Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก (ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา (ฝนกรด…
ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมระดับโลก
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในทุกช่วงเวลาของโลก รวมทั้งเหตุการณ์ปรากฏการณ์โลกเย็นด้วย โดยทั่วไป คำว่า "ภาวะโลกร้อน" จะใช้ในการอ้างถึงสภาวะที่อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา และมีความเกี่ยวข้องกระทบต่อมนุษย์
ภาวะโลกร้อน
ปัญหา
อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือน กระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และ การผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนั้น มนุษย์เรายังได้เพิ่มก๊าซกลุ่มไนตรัสออกไซด์ และคลอโรฟลูโรคาร์บอน ( CFC) เข้าไปอีก ด้วย พร้อมๆกับการที่เราตัดและทำลาย ป่าไม้จำนวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวย ความสะดวกให้แก่มนุษย์ ทำให้กลไกใน การดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป จากระบบบรรยากาศถูกลดทอนประสิทธิ ภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆที่เราได้กระทำ ต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของ ภาวะโลกร้อน
สาเหตุ
สาเหตุภาวะโลกร้อนเป็นภัยพิบัติที่มาถึง โดยที่เราทุกคนต่างทราบถึงสาเหตุของการเกิดเป็นอย่างดี นั่นคือ การที่มนุษย์เผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ เพื่อผลิตพลังงาน ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจก
ผลกระทบ
แถบขั้วโลกได้รับผลกระทบมากสุดและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ทุก ทวีป นอกจากนี้จะพลอยทำให้สัตว์ทางทะเลเสียชีวิตเพราะระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง
แนวทางการแก้ไข
1.ลดการใช้ไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อไม่จำเป็น 2.เลือกใช้การขนส่งโดยสารสาธารณะ 3.ช่วยกันปลูกต้นไม้ 4.ไม่สนับสนุนให้ใช้วัสดุที่มีส่วนผสมทำให้โลกร้อน เช่น โฟม 5.การใช้กระดาษให้ประหยัด เพราะกระดาษทำมาจากการตัดต้นไม้
ปรากฏการณ์เรือนกระจก
ปัญหา
ภาวะที่ชั้นบรรยากาศของโลกกระทำตัวเสมือนกระจก ที่ยอมให้รังสีคลื่นสั้นผ่านลงมายังผิวโลกได้ แต่จะดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดที่แผ่ออกจากพื้นผิวโลกเอาไว้ จากนั้นก็จะคายพลังงานความร้อน ให้กระจายอยู่ภายใน ชั้นบรรยากาศและพื้นผิวโลก จึงเปรียบเสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลกให้มีภาวะสมดุลทางอุณหภูมิ และเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิตบนผิวโลก แต่ในปัจจุบันมีก๊าซบางชนิดสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเกินสมดุล ซึ่งก๊าซเหล่านี้สามารถดูดกลืนรังสีคลื่นยาวช่วงอินฟราเรดและคายพลังงานความร้อนได้ดีพื้นผิวโลกและชั้นบรรยากาศ จึงมีอุณหภูมิสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลก และสิ่งมีชีวิตพื้นผิวโลกอย่างมากมาย
สาเหตุ
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศโลกไว้มากที่สุดและมีผลทำให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจกชนิดอื่นๆ CO2ส่วนมากเกิดจากการกระทำของมนุษย์เช่น ก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ
ผลกระทบ
1.ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากธารน้ำแข็งที่กำลังละลาย และอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นจากการขยายตัวทางความร้อนของน้ำในมหาสมุทร
