวโลกซึ่งมีผลต่ออัตราส่วนรังสีสะท้อนของโลก
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็นจากเครื่องใช้ไฟฟ้า
เลือกใช้ระบบขนส่งมวลชน ในกรณีที่สามารถทำได้ ได้แก่ รถไฟฟ้า รถตู้ รถเมลล์
เนื่องจากพาหนะ แต่ละคัน จะเกิดการเผาผลาญเชื้อเพลิง
พยายามรับประทานอาหารให้หมด เศษอาหารที่เหลือทิ้งไว้จะก่อให้เกิดก๊าซมีเทน
ซึ่งก่อให้เกิดปริมาณความร้อนต่อโลก
5.รูโหว่โอนโซน
ปัญหา
นักวิทยาศาสตร์พบ "ช่องโหว่" ขนาดใหญ่ในชั้นโอโซน ณ และทำนายว่าจะเกิดภาวะวิกฤติคล้ายกับโดมิโนที่ล้มทับกันต่อๆ ไป จนทำให้ชั้นโอโซน "บาง" ลงไปอีก
สาเหตุ
สาเหตุหลักของช่องโหว่ชั้นโอโซนเกิดจากสารประกอบคลอรีน ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น กระป๋องสเปรย์ ชนิดต่างๆ ซึ่งระเหยขึ้นไปสะสมปะปนกับโอโซน และทำให้เกิดปฏิกิริยาการแตกตัวของโอโซน เป็นก๊าซออกซิเจน (O2) และอนุพันธ์อื่นๆของออกซิเจน ที่แม้จะมีสนธิสัญญามอนทรีออลเมื่อปี 2532 ห้ามใช้สารประกอบฟลูออโรคาร์บอนที่เป็นตัวการของการสะสมของก๊าซคลอรีนในชั้นบรรยากาศ แต่ปัญหาดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้วและอาจจะสายไปที่จะแก้ไข
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
ลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ เช่น การจำกัดจำนวนยานพาหนะ ซึ่งยานพาหนะที่เป็นอีกหนึ่งสาเหตุในการปล่อย
จำกัดการขับขี่ยานพาหนะส่วนตัวหรือใช้ระบบขนส่งสาธารณะเดินหรือขี่จักรยาน
ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สารทำความสะอาดที่มีสารเคมีที่ไม่มีสารทำลายชั้นโอโซน
ผลกระทบ
ถ้าปราศจากโอโซนแล้ว รังสีอัลตราไวโอเลตจะสาดส่องพื้นโลกมากเกินไป ชั้นโอโซนซึ่งเป็นเหมือนเกราะกรองแสงที่คอยปกป้องโลกไม่ให้ร้อนจนเกินไปกันรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังและแสบตา การ CFCs ที่ใช้กันทั่วโลกทำให้ชั้นโอโซนมีรูโหว่เหนือขั้วโลกทั้งสองข้าง
7.การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัญหา
ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ เกิดการร่อยหรอ และเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเริ่มส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในชนบท ที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรเป็นหลักในการยังชีพ
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
สร้างจิตสำนึกถึงปัญหาและให้ความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชนทั่วไป
ส่งเสริมการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบของภาวะแวดล้อมเช่นจากโรงงาน ฯลฯ ที่เป็นพิษเป็นภัยต่อชีวิต
ผลกระทบ
ภาวะมลพิษ
ปัญหาความร่อยหรอของทรัพยากร
ปัญหาการใช้ทรัพยากรไม่ถูกวิธี ขาดการอนุรักษ์
สาเหตุ
เกิดมาจากความล้มเหลวของระบบตลาดที่จะจัดสรรทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ที่สืบเนื่องมาจากการขาดกรรมสิทธิในทรัพย์สินที่ชัดเจน การไม่มีใครเป็นเจ้าของที่ชัดเจนในทรัพยากรจนทำให้ทรัพยากรอยู่ในภาวะอันตรายที่จะถูกใช้มากเกินไปผลกระทบที่เกิดจากภายนอก
6.ปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5
ปัญหา
หลายๆประเทศต้องทนกับปัญหามลพิษทางอากาศหรือฝุ่น PM 2.5 เกือบทุกๆวัน
ผลกระทบ
