Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ (กลุ่มอาคารเรือนกระจก image…
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
กลุ่มอาคารเรือนกระจก
เรือนป่าดิบชื้น เป็นโรงเรือนขนาดใหญ่ จัดแสดงสภาพป่าและพันธุ์ไม้ป่าดงดิบ สร้างบรรยากาศภายในเสมือนอยู่ในป่าจริงๆ มีน้ำตกจำลองให้ความชุ่มชื้นกับต้นไม้ในโรงเรือน นักท่องเที่ยวสามารถชมต้นไม้ได้อย่างใกล้ชิดด้วยทางเดินยกสูง (Sky walk)
เรือนไม้น้ำจัดแสดงไม้น้ำและพืชชุ่มน้ำชนิดต่างๆ ไม้ชุ่มน้ำต่างๆ และพืชกินแมลง เช่นกาบหอยแครง หม้อข้าวหม้อแกงลิง ส่วนใหญ่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เรือนกล้วยไม้และเฟิร์น จัดแสดงกล้วยไม้และเฟิร์นชนิดต่างๆ มีทางเดินในโรงเรือนเป็นหินกรวด
เรือนพืชทนแล้งป็นโรงเรือนขนาดใหญ่ ปลูกพืชสกุลกระบองเพชรชนิดต่างๆ เช่นถังทอง (Echinocactus grusonii) ตระกูลแมม (Mammillaria) แอสโตร (Astrophytum) เฟโรแคคตัส (Ferocactus) พืชสกุลศรนารายณ์ กุหลาบหิน เสมา พืชอวบน้ำ (succulents) อะกาเว (Agave) และไม้แล้งทรงสูง ส่วนมากแล้วจะเป็นกระบองเพชรสายพันธุ์ทั่วไป ไม่ใช่สายพันธุ์หายาก
เรือนรวมพรรณบัวดยรวมพรรณบัวโดยเฉพาะของไทยและของเอเชีย ที่ออกดอกสวยงาม
เรือนแสดงพันธุ์สัปปะรดสี เป็นพันธุ์สัปปะรดสีที่มีการนิยมปลูกกันในประเทศไทย
เรือนแสดงบอนสีและหน้าวัว จัดแสดงบอนสี บอนป่า หน้าวัว ไม้ด่าง ไม้แคระ และพืชขนาดเล็กที่สวยงาม
เรือนแสดงส้มกุ้ง จัดแสดงพืชสกุลส้มกุ้งที่รวบรวมจากในประเทศและต่างประเทศ
รือนแสดงไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ด่าง จัดแสดงไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ลูกผสมและไม้ต่างประเทศที่พบทั่วไปในท้องตลาด
เรือนแสดงไม้ไทยหายาก จัดแสดงไม้ไทยและไม้ไทยหายากชนิดต่างๆ มีป้ายชื่อบอกรายละเอียดโดยย่ออย่างชัดเจน
เรือนแสดงพืชสมุนไพร จัดแสดงพืชสมุนไพรของภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือพร้อมป้ายบอกชื่อสรรพคุณต่างๆ โดยย่อ
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาตพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการและสาธิตให้ความรู้ทางพืช ธรรมชาติวิทยา และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับพืชได้อย่างน่าสนใจ จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ส่วนความหลากหลายทางชีวภาพ ส่วนก้าวแรกของนักพฤกษศาสตร์ในประเทศไทย ส่วนผจญภัย 10 ป่าไทย ส่วนมหัศจรรย์ผึ้งและดอกไม้ และโซนสุดท้ายที่เพิ่มขึ้นมาใหม่มีภาพ 3 มิติที่ผนังให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูป
ทางเดินลอยฟ้า
เป็นเส้นทางเดินชมธรรมชาติ ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีระยะทางประมาณ 400 เมตร สูงเหนือกว่าพื้นดิน 20 เมตร ซึ่งสามารถชมทัศนียภาพที่สวยงาม แบบพาโนราม่า เห็นวิวดอยหม่อนคว่ำหล้องได้อย่างชัดเจน โดยออกแบบให้มีความกลมกลืนกับธรรมชาติโดยรอบ ลักษณะโครงสร้างทำจากเหล็กกล้า แข็งแรง มีจุดชมวิวจากระเบียงยื่นออกไปด้านข้างและรั้ว เป็นกระจกใสสามารถมองลงไปด้านล่างได้
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่อำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,500 ไร่ เป็นสถานที่ อนุรักษ์และรวบรวมพรรณไม้เป็นหมวดหมู่ตามวงศ์สกุลต่างๆ โดยจัดปลูกให้สอดคล้องกับธรรมชาติมากที่สุดโดย เฉพาะกลุ่มอาคาร เรือนกระจกบนยอดเขาที่มีทั้งความสวยงามและความรู้ ทำให้สวนแห่งนี้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและ สถานที่ศึกษาธรรมชาติ ด้านพืช และ ภูมิทัศน์ที่โดดเด่นมากสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เดิมเรียกว่า “สวนพฤกษศาสตร์แม่สา” นับว่าเป็น สวนพฤกษศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย ที่มีการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากล มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิจัย และให้ความรู้ ทางด้านพฤกษศาสตร์ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2537 องค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้รับพระราชทานพระราชานุญาต จากสมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถให้ใช้ชื่อสวนพฤกษศาสตร์แห่งนี้ว่า “สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
เส้นทางพันธุ์ไม้ไทยและพืชสมุนไพร
เส้นทางนี้เป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้ไทยไว้กว่า 1,000 ชนิด อาทิ พืชสมุนไพร พันธุ์ไม้หายาก และพันธุ์ไม้ประจำจังหวัด ระหว่างเส้นทางเดินท่านจะพบพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ และป้ายสื่อความหมายที่อธิบายสรรพคุณของพืชสมุนไพร แต่ละชนิดไว้อย่างน่าสนใจ และมีการเสริมภูมิทัศน์ด้วยกล้วยไม้ไทยนานาชนิด ให้ความสวยงามและร่มรื่น เส้นทางเดินจะใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที
เส้นทางวลัยชาติ (Climber Trail)
ชาติ หรือ ไม้เลื้อย คือ พรรณไม้ที่ต้องการสิ่งที่อาศัยสิ่งยึดเกาะ (supporter) อื่นๆ ในการเลื้อยพันและยึดเกาะเพื่อพยุงลำต้นในการเจริญเติบโต เนื่องจากไม่สามารถพยุงตัวไว้เองได้ นักพฤกษศาสตร์คาดว่าในประเทศไทยมีวัลยชาติอยู่ประมาณ 60 วงศ์ 160 สกุล รวมประมาณได้กว่า 2000 ชนิด และกว่าครึ่งของพืชจำนวนนี้ยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่ส่วนใหญ่จะมีคุณค่าทางโภชนาการหรือสมุนไพรมีความสวยงาม สามารถนำมาพัฒนาเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี สำหรับเส้นทางวัลยชาติสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์นั้น เป็นเส้นทางทอดยาวไปตามสันเขา บางตอนค่อนข้างชัน มีการจัดปลูกพืชไม้เลื้อยไว้ตลอดทั้งสองข้างทาง รวมมากกว่า 250 ชนิด ระยะทางประมาณ 800 เมตร
นาย สุขนิรันดร์ กาเรือง ม.4/6 เลขที่ 46