2.ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลจากชั้นดินเยือกแข็ง และป่าที่กำลังตาย
3.ระบบทางธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ธารน้ำแข็ง ปะการัง ป่าชายเลน ระบบนิเวศของทวีปอาร์กติก ระบบนิเวศของเทือกเขาสูง ป่าสนแถบหนาว ป่าเขตร้อน เขตลุ่มน้ำในทุ่งหญ้า และ เขตทุ่งหญ้าในท้องถิ่น จะถูกคุกคามอย่างรุนแรง
แนวทางการแก้ไข
ลดระยะทางที่ใช้สำหรับการขน ส่งอาหาร เนื่องจากมลพิษจากการขนส่งนั้นเป็นตัวการสำคัญมากที่สุดในการเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ให้เราพยายามบริโภคอาหารที่ผลิตและปลูกในท้องถิ่น จะช่วยลดพลังงานที่ใช้สำหรับ การขนส่งลงได้
ปรากฏการณ์เอลนีโญ ลานีญา
เอลนีโญ
เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซีย และออสเตรเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ทำให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลา และนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้ ปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ยังก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลียตอนเหนือ การที่เกิดไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซีย ก็เป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญนั่นเอง
ลานีญ่า
เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติ แต่ทว่ารุนแรงกว่า กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออกมีกำลังแรง ทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมสินค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก น้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันตก ก่อให้เกิดธาตุอาหาร ฝูงปลาชุกชุม ตามบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู
สาเหตุ
ผลกระทบ
ผลกระทบของลานีญาส่วนใหญ่จะตรงข้ามกับของเอลนีโญ ตัวอย่างเช่น เอลนีโญจะทำให้เกิดช่วงฝนตกในแถบสหรัฐอเมริกา ตอนกลางตะวันตก ขณะที่ลานีญาจะ ทำให้เกิดช่วงแห้งแล้งในพื้นที่เดียวกัน ส่วนอีกด้านหนึ่งของมหาสมุทรแปซิฟิก ลานีญาทำให้เกิดฝนตกหนัก สำหรับอินเดีย เอลนีโญมักเป็นสาเหตุของความกังวลเพราะผลของมันที่ตรงกันข้ามกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
แนวทางในการแก้ไข
ซักผ้าไม่ควรเทน้ำทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ แต่ให้นำไปรดน้ำต้นไม้แทน และการรดน้ำต้นไม้ควรรดในช่วงเวลาที่เหมาะสม คือเช้าและเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นไม้สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้มากที่สุด หากรดน้ำต้นไม้ในช่วงแดดจัด ต้นไม้จะไม่สามารถกักน้ำไว้ได้ทัน เพราะอากาศร้อนทำให้น้ำระเหยไปกับอากาศมากกว่า ควรใช้สปริงเกอร์ฝักบัวรดน้ำต้นไม้หรือล้างรถแทนการใช้สายยาง เนื่องจากจะช่วยประหยัดน้ำได้มากกว่าปกติถึง 4 เท่า อุปกรณ์ต่างๆ ภายในบ้านควรใช้รูปแบบที่ช่วยประหยัดน้ำ เช่น การติดตั้งอุปกรณ์เติมอากาศที่หัวก๊อกของชักโครก ฝักบัว ก๊อกน้ำ และหัวฉีดน้ำ เพียงเท่านี้จะช่วยให้ลดปริมาณการไหลของน้ำได้
ฝนกรด
ปัญหา
ฝนกรดเป็นผลมาจากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนออกไซด์ โดยก๊าซทั้งสองชนิดนี้มักจะเกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน ก๊าซทั้งสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากับน้ำ และสารเคมีอื่น ๆ ในชั้นบรรยากาศเพื่อก่อให้เกิดกรดซัลฟิวริก , กรดไนตริกและสารมลพิษอื่น ๆ ก๊าซเหล่านี้มักจะทำปฏิกิริยากับสารเคมีจะส่งผลทำให้อากาศอบอ้าวอากาศร้อนชื้นทำให้เกิดมลพิษทางอากาศเมื่อไปโดนกับออกซิเจนอาจถูกกระแสลมพัดพาไปหลายร้อยกิโลเมตร และมักจะกลับสู่พื้นโลกโดยฝน หิมะ หมอก หรือแม้แต่ในรูปฝุ่นผงละออง