ฝุ่นละออง PM2.5นี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ หรือผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด
นอกจากนี้ฝุ่นละอองนี้อาจสร้างความเสียหายต่อประสิทธิภาพด้านการคิดและสติปัญญาของเราและเพิ่มความเสี่ยงให้เป็น Degenerative disease (โรคความเสื่อมถอยต่างๆ)ได้ เช่น โรคอัลไซเมอร์ หรือภาวะสมองเสื่อม
สาเหตุ
ควันพิษจากการจราจรและการคมนาคม ปัจจุบันในกรุงเทพ มีจำนวนรถยนต์เพิ่มมากขึ้น โดยควันที่เกิดจากท่อไอเสียรถยนต์เป็นสาเหตุหลักที่ปล่อย PM2.5
ควันและฝุ่นจากการเผาต่างๆ
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
ให้หน้ากากป้องกันฝุ่น N95 กับพนักงานในการเดินทางมาทำงานหรือหากต้องออกไปพบลูกค้านอกสถานที่ การใส่หน้ากากจะช่วยลดปริมาณฝุ่นที่จะเข้าสู่ร่างกายได้
หากไม่สามารถหาซื้อหน้ากาก N95 ได้ก็สามารถใช้หน้ากากอนามัยทั่วไปซ้อน 2 ชั้น ก็สามารถช่วยป้องกันได้
1.ภาวะโลกร้อน
ปัญหา
การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศบนโลกสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศบริเวณใกล้ผิวโลกและน้ำในมหาสมุทร ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 0.74 ? 0.18 องศาเซลเซียส และจากแบบจำลองการคาดคะเนภูมิอากาศพบว่าในปี พ.ศ. 2544 – 2643 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นถึง 1.1 ถึง 6.4 องศาเซลเซียส
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
ถอดปลั๊กไฟฟ้าทุกครั้งที่เลิกใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า รู้มั๊ยคะว่าการใช้ไฟฟ้าในบ้านมีส่วนทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกถึง 16%
หันมาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการตากผ้าแทนการ อบผ้าในเครื่องซักผ้า
การรีดผ้า ควรรีดครั้งละมาก ๆแทนการัดทีละตัว เพื่อประหยัดการใช้ไฟฟ้า
ปิดแอร์บ้าง แล้วหันมาใช้พัดลมหรือว่าเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทมากขึ้น
เวลาไปที่ห้างสรรพสินค้าอย่าเปิดประตูทิ้งไว้ เพราะแอร์จะทำงานหนักมากว่าปกติ
ผลกระทบ
สภาพลมฟ้าอากาศที่ผิดแปลกไปจากเดิม ภัยธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้น น้ำท่วม แผ่นดินไหว พายุที่รุนแรง อากาศที่ร้อนผิดปกติจนมีคนเสียชีวิต รวมไปถึงโรคระบาดชนิดใหม่ๆ หรือโรคระบาดที่เคยหายไปจากโลกนี้แล้วก็กลับมาให้เราได้เห็นใหม่ และพาหะนำโรคที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น
สาเหตุ
ปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมาจากการปล่อยก๊าซพิษต่าง ๆจากโรงงานอุตสาหกรรมทำให้แสงอาทิตย์ส่องทะลุผ่านชั้นบรรยากาศมาสู่พื้นโลกได้มากขึ้นซึ่งนั่นเป็นที่รู้จักกันโดยเรียกว่า สภาวะเรือนกระจก
3.ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา
ลานีญา
ผลกระทบ
ผลจากการที่อากาศลอยขึ้นและกลั่นตัวเป็นเมฆและฝนบริเวณแปซิฟิกตะวันตกเขตร้อนในช่วงปรากฏการณ์ลานีญา ทำให้ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะมีฝนมากและมีน้ำท่วม ขณะที่บริเวณแปซิฟิกเขตร้อนตะวันออกมีฝนน้อยและแห้งแล้ง
สาเหตุ
อุณหภูมิมหาสมุทรเย็นลงผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศต่ำบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
2.จัดการวางแผนการใช้น้ำที่ดี
1.ในประเทศที่เเห้งเเล้งการสำรวจน้ำใต้ดินมาใช้ เป็นการจัดหาน้ำมาใช้ที่ดี
3.ในประเทศที่ฝนตกมากเเละน้ำถ้วมควรเตรียมการรับมือไว้ให้ดี
ปัญหา
อุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรมีค่าต่ำกว่าปกติ เนื่องจากลมค้าตะวันออกเฉียงใต้มีกำลังแรงมากกว่าปกติ จึงพัดพาผิวน้ำทะเลที่อุ่นจากตะวันออกไปสะสมอยู่ทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ำทะเลและระดับน้ำทะเลสูงกว่าทางตะวันออกอยู่แล้วยิ่งมีอุณหภูมิและระดับน้ำทะเลสูงขึ้นไปอีก
เอลนีโญ
ปัญหา
ก่อให้เกิดสภาพอากาศเลวร้าย อย่างเช่น อุทกภัย ภัยแล้ง หรือการรบกวนสภาพอากาศในหลายภูมิภาคของโลก
สาเหตุ
เป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิมหาสมุทรอุ่นขึ้นผิดปกติ ประกอบกับความดันบรรยากาศสูงบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตก
ผลกระทบ
บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลาและนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้
เเละทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ยังก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ การที่เกิดไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซีย
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
การประหยัดน้ำเป็นเรื่องสำคัญที่เราสามารถทำกันได้ง่ายๆ ทุกคน ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน ตลอดจนสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ไม่ควรเปิดน้ำทิ้งไว้ขณะทำกิจกรรมใดๆ เช่น ระหว่างล้างหน้า แปรงฟัน แต่ควรเปิดเฉพาะช่วงที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น อาจเปลี่ยนจากการอาบน้ำฝักบัว มารองใส่ถังแล้วตักอาบแทน เป็นต้น
4.ฝนกรด
แนวทางในการป้องกันแก้ไข
การลดปัญหาฝนกรดสามารถทำได้อย่างประสิทธิภาพสูงสุดโดยวิธีการลดปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และไนโตรเจนออกไซด์ที่จะเข้าสู่บรรยากาศจากโรงงานไฟฟ้า ยานพาหนะ และโรงงานอุตสาห์กรรมทั่วไป วิธีที่ง่ายที่สุดคือการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลโดยการประหยัดพลังงาน
สาเหตุ
ปรากฏการณ์ธรรมชาติอันเกิดเนื่องมาจากมลภาวะทางอากาศ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดมาจากการกระบวนการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรมทั่วไปของมนุษย์ โดยฝนกรดก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ต่อสภาพแวดล้อมมากมาย
ปัญหา
เมื่อใดก็ตามที่ปริมาณกรดในบรรยากาศเพิ่มขึ้น จึงทำให้สมดุลตรงนี้เสียหายไป จึงทำให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ กับสภาพแวดล้อมมากมาย ตั้งแต่ดิน น้ำ สัตว์ต่าง ๆ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างของมนุษย์
ผลกระทบ
ความเสียหายอันเกิดมาจากฝนกรดได้แพร่ขยายไปทั่วอเมริกาเหนือ ยุโรป ญี่ปุ่น จีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฝนกรดจะละลายปุ๋ยในดิน ทำให้พืชเติบโตช้า เมื่อไหลลงแหล่งน้ำ ก็จะทำให้แหล่งน้ำนั้น ๆ ไม่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ หรือแม้แต่ในเมืองเอง ฝนกรดก็ก่อให้เกิดปัญหากับสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ หรืออาจจะจับตัวรวมกับหมอกก่อให้เกิดหมอกควันพิษ