สาเหตุ
สาเหตุของฝนกรดคือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริกและกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ให้มากขึ้น เรียกว่า ขบวนการออกซิเดชัน
ผลกระทบ
ฝนกรดสามารถทำปฎิกิริยากับธาตุอาหารที่สำคัญของพืชทำให้พืชไม่สามารถนำธาตุอาหารไปใช้ได้
และ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศยังไปปิดปากใบพืช ทำให้ความสามารถในการสังเคราะห์แสงลดลง ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำทำให้สัตว์น้ำไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
แนวทางการแก้ไข
การติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อกำจัดมลพิษก่อนระบายออกสู่บรรยากาศ ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง และเพิ่มความยุ่งยากในการบำรุงรักษาอีกไม่น้อย การสร้างปล่องควันสูงลิบลิ่วไม่สามารถแก้ปัญหามลพิษทางอากาศได้ แต่เป็นการผลักภาระปัญหาจากสถานที่ใกล้เคียง ไปยังแหล่งที่อยู่ห่างไกลมากกว่าเท่านั้น
รูโหว่โอโซน
ปัญหา
ก๊าซโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ มีหน้าที่ช่วยดูดซับรังสียูวี (Ultraviolet) โดยเฉพาะรังสียูวีบี (UV-B) ให้ผ่านมายังโลกในปริมาณที่พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่ในยุคอุตสาหกรรมมีการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือสารซีเอฟซี (Chlorofluorocarbons : CFCs) ในเครื่องทำความเย็นจำพวกตู้เย็น แอร์ รวมถึงใช้ในสเปรย์ฉีดพ่นหรือการทำโฟม
สาเหตุ
สาเหตุหลักของช่องโหว่ชั้นโอโซนเกิดจากสารประกอบคลอรีน ที่ใช้ในเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น กระป๋องสเปรย์ ชนิดต่างๆ ซึ่งระเหยขึ้นไปสะสมปะปนกับโอโซน และทำให้เกิดปฏิกิริยาการแตกตัวของโอโซน เป็นก๊าซออกซิเจน (O2) และอนุพันธ์อื่นๆของออกซิเจน
ผลกระทบ
การทำลายโอโซนทำให้ผลผลิตพืชผักน้อยลงรวมทั้งมีผลต่อสัตว์อีกด้วย เมื่อรังสีมากขึ้นมีผลต่อสภาพพื้นดินทำให้ดินเปลี่ยนสภาพไป อุณหภูมิโดยรอบสูงขึ้น ขาดน้ำซึ่งส่งผลให้พืชเติบโตได้น้อยลง นอกจากนี้รังสีจากดวงอาทิตย์ยังทำลายไข่และตัวอ่อนของสัตว์บางชนิดด้วยโดยเฉพาะสัตว์น้ำ
แนวทางการแก้ไข
งดหรือลดกิจกรรมที่ก่อมลสาร ลดปริมาณมลสารที่ทำให้อากาศเสีย เช่น ฝุ่นละอองและสารพิษ
ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เช่น ไม่เผาป่า
ลดปริมาณก๊าซที่ทำลายชั้นโอโซน
หมอกควัน PM.2.5
ปัญหา
ควันพิษจากการจราจรและการคมนาคม ปัจจุบันในกรุงเทพ มีจำนวนรถยนต์เพิ่มมากขึ้น โดยควันที่เกิดจากท่อไอเสียรถยนต์เป็นสาเหตุหลักที่ปล่อย PM2.5
ควันและฝุ่นจากการเผาต่างๆ จริงๆแล้วในพื้นที่ของกรุงเทพไม่ได้มีพื้นที่เกษตรที่จะทำให้เกิดการเผาได้ แต่เป็นเพราะจังหวัดใกล้เคียงและประเทศเพื่อนบ้านที่เผาเพื่อทำการเพาะปลูกประกอบกับกระแสลมที่พัดเอาควันเหล่านั้นเข้ามา ทำให้อากาศแย่ลง
สาเหตุ
ฝุ่นละอองจากภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง ในปีนี้มีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ามากถึง 3 สายตามเส้นทางหลัก นอกจากนั้นยังมีการสร้างที่อยู่อาศัย ทำให้เกิดฝุ่นละอองในอากาศจำนวนหนึ่ง
ผลกระทบ
ผลกระทบอาจจะทำให้เป็นโรคมะเร็งปอดได้ และยังมีอาการระคายเคืองทางสายตา อีกทั้งเมื่อสูดหมอกควันนี้เข้าไปอาจจจะทำให้ เสมหะที่ออกมามีเลือดมาเจือปนด้วย
แนวทางในการแก้ไข
ให้หน้ากากป้องกันฝุ่น N95 กับพนักงานในการเดินทางมาทำงานหรือหากต้องออกไปพบลูกค้านอกสถานที่ การใส่หน้ากากจะช่วยลดปริมาณฝุ่นที่จะเข้าสู่ร่างกายได้
ห้ามใช้รถยนต์ดีเซล และผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรปเริ่มมีแผนผลิตรถยนต์เครื่องยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นแทนที่รถที่มีเครื่องยนต์แบบเก่า
การจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปัญหา
การพัฒนาที่ผ่านมา ได้ระดมใช้ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ดิน ป่าไม้ แหล่งน้ำ ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ทรัพยากรธรณี ในอัตราที่สูงมาก และเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จนมีผลทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ เกิดการร่อยหรอ และเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเริ่มส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในชนบท ที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรเป็นหลักในการยังชีพ
สาเหตุ
ไฟป่า เป็นตัวการในการทำลายทรัพยากรธรรมชาติอย่างมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรป่าไม้ ทั้งที่เป็นต้นไม้เล็กและใหญ่ สิ่งมีชีวิตรวมทั้ง จุลินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่ดำรงชีวิตอยู่ในป่า รวมถึงทรัพยากรที่ไม่มีชีวิต ซึ่งได้แก่ อินทรียวัตถุ และปุ๋ย เป็นต้น
น้ำท่วม เป็นภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ เช่น ฝนตกหนัก น้ำในแม่น้ำลำคลองถูกหนุนสูงขึ้น โดยเมื่อน้ำขึ้นสูงพ้นเหนือแนวตลิ่งของลำน้ำจนปกคลุมพื้นแผ่นดิน และหากการเคลื่อนที่ของกระแสน้ำมีความเชี่ยวกรากก็อาจจะทำให้เกิดแผ่นดินถล่มได้
ผลกระทบ
ผลกระทบต่อปริมาณน้ำลดลงลักษณะของน้ำเปลี่ยนไปสิ่งที่ตามมาก็เกิดสภาพดินเสื่อมโทรมน้ำท่วมโดยฉับพลันอยู่เสมอ ๆ เพราะไม่มีป่าช่วยทำหน้าที่เป็นเขื่อนธรรมชาติกั้นไว้และสุดท้ายพื้นที่นั้น ๆ ก็อาจจะกลายสภาพเป็นทะเลทรายได้ในที่สุด ในแหล่งที่อยู่อาศัยอื่นๆก็เช่นกันถ้าสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ก็จะมีอย่างมากมายและผลเสียก็จะมาสู่มนุษย์ทั้งในการดำเนินชีวิตแต่ละวันและทั้งการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย
แนวทางในการแก้ไข
การป้องกันคุ้มครองทรัพยากรที่สามารถเกิดขึ้นใหม่ได้เอง เพื่อให้มีอัตราในการนำทรัพยากรมาใช้อยู่ในะระดับที่สามารถเกิดขึ้นมาทดแทนได้ทัน ซึ่งจะช่วยให้มีทรัพยากรนั้นไว้ใช้อย่างยั่งยืนทั้งยังรวมถึงการป้องกันทรัพยากรที่มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่เกิดการลุกลามจนทำให้สภาวะสิ่งแวดล้อมเสียสมดุลไป
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปัญหา
1.ปัญหาผักตบชวาที่มีอยู่มากมายในแม่น้ำลำคอง
2.น้ำเสียและมีพืชอยู่ในน้ำทำให้ออกซิเจนในน้ำมีน้อยทำให้สัตว์น้ำอยู่ไม่ได้
3.น้ำเสียจากการทำลายขอมนุษย์ เช่น การซักผ้าแล้วนำน้ำลงแม่น้ำ
สาเหตุ
การเพิ่มของประชากรโดยเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น
การขยายตัวของชุมชนหรือเมือง
เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาใช้ในทางการผลิตด้านการเกษตร
การสร้างถนน อ่างเก็บน้ำ เขื่อน นับว่าเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ทรัพยากรหลัก
ผลกระทบ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
แนวทางในการแก้ไข
1.การบำบัดน้ำเสียด้วยผักตบชวา
2.การบำบัดน้ำเสียด้วยการผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ
3.การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและวัชพืชบำบัด
4.กังหันน้ำชัยพัฒนา
5.การกำจัดน้ำเสียโดยวิธีธรรมชาติ